เนื้อหาของคอร์ส
พื้นฐานHTML
HTML คือ ภาษาหลักที่ใช้ในการเขียนเว็บเพจ โดยใช้ Tag ในการกำหนดการแสดงผล HTML ย่อมาจากคำว่า Hypertext Markup Languageโดย Hypertext หมายถึงข้อความที่เชื่อมต่อกันผ่านลิงค์(Hyperlink) Markup languageหมายถึงภาษาที่ใช้ Tag ในการกำหนดการแสดงผลสิ่งต่างๆที่แสดงอยู่บนเว็บเพจ ดังนั้น HTML จึงหมายถึง ภาษาที่ใช้ Tag ในการกำหนดการแสดงผลเว็บเพจที่ต่างก็เชื่อมถึงกันใน Hyperspace ผ่าน Hyperlink นั่นเองปัจจุบันมีการพัฒนาและกำหนดมาตรฐานโดยองค์กร World Wide Web Consortium (W3C)
0/4
HTML เบื้องต้น
ภาษา HTML HTML ย่อมาจาก Hyper Text Markup Language เป็นโปรแกรมภาษาประเภทหนึ่งสำหรับแสดงข้อความต่าง ๆ ในรูปแบบข้อความ รูปภาพ หรือภาพเคลื่อนไหว ฯลฯ และสามารถเชื่อมโยงข้อมูลไปยังเอกสารอื่นได้ที่มีความสามารถสูงเหนือกว่าเอกสารทั่วไปเพราะสามารถเปิดดูข้อมูลภายในได้ ทำได้โดยการใส่คำสั่งลงไปในเอกสาร ซึ่งเรียกว่า แท็ก (TAG) และการนำเอกสารมาแสดงบนหน้าจอภาพในระบบอินเทอร์เน็ตได้ เรียกดูผลได้บนโปรแกรมเบราเซอร์ได้เลย โครงสร้างของภาษา HTML โครงสร้างของไฟล์ภาษา HTML มี 2 ส่วน คือ 1) ส่วนที่เป็นข้อมูลที่ต้องการแสดง เช่น ข้อความ ภาพ เสียง ภาพเคลื่อนไหว เป็นต้น 2) ส่วนที่เป็นคำสั่งแท็ก (TAG) เพื่อใช้กำหนดลักษณะของข้อมูล โดยกำหนดเป็นแท็กเปิดและแท็กปิด เช่น การวางตำแหน่งของข้อมูล ขนาดของขอความ การกำหนดสีข้อความ ส่วนหัว (HEAD) ประกอบด้วยการกำหนดชื่อของเว็บเพจที่เรียกว่า Title บอกให้ทราบว่าเอกสารนั้นเกี่ยวกับอะไร โดยคำสั่ง เป็นการเริ่มต้นชื่อเรื่องเอกสาร ภายในคำสั่งประกอบด้วยคำสั่ง <TITLE> อีกที่เพื่อแสดงชื่อของเอกสารนั้น ส่วนเนื้อหาของเอกสาร (BODY) ประกอบด้วยส่วนที่เป็นเนื้อหาของเว็บเพจ เช่น ข้อความ ตาราง รูปภาพ พื้นหลังสีตัวอักษร และแบบฟอร์มต่าง ๆ โดยใช้คำสั่ง
0/9
วิชาคอมพิวเตอร์เพื่ออาชีพ 3-4 (ม.5/2 สหศิลป์) ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564
เกี่ยวกับบทเรียน

การกำหนดรูปแบบเครื่องหมายหัวข้อและรายการ     

จะช่วยให้การแสดงผลของข้อมูลในหน้าเอกสารดูเข้าใจง่ายยิ่งขึ้น  มีการแบ่งข้อมูลออกเป็นหมวดหมู่ดูสะอาดตา  โดยการแสดงรายการให้เป็นไปตามลำดับความสำคัญ จะทำให้เอกสารเป็นระเบียบสวยงาม  อ่านได้ง่าย

1. การแสดงรายการแบบมีลำดับ (Order List หรือ Number List)

การแสดงข้อมูลรายการแบบมีหมายเลขกำกับ (Number/Order Lists) จะใช้แท็ก <OL> และ </OL> ซึ่งย่อมาจาก Ordered List คือข้อมูลรายการแบบมีหมายเลข เรียงลำดับจากน้อยไปหามากกำกับอยู่หน้าแต่ละรายการ โดยมีแท็กที่เป็นส่วนประกอบภายในอีกทีหนึ่ง คือแท็ก <LI> ที่ใช้กำหนดหัวเรื่องหรือรายละเอียดของรายการย่อย ซึ่งเมื่อรายการย่อยเหล่านี้นำไปแสดงบนเบราเซอร์ ลำดับที่ของรายการจะถูกใส่ให้กับแต่ละรายการโดยอัตโนมัติ

