1. ความหมายประโยชน์ของไม้ดอก ไม้ประดับ
ไม้ดอก คือพืชที่มีดอก บางชนิดมีสีสัน บางชนิดมีกลิ่นหอม ไม้ดอกมีอายุสั้น บางชนิดมีอายุเพียงหนึ่งฤดูกาล เช่น ดาวกระจาย ดาวเรื่องบานไม่รู้โรย คุณนายตื่นสาย บานชื่น
นอกจากนี้ยังมีไม้ดอกประเภทยืนต้น ซึ่งมีอายุยืนยาว เช่น จำปี จำปา เฟื่องฟ้า ราชพฤกษ์ หางนกยูง ลีลาวดี ตะแบก
ไม้ประดับ คือพืชที่มีใบและลำต้นสวยงาม ไม้ประดับมีหลายชนิด เช่น โกสน พลูด่าง เล็บครุฑ ฤาษีผสม บอนสี ดาดตะกั่ว ว่านกาบหอยแครงแคระ เฟิร์น ตะบองเพชร ผักเป็ด ลิ้นมังกร เทียนทอง หมากผู้หมากเมีย ก้ามปูหลุด สับปะรดสี สาวน้อยประแป้ง หัวใจม่วง
ไม้ดอก ไม้ประดับ เป็นพืชที่มีความสวยงามตามธรรมชาติ นิยมปลูกทั้งภาชนะและปลูกในแปลง ซึ่งจะพบเห็นได้ทั่วไปตามอาคารบ้านเรือนและสวนสาธารณะ
2. ประโยชน์ของไม้ดอก ไม้ประดับ ไม้ดอก ไม้ประดับมีประโยชน์ ดังนี้
1. สร้างความสดชื่นให้แก่ผู้อยู่อาศัยในบริเวณบ้าน หรือบริเวณที่พักอาศัย
2. ใช้ประดับตกแต่งอาคารสถานที่ให้เกิดความสวยงาม เช่น การปลูกไม้ดอก ไม้ประดับในสวนหย่อมภายในและภายนอกอาคารสถานที่
3. ใช้งานพิธีต่างๆ เช่น งานแต่งงานใช้ไม้ดอก ไม้ประดับตกแต่งพานรดน้ำสังข์ของคู่บ่าวสาว งานไหว้ครูใช้ไม้ดอก ไม้แระดับทำพานไหว้ครู งานศพใช้ไม้ดอก ไม้ประดับตกแต่งโลงศพ
4. ใช้เพิ่มสีสันให้แก่อาหารและเครื่องดื่ม เช่น ขนมช่อม่วงหรือข้าวเกรียบปากหม้อที่มีสีม่วง
จากดอกอัญชัญ น้ำใบเตยที่มีสีเขียวจากใบเตย
5. ใช้เป็นยารักษาโรค เช่น ดอกบัวหลวง ใช้ใบอ่อนปรุงเป็นยาบำรุงร่างกายให้สดชื่น ใบใช้แก้ไข้ บำรุงโลหิต
6. ใช้เป็นของขวัญ ของที่ระลึก เช่น กระเช้าดอกไม้หรือแจกันดอกไม้ ใช้เป็นของเยี่ยมไข้ผู้ป่วย ช่อดอกไม้ ใช้นำไปร่วมแสดงความยินดีในโอกาสต่างๆ
7. สร้างอาชีพเกี่ยวกับไม้ดอก ไม้ประดับ เช่น การจำหน่ายไม้ดอก ไม้ประดับทั้งในประเทศ
และต่างประเทศ ธุรกิจการจัดสวน
3. เครื่องมือและอุปกรณ์ปลูกไม้ดอก ไม้ประดับ
การปลูกไม้ดอก ไม้ประดับ นอกจากต้องเตรียมพันธ์ุพืช ดิน ปุ๋ย และน้ำแล้ว ยังต้องเตรียมเครื่องมือและอุปกรณ์ให้พร้อมสำหรับใช้งานอีกด้วย
3.1 บัวรดน้ำ มีหลายชนิด ที่ทำจากโลหะและพลาสติก เหมาะสำหรับใช้รดน้ำต้นไม้ขนาดเล็กๆ ต้นอ่อนหรือต้นกล้า การใช้งานให้เติมน้ำใส่บัวรดน้ำในปริมาณที่ตนเองสามารถยกได้แล้วจับทีู่หิ้ว รดน้ำต้นไม้โดยให้ปลายฝักบัวห่างจากต้นไม้ประมาณ 30 เซนติเมตร
การเก็บรักษา หลังจากใช้ทุกครั้งจะต้องเทน้ำออกให้หมดแล้วล้างเก็บให้เรียบร้อย โดยคว่ำหรือแขวนให้เป็นระเบียบ
