เนื้อหาของคอร์ส
พื้นฐานHTML
HTML คือ ภาษาหลักที่ใช้ในการเขียนเว็บเพจ โดยใช้ Tag ในการกำหนดการแสดงผล HTML ย่อมาจากคำว่า Hypertext Markup Languageโดย Hypertext หมายถึงข้อความที่เชื่อมต่อกันผ่านลิงค์(Hyperlink) Markup languageหมายถึงภาษาที่ใช้ Tag ในการกำหนดการแสดงผลสิ่งต่างๆที่แสดงอยู่บนเว็บเพจ ดังนั้น HTML จึงหมายถึง ภาษาที่ใช้ Tag ในการกำหนดการแสดงผลเว็บเพจที่ต่างก็เชื่อมถึงกันใน Hyperspace ผ่าน Hyperlink นั่นเองปัจจุบันมีการพัฒนาและกำหนดมาตรฐานโดยองค์กร World Wide Web Consortium (W3C)
0/4
HTML เบื้องต้น
ภาษา HTML HTML ย่อมาจาก Hyper Text Markup Language เป็นโปรแกรมภาษาประเภทหนึ่งสำหรับแสดงข้อความต่าง ๆ ในรูปแบบข้อความ รูปภาพ หรือภาพเคลื่อนไหว ฯลฯ และสามารถเชื่อมโยงข้อมูลไปยังเอกสารอื่นได้ที่มีความสามารถสูงเหนือกว่าเอกสารทั่วไปเพราะสามารถเปิดดูข้อมูลภายในได้ ทำได้โดยการใส่คำสั่งลงไปในเอกสาร ซึ่งเรียกว่า แท็ก (TAG) และการนำเอกสารมาแสดงบนหน้าจอภาพในระบบอินเทอร์เน็ตได้ เรียกดูผลได้บนโปรแกรมเบราเซอร์ได้เลย โครงสร้างของภาษา HTML โครงสร้างของไฟล์ภาษา HTML มี 2 ส่วน คือ 1) ส่วนที่เป็นข้อมูลที่ต้องการแสดง เช่น ข้อความ ภาพ เสียง ภาพเคลื่อนไหว เป็นต้น 2) ส่วนที่เป็นคำสั่งแท็ก (TAG) เพื่อใช้กำหนดลักษณะของข้อมูล โดยกำหนดเป็นแท็กเปิดและแท็กปิด เช่น การวางตำแหน่งของข้อมูล ขนาดของขอความ การกำหนดสีข้อความ ส่วนหัว (HEAD) ประกอบด้วยการกำหนดชื่อของเว็บเพจที่เรียกว่า Title บอกให้ทราบว่าเอกสารนั้นเกี่ยวกับอะไร โดยคำสั่ง เป็นการเริ่มต้นชื่อเรื่องเอกสาร ภายในคำสั่งประกอบด้วยคำสั่ง <TITLE> อีกที่เพื่อแสดงชื่อของเอกสารนั้น ส่วนเนื้อหาของเอกสาร (BODY) ประกอบด้วยส่วนที่เป็นเนื้อหาของเว็บเพจ เช่น ข้อความ ตาราง รูปภาพ พื้นหลังสีตัวอักษร และแบบฟอร์มต่าง ๆ โดยใช้คำสั่ง
0/9
วิชาคอมพิวเตอร์เพื่ออาชีพ 3-4 (ม.5/2 สหศิลป์) ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564
เกี่ยวกับบทเรียน

การจัดวางเนื้อหาบนเว็บ

โดยปกติเมื่อเราเขียนข้อมูลต่าง ๆ ใน Text Editor เมื่อนำไปแสดงผลที่บราวเซอร์จะไม่เหมือนกับรูปแบบที่เราเขียนใน Text Editor เพราะว่าการจัดรูปแบบเอกสารต้องใช้คำสั่งภาษา HTML เพื่อกำหนดให้เอกสารมีรูปแบบตามต้องการ เมื่อแสดงผลในเว็บบราวเซอร์

