1. ความหมายของใช้ส่วนตัว
ของใช้ส่วนตัว คือ สิ่งของเครื่องใช้ต่างๆ ที่เป็นสมบัติเรา ซึ่งเราจำเป็นต้องใช้อยู่เป็นประจำ เช่น หวี แปรงสีฟัน เครื่องนอน แก้วน้ำ ผ้าเช็ดตัว รองเท้า ชุดนอน หมวก ถุงเท้า เข็มขัด ฯลฯ
1.1 ดูแลรักษาของใช้ส่วนตัวอย่างถูกต้อง
หวี 1. ดึงเส้นผมออกจากหวีทุกครั้งที่หวีผมเสร็จ
2. ล้างทำความสะอาดหวีสัปดาห์ละ 1 – 2 ครั้ง
3. แช่หวีในน้ำสบุ่และใช้แปรงสีฟันขัดครบสกปรกออก แล้วล้างด้วยน้ำสะอาด
แปรงสีฟัน 1. ล้างให้สะอาดหลังใช้งาน
2.ไม่ควรใช้หรือเก็บแปรงสีฟันร่วมกับผู้อื่น
3. เปลี่ยนแปรงสีฟันใหม่ เมื่อขนแปรงบาน
เครื่องนอน 1. ควรนำมาผึ่งแดดทุกสัปดาห์
2. ซักทำความสะอาดอย่างน้อยดือนละ 2 ครั้ง เพื่อป้องกันไรฝุ่นซึ่งเป็นสาเหตุของโรคภูมิแพ้
3. จัดเก็บในที่ที่หยิบใช้สะดวก ป้องกันฝุ่นละออง
แก้วน้ำ 1. ล้างให้สะอาดด้วยน้ำยาล้างจานและน้ำสะอาดทุกครั้งหลังใช้
ผ้าเช็ดตัว 1. ผึ่งแดดให้แห้งหลังใช้ และซักสัปดาห์ละ 1 ครั้ง
ผ้าเช็ดตัว เสื้อผ้า และถุงเท้า
1. ควรซักทำความสะอาดหลังใช้งาน
2. ผึ่งแดดให้แห้ง พับหรือรีดให้เรียบร้อย แล้วแยกประเภทก่อนจัดเก็บ
รองเท้า 1. เคาะดินหรือฝุ่นละอองออกจากรองเท้าให้หมด
2. ทำความสะอาดรองเท้าแต่ละประเภทตามวิธีการที่ถูกต้อง
3. จัดเก็บรองเท้าเป็นคู่ๆ บริเวณที่เก็บรองเท้า
1.2 การจัดเก็บสิ่งของเครื่องใช้
สิ่งของเครื่องใช้ เช่น เสื้อผ้า โต๊ะเขียนหนังสือ และกระเป๋านักเรียนที่นักเรียนใช้เป็นประจำทุกวัน ควรจัดเก็บเป็นหมวดหมู่ เพื่อคามเป็นระเบียบเรียบร้อย และสะดวกต่อการหยิบใช้งาน
การจัดเก็บสิ่งของเครื่องใช้ควรทำอย่างเป็นกระบวนการ เพื่อให้การทำงานมีประสิทธิภาพ ประหยัดเวลา ประหยัดแรงงาน และผลงานที่ได้มีคุณภาพ กระบวนการทำงานมีดังนี้
1. การวางแผนการทำงาน การวางแผนทำงาน เป็นการกำหนดเป้าหมายในการทำงาน และกำหนดวิธีการทำงานให้บรรลุเป้าหมาย
2. ปฏิบัติงานตามแผน การปฏิบัติตามแผน เป็นการทำงานตามวิธีการที่กำหนดไว้ เพื่อให้บรรลุเป้าหมาย
3. ประเมินผลการทำงาน การประเมินผลการทำงาน เป็นการตรวจดูผลงานว่าสำเร็จตรงตามเป้าหมายหรือไม่ ถ้ามีข้อบกพร่องจะได้ปรับปรุงแก้ไขให้ดีขึ้น
ตัวอย่างการจัดเก็บสิ่งของเครื่องใช้ตามกระบวนการทำงาน
1. การจัดตู้เสื้อผ้า
ตู้เสื้อผ้า ส่วนใหญ่ได้แบ่งสัดส่วนการจัดเก็บเสื้อผ้าและเครื่องแต่งกายไว้แล้ว ถ้าจัดตู้เสื้อผ้าให้เป็นหมวดหมู่ก็จะดูเป็นระเบียบเรียบร้อย และหยิบใช้งานได้สะดวกขึ้น