3.2 ถังน้ำ มีทั้งชนิดที่ทำด้วยสังกะสีและพลาสติก ใช้ตักน้ำรดต้นไม้ที่โตและแข็งแรงแล้ว โดยตักน้ำจากบ่อหรือสระน้ำแล้วใช้มือควักน้ำจากถังรดน้ำต้นไม้ ไม่ควรสาดน้ำใส่ต้นไม้เล็กๆ หรือต้นอ่อน เพราะจะทำให้ต้นไม้หักล้มหรือโยกคลอนได้
การเก็บรักษา เมื่อใช้เสร็จแล้วควรล้างทำความสะอาด คว่ำให้แห้ง แล้วเก็บเข้าที่ให้เรียบร้อย
3.3 สายยาง ควรใช้สายยางที่มีหัวฉีดสามารถปรับระดับความแรงของน้ำได้ ต่อปลายสายยางเข้ากับก๊อกน้ำ ถือปลายสายยางที่มีหัวฉีดรดน้ำต้นไม้โดยให้น้ำที่ไหลออกมามีลักษณะคล้ายฝนตกหรือคล้ายกับการใช้บัวรดน้ำ
การเก็บรักษา หลังจากใช้งานทุกครั้งจะต้องม้วนเก็บให้เรียบร้อย ไม่ควรวางกลางแจ้งหรือถูกแสงแดดตลอดวัน เพราะจะทำให้สายยางเสื่อมคุณภาพ
3.4 เสียม โดยทั่วไปเสียมจะทำด้วยโลหะ ด้ามถือทำด้วยไม้หรือโลหะ ใข้สำหรับขุดหลุมเล็กๆ หรือใช้พรวนดินให้เป็นก้อนเล็กๆ และพรวนดินรอบๆ โคนต้นของพืช
การเก็บรักษา หลังจากใช้แล้วทุกครั้งจะต้องล้างให้สะอาด และเช็ดให้แห้ง ทาน้ำมันป้องกันสนิมส่วนที่เป็นโลหะ ถ้าด้ามหลวมหรือชำรุดจะต้องซ่อมแซมให้ด้ามกระชับแน่นสนิท ถ้าบิดงอหรือบิ่นให้ใช้ค้อนทุบหรือดัดให้อยู่ในสภาพเดิม
3.5 จอบ ตัวจอบทำด้วยโลหะ ด้มถือทำด้วยไม้หรือโลหะ หน้าจอบเว้าลึก ด้านข้างจะเรียวแหลมคมเพื่อให้ขุดลงไปในดินได้ง่ายขึ้น จอบใช้สำรับขุดดินที่มีความแข็งและเหนียว ใช้ขุดพลิกหน้าดินหรือยกร่องแปลงปลูกพืช
การเก็บรักษา หลังจากใช้แล้วทุกครั้งจะต้องล้างให้สะอาด และเช็ดให้แห้ง ทาน้ำมันป้องกันสนิมส่วนที่เป็นโลหะ ถ้าด้ามหลวมหรือชำรุดจะต้องซ่อมแซมให้ด้ามกระชับแน่นสนิท ถ้าบิดงอหรือบิ่นให้ใช้ค้อนทุบหรือดัดให้อยู่ในสภาพเดิม
3.6 ช้อนปลูก ทำจากเหล็กตีเป็นแผ่นแบนๆ ดัดให้โค้งคล้ายกับช้อน ปลายแหลมมน ด้ามมีทั้งชนิดที่ทำด้วยเหล็กและไม้ ช้อนปลูกใช้สำหรับขุดหลุมเล็กๆ เพื่อปลูกพืช และใช้ขุดย้ายต้นกล้า
การเก็บรักษา หลังจากใช้แล้วทุกครั้งจะต้องล้างให้สะอาด และเช็ดให้แห้ง ทาน้ำมันป้องกันสนิมส่วนที่เป็นโลหะ เก็บเข้าที่โดยการแขวน หรือวางบนชั้นวางให้เป็นระเบียบเรียบร้อย
3.7 ส้อมพรวน ทำด้วยโลหะลักษณะคล้ายส้อม ใช้สำหรับพรวนดินให้ร่วนซุยรอบๆ ต้นไม้ที่มีขนาดเล็ก และขุดถอนวัชพืช ไม่ควรใช้กับดินแข็งหรือดินเหนียว เพราะจะทำให้ส่วนที่เป็นซี่ฟันหักหรืองอได้
การเก็บรักษา หลังจากใช้งานแล้วทุกครั้ง ควรล้างให้สะอาด เช็ดให้แห้ง ทาน้ำมันป้องกันสนิมส่วนที่เป็นโลหะ เก็บเข้าที่โดยการแขวน หรือวางบนชั้นวางให้เป็นระเบียบเรียบร้อย
3.8 กรรไกรตัดกิ่ง ใช้สำหรับตัดและแต่งกิ่งต้นไม้ที่มีขนาดเล็ก เมื่อใช้ต้องปลดล็อกเพื่อให้สปริงยืดออก เมื่อใช้งานเสร็จควรล็อกสปริงทันที
