มลพิษทางเสียงคือเสียงที่มีความดังมากจนก่อให้เกิดอันตรายต่อระบบการได้ยินหรือเสียงบางส่วนแม้ว่าจะไม่ดังมากจนมีอันตรายต่อเยื่อแก้วหูแต่อาจก่อให้เกิดความรู้สึกหงุดหงิดและรำคาญได้ เช่น เสียงสุนัขเห่า เราจึงควรเรียนรู้เกี่ยวกับอันตรายของเสียงเพื่อหาแนวทางหรือวิธีป้องกันอันตรายจากเสียงเหล่านั้นได้อย่างถูกวิธี
การรับฟังเสียงที่ดังมาก ๆ เป็นเวลานาน ๆ ทำให้เกิดอันตรายต่อเยื่อแก้วหูเราจึงควรป้องกันหรือหลีกเลี่ยงเสียงดังนั้นเพื่อป้องกันอันตรายที่เกิดขึ้นได้โดยแนวทางในการป้องกันหรือหลีกเลี่ยงมลพิษทางเสียงมีหลายวิธี
เสียงต่าง ๆ ที่เราได้ยินบางครั้งอาจทำให้เกิดอันตรายกับครูของเราได้ เสียงแต่ละเสียงจะมีระดับความดังของเสียงไม่เท่ากัน หากมนุษย์ได้ฟังเสียงที่ดังเกิน 85 เดซิเบลติดต่อกันเป็นเวลานาน ๆ หรือเกินวันละ 8 ชั่วโมง จะทำให้เกิดอันตรายต่อเยื่อแก้วหูได้ เช่น เสียงประทัดเสียง เครื่องบินกำลังบิน เสียงบาเสียงแม้ว่าจะไม่ดังมากจนมีอันตรายต่อเยื่อแก้วหู แต่อาจก่อให้เกิดความรู้สึกหงุดหงิดและรำคาญได้ เช่น เสียงคุยกันในห้องสมุด เสียงสุนัขเห่าหรือหอน
มลพิษทางเสียงอาจก่อให้เกิดอันตรายต่อเยื่อแก้วหูทำให้รู้สึกหงุดหงิดและรำคาญ ดังนั้น การรู้จักป้องกันหรือหลีกเลี่ยงจะช่วยป้องกันไม่ให้เยื่อแก้วหูเกิดอันตรายและทำให้ประสาทการรับฟังเสียงไม่เสื่อม แนวทางในการป้องกันหรือหลีกเลี่ยงมลพิษทางเสียงมีหลายวิธี เช่น
- ปลูกต้นไม้หรือสร้างกำแพงเป็นแนวกั้นเสียง
- ไม่เปิดวิทยุหรือเครื่องเสียงให้ดังเกินไป
- ใช้มืออุดหูทันทีหากได้ยินเสียงดังกะทันหัน
- ควรมีอุปกรณ์ครอบหูเพื่อป้องกันเสียงดัง