วิชา สังคมศึกษา ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 (ส16101) ภาคเรียนที่ 2ปีการศึกษา 2564

หมวดหมู่: ป.6, ประถมศึกษา
คอร์สที่สนใจ แชร์
แชร์คอร์ส
ลิงก์หน้า
แชร์บนโซเชียล

เกี่ยวกับคอร์ส

คำอธิบายรายวิชา

ศึกษา  เรียนรู้   ความสำคัญของพระพุทธศาสนาหรือศาสนาที่ตนนับถือ  พุทธประวัติ พุทธสาวก พุทธสาวิกา  ชาดก  ศาสนิกชนตัวอย่าง  พระรัตนตรัย  ไตรสิกขาหลักธรรมโอวาท 3  พุทธศาสนสุภาษิตตัวอย่าง  การทำความดีของบุคคลในประเทศตามหลักศาสนา  การมีสติ  สวดมนต์แผ่เมตตา  การบริหารจิต เจริญปัญญา  มีสติที่เป็นพื้นฐานของสมาธิในพุทธศาสนาหรือการพัฒนาจิตตามแนวของศาสนาที่ตนนับถือ  การปฏิบัติตนตามหลักธรรมของศาสนาที่ตนนับถือ เพื่อแก้ปัญหาอบายมุข  และสิ่งเสพติด  หลักความ สำคัญของศาสนาอื่น ๆ  ลักษณะสำคัญของศาสนพิธี พิธีกรรมของศาสนาอื่น ๆ  และการปฏิบัติตนที่เหมาะสมเมื่อต้องเข้าร่วมพิธี ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับสถานที่ต่าง ๆ  ภายในศาสนสถาน และการปฏิบัติตนอย่างเหมาะสม การมีมารยาทของความเป็นศาสนิกชนที่ดี ประโยชน์ของการเข้าร่วมพิธีกรรม และกิจกรรมในวันสำคัญทางศาสนา  และการปฏิบัติตนที่ถูกต้อง  การแสดงตนเป็นพุทธมามกะ หรือการแสดงตนเป็นศาสนิกชนของศาสนาที่ตนนับถือและในท้องถิ่น

ศึกษา   เรียนรู้   การปฏิบัติตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวันของครอบครัวและชุมชน การเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมตามกาลเวลาและธำรงรักษาวัฒนธรรมอันดีงาม  การแสดงออกถึงมารยาทไทยที่เหมาะสมถูกกาลเทศะ  คุณค่าทางวัฒนธรรมที่แตกต่างกันระหว่างกลุ่มคนในสังคมไทย  แนวทางการรักษาวัฒนธรรม

ข้อมูล  ข่าวสาร  เหตุการณ์ต่าง ๆ  ในชีวิตประจำวันในท้องถิ่นและประโยชน์จากการติดตามข้อมูลข่าวสาร  เหตุการณ์ต่าง ๆ ในชีวิตประจำวัน   การเลือกรับและใช้ข้อมูลข่าวสารในการเรียนรู้ที่เหมาะสม  บทบาทหน้าที่ขององค์กรการปกครองส่วนท้องถิ่นและรัฐบาล  การมีส่วนร่วมในกิจกรรมต่าง ๆ  ที่ส่งเสริมประชาธิปไตยในท้องถิ่น  และประเทศ  บทบาทความสำคัญในการใช้สิทธิออกเสียงเลือกตั้งตามระบอบประชาธิปไตยศึกษา  เรียนรู้ บทบาทของผู้ผลิตที่มีความรับผิดชอบ  มีทัศนะในการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ และประสิทธิผล บทบาทของผู้บริโภคที่ดี  ผู้บริโภคที่บกพร่อง  คุณค่าและประโยชน์ของผู้บริโภคที่รู้เท่าทัน   ที่มีต่อ  ตนเอง ครอบครัวและสังคม ประโยชน์ของการใช้ทรัพยากรที่ยั่งยืน  ความหมายและความจำเป็นของทรัพยากร หลักการและวิธีการใช้ทรัพยากรให้เกิดประโยชน์สูงสุด วิธีการสร้างจิตสำนึกให้คนในท้องถิ่นและในประเทศชาติรู้คุณ  ค่าของทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัด การวางแผนการใช้ทรัพยากรโดยประยุกต์  เทคนิคและวิธีการใหม่ ๆ ให้เกิด ประโยชน์ต่อสังคม ท้องถิ่น  ความสัมพันธ์ระหว่างผู้ผลิต ผู้บริโภค ธนาคาร และรัฐบาลที่มีต่อระบบเศรษฐกิจ แผนผังแสดงความสัมพันธ์ของหน่วยเศรษฐกิจ ภาษี และหน่วยงาน

