เมธอด Write() และ WriteLine() กับตัวแปร
เหมือนในภาษาอื่นๆ ภาษา C# สามารถแสดงตัวอักษรร่วมกับตัวแปรและค่าคงที่ได้ สำหรับเมธอด Write() และ WriteLine() นั้นจะเป็นการใส่พารามิเตอร์มากกว่า 2 ตัวขึ้นไป จะจัดรูปแบบการแสดงผลในพารามิเตอร์ตัวแรก
ตัวอย่างการใช้งานของทั้งสองเมธอด
using System;
class BasicInputOutput2
{
static void Main(string[] args)
{
String name = “Marcus”;
String music = “Trip hop”;
String movie = “science”;
Console.WriteLine(“My name is {0}.”, name);
Console.WriteLine(“{0} is my favorite music style and {1} is movie style.”, music, movie);
}
}
ในตัวอย่าง ได้มีการแสดงผลชื่อจากตัวแปร name นั่นหมายความว่าข้อความจะเปลี่ยนไปตามค่าของตัวแปร โดยเราได้ใส่อากิวเมนต์ตัวที่สองในเมธอด WriteLine() คือตัวแปร name และหลังจากนั้นจะต้องทำการจัดรูปแบบการแสดงผลที่อากิวเมนต์แรกที่จะเห็น { และ } เพื่อให้สอดคล้องกับลำดับของตัวแปรที่ใส่เข้ามาในเมธอด
ผลลัพธ์ของโปรแกรม
My name is Marcus.
Trip hop is my favorite music style and science is movie style.
และในภาษา C# ยังมีอีกวิธีหนึ่งที่ผู้เรียนสามารถใช้ได้คือการต่อ string หรือเราเรียกว่า String concatenating โดยการใช้เครื่องหมาย + เพื่อต่อข้อความเข้าด้วยกัน
using System;
class BasicInputOutput3
{
static void Main(string[] args)
{
String name = “Marcus”;
String music = “Trip hop”;
String movie = “science”;
Console.WriteLine(“My name is ” + name + “.”);
Console.WriteLine(music + ” is my favorite music style and ” + movie+ ” is movie style.”);
}
}
ทั้งสองวิธีนั้นให้ผลลัพธ์ที่เหมือนกัน แต่จะมีข้อควรระวังคือการใช้เครื่องหมาย Concatenating นั้นจะทำให้เกิดการแปลงตัวเลขเป็น String และให้ผู้เรียนเลือกใช้มันอย่างเหมาะสม
Console.WriteLine(“Number is ” + 3 + 4); // Number is 34
Console.WriteLine(“Number is ” + (3 + 4)); // Number is 7
จากตัวอย่างนั้นจะได้ผลลัพธ์ที่แตกต่างกัน เพราะว่าการใช้เครื่องหมาย Concatenate กับ String นั้นจะทำให้ตัวเลขถูกแปลงไปเป็นสตริงอัตโนมัติ ผู้เรียนต้องกำหนดความสำคัญให้กับตัวเลขก่อนโดยการใส่วงเล็บดังตัวอย่างด้านบน