วิชาสุขศึกษา ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 (พ23101)ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564

หมวดหมู่: ม.3, มัธยมศึกษา
คอร์สที่สนใจ แชร์
แชร์คอร์ส
ลิงก์หน้า
แชร์บนโซเชียล

เกี่ยวกับคอร์ส

คำอธิบายรายวิชา

ศึกษาการเปลี่ยนแปลงด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคมและสติปัญญาในแต่ละวัย อิทธิพลและความคาดหวังของสังคมที่มีต่อการเปลี่ยนแปลงของวัยรุ่น สื่อโฆษณาที่มีอิทธิพลต่อการเจริญเติบโตและพัฒนาการของวัยรุ่น  องค์ประกอบของอนามัยเจริญพันธุ์  ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อการตั้งครรภ์  สาเหตุความขัดแย้งในครอบครัว  การเล่นกีฬาไทยและกีฬาสากลที่เลือก  ระบบสร้างเสริมสุขภาพ การจัดกิจกรรมนันทนาการแก่ผู้อื่น มารยาทในการเล่นและดูกีฬา การออกกำลังกายและการเล่นกีฬาประเภททีม (วอลเลย์บอล) กฎ กติกาและข้อตกลงในการเล่นกีฬาที่เลือกเล่น โดยทักษะกระบวนการปฏิบัติทางพลศึกษา  ทักษะในการสร้างเสริมสุขภาพ ทักษะกระบวนการสื่อสาร กระบวนการสร้างความรู้ความเข้าใจ กระบวนการแก้ปัญหา เพื่อให้เกิดคุณลักษณะใฝ่เรียนรู้  มีวินัย เคารพสิทธิ กฎ กติกา มีน้ำใจนักกีฬา มีจิตวิญญาณในการแข่งขัน รักความเป็นไทย

คุณจะได้เรียนรู้อะไร?

  • การวางแผนและจัดเวลาในการออกกำลังกาย การพักผ่อน และสร้างเสริมสมรรถภาพทางกาย
  • วิเคราะห์ปัจจัยเสี่ยงและพฤติกรรมเสี่ยงที่มีผลต่อสุขภาพและแนวทางป้องกัน
  • การหลีกเลี่ยงการใช้ความรุนแรงและชักชวนเพื่อนให้หลีกเลี่ยงการใช้ความรุนแรงในการแก้ปัญหา
  • วิเคราะห์อิทธิพลของสื่อต่อพฤติกรรมสุขภาพและความรุนแรง
  • ความสัมพันธ์ของการดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ต่อสุขภาพและการเกิดอุบัติเหตุ
  • วิธีการช่วยเหลือฟื้นคืนชีพอย่างถูกวิธี

เนื้อหาของคอร์ส

หน่วยการเรียนรู้ที่ 5 เรื่อง การทดสอบสมรรถภาพทางกาย
การพัฒนาสมรรถภาพทางกาย ความหมาย คุณค่า และความสำคัญของสมรรถภาพทางกาย ความหมายของสมรรถภาพทางกาย •ความสามารถของระบบต่างๆ ของร่างกายในการทำงานอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล •บุคคลที่มีสมรรถภาพทางกายที่ดี จะสามารถประกอบกิจกรรมในชีวิตประจำวันได้อย่างกระฉับกระเฉง โดยไม่เหนื่อยล้าจนเกินไป คุณค่าและความสำคัญของสมรรถภาพทางกาย 1. การออกกำลังกายเป็นประจำ จะช่วยกระตุ้นให้ร่างกายเจริญเติบโตอย่างเต็มที่ 2. ผู้ที่มีสมรรถภาพทางกายดีจะช่วยให้มีบุคลิกภาพดี สามารถเคลื่อนไหวหรือเดินได้ด้วยความสง่างาม คล่องแคล่ว และกระฉับกระเฉง 3. ผู้ที่มีสมรรถภาพทางกายดีจะเป็นผู้ที่มีสุขภาพดี การประกอบกิจการงานต่างๆ จะมีประสิทธิภาพและได้ผลผลิตที่สูง 4. กล้ามเนื้อหลังตอนล่างมีความสำคัญในการป้องกันโรคปวดหลัง ถ้าได้ออกกำลังกายตั้งแต่วัยเด็ก จะช่วย เสริมสร้างความแข็งแรงแก่ร่างกาย และป้องกันอาการปวดหลังเมื่อมีอายุมากขึ้นได้ 5. การออกกำลังกายเพื่อพัฒนาสมรรถภาพทางกาย เป็นวิธีที่ดีอย่างหนึ่งในการควบคุมน้ำหนักตัว 6. การออกกำลังกายเพื่อพัฒนาสมรรถภาพทางกายเป็นการป้องกันโรคหัวใจวายได้อย่างมีประสิทธิภาพวิธีหนึ่ง 7. การออกกำลังกายช่วยเสริมสร้างสุขภาพจิต