การเก็บรักษา ภายหลังการใช้งานควรเช็ดยางไม้ออกให้สะอาด ทาน้ำมันป้องกันสนิมส่วนที่เป็นโลหะ แล้วเก็บเข้าที่หรือแขวนให้เรียบร้อย
4. การใช้เครื่องมือและอุปกรณ์การเกษตรอย่างปลอดภัย
เพื่อความปลอดภัยในการใช้เครื่องมือและอุปกรณ์ ควรปฏิบัติ ดังนี้
1. ศึกษาวิธีการใช้เครื่องมือและอุปกรณ์แต่ละชนิด
2. ใช้เครื่องมือและอุปกรณ์ให้ถูกต้องและเหมาะสมกับชนิดของงาน
3. ตรวจสอบสภาพเครื่องมือและอุปกรณ์ให้อยู่ในสภาพสมบูรณ์ก่อนนำไปใช้
4. ถ้าเครื่องมือและอุปกรณ์เสียหายควรซ่อมแซฝให้เรียบร้อยก่อนใช้งาน
5. ห้ามนำเครื่องมืออุปกรณ์มาเล่นกัน
6. ควรแต่งกายให้รัดกุมและเหมาะสมในการปฏิบัติงาน
7. ในระหว่างใช้งานต้องระวังบุคคลข้างเคียง
8. ควรวางเครื่องมือและอุปกรณ์ในที่ที่ปลอดภัยมากที่สุด อย่าวางนอนไปกับพื้น เพราะอาจเหยียบลื่นหกล้ม หรือเกิดบาดแผลได้
9. เมื่อปฏิบัติงานเสร็จควรทำความสะอาดและตรวจซ่อมแซมเครื่องมือและอุปกรณ์ให้อยู่ในสภาพสมบูรณ์ พร้อมที่จะใช้งานในครั้งต่อไป
10. เก็บเครื่องมือและอุปกรณ์ให้เป็นระเบียบเรียบร้อยภายหลังจากการใช้งาน
5. การปลูกไม้ดอก
5.1 การปลูกดาวเรือง
ดาวเรือง เป็นพืชที่เจริญเติบโตได้ดีในดินทุกสภาพ ชอบแสงแดด จึงควรปลูกกลางแจ้ง ดอกดาวเรืองจะมีลักษณะรูปทรงเป็นวงกลม มีสีเหลืองออกดอกเต็มต้น ขยายพันธ์ุโดยใช้เมล็ด
วัสดุอุปกรณ์
1. เมล็ดพันธ์ุดาวเรือง 2. ปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอก
3. จอบ 4. ช้อนปลูก
5. ส้อมพรวน 6. บัวรดน้ำ
ขั้นตอนการปลูก
1. เลือกแปลงปลูกขนาดกว้างประมาณ 1 เมตร ความยาวตามความเหมาะสม ขุดพลิกหน้าดินไว้ประมาณ 1 สัปดาห์ เพื่อฆ่าเชื้อโรค
2. ขุดหลุมปลูกโดยให้แต่ละหลุมห่างกัน 30 เซนติเมตร หยอดเมล็ดดาวเรืองหลุมละ 1-2 เมล็ด แล้วกลบดิน
3. ใส่ปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอกให้ทั่วแปลงปลูก แล้วรดน้ำให้ชุ่ม
การดูแลรักษา
1. รดน้ำเช้าและเย็น
2. พรวนดินรอบๆ โคนต้น
3. กำจัดวัชพืชและศัตรูพืชเป็นประจำ
4. ปลิดยอดเพื่อให้ดาวเรืองแตกพุ่ม
5. ใส่ปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอกสัปดาห์ละ 1 ครั้ง
5.2 การปลูกบานไม่รู้โรย
บานไม่รู้โรย เป็นไม้ล้มลุกพุ่มเตี้ยสูงประมาณ 60 เซนติเมตร กิ่ง ก้าน และใบมีขนนุ่มละเอียดปกคลุม ลักษณะใบยาวรี ปลายใบแหลมหรือมน ขอบใบเรียบ ใบจะออกเป็นคู่ตรงข้ามสลับกันไป ดอกออกเป็นช่อ ช่อละ 2-4 ดอก ดอกมีสีขาว สีม่วง สีชมพู มีกลีบแข็งสั้นรวมกันเป็นพุ่มกลมเล็กๆ เส้นผ่านศูนย์กลางประมาณครึ่งนิ้วขยายพันธ์ุโดยใช้เมล็ด
วัสดุและอุปกรณ์
