เนื้อหาของคอร์ส
ปัจจัยส่งเสริมความเจริญรุ่งเรื่อง
ปัจจัยที่ส่งเสริมความเจริญรุ่งเรืองในด้านการเมืองการปกครองและเศรษฐกิจในสมัยรัตนโกสินทร์มีดังนี้ - ประเทศไทยมีที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ที่เหมาะสมมีสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์ - ประเทศไทยมีสถาบันพระมหากษัตริย์ที่เป็นศูนย์รวมจิตใจของคนไทยทั้งชาติ - คนไทยมีรอยยิ้มที่เป็นมิตรทำให้ชาวต่างชาติเกิดความประทับใจและเข้ามาท่องเที่ยวในประเทศไทยมากขึ้น - คนไทยเป็นคนที่มีคุณธรรมมีน้ำใจซื่อสัตย์กตัญญูมีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ช่วยเหลือผู้อื่น ปัจจัยต่างๆดังกล่าวเป็นปัจจัยที่ส่งเสริมความเจริญให้แก่ประเทศไทยจนถึงปัจจุบัน
0/2
พัฒนาการอาณาจักรรัตนโกสินทร์และการเมืองการปกครองไทย
พัฒนาการทางประวัติศาสตร์สมัยรัตนโกสินทร์อาจแบ่งได้เป็น 3 ยุคคือ - ยุครัตนโกสินทร์ตอนต้น ระหว่างรัชกาลพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชถึงรัชกาลพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งเป็นช่วงเวลาแห่งการป้องกันและฟื้นฟูบ้านเมือง - ยุคปฏิรูปประเทศให้เป็นแบบสมัยใหม่ ระหว่างรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเก้าเจ้าอยู่หัวถึงรัชกาลพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นช่วงเวลาที่ต้องทำให้บ้านเมืองรอดพ้นจากการคุกคามจากชาติตะวันตก - ยุคปฏิรูปการปกครองเป็นระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ระหว่างรัชกาลพระบาทสมเด็จพระปกเก้าเจ้าอยู่หัวถึงรัชกาลปัจจุบัน
0/1
การสถาปนาอาณาจักรรัตนโกสินทร์
อาณาจักรรัตนโกสินทร์ เป็นราชอาณาจักรที่สี่ในยุคประวัติศาสตร์ของไทย เริ่มตั้งแต่การย้ายเมืองหลวงจากฝั่งกรุงธนบุรี มายังกรุงเทพมหานคร ซึ่งตั้งอยู่ทางตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรี เสด็จขึ้นครองราชสมบัติ เมื่อวันที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2325.
0/2
วิชาประวัติศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 (ส16102) ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564
เกี่ยวกับบทเรียน

พัฒนาการด้านการเมืองการปกครอง เศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรมและความสัมพันธ์กับต่างประเทศ
ของไทยในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น มีปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อความมั่นคงและความเจริญรุ่งเรือง
ในการวาง รากฐานการพัฒนาประเทศทั้งในด้านการค้าขายกับต่างชาติ การจัดเก็บภาษีอากร
เพื่อนำมาพัฒนาสภาพสังคม การศึกษา ขนบธรรมเนียมวัฒนธรรม และความสัมพันธ์กับรัฐต่างๆ
ภายในภูมิภาคทั้งการทำสงครามกับพม่า การแผ่ขยายอิทธิพล ทางการเมืองขยายเขตแดน ได้แก่
เขมร ลาว และหัวเมืองมลายู เป็นเมืองประเทศราชของไทย สงครามกับญวนในศึกอันนัมสยามยุทธ์
เพื่อช่วงชิงความเป็นใหญ่เหนือดินแดนเขมร ต่อมาเมื่อชาติตะวันตก แผ่ขยายอำนาจจักรวรรดินิยม
เข้ามา เป็นผลทำให้เศรษฐกิจของไทย ต้องผูกพันกับตลาดโลกมากขึ้น ทั้งด้านการปกครอง เศรษฐกิจ
และสังคม สืบจนถึงปัจจุบัน

ไฟล์ตัวอย่าง
ใบงานความรู้ พัฒนาการอาณาจักรไททยแลการเมืองการปกครอง.pdf
ขนาด: 241.07 KB