  • การทดสอบสมรรถภาพทางกายกับการวางแผนและจัดเวลาในการออกกำลังกาย
  • แบบทดสอบ หน่วยการเรียนรู้ที่ 5

หน่วยการเรียนรู้ที่ 6 เรื่องปัจจัยเสี่ยง พฤติกรรมเสี่ยง และแนวทางป้องกันความเสี่ยงต่อสุขภาพ

หน่วยการเรียนรู้ที่ 7 เรื่อง ความรุนแรง

หน่วยการเรียนรู้ที่ 8 เรื่อง อิทธิพลของสื่อพฤติกรรมสุขภาพและความรุนแรง

หน่วยการเรียนรู้ที่ 9 เรื่อง เครื่องดื่มแอลกอฮอล์กับสุขภาพและการเกิดอุบัติเหตุ

หน่วยการเรียนรู้ที่ 10 เรื่อง การช่วยฟื้นคืนชีพ
ในปัจจุบันการเจ็บป่วยในกรณีฉุกเฉินเป็นสิ่งที่เลี่ยงไม่ได้ และในสภาวะที่การจราจรในบ้านเราติดขัดมากขึ้นทุกวัน รถพยาบาลฉุกเฉินเป็นสิ่งที่จำเป็นสำหรับผู้สูงอายุเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะถ้าต้องอยู่บ้านตามลำพัง และมีโรคประจำตัว ลูกหลานต้องออกไปทำงาน หรือเรียนหนังสือ หากเจ็บป่วยขึ้นมากระทันหันจะเดินทางไปโรงพยาบาลได้ทันท่วงทีได้อย่างไร หากท่านพบผู้ที่มีอาการบาดเจ็บป่วยฉุกเฉินให้รีบโทรแจ้งที่สายด่วน 084-3000-900 ทันที เพื่อให้ทีมกู้ชีพรีบไปทำการรักษา ณ จุดเกิดเหตุ และนำส่งโรงพยาบาลอย่างทันท่วงที นอกจากนี้ ควรเรียนรู้เรื่องการฟื้นคืนชีพขั้นพื้นฐาน หรือ การปั้มหัวใจ เพื่อช่วยชีวิตผู้ป่วยหรือผู้บาดเจ็บที่หมดสติระหว่างที่ทีมกู้ชีพเดินทางไปยังจุดเกิดเหตุ การช่วยฟื้นคืนชีพขั้นพื้นฐาน การช่วยฟื้นคืนชีพขั้นพื้นฐาน คือ การช่วยชีวิตคนหัวใจหยุดเต้นหรือคนที่หยุดหายใจกระทันหันจากระบบไหลเวียนเลือดและระบบหายใจล้มเหลวลักษณะของผู้ป่วยที่ต้องทำการฟื้นคืนชีพ - หมดสติ ไม่รู้สึกตัว - ไม่หายใจ หรือหายใจเฮือก ***ขั้นตอนการช่วยฟื้นคืนชีพขั้นพื้นฐานในผู้ป่วยอายุ 8 ปีขึ้นไป*** เมื่อท่านพบเห็นผู้ป่วยฉุกเฉินหมดสติให้ปฏิบัติดังนี้ 1. ตรวจดูว่าผู้ป่วยรู้สึกตัวหรือไม่ โดยการใช้มือทั้ง 2 