คำคล้องจอง คือ คำที่มีสระเสียงเดียวกัน และมีคำในมาตราตัวสะกดเดียวกัน
แต่พยัญชนะต้นต่างกัน อาจมีเสียงวรรณยุกต์ต่างกันได้
คำคล้องจองสระ หมายถึง คำที่มีเสียงสระเดียวกัน เช่น
สระอะ ได้แก่ กะ ขะ จะ ดะ ตะ ปะ อะ คะ
สระอา ได้แก่ กา ดา นา ยา ขา สา หา
สระอี ได้แก่ ชี ดี ที ปี ผี มี รี วี สี
สระอู ได้แก่ งู ดู ปู รู กู้ สู้ หู ขู่
สระเอา ได้แก่ เก้า เข้า เรา เดา เสา
สระไอ ได้แก่ ไอ ไป ได้ ไม่ ไว้ ไข่ ไอย อัย ได
คำคล้องจอง ๑ พยางค์
คำคล้องจอง ๑ พยางค์ คือคำที่ออกเสียงเพียงครั้งเดียว มีสระเสียงเดียวกัน ตัวสะกดมาตราเดียวกัน ส่วนรูปและเสียงวรรณยุกต์ จะต่างกันก็ได้
ตัวอย่าง
– กิน – ดิน – บิน – หิน – สิ้น
– กัด – ตัด – วัด – สัด – ปัด
– กอบ – ชอบ – จอบ – ตอบ – มอ
คำคล้องจอง ๒ พยางค์
คำคล้องจอง ๒ พยางค์ คือ คำที่มีพยางค์ท้ายของกลุ่มคำหน้า มีเสียงคล้องจอง กับพยางค์แรก หรือพยางค์ที่ ๒ ของกลุ่มคำหลังที่อยู่ถัดไป
ตัวอย่าง
รถไถ ไปนา หาคุณ จุนเจือ เผื่อแผ่ แก่กัน
มาดี มีตา หาคู่ ปูดำ จำใจ ใครดี