การจัดตู้เสื้อผ้ามีกระบวนการทำงาน ดังนี้
1. วางแผนการทำงาน
1.1 กำหนดเป้าหมายในการจัดตู้เสื้อผ้า
1) เพื่อให้เสื้อผ้าเป็นระเบียบ
2) เพื่อให้หยิบเสื้อผ้าและเครื่องแต่งกายได้สะดวก
1.2 กำหนดวิธีการจัดตู้เสื้อผ้า โดยมีขั้นตอน ดังนี้
1) แยกประเภทเสื้อผ้า และเครื่องแต่งกาย
2) เสื้อผ้าที่ต้องรีดควรรีดให้เรียบร้อยและใส่ไม้แขวนเตรียมไว้ เสื้อผ้าที่ไม่ต้องรีดควรพับเก็บให้เรียบร้อย
3) จัดเก็บเสื้อผ้าที่พับและแขวนไว้เป็นหมวดหมู่
4) เสื้อผ้าที่ไม่ค่อยได้สวมใส่ ควรเก็บไว้ที่ชั้นบนของตู้เสื้อผ้า เสื้อผ้าที่สวมใส่บ่อยวางไว้ใกล้ๆ เพื่อให้สะดวกในการหยิบใช้
2. ปฏิบัติงานตามแผน
จัดเก็บเสื้อผ้าตามแผนที่วางไว้
3. ประเมินผลการทำงาน
ตรวจดูผลงานว่าสำเร็จตรงตามเป้าหมายหรือไม่ มีข้อบกพร่องอย่างไร จะได้ปรับปรุงแก้ไขให้ดีขึ้น
2. การจัดโต๊ะเขียนหนังสือ
โต๊ะเขียนหนังสือเป็นบริเวณที่ใช้สำหรับเขียนการบ้าน รายงาน หรือวาดภาพ และใช้วางสมุด หนังสือ อุปกรณ์การเรียนต่างๆ ควรจัดวางให้พื้นที่เพียงพอต่อการใช้งานและเป็นระเบียบเรียบร้อย สามารถหยิบและเก็บสิ่งของบนโต๊ะได้สะดวก
การจัดโต๊ะเขียนหนังสือมีกระบวนการทำงาน ดังนี้
1. การวางแผนการทำงาน
1.1 กำหนดเป้าหมายในการจัดโต๊ะเขียนหนังสือ
1) เพื่อให้โต๊ะเขียนหนังสือเป็นระเบียบ
2) เพื่อให้โต๊ะเขียนหนังสือมีพื้นที่เพียงพอสำหรับใช้งาน
3) เพื่อให้สะดวกต่อการหยิบใช้งานและเก็บสิ่งของบนโต๊ะเขียนหนังสือ
4) เพื่อให้ง่ายต่อการทำความสะอาด
1.2 กำหนดวิธีการจัดโต๊ะเขียนหนังสือ โดยมีขั้นตอน ดังนี้
1) แยกประเภทสิ่งของที่ต้องการจัดเก็บ
2) หนังสือวางเรียงลำดับจากสูงไปต่ำ หันสันหนังสือออกด้านนอก โดยมีที่คั่นหนังสือกั้นหนังสือไว้ไม่ให้ล้ม
3) สมุดวางซ้อนกัน
4) ดินสอ ปากกา ไม้บรรทัดวางรวมในภาขนะที่หยิบใช้ได้สะดวก
2. ปฏิบัติงานตามแผน
จัดโต๊ะเขียนหนังสือตามแผนที่วางไว้
3. ประเมินผลการทำงาน
ตรวจดูโต๊ะเขียนหนังสือที่จัดเก็บแล้วว่าเป็นระเบียบเรียบร้อย มีพื้นที่เพียงพอสำหรับใช้งาน สะดวกต่อการหยิบใช้งานและเก็บสิ่งของบนโต๊ะเขียนหนังสือหรือไม่ ถ้ามีข้อบกพร่องให้ปรับปรุงแก้ไขให้ดีขึ้น
3. การจัดกระเป๋านักเรียน
กระเป๋านักเรียนเป็นของใช้สำหรับใส่อุปกรณ์การเรียน เช่น สมุด หนังสือ ดินสอ ปากกา ยางลบ ไม้บรรทัด ซึ่งนักเรียนต้องนำไปโรงเรียนและนำกลับมาบ้านทุกวัน ถ้าจัดสมุด หนังสือตามตารางเรียนและแยกประเภทจัดเก็บให้ดี กระเป๋าจะไม่หนักมาก หยิบใช้อุปกรณ์การเรียนได้สะดวก และอุปกรณ์การเรียนไม่สูญหาย
