วิชาดนตรีไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 (ศ31101) ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2564

หมวดหมู่: ม.4, มัธยมศึกษา
คอร์สที่สนใจ แชร์
แชร์คอร์ส
ลิงก์หน้า
แชร์บนโซเชียล

เกี่ยวกับคอร์ส

คำอธิบายรายวิชาดนตรีไทย
ศึกษารูปแบบของดนตรีไทยและดนตรีสากลในยุคสมัยต่างๆ ประวัติสังคีตกวี  รูปแบบของบทเพลงและ     วงดนตรีแต่ละประเภท  ประเภทและรูปแบบของวงดนตรีไทย และสากล

โดยกระบวนการคิดวิเคราะห์ กระบวนการคิดสร้างสรรค์ กระบวนการสื่อสาร กระบวนการเรียนรู้ความเข้าใจ  กระบวนการสร้างความตระหนัก  กระบวนการสร้างเจตคติและกระบวนการปฏิบัติทางทัศนศิลป์  ดนตรีและนาฏศิลป์

เพื่อพัฒนาผู้เรียนเห็นคุณค่างานศิลปะทั้งด้านทัศนศิลป์ ดนตรีและนาฏศิลป์ มีวินัย ใฝ่เรียนรู้ อยู่อย่างพอเพียงและรักความเป็นไทย

คุณจะได้เรียนรู้อะไร?

  • ประเภทของวงดนตรีไทย
  • จำแนกประเภทของรูปแบบวงดนตรีไทยได้ถูกต้อง
  • ประเภทของเพลงไทยเดิม
  • เปรียบเทียบรูปแบบของบทเพลงไทยเดิมได้
  • อธิบายเหตุผลที่คนต่างวัฒนธรรมสร้างสรรค์งานดนตรีแตกต่างกัน
  • เอกลักษณ์ของดนตรีไทย
  • อธิบายเหตุผลที่คนต่างวัฒนธรรมสร้างงานดนตรีแตกต่างกันได้
  • เห็นคุณค่าและชื่นชมเอกลักษณ์ของดนตรีไทย
  • อ่าน เขียน โน้ตดนตรีไทยและสากลในอัตราจังหวะต่าง ๆ
  • หลักการอ่าน เขียน โน้ตดนตรีไทย
  • อ่าน เขียน โน้ตเพลงไทยได้อย่างถูกต้อง

เนื้อหาของคอร์ส

ประเภทของวงดนตรีไทย
วงดนตรีไทยที่บรรเลงกันมาตั้งแต่สมัยสุโขทัยจนถึงปัจจุบัน มีการปรับปรุงและพัฒนารูปแบบการผสมวงและการบรรเลงเป็นระยะ ๆ ตามความนิยมของคนในแต่ละยุคแต่ละสมัย ในปัจจุบันวงดนตรีไทยที่นิยมบรรเลงกันอยู่มีอยู่ ๓ ประเภทคือ วงปี่พาทย์ วงเครื่องสาย และวงมโหรี

  • วงดนตรีไทย
    00:01
  • ประเภทของวงดนตรีไทย

ประเภทของเพลงไทยเดิม
เพลงไทย หมายถึง เพลงที่ประพันธ์ขึ้นตามหลักของดนตรีไทย ซึ่งเป็นเอกลักษณ์เฉพาะประจำชาติมีลีลาการขับร้องและการบรรเลงเป็นแบบไทย เพลงไทย เป็นศิลปะและวัฒนธรรมของชนชาติไทยซึ่งมีมาตั้งแต่สมัยโบราณ ต่อมาได้พัฒนารูปแบบของเพลงไทยมาเรื่อย ๆ ได้มีการประพันธ์ขึ้นมาโดยเลียนสำเนียงของภาษาอื่นมักจะมีชื่อเรียกนำหน้าเพลงตามสำเนียงของชนชาติอื่น ๆ เช่น ลาว เขมร พม่า มอญ แขก จีน เป็นต้น

เอกลักษณ์ดนตรีไทย
เพลงไทยนั้นมีเอกลักษณ์เฉพาะและในเพลงไทยเรานั้นก็แบ่งออกเป็นหลายแบบหลายอย่าง เริ่มตั้งแต่เพลงพื้นเมือง เพลงลูกทุ่ง เพลงลูกกรุง และเพลงไทย ทุกแบบดังกล่าวเป็นเพลงที่เล่นในประเทศไทยทั้งนั้น เพลงแต่ละแบบมีการพัฒนาและการใช้เครื่องดนตรี ตลอดจนการใช้ภาษาในการขับร้องที่แตกต่างกันไป ดังนั้นผู้มีประสบการณ์ในการฟังเพลงแต่ละแบบจะสามารถบอกได้ว่า เพลงแต่ละเพลงนั้นเป็นเพลงจากภาคใด ให้อารมณ์หรือมีความหมายอย่างใด เนื่องจากผู้ฟังนั้นสามารถเข้าใจถึงเอกลักษณ์ของเพลงนั้น ๆ

การจัดอันดับและรีวิวของผู้เรียน

ยังไม่มีรีวิว
ยังไม่มีรีวิว