ที่จัดเก็บภาษี สิทธิของผู้บริโภค  สิทธิของผู้ใช้แรงงานในจังหวัดและประเทศ  การหารายได้ รายจ่าย  การออก  การลงทุน  ซึ่งแสดงความสัมพันธ์ระหว่างผู้ผลิต  ผู้บริโภคและรัฐบาล   การรวมกลุ่มเชิงเศรษฐกิจเพื่อประสานประโยชน์  ในท้องถิ่น

ศึกษา  เรียนรู้  การใช้เครื่องมือทางภูมิศาสตร์ที่แสดงลักษณะทางกายภาพของประเทศ   ความ สัมพันธ์ระหว่างลักษณะทางกายภาพกับปรากฏการณ์ทางธรรมชาติของประเทศ ภูมิลักษณ์ที่มีต่อภูมิสังคมของท้องถิ่นและประเทศไทย  สิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติกับสิ่งแวดล้อมทางสังคมในท้องถิ่นและในประเทศ  ความสัมพันธ์  ผลกระทบ  และผลที่เกิดจากการปรับเปลี่ยนและผลที่เกิดขึ้น  ด้านประชากร  เศรษฐกิจ  สังคม  อาชีพและวัฒนธรรม  แนวทางการใช้ทรัพยากรของคนในชุมชน

โดยใช้กระบวนการเรียนรู้และเทคโนโลยีในการสืบเสาะหาความรู้  สืบค้นข้อมูล รวบรวมข้อมูล  สังเกต  จำแนก เปรียบเทียบ วิเคราะห์  บันทึก  อธิบาย  อภิปราย  สรุป  นำเสนอ  ยกตัวอย่าง  เลือกใช้เครื่องมือ เข้าร่วมกิจกรรม  แสดงความเคารพ  และฝึกปฏิบัติ  เพื่อให้เกิดความรู้  ความคิด  ความเข้าใจ  สามารถนำเสนอสื่อสารสิ่งที่เรียนรู้

ชื่นชมการทำความดีของบุคคล  เห็นคุณค่าของการพัฒนาจิต  แบบอย่างการดำเนินชีวิตที่ดี  คุณค่าของวัฒนธรรมไทย  การนำความรู้ไปใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวัน มีจิตสาธารณะที่มุ่งทำประโยชน์และสร้างสิ่งที่ดีงามในสังคมและท้องถิ่น มีคุณธรรมและค่านิยมที่เหมาะสม

>สาระท้องถิ่น

บทบาทหน้าที่การปกครองในท้องถิ่น  การสร้างความตระหนักในการใช้ทรัพยากรในท้องถิ่น

ตัวอย่างบุคคลสำคัญและภูมิปัญญาไทยในท้องถิ่น  สิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติและทางสังคมในท้องถิ่น

แสดงเพิ่มเติม

คุณจะได้เรียนรู้อะไร?

  • 1.ศึกษา เรียนรู้ ความสำคัญของพระพุทธศาสนาหรือศาสนาที่ตนนับถือ พุทธประวัติ พุทธสาวก พุทธสาวิกา ชาดก ศาสนิกชนตัวอย่าง พระรัตนตรัย ไตรสิกขาหลักธรรมโอวาท 3 พุทธศาสนสุภาษิตตัวอย่าง การทำความดีของบุคคลในประเทศตามหลักศาสนา การมีสติ สวดมนต์แผ่เมตตา การบริหารจิต เจริญปัญญา มีสติที่เป็นพื้นฐานของสมาธิในพุทธศาสนาหรือการพัฒนาจิตตามแนวของศาสนาที่ตนนับถือ
  • 2.ศึกษา  เรียนรู้  การใช้เครื่องมือทางภูมิศาสตร์ที่แสดงลักษณะทางกายภาพของประเทศ   ความ สัมพันธ์ระหว่างลักษณะทางกายภาพกับปรากฏการณ์ทางธรรมชาติของประเทศ ภูมิลักษณ์ที่มีต่อภูมิสังคมของท้องถิ่นและประเทศไทย  สิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติกับสิ่งแวดล้อมทางสังคมในท้องถิ่นและในประเทศ  ความสัมพันธ์  ผลกระทบ  และผลที่เกิดจากการปรับเปลี่ยนและผลที่เกิดขึ้น  ด้านประชากร  เศรษฐกิจ  สังคม  อาชีพและวัฒนธรรม  แนวทางการใช้ทรัพยากรของคนในชุมชน

