การเขียนพรรณนา หมายถึง การเขียนที่เรียบเรียงถ้อยคำ ทั้งภาษาพูดและภาษาเขียนเพื่อให้รายละเอียดในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง โดยเน้นให้ผู้ฟังหรือผู้อ่านเห็นภาพที่ชัดเจนและเกิดอารมณ์ความรู้สึกตามที่ผู้ส่งสารมุ่งหมาย การเขียนพรรณนามีลักษณะวรรณศิลป์มากกว่าการเขียนประเภทอื่น เนื่องจากมีการใช้ ถ้อยคำที่ก่อให้เกิดภาพพจน์และอารมณ์สะเทือนใจ ไม่คำนึงถึงการเรียงลำดับเหตุการณ์ โดยแสดงถึงความรู้สึกอย่างลึกซึ้งได้
หลักการเขียนพรรณนา
- วิเคราะห์สิ่งที่จะพรรณนาอย่างละเอียดว่าประกอบด้วยอะไรบ้าง ส่วนใดเป็นลักษณะเด่น ส่วนใดเป็นลักษณะประกอบซึ่งเสริมลักษณะเด่น ลักษณะเด่นและลักษณะประกอบมีความเกี่ยวเนื่องกันอย่างไร
- เขียนพรรณนาลักษณะเด่น ตามลำดับความสำคัญ หรือลำดับความมากน้อย เช่น พรรณนาลักษณะบุคคล ควรกล่าวถึงเรือนร่าง ใบหน้า และเครื่องแต่งกายตามลำดับ การเขียนพรรณนาต้นไม้ มักกล่าวถึงลำต้นก่อนดอกและใบ แต่หากต้องการเน้นสิ่งใดเป็นพิเศษควรกล่าวถึงสิ่งนั้นก่อนหรือขยายความ บอกรายละเอียดให้มากกว่าสิ่งอื่น
- การเลือกสรรถ้อยคำที่เหมาะสมทั้งเสียงและความหมาย โดยคำ ๆ นั้น มีเสียงไพเราะและมีความหมาย ให้ความรู้สึกที่ลึกซึ้ง ทำให้เห็นภาพหรือได้ยินเสียงอีกด้วย
- เลือกใช้ภาษาภาพพจน์ต่าง ๆ เช่น
อุปมา คือ สำนวนภาษาที่นำสิ่งซึ่งต่างพวกกันสองสิ่งมาเปรียบเทียบกัน โดยใช้คำเชื่อม เหมือน คล้าย ดุจ ประหนึ่ง ราวกับว่า ฯลฯ เช่น ดุเหมือนเสือ ร้ายกว่ายุง นัยน์ตาดุจดวงดาว
อุปลักษณ์ คือ สำนวนภาษาที่นำเอาสิ่งต่างกันสองสิ่งหรือมากกว่า แต่มีคุณสมบัติบางอย่าง ร่วมกันมาเปรียบเทียบโดยเปรียบว่าสิ่งหนึ่งเป็นอีกสิ่งหนึ่งโดยตรง ใช้คำกริยาเป็นหรือ คือ เช่น ลูก เป็นแก้วตาและดวงใจของพ่อแม่ เขาคือวีรบุรุษแห่งทุ่งนาแก
บุคลาธิษฐาน คือ การสมมติสิ่งไม่มีชีวิตให้มีชีวิตความคิดนามธรรมหรือสัตว์ให้มีสติปัญญา อารมณ์หรือกิริยาอาการเหมือนมนุษย์ เช่น ลมหนาวมาเยือน คลื่นน้อยค่อย ๆ กระซิบกับฝั่ง ความ อาฆาตเกาะกินหัวใจ
สัทพจน์ คือ สำนวนภาษาที่ใช้คำเพื่อเลียนเสียง ต่าง ๆ เช่น ไฟลุกคึ่ก ๆ เสียงคนพูดหึ่ง ๆ
บัดเดี๋ยวดังหงั่งเหง่งวังเวงแว่ว