การกำหนดรูปแบบเครื่องหมายหัวข้อและรายการ
จะช่วยให้การแสดงผลของข้อมูลในหน้าเอกสารดูเข้าใจง่ายยิ่งขึ้น มีการแบ่งข้อมูลออกเป็นหมวดหมู่ดูสะอาดตา โดยการแสดงรายการให้เป็นไปตามลำดับความสำคัญ จะทำให้เอกสารเป็นระเบียบสวยงาม อ่านได้ง่าย
1. การแสดงรายการแบบมีลำดับ (Order List หรือ Number List)
การแสดงข้อมูลรายการแบบมีหมายเลขกำกับ (Number/Order Lists) จะใช้แท็ก <OL> และ </OL> ซึ่งย่อมาจาก Ordered List คือข้อมูลรายการแบบมีหมายเลข เรียงลำดับจากน้อยไปหามากกำกับอยู่หน้าแต่ละรายการ โดยมีแท็กที่เป็นส่วนประกอบภายในอีกทีหนึ่ง คือแท็ก <LI> ที่ใช้กำหนดหัวเรื่องหรือรายละเอียดของรายการย่อย ซึ่งเมื่อรายการย่อยเหล่านี้นำไปแสดงบนเบราเซอร์ ลำดับที่ของรายการจะถูกใส่ให้กับแต่ละรายการโดยอัตโนมัติ
<OL TYPE=n START=n2>………หัวข้อเรื่อง…….. |
type= ชนิดของการแสดงผลแบบรายการ
– I , i เป็นการแสดงผลแบบโรมัน
– A , a เป็นการแสดงผลแบบภาษาอังกฤษ
– 1 เป็นการแสดงผลลำดับรายการปกติ (Default)
– start= การเริ่มของค่าของการแสดงรายการ (สามารถกำหนดค่าเริ่มต้นได้)
ตัวอย่างที่ 1 แสดงวิธีการแสดงรายการแบบมีลำดับ (Order List หรือ Number List)
ผลลัพธ์
ตัวอย่างที่ 2 การใช้คำสั่ง OL ร่วมกับคำสั่ง START
ผลลัพธ์
ตัวอย่างที่ 3 การใช้คำสั่ง OL แบบเลือก Type
ผลลัพธ์
2. คำสั่งสำหรับแสดงผลรายการแบบไม่มีลำดับ (Bulleted/Unordered List)
คำสั่ง <UL> การแสดงรายการแบบไม่มีเลขลำดับ (Unorder หรือ Bullet List) เป็นคำสั่งที่ใช้แสดงรายการโดยใช้เครื่องหมายเป็นตัวแสดงนำหน้าข้อความโดยไม่จำเป็นต้องเรียงตามลำดับก่อน-หลัง เพราะเป็นการเรียงหัวข้อแบบไม่มีตัวเลขระบุไว้ มีรูปแบบการใช้งาน ดังนี้
<UL>………….หัวข้อเรื่อง……………. |
ตัวอย่างแสดงวิธีการแสดงรายการแบบไม่มีลำดับ
ผลลัพธ์
ถ้าหากต้องการเปลี่ยนรูปแบบของหัวข้อเป็นแบบอื่นๆ ก็สามารถทำได้โดยใช้คำสั่งเพิ่มเติม ดังนี้
<UL TPYE = n>………….หัวข้อเรื่อง……………. |
* n หมายถึง ชนิดของเครื่องหมายมีอยู่ 3 แบบ ดังนี้
DISC จะมีสัญลักษณ์เป็นวงกลมทึบ (ค่าปกติ)
CIRCLE จะมีสัญลักษณ์เป็นวงกลมโปร่ง
SQUARE จะมีสัญลักษณ์เป็นสี่เหลี่ยมทึบ
3. การแสดงผลรายการแบบหัวข้อย่อย (Definition List)
รายการย่อยแบบใช้นิยาม หรือ Definition List นี้จะคล้ายกันกับรายการย่อยแบบที่ใช้หมายเลขหรือสัญลักษณ์กำกับต่างกันที่ไม่สัญลักษณ์ใดๆ กำกับหน้าแต่ละรายการย่อย มีเพียงแต่รายการย่อยต่างๆ แสดงอยู่ลักษณะคล้ายกับพจนานุกรม โดยมีแท็กที่เกี่ยวข้องอยู่ 3 แท็กด้วยกัน คือ <DL> และ</DL> เพื่อบอกว่ารายการย่อยมีลักษณะเป็น แบบใช้นิยาม ส่วนแท็ก <DT> นั้นใช้บอกส่วนที่เป็นเรื่องของแต่ละรายการย่อย และแท็ก <DD> ใช้บอกส่วนที่เป็นรายละเอียดในรายการย่อยนั้น