1. การตัดคำขึ้นบรรทัดใหม่<br />

แท็ก <br /> เป็นคำสั่งที่กำหนดจุดสิ้นสุดของบรรทัด (break rule) แล้วทำการขึ้นบรรทัดใหม่เพื่อแสดงข้อความส่วนที่เหลือในบรรทัดถัดไป คำสั่งนี้จึงให้ผลเสมือนการกดคีย์ ENTER บนคีย์บอร์ดนั่นเอง

ข้อสังเกต

แท็ก <br /> ส่วนใหญ่มักนิยมจะวางไว้ในตำแหน่งสุดท้ายของประโยค โดยต้องการให้แสดงผลประโยคใหม่ในบรรทัดต่อมา

ตัวอย่างการใช้แท็ก <br />

<!DOCTYPE HTML>

<html>

<head>

<title>การตัดคำขึ้นบรรทัดใหม่</title>

</head>

<body>

<body>

การใช้งานคำสั่ง br  <br />ซึ่งเป็นคำสั่งที่ทำให้ข้อความขึ้นบรรทัดใหม่

</body>

</html>

ผลลัพธ์ที่ได้

p1

2. การตัดคำขึ้นย่อหน้าใหม่ <p>

แท็ก <p> เป็นแท็กที่สั่งให้โปรแกรมเว็บบราวเซอร์ขึ้นย่อหน้าใหม่ (paragraph) โดยจะมีการเว้นบรรทัดว่างไว้ 1 บรรทัด

รูปแบบแท็ก  

<p>ข้อความที่ต้องการขึ้นย่อหน้าใหม่</p>

ตัวอย่างการใช้งานแท็ก <p>

<!DOCTYPE HTML>

<html>

<head>

<title>การตัดคำขึ้นย่อหน้าใหม่</title>

</head>

<body>

การใช้งานคำสั่ง p <p>ซึ่งเป็นคำสั่งที่ทำให้ข้อความขึ้นย่อหน้าใหม่</p>

</body>

</html>

ผลลัพธ์ที่ได้

p2

ข้อสังเกต
จะเห็นได้ว่าการขึ้นบรรทัดใหม่ของคำสั่ง <br> และ <p> นั้น การเว้นว่างระหว่างบรรทัดของทั้งสองมีความแตกต่างกัน โดยที่คำสั่ง <br> ช่องว่างระหว่างบรรทัดจะน้อยกว่าคำสั่ง <p>

 

3. การจัดวางตำแหน่งข้อความในย่อหน้า

เราสามารถจัดเรียงข้อความในแต่ละย่อหน้าของเว็บเพจได้  โดยการกำหนดตำแหน่งในแอตทริบิวต์ align (Alignment) ของแท็ก p ดังนี้

รูปแบบของแท็ก  <p align= “ตำแหน่ง”>ข้อความ</p>
ค่าที่กำหนด           ตำแหน่งของการจัดวางข้อความได้แก่ left (ซ้าย), center (ตรงกลาง), right (ขวา) และ justify (จัดเต็มพื้นที่)

ตัวอย่างการใช้งานแท็ก

<!DOCTYPE HTML>

<html>

<head>

<title>การจัดตำแหน่งการตัดคำขึ้นย่อหน้าใหม่</title>

</head>

<body>

<p align=”left”>การจัดวางตำแหน่งข้อความในย่อหน้าด้านซ้าย</p>

<p align=”center”>การจัดวางตำแหน่งข้อความในย่อหน้าตรงกลาง</p>

<p align=”right”>การจัดวางตำแหน่งข้อความในย่อหน้าด้านขวา</p>

<p align=”justify”>การจัดวางตำแหน่งข้อความในย่อหน้าแบบจัดเต็มพื้นที่ ซึ่งข้อความจะมีลักษณะเท่ากันทั้งด้านซ้ายและด้านขวา</p>