1. เมล็ดพันธ์ุบานไม่รู้โรย 2. ปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอก
3. จอบ 4. ส้อมพรวน
5. ช้อนปลูก 6. บัวรดน้ำ
ขั้นตอนการปลูก
1. เลือกบริเวณที่ปลูกขนาดกว้าง 1 เมตร ยาว 4 เมตร
2. ใช้จอบถางหญ้าบริเวณแปลงปลูก และใช้จอบขุดแปลงเป็นแนวให้ลึกประมาณ 30 เซนติเมตร
3. ยกแปลงแล้วผึ่งแดดประมาณ 1 สัปดาห์ เพื่อฆ่าเชื้อโรค
4. ใช้ส้อมพรวนย่อยดินให้ละเอียดและปรับหน้าดินให้เรียบทั่วทั้งแปลงปลูก
5. ใส่ปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอกให้ทั่วทั้งแปลงปลูกแล้วรดน้ำให้ชุ่ม
6. ใช้มือโรยเมล็ดพันธ์ุโดยให้กระจายทั่วแปลงปลูก แล้วใช้ดินโรยทับเมล็ดพันธ์ุบางๆ อีกครั้ง
การดูแลรักษา
1. รดน้ำในเวลาเช้าและเย็น
2. ใส่ปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอกสัปดาห์ละ 1 ครั้ง
3. หมั่นพรวนดินให้ร่วนซุย
4. กำจัดวัชพืชและศัตรูพืชเป็นประจำ
5.3 การปลูกคุณนายตื่นสาย
คุณนายตื่นสาย เป็นพืชที่คลุมดิน ต้นเตี้ยใบมีลักษณะอวบน้ำ เป็นแท่งรูปเข็มยาวประมาณ 1 นิ้ว สีเขียวอ่อนเป็นมัน ดอกมีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 1-25 นิ้ว กลีบดอกบาง มีทั้งดอกชั้นเดียวและดอกซ้อนหลายสี คุณนายตื่นสายเหมาะที่จะปลูกในบริเวณที่มีอากาศร้อน แห้งแล้ง ชอบดินร่วนปนทราย ขยายพันธ์ุด้วยการปักชำ
วัสดุและอุปกรณ์
1. กิ่งพันธ์ุคุณนายตื่นสาย 2. ปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอก
3. จอบ 4. ส้อมพรวน
5. ช้อนปลูก 6. บัวรดน้ำ
ขั้นตอนการปลูก
1. ยกแปลงตามขนาดที่ต้องการทิ้งไว้ 1 สัปดาห์
2. รดน้ำให้ทั่วแปลงปลูกเพื่อให้ดินนิ่ม
3. ใส่ปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอกให้ทั่วแปลง แล้วรดน้ำให้ชุ่ม
4. ปักกิ่งคุณนายตื่นสายลงไปในดิน ให้มีระยะห่างของแต่ละกิ่งพอสมควรปักจนเต็มแปลง
การดูแลรักษา
1. รดน้ำวันละ 1 ครั้งในตอนเช้า
2. ใส่ปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอกสัปดาห์ละ 1 ครั้ง
3. หมั่นพรวนดินให้ร่วนซุย
4. กำจัดวัชพืชและศัตรูพืชเป็นประจำ
6. การปลูกไม้ประดับ
6.1 การปลูกฤาษีผสม
ฤาษีผสม มีหลายชนิด แต่ละชนิดจะมีใบที่มีสีสันสวยงามแตกต่างกัน ใบมีลักษณะเป็นรูปหัวใจขอบใบหยักคล้ายฟันเลื่อย มีหลายสี เช่น เขียว ม่วง แดง น้ำตาล ฤาษีผสมนิยมปลูกเป็นพืชคลุมดิน หรือใช้ตกแต่งสวนหย่อมตามอาคารสถานที่ต่างๆ ขยายพันธ์ุด้วยการปักชำ
วัสดุและอุปกรณ์
1. กิ่งฤาษีผสม 2. ปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอก
3. จอบ 4. ส้อมพรวน
5. บัวรดน้ำ 6. กรรไกรตัดกิ่ง
ขั้นตอนการปลูก