<OL TYPE=n START=n2>………หัวข้อเรื่อง……..
                               <LI> ข้อความ…………….
                               <LI> ข้อความ…………….
                               <LI> ข้อความ…………….
                               <LI> ข้อความ…………….
                               <LI> ข้อความ…………….
</OL>

type= ชนิดของการแสดงผลแบบรายการ

–          I , i เป็นการแสดงผลแบบโรมัน

–          A , a เป็นการแสดงผลแบบภาษาอังกฤษ

–          1 เป็นการแสดงผลลำดับรายการปกติ (Default)

–           start= การเริ่มของค่าของการแสดงรายการ (สามารถกำหนดค่าเริ่มต้นได้)

ตัวอย่างที่ 1 แสดงวิธีการแสดงรายการแบบมีลำดับ (Order List หรือ Number List)

 

ผลลัพธ์

 

ตัวอย่างที่ 2 การใช้คำสั่ง OL ร่วมกับคำสั่ง START

 

ผลลัพธ์

 

 

 

 

 

 

ตัวอย่างที่ 3 การใช้คำสั่ง OL แบบเลือก Type

 

ผลลัพธ์

 

 

2. คำสั่งสำหรับแสดงผลรายการแบบไม่มีลำดับ (Bulleted/Unordered List)

คำสั่ง <UL> การแสดงรายการแบบไม่มีเลขลำดับ (Unorder หรือ Bullet List)  เป็นคำสั่งที่ใช้แสดงรายการโดยใช้เครื่องหมายเป็นตัวแสดงนำหน้าข้อความโดยไม่จำเป็นต้องเรียงตามลำดับก่อน-หลัง เพราะเป็นการเรียงหัวข้อแบบไม่มีตัวเลขระบุไว้ มีรูปแบบการใช้งาน ดังนี้

  <UL>………….หัวข้อเรื่อง…………….
                               <LI> ข้อความ…………….
                               <LI> ข้อความ…………….
                               <LI> ข้อความ…………….
                               <LI> ข้อความ…………….
                               <LI> ข้อความ…………….
</UL>

ตัวอย่างแสดงวิธีการแสดงรายการแบบไม่มีลำดับ

 

ผลลัพธ์

 

     

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

ถ้าหากต้องการเปลี่ยนรูปแบบของหัวข้อเป็นแบบอื่นๆ ก็สามารถทำได้โดยใช้คำสั่งเพิ่มเติม ดังนี้

<UL TPYE = n>………….หัวข้อเรื่อง…………….
                               <LI> ข้อความ…………….
                               <LI> ข้อความ…………….
                               <LI> ข้อความ…………….
                               <LI> ข้อความ…………….
                               <LI> ข้อความ…………….
</UL>

 * n หมายถึง ชนิดของเครื่องหมายมีอยู่ 3 แบบ ดังนี้

          DISC   จะมีสัญลักษณ์เป็นวงกลมทึบ (ค่าปกติ)
          CIRCLE  จะมีสัญลักษณ์เป็นวงกลมโปร่ง
          SQUARE จะมีสัญลักษณ์เป็นสี่เหลี่ยมทึบ

3. การแสดงผลรายการแบบหัวข้อย่อย (Definition List)

รายการย่อยแบบใช้นิยาม หรือ Definition List นี้จะคล้ายกันกับรายการย่อยแบบที่ใช้หมายเลขหรือสัญลักษณ์กำกับต่างกันที่ไม่สัญลักษณ์ใดๆ กำกับหน้าแต่ละรายการย่อย มีเพียงแต่รายการย่อยต่างๆ แสดงอยู่ลักษณะคล้ายกับพจนานุกรม โดยมีแท็กที่เกี่ยวข้องอยู่ 3 แท็กด้วยกัน คือ <DL> และ</DL> เพื่อบอกว่ารายการย่อยมีลักษณะเป็น แบบใช้นิยาม ส่วนแท็ก <DT> นั้นใช้บอกส่วนที่เป็นเรื่องของแต่ละรายการย่อย และแท็ก <DD> ใช้บอกส่วนที่เป็นรายละเอียดในรายการย่อยนั้น

    <DL>………หัวข้อเรื่อง……..
                <DT> หัวข้อ……   <DD> คำอธิบาย…..
                <DT> หัวข้อ……   <DD> คำอธิบาย…..
                <DT> หัวข้อ……   <DD> คำอธิบาย…..
                ………………………………………………
         </DL>

 

ตัวอย่างการใช้คำสั่ง DL

 

                                                   ผลลัพธ์

 

4. การใช้คำสั่งการแสดงรายการแบบไดเรกทอรี (Directory List)

 ใช้สำหรับแสดงหัวข้อสั้น ๆ ที่มีความยาวไม่เกิน 20 ตัวอักษร ไม่มีการเรียงลำดับของรายการและไม่มีตัวเลขลำดับนำหน้าข้อความ มีรูปแบบการใช้งาน ดังนี้

         <DIR>………….หัวข้อเรื่อง…………….

