เนื้อหาของคอร์ส
หน่วยการเรียนที่ 4-7
หน่วยที่ 4 พระบัญญัติประการที่ 5 หน่วยที่ 5 พิธีกรรม พิธีบูชาขอบพระคุณ หน่วยที่ 6 กิจศรัทธา มรรคาศักดิ์สิทธิ์ หน่วยที่ 7 นักบุญเทเรซาแห่งพระกุมารเยซู
0/6
วิชาคริสตศาสนา ป.4 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564
เกี่ยวกับบทเรียน

คาบที่ 1

ก.กิจกรรมนำเข้าสู่บทเรียน

  1. ครูนำสวดภาวนาก่อนเรียน จากนั้นจึงเกริ่นนำถึงพิธีกรรมทางศาสนาต่างๆ ว่า “ทุกศาสนาจะมีพิธีกรรมกรรม เพื่อเป็นการรวมจิตใจของประชาชนเข้าด้วยกันอาศัยพิธีกรรมต่างๆ” แล้วให้ผู้เรียนยกตัวอย่างพิธีกรรมทางศาสนาต่างๆ ที่ตนรู้จักไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อมก็ได้โดยครูอาจเสริมเติมให้สมบูรณ์ขึ้น
  2. ครูนำเข้าสู่พิธีกรรมทางศาสนาคริสต์ว่าโดยถามผู้เรียนว่า “พิธีกรรมใดในศาสนาคริสต์ที่ความสำคัญและมีความหมายมากที่สุด… เพราะเหตุใด…” เปิดอภิปรายให้ผู้เรียนช่วยกันตอบ

ข. กิจกรรมพัฒนาการเรียนรู้ 

  1. ครูให้ผู้เรียนดูวีดีทัศน์เพลง จำไว้ไม่ลืม โดยดูเนื้อเพลงจากใบความรู้ที่ 1 เรื่อง บทเพลงจำไว้ไม่ลืมและให้ร้องเพลงพร้อมกัน จากนั้น ให้ผู้เรียนช่วยกันตอบคำถามว่า สาระในเพลงดังกล่าวพูดเกี่ยวกับเรื่องอะไรหรือพิธีอะไร (ตอบ-พิธีบูชาขอบพระคุณ)
  2. ครูอธิบายว่า ในศาสนาคริสต์นั้นมีพิธีกรรมที่หลากหลาย แต่พิธีกรรมที่สำคัญที่สุดคือ พิธีบูชาขอบพระคุณ ดังนั้นให้ผู้เรียนได้ศึกษาถึงความหมายของพิธีนี้ โดยแบ่งผู้เรียนเป็นกลุ่มตามความเหมาะสมแล้วให้ศึกษาใบความรู้ที่ 2 เรื่อง พิธีบูชาขอบพระคุณเฉพาะตอนที่ 1 ซึ่งกล่าวถึงเรื่อง“ความหมายของพิธีบูชาขอบพระคุณ” ใบความรู้พิธีบูชาขอบพระคุณ
  3. หลังจากที่ได้ศึกษาใบความรู้ที่ 2 แล้ว ให้ทุกกลุ่มทำใบงานที่ 1 เรื่อง พิธีบูชาขอบพระคุณ
  4. เมื่อทุกกลุ่มทำใบงานเสร็จแล้ว ครูเฉลยคำตอบพร้อมกัน และอธิบายความหมายของพิธีบูชาขอบพระคุณให้ผู้เรียนเข้าใจอย่างชัดเจนอีกครั้งหนึ่งโดยเปิดอภิปรายให้ผู้เรียนได้ซักถามหากมีข้อสงสัยและครูสรุปถึงความสำคัญของพิธีบูชาขอบพระคุณว่าเป็นพิธีกรรมที่สำคัญที่สุดสำหรับคริสตชน เพราะเป็นการระลึกถึงธรรมล้ำลึกปัสกา อันหมายถึงการทรมาน สิ้นพระชนม์และการกลับคืนชีพของพระเยซูคริสตเจ้าซึ่งนำความรอดพ้นให้แก่มนุษย์ทุกคนไม่ว่าจะเป็นชาติ ศาสนา และยุคสมัยใด
  5. หลังจากนั้นให้ผู้เรียนทำใบงานที่ 2 เรื่อง เหตุการณ์ในอาหารค่ำมื้อสุดท้าย เพื่อให้ผู้เรียนได้อ่านเหตุการณ์สำคัญที่เกิดขึ้นในระหว่างการเลี้ยงอาหารค่ำครั้งสุดท้ายของพระเยซูเจ้าซึ่งก็คือการตั้งศีลมหาสนิท