การจัดกระเป๋านักเรียนมีกระบวนการทำงาน ดังนี้
1. วางแผนการทำงาน
1.1 กำหนดเป้าหมายในการจัดกระเป๋านักเรียน
1) เพื่อให้กระเป๋านักเรียนไม่หนักมากเกินไป
2) เพื่อให้มีสมุด หนังสือ และอุปกรณ์การเรียนครบตามตารางเรียนในแต่ละวัน
3) เพื่อให้หยิบใช้และเก็บได้ง่าย
4) เพื่อป้องกันการสูญหาย
1.2 กำหนดวิธีการจัดกระเป๋านักเรียน โดยมีขั้นตอน ดังนี้
1) ดูตารางเรียนประจำวัน
2) เตรียมหนังสือและสมุดตามตารางเรียน
3) จัดเตรียมอุปกรณ์การเรียนให้ครบและพร้อมใช้งาน โดยแยกประเภทหนังสือ สมุด และอุปกรณ์การเรียน
4) จัดเก็บหนังสือ สมุด และอุปกรณ์การเรียนลงในกระเป๋า แยกเป็นหมวดหมู่ให้เป็นระเบียบ
2. ปฏิบัติงานตามแผน
จัดกระเป๋านักเรียนตามแผนที่วางไว้
3. ประเมินผลการทำงาน
ตรวจดูกระเป๋านักเรียนที่จัดเก็บแล้วว่ามีสมุด หนังสือ และอุปกรณ์ครบตามตารางเรียน หยิบใช้งานและเก็บได้ง่ายหรือไม่ ถ้ามีข้อบกพร่องให้ปรับปรุงแก้ไขให้ดีขึ้น
1.3 มารยาทในการอยู่ร่วมกับผู้อื่น
1) มารยาทในการต้อนรับบิดา มารดา หรือผู้ปกครองในโอกาสต่างๆ
บิดา มารดา หรือผู้ปกครอง เป็นผู้มีพระคุณ เพราะท่านให้กำเนิดและเฝ้าเลี้ยงดู อบรมสั่งสอนให้เราเป็นคนดี ดังนั้น จึงต้องแสดงมารยาทที่ดีต่อท่านด้วยการเคารพเชื่อฟัง และดูแลท่านในโอกาสต่างๆ ดังนี้
(1) ต้อนรับบิดา มารดา หรือผู้ปกครอง เมื่อกลับจากที่ทำงานด้วยรอยยิ้ม ช่วยนำสิ่งของที่ท่านถือมาไปเก็บเข้าที่ให้เรียบร้อย และยกแก้วใส่เครื่องดื่มไปให้ท่านดื่มดับกระหาย
(2) ดูแลบิดา มารดา หรือผู้ปกครองเมื่อเวลาที่ท่านเจ็บป่วย เช่น เมื่อท่านเป็นไข้ ตัวร้อน ควรใช้ผ้าเช็ดตัวชุบน้ำบิดหมาดๆ เช็ดตัวให้ท่าน เมื่อท่านเป็นไข้ นำอาหาร น้ำ และยามาให้ท่านรับประทาน
(3) แบ่งเบาภาระของบิดา มารดา หรือผู้ปกครอง ด้วยการช่วยทำงานบ้านตามกำลังและความสามารถ เช่น กวาดบ้าน ถูบ้าน จัดโต๊ะอาหาร ประกอบอาหาร ล้างจาน พับเก็บเสื้อผ้า
2) มารยาทในการใช้ห้องเรียน
ห้องเรียนเป็นสถานที่ให้ความรู้และทำกิจกรรมของนักเรียนและครู การอยู่ร่วมกันในห้องเรียนมีมารยาทที่ควรปฏิบัติต่อกัน ดังนี้
(1) เข้าเรียนตรงเวลา และไม่หนีเรียน
(2) ไม่นอนหลับในห้องเรียน
(3) ตั้งใจเรียน ถ้ามีข้อสงสัย ควรซักถาทครูทันที
(4) เมื่อต้องการถามครูควรยกมือขึ้นก่อน และไม่ควรพูดแทรกขณะที่ครูสอน