เนื้อหาของคอร์ส

ศาสนากับการดำเนินชีวิต
ศาสนาทุกศาสนามีความสำคัญต่อผู้นับถือ การศึกษาประวัติของศาสดา และหลักธรรม คำสอนของศาสนาจะทำให้เกิดความศรัทธา และสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตจริงได้

  • หน้าที่และมรรยาทชาวพุทธ
  • วันสำคัญทางพระพุทธศาสนาและศาสนพิธี
  • การบริหารจิตและเจริญปัญญา
  • ศาสนาต่างๆในประเทศไทย
  • ข้อสอบศาสนากับการดำเนินชีวิต

ภูมิศาสตร์น่ารู้
ภูมิศาสตร์ (อังกฤษ: geography) เป็นสาขาวิชาหนึ่งที่ทำการศึกษาเรียนรู้เกี่ยวกับคุณลักษณะเฉพาะ ของสถานที่ที่ปรากฏอยู่บนพื้นผิวโลก ภูมิศาสตร์จะเป็นเรื่องเกี่ยวกับการจัดวางสิ่งต่าง ๆ และความสัมพันธ์ของสิ่งต่าง ๆ ที่แบ่งแยกสิ่งหนึ่งออกจากสิ่งอื่น ๆ โดยภูมิศาสตร์พยายามค้นหาเพื่อที่จะตีความให้กระจ่างถึงความสำคัญ ของสิ่งที่เหมือนและแตกต่างกันระหว่างพื้นที่ในรูปของสาเหตุและความเกี่ยวเนื่อง ปัจจุบันการศึกษาด้านภูมิศาสตร์ จะมุ่งเน้นความเข้าใจเกี่ยวกับรายละเอียดเบื้องต้นที่เกี่ยวกับพื้นที่มากกว่าที่จะศึกษาลักษณะเฉพาะและสถานที่ต่าง ๆ ของโลกอย่างคร่าว ๆ อย่างที่เคยปฏิบัติขึ้นมาในระยะแรก ๆ ภูมิศาสตร์ได้เปลี่ยนแนวทางมาสู่การศึกษารายละเอียดของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในพื้นที่นั้น ๆ โดยเฉพาะ ซึ่งจะใช้การศึกษานี้พิจารณาว่า "มีสิ่งใดบ้างที่เป็นสาเหตุทำให้เกิดสิ่งนั้นสิ่งนี้ขึ้น และแต่ละสิ่งมีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กันอย่างไร" โดยถือรูปแบบและวิธีการดังกล่าวว่า เป็นการสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับ ปฏิสัมพันธ์เชิงภูมิศาสตร์ ภายใต้สภาวะต่าง ๆ ที่ทำให้เกิดลักษณะเฉพาะหรือเกิดปรากฏการณ์พิเศษในพื้นที่นั้น ๆ ขึ้น และถือว่าเป็น ปรากฏการณ์ทางภูมิศาสตร์ ที่เกิดขึ้น ซึ่งมีหลายลักษณะ เช่น ปรากฏการณ์ทางภูมิศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับลักษณะภูมิประเทศ ลักษณะทางธรณีวิทยาของโลก ลักษณะทางสภาพภูมิอากาศ เป็นต้น โดยจะมีความเกี่ยวเนื่องและมีความสัมพันธ์ระหว่างกันในแต่ละลักษณะที่กล่าวถึง

การจัดอันดับและรีวิวของผู้เรียน

ยังไม่มีรีวิว
ยังไม่มีรีวิว