คาบที่ 2    

  1. ครูนำผู้เรียนเข้าสู่ประเด็นเรื่อง “โครงสร้างในพิธีบูชาขอบพระคุณ” โดยให้ผู้เรียนดูจากใบความรู้ที่ 1 ในตอนที่ 2 เพื่อให้ผู้เรียนได้เรียนรู้เกี่ยวกับส่วนประกอบต่างๆ ของพิธีบูชาขอบพระคุณอย่างเป็นลำดับขั้นตอนโดยสังเขป
  2. เมื่อครูอธิบายเรื่อง “โครงสร้างในพิธีบูชาขอบพระคุณ”เสร็จแล้ว ให้ผู้เรียนจับคู่กันแล้วทำใบงานที่ 3 เรื่อง โครงสร้างในพิธีบูชาขอบพระคุณ
  3. ครูอธิบายหัวข้อต่อไปเกี่ยวกับพิธีบูชาขอบพระคุณคือเรื่อง “ปีพิธีกรรมและอาภรณ์ศักดิ์สิทธิ์โดยแบ่งกลุ่มผู้เรียนให้ศึกษาจากใบความรู้ที่ 3 เรื่องปีพิธีกรรม ความหมายของเทศกาลในปีพิธีกรรม และอาภรณ์ศักดิ์สิทธิ์จาก Power point อาภรณ์ศักดิ์สิทธิ์ในพิธีบูชาขอบพระคุณเมื่อศึกษาแล้ว ให้ครูตั้งคำถามเกี่ยวเนื้อหาทั้งสองประเด็นเพื่อให้ผู้เรียนช่วยกันตอบและทำความเข้าใจให้ชัดเจนมากยิ่งขึ้น
  4. จากนั้นให้ผู้เรียนทำใบงานที่ 4 เรื่อง ปีพิธีกรรม และทำใบงานที่ 5 เรื่องอาภรณ์ศักดิ์สิทธิ์โดยให้บางกลุ่มทำใบงานที่ 4 และบางกลุ่มทำใบงานที่ 5
  5. เมื่อทุกกลุ่มทำใบงานเสร็จแล้ว ให้กลุ่มที่ทำใบงานที่ 4 นำเสนอผลงานของตนให้เพื่อนทุกคนได้ทราบ พร้อมกับเปิดอภิปรายให้ผู้เรียนทุกคนได้ถามและตอบให้เข้าใจเกี่ยวกับเรื่องปีพิธีกรรมหลังจากนั้น ครูจึงเฉลยใบงานที่ 5 พร้อมกับผู้เรียน เพื่อให้ทุกคนเข้าใจเรื่องอาภรณ์ศักดิ์สิทธิ์ได้อย่างถูกต้อง

คาบที่ 3

ค.กิจกรรมรวบยอด

  1. ครูและผู้เรียนช่วยกันสรุปเนื้อหาเรื่องความหมายและความสำคัญของพิธีบูชาขอบพระคุณปีพิธีกรรมและอาภรณ์ศักดิ์สิทธิ์ที่ใช้ในพิธีบูชาขอบพระคุณและครูยังย้ำให้ผู้เรียนรู้จักใช้กิริยาวาจาที่สำรวมทุกครั้งที่มีโอกาสเข้าร่วมพิธีบูชาขอบพระคุณ
  2. ครูให้ผู้เรียนภาวนาปิดโดยให้ผู้เรียนร้องเพลงจากวีดีทัศน์เพลง จำไว้ไม่ลืม(https://www.youtube.com/watch?v=vHvdHj-BtJU) อีกครั้งหนึ่ง

เรื่องศาสนภัณฑ์ที่ใช้ในพิธีบูชาขอบพระคุณและวิธีปฏิบัติตนในการร่วมพิธีบูชาขอบพระคุณ