1. เลือกพื้นที่ปลูกความกว้างประมาณ 1 เมตร ความยาวตามความเหมาะสม
2. ขุดพลิกหน้าดินไว้ประมาณ 1 สัปดาห์ เพื่อให้แสงแดดฆ่าเชื้อโรคที่อยู่ในดิน
3. ใส่ปุ๋ยและรดน้ำให้ชุ่ม
4. ปักกิ่งฤาษีผสมลงในดินห่างกันประมาณ 30 เซนติเมตร
การดูแลรักษา
1. หมั่นพรวนดิน
2. ใส่ปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอกสัปดาห์ละ 1 ครั้ง
3. กำจัดวัชพืชและศัตรูพืชเป็นประจำ
4. รดน้ำเช้าและเย็น
6.2 การปลูกพลูด่าง
พลูด่าง เป็นไม้เลื้อย ใบมีลักษณะเป็นรูปหัวใจสีเขียวสดสลับกับสีเหลืองนวล ต้นมีลักษณะ่อนช้อย พลูด่างเป็นพืชที่มีรากอากาศ จึงเจริญเติบโตได้ดีทั้งในดินและในน้ำ สามารถปลูกได้ทั้งในกระถางที่มีดิน แจกันมีน้ำ และแปลงปลูก ขยายพันธ์ุด้วยการปักชำ
วัสดุและอุปกรณ์
1. กิ่งพลูด่าง 2. ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก
3. วัสดุอินทรีย์ 4. กรรไกรตัดกิ่ง
5. ส้อมพรวน 6. จอบ
7. บัวรดน้ำ
ขั้นตอนการปลูก
1. ใช้จอบขุดพลิกหน้าดินไว้ประมาณ 1 สัปดาห์ เพื่อให้แสงแดดฆ่าเชื้อโรคที่อยู่ในดิน
2. ผสมดินกับวัสดุอินทรีย์ เช่น แกลบ ขุยมะพร้าว เศษใบไม้ ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักในอัตราส่วนดินต่อวัสดุอินทรีย์ 1 : 1 หรือ 2 : 1
3. เตรียมกิ่งพลูด่างที่ไม่อ่อนหรือไม่แก่เกินไป โดยตัดกิ่งให้มีความยาวประมาณ 15-20 เซนติเมตร
4. ปักกิ่งพลูด่างลงในดิน จากนั้นใส่ปุ๋ยแล้วรดน้ำให้ชุ่ม
การดูแลรักษา
1. รดน้ำทุกวันเช้าและเย็น
2. พรวนดินเป็นประจำ
3. กำจัดวัชพืชเป็นประจำ
4. ใส่ปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอกสัปดาห์ละ 1 ครั้ง
6.3 การปลูกว่านกาบหอยแครงแคระ
ว่านกาบหอยแครงแคระ เป็นพืชคลุมดินใบเดี่ยวออกเรียงสลับเป็นกาบหุ้มรอบต้น มีใบเป็นรูปหอก ปลายใบแหลม โคนตัด ขอบใบเรียบ แผ่นใบหนา ด้านบนสีเขียวเข้ม ใต้ใบสีม่วงแดง ไม่ม่ก้านใบ ช่อดอกออกที่ซอกใบ ชอบแสงแดดปานกลาง ขยายพันธ์ุด้วยการปักชำและแยกหน่อ
วัสดุและอุปกรณ์
1. หน่อหรือกิ่งพันธ์ุว่านกาบหอยแครงแคระ
2. ปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอก 3. จอบ
4. ส้อมพรวน 5. บัวรดน้ำ
ขั้นตอนการปลูก
1. ใช้จอบขุดพลิกหน้าดินผึ่งแดดไว้ประมาณ 1 สัปดาห์ เพื่อฆ่าเชื้อโรค
2. รดน้ำให้ดินนุ่ม ผสมปุ๋ยคอกให้ทั่วแปลง แล้วรดน้ำให้ชุ่ม
3. ปักกิ่งหรือหน่อว่านกาบหอยแครงแคระลงในดินให้มีระยะห่างระหว่างต้นประมาณ 1 ฝ่ามือ จนทั่วแปลง
การดูแลรักษา
1. รดน้ำทุกวันเช้าและเย็น
2. พรวนดิน
3. กำจัดวัชพืชเป็นประจำ
4. ใส่ปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอกสัปดาห์ละ 1 ครั้ง