(5) ไม่รบกวนสมาธิของครูและเพื่อนร่วมห้องขณะเรียน โดยปฏิบัติ ดังนี้
1) ไม่พูดคุยกันเสียงดัง
2) ไม่ร้องเพลงหรือฟังเพลง
3) ไม่เล่นหรือหลอกล้อกัน
4) งดใช้อุปกรณ์และเครื่องมือสื่อสารทุกชนิด
5) ไม่รับประทานอาหารและเครื่องดื่มในห้องเรียน
6) ไม่ทำงานของวิชาอื่นขณะเรียนอีกวิชาหนึ่ง
7) ไม่ขีดเขียนโต๊ะ เก้าอี้ ผนังห้อง ประตู หน้าต่าง หรือพื้นห้องเรียน
8) ไม่อ่านหนังสือการ์ตูน หรืนิยายในห้องเรียนขณะที่ครูกำลังสอน
9) มีน้ำใจต่อเพื่อนในห้องเรียน เช่น ให้เพื่อนดูหนังสือเรียนด้วย เมื่อเพื่อนไม่มีหนังสือเรียน ช่วยกันทำงานกลุ่มด้วยความเต็มใจ ไม่เกี่ยงกันทำงาน หรือเอาเปรียบเพื่อน
10) เมื่อต้องการออกนอกห้องเรียนขณะครูสอน ต้องขออนุญาตก่อนทุกครั้ง
11) เชื่อฟังคำอบรมสั่งสอนของครู
12) ทำงานส่งครูให้ตรงตามกำหนดเวลา
13) ช่วยกันรักษาความสะอาดของห้องเรียน
3) มารยาทในการใช้ห้องน้ำและห้องส้วม
ห้องน้ำและห้องส้วมเป็นสถานที่ที่ใช้ชำระร่างกายและขับถ่ายเป็นประจำทุกวัน ดังนั้น จึงควรช่วยกันรักษาความสะอาดให้น่าใช้และปลอดภัยจากเชื้อโรค โดยปฏิบัติ ดังนี้
1) ไม่ทิ้งกระดาษชำระหรือสิ่งต่างๆ ลงในอ่างล้างมือ โถส้วมและชักโครก ตลอดจนพื้นห้อง ควรทิ้งในถังขยะที่จัดเตรียมไว้
2) เมื่อขับถ่ายเสร็จแล้วควราดน้ำหรือกดชักโครกทุกครั้ง
3) ถ้าเป็นชักโครก ไม่ควรหยียบบนโถนั่ง
4) ไม่ขีดเขียนบนผนังหรือประตูห้องน้ำ
5) ล้างทำความสะอาดห้องน้ำเป็นประจำ
6) ถ้าต้องเข้าห้องน้ำสาธารณะ ควรเข้าแถวรอตามลำดับก่อน-หลัง
4) มารยาทในการรับประทานอาหาร
การรับประทานอาหารร่วมกับผู้อื่น เป็นสิ่งที่ทุกคนพึงกระทำ และปฏิบัติอย่างถูกต้อง ดังนั้น จึงต้องแสดงมารยาทที่ดีในการรับประทานอาหาร ดังนี้
1. ใช้ช้อนกลางตักอาหารในสำรับทุกครั้ง
2. ไม่เคี้ยวอาหารเสียงดัง
3. ไม่พูดคุยขณะที่มีอาหารอยู่เต็มปาก
4. ตักอาหารรับประทานพอดีคำ ไม่ตักคำใหญ่เกินไป
5. ขณะรับประทานอาหารควรระมัดระวังไม่ให้ช้อนส้อมกระทบกัน
6. ควรใช้ช้อนกลางตักอาหารให้ผู้อื่นบ้าง หรือเลื่อนจานอาหารให้เพื่อแสดงความมีน้ำใจ
7. ใช้ผ้าเช็ดหน้าหรือใช้มือปิดปากทุกครั้งเมื่อไอหรือจามขณะเคี้ยวอาหาร
8. การดื่มน้ำดื่มควรดื่มอย่างช้าๆ ดื่มแบบไม่มีเสียงและควรมีการเว้นระยะบ้าง ไม่ควรดื่มรวดเดียวหมด และไม่ดื่มขณะที่ยังมีอาหารอยู่ในปาก
1.4 การใช้พลังงานและทรัพยากรในการทำงานอย่างประหยัดและคุ้มค่า
