วิชาคณิตศาสตร์เพิ่มเติม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1(ค21202) ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564
เกี่ยวกับบทเรียน

เอกนาม (Monomial) คือ นิพนธ์ที่เป็นผลคูณระหว่างตัวเลขหรือค่าคงที่และตัวแปรตั้งแต่ 1 ตัวขึ้นไปและกำลังของแต่ละตัวแปรนั้นไม่น้อยกว่า 0 (มากกว่า หรือ เท่ากับ 0) ซึ่งอยู่ในรูปแบบ

เอกนาม = ค่าคงตัว (ตัวเลขใดๆ) x ตัวแปร (ที่มีเลขชี้กำลังเป็น 0 หรือจำนวนเต็มบวก)

 
ตัวอย่าง  3x อ่านว่า สามเอ็กซ์ หมายถึง 3×x
 -5y อ่านว่า ลบห้าวาย หมายถึง -5×y
 xy อ่านว่า เอ็กซ์วาย หมายถึง x×y
 x2y อ่านว่า เอ็กซ์กำลังสองวาย หมายถึง x×x×y
 xy2z3 อ่านว่า เอ็กซ์วายกำลังสองแซดกำลังสาม หมายถึง x×y×y×z×z×z
 0.6ab4 อ่านว่า ศูนย์จุดหกเอบีกำลังสี่ หมายถึง 0.6×a×b×b×b×b
 
หมายเหตุ
1) นิพจน์ (Expression) คือ ข้อความในรูปสัญลักษณ์ เช่น 8, 9a, -4x + 7, a +2b – 3 ฯลฯ
2) 5 เป็นเอกนามตัวด้วย เพราะเราเขียน 5 ในรูปที่มีตัวแปรได้ คือ 5×0  (x0 = 1)
3) นิพนธ์ที่ไม่เป็นเอกนาม เช่น
  xy-3 ไม่เป็นเอกนามเพราะ  y มีกำลังติดลบ
4) สัมประสิทธิ์ของเอกนาม คือ ค่าคงที่ที่อยู่หน้าตัวแปร
5) ดีกรีของเอกนาม คือ ผลบวกของเลขชี้กำลังทั้งหมดตัวของแปร
6) a = 1×a   (ตัวแปรใดที่ไม่เห็นตัวเลข ให้คิดว่ามี 1 คูณอยู่ด้านหน้า)
7) x = x1    (ตัวแปรใดที่ไม่เห็นกำลัง ให้คิดว่ามีกำลังเท่ากับ 1)
ตัวอย่าง
 เอกนาม
สัมประสิทธิ์
ดีกรี
3
3
0 (มาจาก3x0)
5x
5
1 (มาจาก5x1)
-y2
-1
2
3xy
3
2 (1+1)
4x2y
4
3 (2+1)
0.5ab3
0.5
4 (1+3)
-6a4b2
-6
6 (4+2)
 11a3bc5
11
 9 (3+1+5)
เอกนามคล้าย  คือ  เอกนามที่มีตัวแปรชุดเดียวกัน และเลขชี้กำลังของตัวแปรเดียวกันในแต่ละเอกนามเท่ากัน
ตัวอย่าง
2xy คล้ายกับ 7xy
-7xy2 คล้ายกับ xy2
4x3y คล้ายกับ –x3y
xy คล้ายกับ yx
abc คล้ายกับ cba
2ab5  คล้ายกับ -2ab5
6a3b2c คล้ายกับ 9a3cb2
xy ไม่คล้ายกับ xy2
3xyz2 ไม่คล้ายกับ 3xy2z
3a2 ไม่คล้ายกับ 3b2

ไฟล์ตัวอย่าง
1) เอกนาม.pdf
ขนาด: 1.21 MB
แบบฝึกหัดที่1 เอกนาม.pdf
ขนาด: 352.94 KB