ก.กิจกรรมนำเข้าสู่บทเรียน

  1. ครูให้ผู้เรียนทบทวนเนื้อหาของบทเรียนที่ได้เรียนไปแล้ว
  2. ครูสนทนากับผู้เรียนว่า เคยสังเกตหรือไม่ว่า ในพิธีบูชาขอบพระคุณนั้นมีการใช้อุปกรณ์ใดบ้าง การจัดอุปกรณ์ต่างๆ นั้นเขาทำกันอย่างไร… และผู้เข้าร่วมพิธีมีท่าทางใดบ้าง… แต่ละท่าทางมีความหมายอะไรหรือไม่… ให้ผู้เรียนแสดงความคิดเห็น

คาบที่ 4

ข. กิจกรรมพัฒนาการเรียนรู้

  1. ครูอธิบายว่า ในการประกอบพิธีบูชาขอบพระคุณซึ่งเป็นพิธีศักดิ์สิทธิ์และสำคัญที่สุดนั้น มีกำหนดให้ใช้ศาสนภัณฑ์เฉพาะตามที่พระศาสนจักรได้กำหนดให้ ใบความรู้ศาสนภัณฑ์ที่ใช้เพื่อการประกอบพิธีบูชาขอบพระคุณ ซึ่งอุปกรณ์ต่างๆ มีจำนวนค่อนข้างมาก แต่ที่นำมาให้ผู้เรียนได้รู้จักนี้ ได้รับการคัดมาเพียงบางส่วนตามที่ผู้เรียนอาจจะเคยเป็นเห็นประจำเท่านั้น
  2. ให้ผู้เรียนจับคู่กันศึกษาใบความรู้ที่ 4 เรื่อง ศาสนภัณฑ์ที่ใช้ในพิธีบูชาขอบพระคุณ หลังจากศึกษาแล้ว ครูตั้งคำถามเกี่ยวกับศาสนภัณฑ์ที่ใช้ในการประกอบพิธีบูชาขอบพระคุณให้ผู้เรียนช่วยกันตอบ พร้อมกับอธิบายเพิ่มเติมหากผู้เรียนยังไม่เข้าใจชัดเจนในบางสิ่ง
  3. จากนั้น ครูให้ผู้เรียนคู่เดิมศึกษาใบความรู้ที่ 5 เรื่อง ท่าทางในพิธีบูชาขอบพระคุณ ใบความรู้ความหมายของอิริยาบถสำคัญบางประการที่ใช้ในพิธีกรรม  พร้อมกับให้ทั้งคู่ทำใบงานที่ 6 เรื่องท่าทางในพิธีบูชาขอบพระคุณ 
  4. เมื่อผู้เรียนทำใบงานที่ 6 เสร็จแล้ว ครูจึงเฉลยพร้อมกับอธิบายเพิ่มเติมให้ผู้เรียนเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องท่าทางในการร่วมพิธีบูชาขอบพระคุณอย่างถูกต้อง
  5. ครูให้ผู้เรียนสั่งสงบนิ่งสักครู่ จากนั้น ให้แต่ละคนบันทึกในสมุดส่วนตัวว่า ตนรู้สึกประทับใจอะไรในการเรียนเรื่องพิธีบูชาขอบพระคุณ พร้อมกับเขียนบทภาวนาจากใจของตนลงในสมุดด้วย

ค.กิจกรรมรวบยอด

  1. ครูและผู้เรียนร่วมสรุปถึงเนื้อหาทั้งหมดที่ได้เรียนไปเกี่ยวกับพิธีบูชาขอบพระคุณ
  2. ภาวนาปิดโดยให้ผู้เรียนบางคนอาสาสมัครมาสวดบทภาวนาของตนที่ได้เขียนไว้ในสมุดส่วนตัว จากนั้นให้ทุกคนสวดบท “ข้าแต่พระบิดาฯ” พร้อมกันอย่างตั้งใจ
ไฟล์ตัวอย่าง
ใบงานเรื่อง ศาสนภัณฑ์ที่ใช้ในพิธีบูชาขอบพระคุณ.pdf
ขนาด: 74.60 KB