                                <LI> ข้อความ…………….

                                <LI> ข้อความ…………….

                                <LI> ข้อความ…………….

                                <LI> ข้อความ…………….

                                <LI> ข้อความ…………….

          </DIR>

  

ตัวอย่างการใช้คำสั่งแสดงรายการแบบ DIRECTORY LIST

 

 

5. การใช้คำสั่งการแสดงรายการแบบเมนูลิงค์ (Menu List)

 คำสั่ง <MENU> การแสดงรายการแบบเมนูลิงค์ (Menu LIst) ใช้สำหรับแสดงหัวข้อรายการแบบสั้น ๆ เหมือนกับคำสั่ง DIR แล้วแต่ผู้เขียนโปรแกรมจว่าจะถนัดใช้คำสั่งใดมากกว่ากัน เพราะการแสดงผลบนเบราว์เซอร์จะไม่มีการเรียงลำดับของรายการและไม่มีตัวเลขลำดับนำหน้า  ข้อความีรูปแบบการใช้งานดังนี้

           <MENU>………….หัวข้อเรื่อง…………….

                                <LI> ข้อความ…………….

                                <LI> ข้อความ…………….

                                <LI> ข้อความ…………….

                                <LI> ข้อความ…………….

                                <LI> ข้อความ…………….

          </MENU>

                                     ตัวอย่างการใช้คำสั่งแสดงรายการแบบ Menu List

   

 

6. การแสดงผลรายการหลายรูปแบบซ้อนกัน (Combining List Types)

 การแสดงรายการด้วยคำสั่งหลายคำสั่ง หรือหลายคำสั่งซ้อนกัน จะขึ้นอยู่กับเราว่า จะเลือกใช้คำสั่งใดบ้างเพื่อให้แสดงข้อมูลตามรูปแบบที่เราต้องการ คำสั่งที่เราสามารถจะเลือกใช้ในการแสดงผลข้อมูลคือ

1. Ordered Lists ได้แก่คำสั่ง <OL>
2. Unordered Lists ได้แก่คำสั่ง <UL> หรือ <MENU> หรือ <DIR> เป็นต้น
3. Definition Lists ได้แก่คำสั่ง <DL>

                               

 

 ตัวอย่างการใช้คำสั่งรายการหลายรูปแบบซ้อนกัน

 

 

 

 

7. รายการแบบที่อยู่ 

คำสั่งนี้มีจุดประสงค์เพื่อใช้ในการแสดงผลข้อความที่เป็นที่อยู่ของหน่วยงาน หรือผู้ที่ทำการพัฒนาเว็บไซค์ เพื่อให้ผู้ที่เข้ามาใช้บริการเว็บเพจนั้นสามารถทำการติดต่อกับหน่วยงาน หรือผู้ที่ทำการพัฒนาได้ โดยรูปแบบของตัวอักษรแบบตัวเอน คำสั่งที่ใช้สำหรับกำหนดการแสดงผลแบบนี้คือ ADDRESS…/ADDRESS รูปแบบการใช้งานคำสั่งสามารถแสดง

 บทที่ 5 การกำหนดหัวข้อและเลขลำดับ

คำสั่ง (TAG)

คำอธิบาย (คำสั่งเหล่านี้อยู่ภายใต้คำสั่ง BODY)

การแสดงรายการแบบมีลำดับ

(Order List หรือ Number List)

<OL type=n start=ค่าเริ่มต้น>หัวข้อเรื่อง

   <LI> หัวเรื่อง

   <LI> หัวเรื่อง

</OL>

 คือข้อมูลรายการแบบมีหมายเลข เรียงลำดับจากน้อยไปหามากอยู่หน้าแต่ละรายการ โดยมีแท็กที่เป็นส่วนประกอบภายใน คือแท็ก <LI> ที่ใช้กำหนดหัวเรื่องหรือรายละเอียดของรายการย่อย ซึ่งเมื่อรายการย่อยเหล่านี้นำไปแสดงบนเบราเซอร์ ลำดับที่ของรายการจะถูกใส่ให้กับแต่ละรายการโดยอัตโนมัติ

type= ชนิดของการแสดงผลแบบรายการ

   I , i เป็นการแสดงผลแบบโรมัน

   A , a เป็นการแสดงผลแบบภาษาอังกฤษ

   1 เป็นการแสดงผลลำดับรายการปกติ (Default)

start= การเริ่มของค่าของการแสดงรายการ(เป็นตัวเลข)

