เนื้อหาของคอร์ส
แบบทดสอบก่อนเรียน
0/1
หน่วยที่ 6 พลังงานบนโลกของเรา
รูปแบบพลังงาน การเปลี่ยนพลังงานหนึ่งไปเป็นอีกพลังงานหนึ่ง การทำงานเครื่องกำเนิดไฟฟ้า แหล่งพลังงานในการผลิตกระแสไฟฟ้า ประโยชน์และโทษของไฟฟ้า การใช้ไฟฟ้าอย่างประหยัดและปลอดภัย
0/7
แบบทดสอบหลังเรียน
0/1
วิชาวิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 (ว13101) ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564
เกี่ยวกับบทเรียน

อากาศเป็นปัจจัยสำคัญในการดำรงชีวิตของสิ่งมีชีวิต แต่ถ้าส่วนประกอบของอากาศเปลี่ยนไป เช่น มีฝุ่นละออง เขม่า ควัน เจือปนอยู่ในอากาศมากเกินไป อาจก่อให้เกิดอันตรายต่อสิ่งมีชีวิต เราเรียกสภาพอากาศแบบนี้ว่า มลพิษทางอากาศ

ปัจจัยที่ก่อให้เกิดมลพิษทางอากาศมีหลายปัจจัย ส่วนใหญ่เกิดจากการกระทำของมนุษย์ ยิ่งจำนวนประชากรเพิ่มมากขึ้นเท่าใดก็ยิ่งส่งผลให้เกิดมลพิษทางอากาศเพิ่มมากขึ้นตามไปด้วย

สิ่งที่ปะปนอยู่ในอากาศ คือ ฝุ่นละออง หากอากาศมีฝุ่นละอองอยู่มากจะมีผลต่อระบบหายใจของมนุษย์ ซึ่งก่อให้เกิดโรคต่าง ๆ เช่น โรคหลอดลมอักเสบ โรคหอบหืด โรคถุงลมโป่งพอง

มลพิษทางอากาศและผลกระทบต่อสิ่งมีชีวิต

มลพิษทางอากาศอาจเกิดขึ้นได้เองตามธรรมชาติหรือเกิดจากกิจกรรมที่มนุษย์กระทำ เช่น

  1. ภูเขาไฟระเบิด เมื่อภูเขาไฟระเบิดระปล่อยควัน เถ้าถ่าน และแก๊สต่างๆ เช่น แก๊สคาร์บอนมอนอกไซด์ แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ แก๊สซัลเฟอร์ไดออกไซด์ ออกมาจำนวนมากและกระจายไปทั่วชั้นบรรยากาศของโลก
  2. ควันพิษจากโรงงานอุตสาหกรรม ทำให้เกิดฝนกรด เมื่อฝนกรดตกลงสู่พื้นดินจะส่งผลกระทบต่อสัตว์ มนุษย์ และพืช เช่น ทำให้ใบของพืชเสียหาย
  3. ควันจากท่อไอเสีย การเผาไหม้ของเชื่้อเพลิงที่ไม่สมบูรณ์ของเครื่องยนต์หรือโรงงานอุตสาหกรรมจะทำให้เกิดแก๊สคาร์บอนมอนอกไซด์ ที่ก่อให้เกิดอันตรายต่อร่างกายมนุษย์และสัตว์

แนวทางการแก้ปัญหามลพิษทางอากาศ

  1. สร้างจิตสำนึก ร่วมกันดูแลรักษาคุณภาพของอากาศในท้องถิ่นไม่ให้เกิดมลพิษ เช่น ไม่เผาป่า
  2. กำจัดขยะหรือเศษอาหารให้ถูกวิธี  เปลี่ยนจากการเผาเป็นวิธีอื่นๆ ที่ไม่ก่อให้เกิดควัน เช่น นำเศษอาหารมาทำปุ๋ยหมัก
  3. ออกกฎหมายควบคุมต่อโรงงานอุตสาหกรรมในการปล่อยควันพิษออกสู่ชั้นบรรยากาศ
  4. ปลูกต้นไม้ เพื่อช่วยกรองอากาศเสีย ทำให้อากาศมีคุณภาพที่ดีขึ้น
  5. ลดการใช้รถยนต์ส่วนตัว หันมาใช้รถสาธารณะให้มากขึ้น