พลังงานและทรัพยากรที่ใช้ในการทำงานและการดำเนินชีวิตประจำวันเป็นสิ่งที่มีวันหมดไป หรือเสื่อมสภาพได้ ดังนั้น สมาชิกทุกคนในครอบครัวจึงควรร่วมมือร่วมใจกันในการใช้พลังงานและทรัพยากรเหล่านี้อย่างประหยัดและคุ้มค่า
(1) การใช้น้ำ
1. ขณะล้างหน้า หรืออาบน้ำ ไม่ควรเปิดน้ำให้ไหลทิ้งตลอดเวลา ควรปิดน้ำเวลาถูสบู่ และเมื่อแปรงฟันให้รองน้ำใส่แก้วไว้ใช้โดยไม่ต้องเปิดน้ำ
2. การซักผ้าด้วยมือควรรองน้ำใส่กะละมังเพียงแค่พอใช้ ไม่ควรเปิดน้ำทิ้งไว้ตลอดเวลาที่ซัก
3. น้ำที่เหลือจากการซักผ้าและถูบ้าน สามารถนำมาใช้รดน้ำต้นไม้ได้
4. การล้างผักหรือผลไม้ จาน ชาม และแก้วน้ำ ควรเตรียมน้ำใส่ในภาชนะแล้วจึงล้าง ไม่ควรเปิดน้ำทิ้งไว้ตลอดเวลา
5. หมั่นตรวจสอบการรั่วไหลของน้ำตามท่อน้ำหรือก๊อกน้ำ ถ้าพบรอยรั่วควรบอกผู้ปกครองให้รีบซ่อมแซมทันที
(2) การใช้ไฟฟ้า
1. ปิดสวิตซ์เครื่องใช้ไฟฟ้าทุกชนิดและเครื่องคอมพิวเตอร์เมื่อไม่ใช้งาน
2. ไม่ควรเปิดตู้เย็นบ่อยๆ และห้ามนำของร้อนไปแช่ในตู้เย็น เพราะจะทำให้ตู้เย็นทำงานหนัก และใช้ไฟฟ้ามากขึ้น
3. เลือกใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าที่มีฉลากประหยัดไฟเบอร์ 5
4. ถอดปลั๊กไฟเครื่องใช้ไฟฟ้าทุกชนิดเมื่อไม่ใช้งาน ยกเว้นตู้เย็น
5. รู้จักซ่อมบำรุงและหมั่นทำความสะอาดเครื่องใช้ไฟฟ้าอยู่เสมอ
(3) การใช้กระดาษ
1. กระดาษถ่ายเอกสารที่ใช้ไปเพียง 1 หน้าและกระดาษสมุดเหลือใช้สามารถนำมาใช้ทดเลขหรือเย็บเล่มเป็นสมุดบันทึกได้
2. กระดาษหนังสือพิมพ์ที่ไม่ใช้แล้วสามารถนำมาใช้เช็ดกระจกเงา กระจกหน้าต่าง กระจกประตู และกระจกบานเกล็ดให้ใสสะอาดได้
3. กระดาษนิตยสาร กระดาษหนังสือพิมพ์สามารถนำมาประดิษฐ์เป็นของใช้และของตกแต่งได้
4. กระดาษหนังสือเก่าที่ไม่ใช้แล้ว สามารถนำมาสานเป็นตะกร้าหรือกระจาดใส่ของได้
5. กระดาษหนังสือเก่าที่ไม่ใช้แล้วอย่าทิ้งลงถังขยะ ให้รวบรวมไปขายเพื่อแปรรูปเป็นกระดาษกลับมาใช้อีก
(4) การรใช้วัสดุ อุปกรณ์และเครื่องมือ
1. ศึกษาคู่มือการใช้งานวัสดุอุปกรณ์และเครื่องมือก่อนใช้งานจริง
2. ใช้งานวัสดุ อุปกรณ์และเครื่องมือให้เหมาะสมกับงานอย่างถูกวิธีและปลอดภัยตามคำแนะนำในคู่มือ
3. หมั่นตรวจสอบสภาพการใช้งานของวัสดุ อุปกรณ์และเครื่องมือ ถ้าหมดอายุให้ทิ้งไป ถ้าชำรุดควรรีบซ่อมแซม เพื่อไม่ให้ชำรุดมากจนซ่อมไม่ได้
4. หมั่นบำรุงรักษาวัสดุ อุปกรณ์และเครื่องมือเพื่อยืดอายุการใช้งานโดยไม่ต้องซื้อใหม่