วิชาวิทยาศาสตร์ (ว 23102) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564

หมวดหมู่: ม.3, มัธยมศึกษา
คอร์สที่สนใจ แชร์
แชร์คอร์ส
ลิงก์หน้า
แชร์บนโซเชียล

เกี่ยวกับคอร์ส

ศึกษา วิเคราะห์ ระบบสุริยะ ความสัมพันธ์ระหว่างดวงอาทิตย์ โลก ดวงจันทร์ ดาวเคราะห์ในระบบสุริยะกลุ่มดาวฤกษ์ กาแล็กซีและเอกภพ เทคโนโลยีอวกาศ กล้องโทรทรรศน์ ดาวเทียม ยานอวกาศ การเปลี่ยนรูปพลังงาน กฎการอนุรักษ์พลังงาน ความสัมพันธ์ระหว่างความต่างศักย์ กระแสไฟฟ้า และความต้านทาน วงจรไฟฟ้าในบ้าน พลังงานไฟฟ้าของเครื่องใช้ไฟฟ้า การคำนวณพลังงานไฟฟ้าที่ใช้ การต่อวงจรอิเล็กทรอนิกส์เบื้องต้น  โดยใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ การสืบเสาะหาความรู้ การสำารวจตรวจสอบ การสืบค้นข้อมูลและการอภิปรายเพื่อให้เกิดความรู้ ความคิด ความเข้าใจ สามารถสื่อสารสิ่งที่เรียนรู้ มีความสามารถในการตัดสินใจ นำาความรู้ไปใช้ในชีวิตประจำาวัน มีจิตวิทยาศาสตร์ จริยธรรม คุณธรรม และค่านิยมที่เหมาะสม

เนื้อหาของคอร์ส

ไฟฟ้าและ อิเล็กทรอนิกส์

  • วงจรไฟฟ้าเบื้องต้น
    00:00
  • วงจรอิเล็กทรอนิกส์ เบื้องต้น
    00:00
  • พลังงานไฟฟ้าและ เครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้าน
    00:00

ปฏิสัมพันธ์ใน ระบบสุริยะ และเทคโนโลยี อวกาศ
ปฏิสัมพันธ์ระหว่างดวงอาทิตย์โลกและดวงจันทร์ ดวงอาทิตย์เป็นดาวฤกษ์อยู่ในระบบสุริยจักรวาล โดยดวงอาทิตย์เป็นศูนย์กลางของระบบสุริยะและมีดาวเคราะห์ต่างๆ ดาวเคราะห์น้อยอุกกาบาตและดวงหางเป็นบริวารดวงจันทร์และโลก

คลื่น
คลื่น คลื่น คือการรบกวนซ้ำๆหรือการเคลื่อนที่แล้วก่อให้เกิดการถ่ายโอนพลังงานผ่านตัวกลางหรือไม่ผ่านตัวกลาง คลื่นที่ถ่ายเทพลังงานผ่านตัวกลางเรียกว่า คลื่นกล คลื่นที่ถ่ายเทพลังงานโดยไม่ต้องอาศัยตัวกลางคือคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า คลื่นเป็นการเคลื่อนย้ายถ่ายเทพลังงานเท่านั้น ไม่ได้ถ่ายเทสสาร ตัวกลางได้แก่ น้ำ ลวดสปริง เชือก และอากาศ มีการเคลื่อนที่อยู่เฉพาะที่ ไม่ได้เคลื่อนที่ตามคลื่นไปด้วย

แสงและ การมองเห็น
แสงและการมองเห็น แสง คือพลังงานรูปหนึ่งที่ไม่มีตัวตน แต่สามารถทำงานได้ แสงช่วยให้เรามองเห็นสิ่งต่าง ๆ แสงเปลี่ยนมาจากพลังงานรูปหนึ่งแล้วยังเปลี่ยนไปเป็นพลังงานรูปอื่นได้ การมองเห็นสีของวัตถุ 1. นัยน์ตาประกอบด้วยกระจกตา เลนส์ตา ม่านตา กล้ามเนื้อยึดเลนส์ตา เรตินา และเซลล์ประสาทตา ซึ่ง แต่ละส่วนจะทำงานประสานกันเพื่อให้เราเห็นภาพได้ชัดเจน 2. เรตินาประกอบด้วยเซลล์รูปแท่งทำหน้าที่ให้ความรู้สึกเกี่ยวกับความมืดความสว่าง และเซลล์รูปกรวยซึ่งเป็นเซลล์ที่มีความไวต่อแสงสีปฐมภูมิ คือ แสงสีเขียว แสงสีแดง และแสงสีน้ำเงิน 3. กล้ามเนื้อยึดเลนส์ตาทำหน้าที่ปรับความยาวโฟกัส ทำให้เรามองเห็นภาพชัดทั้งในระยะใกล้และไกล 4. ความสว่างมีผลต่อนัยน์ตามนุษย์จึงมีการนำความรู้เกี่ยวกับความสว่างมาช่วยในการจัดความสว่างให้เหมาะสมกับกิจกรรมต่าง ๆ 5. แสงสีปฐมภูมิประกอบด้วยแสงสีแดง แสงสีเขียว และแสงสีน้ำเงิน เมื่อนำมาผสมกันจะได้แสงสีใหม่ 6. เรามองเห็นสีของวัตถุได้เพราะตัวสีที่อยู่ในวัตถุทำหน้าที่ดูดกลืนแสงสีที่ส่องไปยังวัตถุนั้นแล้วสะท้อนแสงสีที่ไม่ได้ดูดกลืนเข้าสู่ตา

การจัดอันดับและรีวิวของผู้เรียน

ยังไม่มีรีวิว
ยังไม่มีรีวิว