<DL>………หัวข้อเรื่อง…….. |
ตัวอย่างการใช้คำสั่ง DL
ผลลัพธ์
4. การใช้คำสั่งการแสดงรายการแบบไดเรกทอรี (Directory List)
ใช้สำหรับแสดงหัวข้อสั้น ๆ ที่มีความยาวไม่เกิน 20 ตัวอักษร ไม่มีการเรียงลำดับของรายการและไม่มีตัวเลขลำดับนำหน้าข้อความ มีรูปแบบการใช้งาน ดังนี้
<DIR>………….หัวข้อเรื่อง……………. <LI> ข้อความ……………. <LI> ข้อความ……………. <LI> ข้อความ……………. <LI> ข้อความ……………. <LI> ข้อความ……………. </DIR> |
ตัวอย่างการใช้คำสั่งแสดงรายการแบบ DIRECTORY LIST
5. การใช้คำสั่งการแสดงรายการแบบเมนูลิงค์ (Menu List)
คำสั่ง <MENU> การแสดงรายการแบบเมนูลิงค์ (Menu LIst) ใช้สำหรับแสดงหัวข้อรายการแบบสั้น ๆ เหมือนกับคำสั่ง DIR แล้วแต่ผู้เขียนโปรแกรมจว่าจะถนัดใช้คำสั่งใดมากกว่ากัน เพราะการแสดงผลบนเบราว์เซอร์จะไม่มีการเรียงลำดับของรายการและไม่มีตัวเลขลำดับนำหน้า ข้อความีรูปแบบการใช้งานดังนี้
<MENU>………….หัวข้อเรื่อง……………. <LI> ข้อความ……………. <LI> ข้อความ……………. <LI> ข้อความ……………. <LI> ข้อความ……………. <LI> ข้อความ……………. </MENU> |
ตัวอย่างการใช้คำสั่งแสดงรายการแบบ Menu List
6. การแสดงผลรายการหลายรูปแบบซ้อนกัน (Combining List Types)
การแสดงรายการด้วยคำสั่งหลายคำสั่ง หรือหลายคำสั่งซ้อนกัน จะขึ้นอยู่กับเราว่า จะเลือกใช้คำสั่งใดบ้างเพื่อให้แสดงข้อมูลตามรูปแบบที่เราต้องการ คำสั่งที่เราสามารถจะเลือกใช้ในการแสดงผลข้อมูลคือ
1. Ordered Lists ได้แก่คำสั่ง <OL>
2. Unordered Lists ได้แก่คำสั่ง <UL> หรือ <MENU> หรือ <DIR> เป็นต้น
3. Definition Lists ได้แก่คำสั่ง <DL>
ตัวอย่างการใช้คำสั่งรายการหลายรูปแบบซ้อนกัน
7. รายการแบบที่อยู่
คำสั่งนี้มีจุดประสงค์เพื่อใช้ในการแสดงผลข้อความที่เป็นที่อยู่ของหน่วยงาน หรือผู้ที่ทำการพัฒนาเว็บไซค์ เพื่อให้ผู้ที่เข้ามาใช้บริการเว็บเพจนั้นสามารถทำการติดต่อกับหน่วยงาน หรือผู้ที่ทำการพัฒนาได้ โดยรูปแบบของตัวอักษรแบบตัวเอน คำสั่งที่ใช้สำหรับกำหนดการแสดงผลแบบนี้คือ ADDRESS…/ADDRESS รูปแบบการใช้งานคำสั่งสามารถแสดง
บทที่ 5 การกำหนดหัวข้อและเลขลำดับ
คำสั่ง (TAG) |
คำอธิบาย (คำสั่งเหล่านี้อยู่ภายใต้คำสั่ง BODY) |
การแสดงรายการแบบมีลำดับ (Order List หรือ Number List) <OL type=n start=ค่าเริ่มต้น>หัวข้อเรื่อง <LI> หัวเรื่อง <LI> หัวเรื่อง </OL> |
