การบวกเอกนาม
เอกนาม 2 เอกนามจะบวกกันได้ ก็ต่อเมื่อ เอกนามทั้งสองนั้นคล้ายกัน การบวกเอกนามจะใช้สมบัติการแจกแจง โดยนำสัมประสิทธิ์ของเอกนามมาบวกกัน และมีส่วนที่อยู่ในรูปของตัวแปรหรือการคูณกันของตัวแปร ดังนี้
ผลบวกของเอกนามที่คล้ายกัน = (ผลบวกของสัมประสิทธิ์) x (ส่วนที่อยู่ในรูปของตัวแปรหรือการคูณกันของตัวแปร)
ตัวอย่างที่ 4 จงหาผลบวกของเอกนามต่อไปนี้
- 7x + 6x
- – 6mn + 4mn – 6
- 7xy2 + 5x2y
- 7x + 6x
วิธีทำ 7x + 6x = (7 + 6)(x) =13x
ตอบ 13x
- – 6mn + 4mn – 6
วิธีทำ – 6mn + 4mn = (- 6 + 4)(mn)
= – 2mn
ตอบ – 2mn
- 7xy2 + 5x2y
วิธีทำ 7xy2 + 5x2y = 7xy2+ 5x2y
ตอบ 7xy2 + 5x2y
สำหรับเอกนามที่ไม่คล้ายกันนั้น จะนำสัมประสิทธิ์มารวมกันไม่ได้ จึงเขียนให้อยู่ในรูปการบวกของเอกนามเช่นเดิม เหมือนในข้อ 3
การลบเอกนาม
การลบเอกนามว่าเอกนาม 2 เอกนามจะลบกันได้ ก็ต่อเมื่อ เอกนามทั้งสองนั้นคล้ายกัน การลบเอกนามจะใช้สมบัติการแจกแจงโดยนำสัมประสิทธิ์ของเอกนามมาลบกันและมีส่วนที่อยู่ในรูปของตัวแปรหรือการคูณกันของตัวแปร ดังนี้
ผลลบของเอกนามที่คล้ายกัน = (ผลลบของสัมประสิทธิ์) x (ส่วนที่อยู่ในรูปของตัวแปรหรือการคูณกันของตัวแปร)
ตัวอย่างที่ 5 จงหาผลลบของเอกนามต่อไปนี้
- 8x – 6x
วิธีทำ 8x – 6x = (8 – 6)(x) = 2x
ตอบ 2x
- 20ab2 – 15ab2
วิธีทำ 20ab2 – 15ab2 = (20-15)( ab2) = 5ab2
ตอบ 5ab2
- 8xy3 – 6xy2
วิธีทำ 8xy3 – 6xy2 = 8xy3 – 6xy2
ตอบ 8xy3 – 6xy2
สำหรับเอกนามที่ไม่คล้ายกันนั้น จะนำสัมประสิทธิ์มาลบกันไม่ได้ จึงเขียนให้อยู่ในรูปการลบของเอกนามเช่นเดิมเหมือนในข้อ 3