เนื้อหาของคอร์ส
ปัจจัยส่งเสริมความเจริญรุ่งเรื่อง
ปัจจัยที่ส่งเสริมความเจริญรุ่งเรืองในด้านการเมืองการปกครองและเศรษฐกิจในสมัยรัตนโกสินทร์มีดังนี้ - ประเทศไทยมีที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ที่เหมาะสมมีสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์ - ประเทศไทยมีสถาบันพระมหากษัตริย์ที่เป็นศูนย์รวมจิตใจของคนไทยทั้งชาติ - คนไทยมีรอยยิ้มที่เป็นมิตรทำให้ชาวต่างชาติเกิดความประทับใจและเข้ามาท่องเที่ยวในประเทศไทยมากขึ้น - คนไทยเป็นคนที่มีคุณธรรมมีน้ำใจซื่อสัตย์กตัญญูมีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ช่วยเหลือผู้อื่น ปัจจัยต่างๆดังกล่าวเป็นปัจจัยที่ส่งเสริมความเจริญให้แก่ประเทศไทยจนถึงปัจจุบัน
0/2
พัฒนาการอาณาจักรรัตนโกสินทร์และการเมืองการปกครองไทย
พัฒนาการทางประวัติศาสตร์สมัยรัตนโกสินทร์อาจแบ่งได้เป็น 3 ยุคคือ - ยุครัตนโกสินทร์ตอนต้น ระหว่างรัชกาลพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชถึงรัชกาลพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งเป็นช่วงเวลาแห่งการป้องกันและฟื้นฟูบ้านเมือง - ยุคปฏิรูปประเทศให้เป็นแบบสมัยใหม่ ระหว่างรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเก้าเจ้าอยู่หัวถึงรัชกาลพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นช่วงเวลาที่ต้องทำให้บ้านเมืองรอดพ้นจากการคุกคามจากชาติตะวันตก - ยุคปฏิรูปการปกครองเป็นระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ระหว่างรัชกาลพระบาทสมเด็จพระปกเก้าเจ้าอยู่หัวถึงรัชกาลปัจจุบัน
0/1
การสถาปนาอาณาจักรรัตนโกสินทร์
อาณาจักรรัตนโกสินทร์ เป็นราชอาณาจักรที่สี่ในยุคประวัติศาสตร์ของไทย เริ่มตั้งแต่การย้ายเมืองหลวงจากฝั่งกรุงธนบุรี มายังกรุงเทพมหานคร ซึ่งตั้งอยู่ทางตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรี เสด็จขึ้นครองราชสมบัติ เมื่อวันที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2325.
0/2
วิชาประวัติศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 (ส16102) ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564
เกี่ยวกับบทเรียน

เหตุผลหลักในการย้ายราชธานีจากกรุงธนบุรีมาสู่กรุงรัตนโกสินทร์ จึงเป็นเรื่องของความมั่นคง ตามมาด้วยการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ นอกจากนี้ปัจจัยที่ช่วยส่งเสริมให้กรุงรัตนโกสินทร์มีความความเจริญรุ่งเรือง และเหมาะสมต่อการเป็นราชธานีของประเทศไทยยังแบ่งเป็น 3 ข้อหลัก ๆ ด้วยกัน คือ

1. ปัจจัยด้านทำเลและที่ตั้ง 

การตั้งราชธานีที่ฝั่งซ้ายของแม่น้ำเจ้าพระยาจะช่วยป้องกันการรุกรานของข้าศึกศัตรูในสมัยนั้นได้ (เช่น อาณาจักรพม่าที่มักยกมาจากทิศตะวันตก) เพราะถ้ากรุงรัตนโกสินทร์ตั้งอยู่ทางฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา ก็จะมีแม่น้ำเจ้าพระยาเป็นปราการธรรมชาติ 

2. ปัจจัยเรื่องการพัฒนาเศรษฐกิจ

เนื่องจากกรุงรัตนโกสินทร์ตั้งอยู่บริเวณตอนล่างของแม่น้ำเจ้าพระยาและติดกับอ่าวไทย ช่วยให้การค้าและการคมนาคมกับชาวต่างชาติสะดวกมากขึ้น และนำความมั่งคั่งมาสู่กรุงรัตนโกสินทร์ได้ ประกอบกับความเจริญก้าวหน้าด้านเทคโนโลยีการเดินเรือของชาติอื่น ๆ กรุงรัตนโกสินทร์จึงพลอยได้อานิสงส์ความเจริญนี้ด้วย

3. ปัจจัยด้านผู้นำ

ในยุครัตนโกสินทร์ตอนต้นเป็นการปกครองแบบราชาธิปไตย ดังนั้นบทบาทของพระมหากษัตริย์จึงมีผลต่อความเจริญรุ่งเรืองของกรุงรัตนโกสินทร์โดยตรง ซึ่งบทบาทของพระมหากษัตริย์ไทยในยุครัตนโกสินทร์ตอนต้น (รัชกาลที่ 1 – 3) ที่โดดเด่นมีดังนี้

1. พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช (รัชกาลที่ 1)

  • ทรงสถาปนาราชวงศ์จักรีและกรุงรัตนโกสินทร์
  • มุ่งเน้นการสร้างความมั่นคง เช่น การย้ายราชธานีมาอยู่ฝั่งตะวันออกของของแม่น้ำเจ้าพระยา เสริมสร้างกองทัพไทยให้เข้มแข็ง จนมีชัยชนะในสงครามเก้าทัพ

2. พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย (รัชกาลที่ 2) 

  • ทรงให้ความสำคัญกับศิลปะและวิทยาการของกรุงรัตนโกสินทร์ เช่น การสร้างสรรค์วรรณคดี บทละครใน บทละครนอก รวมถึงการแสดงมหรสพมากมาย ตัวอย่างวรรณคดีที่มีชื่อเสียงในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย เช่น อิเหนา เสภาเรื่องขุนช้างขุนแผน กวีที่มีชื่อเสียง เช่น สุนทรภู่
  • การให้ความสำคัญกับพระพุทธศาสนา

3. พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 3) 

  • ทรงมุ่งเน้นการค้าสำเภากับชาติต่าง ๆ เช่น จีน (คู่ค้าหลัก) ประเทศใกล้เคียง และอังกฤษ (ผ่านอาณานิคม) เพื่อส่งเสริมเศรษฐกิจของประเทศ นอกจากนี้ยังมีการทําสนธิสัญญาต่าง ๆ เช่น สนธิสัญญาเบอร์นี ซึ่งถือเป็นประตูสู่โลกการค้าของสยามในสมัยนั้น
  • การให้ความสำคัญกับเรื่องการค้า ทำให้เศรษฐกิจของกรุงรัตนโกสินทร์มีความมั่งคั่งแข็งแกร่ง นอกจากนี้ยังมีเงินถุงแดง เงินจากพระคลังข้างที่ (พระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ และเงินรายได้แผ่นดินที่แบ่งถวายพระมหากษัตริย์เพื่อเสด็จใช้จ่ายส่วนพระองค์) ที่พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเก็บสะสมไว้ในกำปั่นข้างพระแท่นบรรทม ซึ่งในเวลาต่อมารัฐสยามได้นำเงินนี้มาใช้จ่ายเมื่อเกิดวิกฤติทางการเมืองในสมัยรัชกาลที่ 5
ไฟล์ตัวอย่าง
ประวัติศาสตร์ เรื่อง ปัจจัยส่งเสริมความเจริญรุ่งเรื่อง.pdf
ขนาด: 1.59 MB