คือข้อมูลรายการแบบมีหมายเลข เรียงลำดับจากน้อยไปหามากอยู่หน้าแต่ละรายการ โดยมีแท็กที่เป็นส่วนประกอบภายใน คือแท็ก <LI> ที่ใช้กำหนดหัวเรื่องหรือรายละเอียดของรายการย่อย ซึ่งเมื่อรายการย่อยเหล่านี้นำไปแสดงบนเบราเซอร์ ลำดับที่ของรายการจะถูกใส่ให้กับแต่ละรายการโดยอัตโนมัติ type= ชนิดของการแสดงผลแบบรายการ I , i เป็นการแสดงผลแบบโรมัน A , a เป็นการแสดงผลแบบภาษาอังกฤษ 1 เป็นการแสดงผลลำดับรายการปกติ (Default) start= การเริ่มของค่าของการแสดงรายการ(เป็นตัวเลข) |
คำสั่งสำหรับแสดงผลรายการแบบไม่มีลำดับ (Bulleted/Unordered List) <UL>…หัวข้อเรื่อง… <LI> ข้อความ……………. </UL> |
เป็นคำสั่งที่ใช้แสดงรายการโดยใช้เครื่องหมายเป็นตัวแสดงนำหน้าข้อความโดยไม่จำเป็นต้องเรียงตามลำดับก่อน-หลัง เพราะเป็นการเรียงหัวข้อแบบไม่มีตัวเลขระบุไว้ ถ้าต้องการเปลี่ยนสัญลักษณ์ให้กำหนด <UL type=n> * n หมายถึง ชนิดของเครื่องหมายมีอยู่ 3 แบบ ดังนี้ DISC จะมีสัญลักษณ์เป็นวงกลมทึบ (ค่าปกติ) |
คำสั่งการแสดงผลรายการแบบหัวข้อย่อย (Definition List) <DL>………หัวข้อเรื่อง…….. |
รายการย่อยแบบใช้นิยาม หรือ Definition List นี้จะคล้ายกันกับรายการย่อยแบบที่ใช้หมายเลขหรือสัญลักษณ์กำกับต่างกันที่ไม่สัญลักษณ์ใดๆ กำกับหน้าแต่ละรายการย่อย มีเพียงแต่รายการย่อยต่างๆ แสดงอยู่ลักษณะคล้ายกับพจนานุกรม โดยมีแท็กที่เกี่ยวข้องอยู่ 3 แท็กด้วยกัน คือ 1) <DL> และ</DL> เพื่อบอกว่ารายการย่อยมีลักษณะเป็น แบบใช้นิยาม 2) <DT> นั้นใช้บอกส่วนที่เป็นเรื่องของแต่ละรายการย่อย 3) <DD> ใช้บอกส่วนที่เป็นรายละเอียดในรายการย่อยนั้น |
การใช้คำสั่งการแสดงรายการแบบไดเรกทอรี (Directory List) <DIR>………….หัวข้อเรื่อง……………. <LI> ข้อความ……………. <LI> ข้อความ……………. <LI> ข้อความ……………. </DIR>
|
ใช้สำหรับแสดงหัวข้อสั้น ๆ ที่มีความยาวไม่เกิน 20 ตัวอักษร ไม่มีการเรียงลำดับของรายการและไม่มีตัวเลขลำดับนำหน้าข้อความ มีรูปแบบการใช้งาน
|
การใช้คำสั่งการแสดงรายการแบบเมนูลิงค์ (Menu List) <MENU>………….หัวข้อเรื่อง……………. <LI> ข้อความ……………. <LI> ข้อความ……………. <LI> ข้อความ……………. </MENU> |
คำสั่ง <MENU> การแสดงรายการแบบเมนูลิงค์ (Menu LIst) ใช้สำหรับแสดงหัวข้อรายการแบบสั้น ๆ เหมือนกับคำสั่ง DIR แล้วแต่ผู้เขียนโปรแกรมจว่าจะถนัดใช้คำสั่งใดมากกว่ากัน เพราะการแสดงผลบนเบราว์เซอร์จะไม่มีการเรียงลำดับของรายการและไม่มีตัวเลขลำดับนำหน้า |
รายการแบบที่อยู่ <ADDRESS>…</ADDRESS> |
คำสั่งนี้มีจุดประสงค์เพื่อใช้ในการแสดงผลข้อความที่เป็นที่อยู่ของหน่วยงาน หรือผู้ที่ทำการพัฒนาเว็บไซค์ |