คำสั่งสำหรับแสดงผลรายการแบบไม่มีลำดับ (Bulleted/Unordered List)

<UL>…หัวข้อเรื่อง

      <LI> ข้อความ…………….
      <LI> ข้อความ…………….

</UL>

เป็นคำสั่งที่ใช้แสดงรายการโดยใช้เครื่องหมายเป็นตัวแสดงนำหน้าข้อความโดยไม่จำเป็นต้องเรียงตามลำดับก่อน-หลัง เพราะเป็นการเรียงหัวข้อแบบไม่มีตัวเลขระบุไว้

ถ้าต้องการเปลี่ยนสัญลักษณ์ให้กำหนด <UL type=n>

 * n หมายถึง ชนิดของเครื่องหมายมีอยู่ 3 แบบ ดังนี้

          DISC   จะมีสัญลักษณ์เป็นวงกลมทึบ (ค่าปกติ)
          CIRCLE  จะมีสัญลักษณ์เป็นวงกลมโปร่ง
          SQUARE จะมีสัญลักษณ์เป็นสี่เหลี่ยมทึบ

คำสั่งการแสดงผลรายการแบบหัวข้อย่อย 

(Definition List)

<DL>………หัวข้อเรื่อง……..
    <DT> หัวข้อ……   <DD> คำอธิบาย…..
    <DT> หัวข้อ……   <DD> คำอธิบาย…..
    <DT> หัวข้อ……   <DD> คำอธิบาย…..
</DL>

รายการย่อยแบบใช้นิยาม หรือ Definition List นี้จะคล้ายกันกับรายการย่อยแบบที่ใช้หมายเลขหรือสัญลักษณ์กำกับต่างกันที่ไม่สัญลักษณ์ใดๆ กำกับหน้าแต่ละรายการย่อย มีเพียงแต่รายการย่อยต่างๆ แสดงอยู่ลักษณะคล้ายกับพจนานุกรม โดยมีแท็กที่เกี่ยวข้องอยู่ 3 แท็กด้วยกัน คือ

1) <DL> และ</DL> เพื่อบอกว่ารายการย่อยมีลักษณะเป็น แบบใช้นิยาม

2) <DT> นั้นใช้บอกส่วนที่เป็นเรื่องของแต่ละรายการย่อย

3) <DD> ใช้บอกส่วนที่เป็นรายละเอียดในรายการย่อยนั้น

การใช้คำสั่งการแสดงรายการแบบไดเรกทอรี (Directory List)

<DIR>………….หัวข้อเรื่อง…………….

     <LI> ข้อความ…………….

     <LI> ข้อความ…………….

     <LI> ข้อความ…………….

</DIR>

 

 ใช้สำหรับแสดงหัวข้อสั้น ๆ ที่มีความยาวไม่เกิน 20 ตัวอักษร ไม่มีการเรียงลำดับของรายการและไม่มีตัวเลขลำดับนำหน้าข้อความ มีรูปแบบการใช้งาน

 

 

การใช้คำสั่งการแสดงรายการแบบเมนูลิงค์ (Menu List)

<MENU>………….หัวข้อเรื่อง…………….

    <LI> ข้อความ…………….

    <LI> ข้อความ…………….

    <LI> ข้อความ…………….

</MENU>

คำสั่ง <MENU> การแสดงรายการแบบเมนูลิงค์ (Menu LIst) ใช้สำหรับแสดงหัวข้อรายการแบบสั้น ๆ เหมือนกับคำสั่ง DIR แล้วแต่ผู้เขียนโปรแกรมจว่าจะถนัดใช้คำสั่งใดมากกว่ากัน เพราะการแสดงผลบนเบราว์เซอร์จะไม่มีการเรียงลำดับของรายการและไม่มีตัวเลขลำดับนำหน้า

รายการแบบที่อยู่ 

<ADDRESS>…</ADDRESS>

คำสั่งนี้มีจุดประสงค์เพื่อใช้ในการแสดงผลข้อความที่เป็นที่อยู่ของหน่วยงาน หรือผู้ที่ทำการพัฒนาเว็บไซค์