วิชาดนตรี-นาฏศิลป์ ชั้น ประถมศึกษาปีที่ 2 (ศ12101) ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2564

หมวดหมู่: ป.2, ประถมศึกษา
คอร์สที่สนใจ แชร์
แชร์คอร์ส
ลิงก์หน้า
แชร์บนโซเชียล

เกี่ยวกับคอร์ส

คำอธิบายรายวิชาดนตรี-นาฏศิลป์
ศึกษาแหล่งกำเนิดของเสียง คุณสมบัติของเสียงสูง-ต่ำ ดัง-เบา ยาว-สั้น การเคลื่อนไหวประกอบบทเพลง  การเล่นเครื่องดนตรีประกอบเพลง การขับร้องเพลง บทเพลงในภาคกลาง เพลงฉ่อย กิจกรรมดนตรีในโอกาสพิเศษ

ศึกษาการเคลื่อนไหวอย่างมีรูปแบบ การประดิษฐ์ท่าจากการเคลื่อนไหวมีรูปแบบ หลักและวิธีการปฏิบัตินาฏศิลป์  การใช้ภาษาท่าและนาฏยศัพท์ มารยาทในการชมการแสดง การเข้าชมหรือมีส่วนร่วม

โดยกระบวนการคิดวิเคราะห์  กระบวนการคิดสร้างสรรค์  กระบวนการสื่อสาร  กระบวนการเรียนรู้ความเข้าใจ  และกระบวนการปฏิบัติทางทัศนศิลป์  ดนตรีและนาฏศิลป์

เพื่อพัฒนาผู้เรียนเห็นคุณค่างานศิลปะทั้งด้านทัศนศิลป์ ดนตรีและนาฏศิลป์ มีวินัย ใฝ่เรียนรู้ อยู่อย่างพอเพียงและรักความเป็นไทย

คุณจะได้เรียนรู้อะไร?

  • จำแนกแหล่งกำเนิดของเสียงที่ได้ยิน
  • บอกแหล่งกำเนิดเสียง
  • จำแนกแหล่งกำเนิดเสียงที่ได้ยิน
  • จำแนกคุณสมบัติของเสียงสูง-ต่ำ ดัง-เบา ยาว-สั้น ของดนตรี
  • บอกคุณสมบัติของเสียง
  • จำแนกคุณสมบัติของเสียงสูง-ต่ำ ดัง-เบา ยาว-สั้น ของดนตรี
  • เคลื่อนไหวขณะอยู่กับที่และเคลื่อนที่
  • ยกตัวอย่างการเคลื่อนไหวร่างกาย
  • เคลื่อนไหวร่างกายขณะอยู่กับที่และเคลื่อนที่ได้
  • แสดงการเคลื่อนไหวที่สะท้อนอารมณ์ของตนเองอย่างอิสระ
  • อธิบายความหมายการแสดงบทบาทสมมติ
  • แสดงการเคลื่อนไหวร่างกายออกมาในรูปแบบบทบาทสมมติ
  • ใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์
  • เคาะจังหวะหรือเคลื่อนไหวร่างกายให้สอดคล้องกับเนื้อหาของเพลง
  • บอกความแตกต่างของการเคาะจังหวะและการเคลื่อนไหว
  • ปฏิบัติการเคาะจังหวะให้สอดคล้องกับเพลงได้
  • ร้องเพลงง่าย ๆ ที่เหมาะสมกับวัย
  • อธิบายหลักการร้องเพลงแบบง่าย ๆ
  • สามารถร้องเพลงแบบง่าย ๆ ได้
  • ชื่นชมและเห็นคุณค่าของเพลงที่ร้อง
  • บอกความหมายและความสำคัญของเพลงที่ได้ยิน
  • อธิบายความหมายและความสำคัญของเพลง
  • บอกความหมายและความสำคัญของเพลงที่ได้ยิน
  • แสดงท่าทางเพื่อสื่อความหมายแทนคำพูด
  • บอกความแตกต่างของภาษาท่าทางนาฏศิลป์
  • ปฏิบัติท่าทางเพื่อสื่อความหมายแทนคำพูดได้
  • แสดงท่าทางประกอบจังหวะอย่างสร้างสรรค์
  • ยกตัวอย่างนาฏศิลป์เบื้องต้น
  • ปฏิบัติท่าทางประกอบจังหวะอย่างสร้างสรรค์

เนื้อหาของคอร์ส

สีสันของเสียง
เสียงมีคุณสมบัติตัวของมันเอง เสียงจะแตกต่างกันไปตามแหล่งกำเนิดเสียงที่เราคุ้นเคยและได้ยินอยู่ รอบ ๆ ตัวหรือในชีวิตประจำวัน เสียงที่มีความไพเราะ มีระดับเสียงที่เกิดขึ้นอย่างเป็นระบบทั้งลีลา ทำนองและจังหวะที่ผสมผสานกลมกลืนกัน อาจเป็นเสียงที่เกิดจากคนร้องหรือเสียงจากเครื่องดนตรีก็ได้

  • สีสันของเสียงมนุษย์และเสียงดนตรี
    00:01
  • สีสันของเสียง

การเคลื่อนไหวเบื้องต้น
การเคลื่อนไหวอย่างมีรูปแบบเป็นพื้นฐานของการแสดงนาฏศิลป์ซึ่งการเคลื่อนไหวแบบนี้ทำให้เรารู้จักการใช้ท่าทางที่เหมาะสมกับเนื้อเพลงและรู้จักเคลื่อนไหวร่างกายได้ถูกต้องตามจังหวะ การแสดงละครเป็นการแสดงที่เน้นการเคลื่อนไหวร่างกาย เสียง ภาษา เพื่อสื่อความหมายให้ผู้อื่นได้รับรู้ ดังนั้นผู้แสดงจะต้องแสดงให้สมบาทบาทตัวละครที่แสดงตามเนื้อเรื่อง เพื่อสร้างจินตนาการและสรุปความคิดของผู้ชมให้เข้าใจตรงกับผู้แสดง

ไพเราะขับขาน
การร้องเพลง ทำให้เกิดความสนุกสนานเพลิดเพลินแต่การร้องเพลงให้ไพเราะนั้นจะต้องร้องให้ถูกทำนอง และจังหวะ เพลงแต่ละเพลงมีรูปแบบแตกต่างกันไปสามารถแบ่งออกเป็น ๓ ประเภทใหญ่ ๆ คือ เพลงไทย เพลงไทยสากลและเพลงพื้นเมือง

พื้นฐานทางนาฏศิลป์
การปฏิบัติท่ารำขั้นต้นที่เป็นพื้นฐานของการฝึกหัดนาฏศิลป์ไทยที่ถูกต้องและสวยงาม โดยการใช้ส่วนต่างๆ ของร่างกายให้สัมพันธ์สอดคล้องและมีลีลาที่อ่อนช้อย จึงจำเป็นท่าจะต้องฝึกแต่ท่าที่เป็นแบบเฉพาะของนาฏศิลป์ไทยให้ชำนาญและถูกต้อง ท่ารำที่เป็นแบบเฉพาะในการฝึกปฏิบัติคือ นาฏยศัพท์

การจัดอันดับและรีวิวของผู้เรียน

ยังไม่มีรีวิว
ยังไม่มีรีวิว