</body>

</html>

ผลลัพธ์ที่ได้

p3

4. การจัดวางตำแหน่งข้อความให้อยู่กึ่งกลาง <center>

รูปแบบของแท็ก  <center>ข้อความ</center>

5. การจัดรูปแบบเอกสารตามที่กำหนด <pre>

เป็นการกำหนดให้แสดงข้อความที่อยู่ในย่อหน้าที่อยู่ในชุดคำสั่งดังกล่าว เหมือนกับที่พิมพ์ไม่ว่าจะเป็นการเว้นวรรค หรือขึ้นบรรทัดใหม่ แต่จะบังคับใช้ fixed width fonts

รูปแบบแท็ก  <pre>ข้อความ</pre>

ตัวอย่างการใช้แท็ก pre (Preformatted)

<!DOCTYPE HTML>

<html>

<head>

<title>การใช้แท็ก pre (Preformatted)</title>

</head>

<body>

<pre>ข้อดีของ HTML คือ

สามารถใช้ได้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ และระบบปฏิบัติการได้หลากหลายชนิด

</pre>

</body>

</html>

ผลลัพธ์ที่ได้

p4

6. การสร้างเส้นคั่น<hr>

แท็ก <hr> เป็นแท็กที่แสดงเส้นขีดคั่นทางแนวนอน (horizontal rule) โดยอาจใช้เป็นเส้นแบ่งเนื้อหาระหว่างบท หรือเป็นเส้นขีดคั่นเพื่อความสวยงามและเป็นระเบียบของเนื้อหา เป็นการกำหนดเส้นคั่นซึ่งเป็นคำสั่งที่ไม่ต้องมีคำสั่งปิด (Single Tag)

รูปแบบแท็ก  

<hr /> (เป็นแท็กว่างต้องปิดแท็กด้วย / หลังจากแท็กคำสั่ง)

แอตทริบิวต์ (Attribute) คำอธิบาย รูปแบบการใช้งาน
width กำหนดความยาวของเส้นคั่น มีหน่วยเป็นพิกเซล หรือ % <hr width=“50” /> หรือ
<hr width=“50%” />
size กำหนดความหนาของเส้นคั่น มีหน่วยเป็นพิกเซล หรือ % <hr size=“50”> หรือ
<hr size=“50%”>
noshade กำหนดให้เส้นคั่นเป็นเส้นทึบ <hr noshade=“noshade”>
align กำหนดตำแหน่งของเส้นคั่นให้ตำแหน่งของการจัดวางข้อความได้แก่ left (ซ้าย), center (ตรงกลาง) right (ขวา) <hr align=“left” />
<hr align=“right” />
<hr align=“center” />
color การระบุสีเส้นคั่น แสดงผลเฉพาะ IE โดยสามารถใส่ชื่อสีหรือ #รหัสสีอย่างใดอย่างหนึ่ง <hr color=“red” /> หรือ
<hr color=“#f0f8ff” />

ตัวอย่างการใช้แท็ก hr (Horizontal Rule)

<!DOCTYPE HTML>

<html>

<head>

<title>การใช้แท็ก hr (Horizontal Rule)</title>

</head>

<body>

<body>

เส้นคั่นยาว=50% ความหนา=5 พิกเซล ตำแหน่ง=ซ้าย สีเส้นคั่น=สีแดง เส้นทึบ

<hr width=”50%” size=”5″ align=”left” color=”red” noshade=”noshade” />

<div align=”right”>เส้นคั่นยาว=50% ความหนา=5 พิกเซล ตำแหน่ง=ขวา สีเส้นคั่น=สีเหลือง เส้นทึบ</div>

<hr width=”50%” size=”5″ align=”right” color=”yellow” noshade=”noshade” />

<div align=”center”>เส้นคั่นยาว=50% ความหนา=5 พิกเซล ตำแหน่ง=ขวา สีเส้นคั่น=สีน้ำเงิน เส้นทึบ</div>

<hr width=”50%” size=”5″ align=”center” color=”blue” noshade=”noshade” />

</body>

</html>

ผลลัพธ์ที่ได้

p5