วิชาคณิตศาสตร์เพิ่มเติม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1(ค21202) ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564
เกี่ยวกับบทเรียน

การคูณพหุนามสามารถใช้สมบัติการสลับที่ (commutative property) สมบัติการแจกแจง (distribution property)ได้เช่นเดียวกับการคูณจำนวนกับจำนวน
…….การคูณพหุนามด้วยเอกนาม ทำได้โดยคูณเอกนามกับทุก ๆ พจน์ของพหุนาม แล้วนำผลคูณเหล่านั้นมาบวกกัน เช่น

…….(2x2) · (3x2 − 4x + 5)  =  6x4 − 8x3 + 10x2

…….การคูณพหุนามด้วยพหุนาม ทำได้โดยคูณแต่ละพจน์ของพหุนามหนึ่งกับทุก ๆ พจน์ของอีกพหุนามหนึ่ง แล้วนำผลคูณเหล่านั้นมาบวกกัน เช่น

…….(2x2 − 3) · (2x3 − 3x2 + 4x)   =    4x5 − 6x4 + 8x3 − 6x3 + 9x2 − 12x

                                                            =   4x5 − 6x4 + 2x3 + 9x2 − 12x

…….เพื่อความสะดวกในการหาผลคูณสำหรับพหุนามใด ๆ ที่มีจำนวนพจน์ตั้งแต่ 3 พจน์ขึ้นไป จะใช้วิธีการตั้งคูณ ซึ่งเวลาตั้งคูณตัวตั้งลงไปให้คำนึงถึงการเรียงลำดับดีกรีและตัวแปร ผลของการคูณนั้นควรจะเรียงลำดับดีกรีด้วย เช่น

P(x) · Q(x) = (3x4 + 5x3 − 2x + 3) · (2x2 − x + 3) = 6x6 + 7x5 + 4x4 + 11x3 + 8x2 − 9x + 9

ไฟล์ตัวอย่าง
การคูณพหุนาม.pdf
ขนาด: 720.91 KB
แบบฝึกหัดที่5 การคูณพหุนาม.pdf
ขนาด: 250.55 KB