ข้างจับบริเวณไหล่เขย่าให้แรงพอสมควรพร้อมเรียกผู้ป่วยดังๆ 2. หากผู้ป่วย ไม่ตอบสนองให้เรียกขอความช่วยเหลือ 3. โทรศัพท์ขอความช่วยเหลือ ผ่านหมายเลข 084-3000-900 ให้เร็วที่สุด 4. ตรวจดูว่าผู้ป่วยหายใจหรือไม่ หากไม่หายใจหรือหายใจเฮือก ให้กดนวดหัวใจ 5. การกดนวดหัวใจจัดให้ผู้ป่วยนอนหงายบนพื้นแข็งโดยผู้ช่วยเหลือนั่งคุกเข่าอยู่ทางด้านข้างของผู้ป่วย วางส้นมือลงไป ขนานกับแนวกึ่งกลางหน้าอก (กึ่งกลางระหว่างหัวนมทั้งสองข้างของผู้ป่วย) แล้วนำมืออีกข้างมาประกบ ประสานนิ้วและทำการล๊อคนิ้ว กระดกข้อมือขึ้น โดยให้ส้นมือสัมผัสกับหน้าอกเท่านั้นโน้มตัวมาให้แนวแขนตั้งฉากกับหน้าอกของผู้ป่วย 6. แขนตรงและตึง ออกแรงกดลงไปโดยใช้แรงจากหัวไหล่ จุดหมุนอยู่ตรงสะโพกกดให้หน้าอกยุบลงไปอย่างน้อย 5 เซนติเมตร โดยให้ส้นมือสัมผัสกับหน้าอกผู้ป่วยตลอดการนวดหัวใจ 7. ส้นมือไม่หลุดออกจากหน้าอกผู้ป่วย ด้วยความเร็วอย่างน้อย 100 ครั้ง/นาที เปิดทางเดินหายใจ ถ้าผู้ช่วยเหลือมีเพียงคนเดียว ให้ทำการกดหน้าอกอย่างเดียวในอัตราอย่างน้อย 100 ครั้ง/นาที จนกว่าทีมกู้ชีพจะมาถึง ช่วยการหายใจ ถ้าผู้ป่วยเป็นญาติสนิทและมั่นใจว่าไม่เป็นโรคติดต่อใดๆทำการช่วยหายใจโดยการเป่าปาก ผู้ป่วย 2 ครั้ง โดยวางปากผู้ช่วยเหลือครอบปากผู้ป่วยให้แนบสนิทบีบจมูกผู้ป่วยให้แนบสนิทและเป่าลมเข้าไป โดยการเป่าแต่ละครั้งให้ยาว ประมาณ1-2 วินาที จนเห็นหน้าอกผู้ป่วยยกตัวขึ้นพร้อมกับปล่อยให้หน้าอกผู้ป่วยยุบลงมาอยู่ตำแหน่งเดิมก่อนที่จะเป่าครั้งที่ 2 "หากไม่มั่นใจให้กดหน้ําอกเพียงอย่ํางเดียวต่อไปเรื่อยๆ หรือสลับกับผู้ช่วยเหลือคนอื่น เมื่อครบ 2 นาที" สรุปการช่วยฟื้นคืนชีพขั้นพื้นฐาน 1. กรณีผู้ช่วยเหลืออยู่คนเดียว ให้กดหัวใจอย่างน้อย 100 ครั้ง/นาที ต่อเนื่องจนกว่าทีมช่วยเหลือจะมาถึง 2. กรณีผู้ช่วยเหลือมากกว่า 1 คน ในหนึ่งรอบของการช่วยฟื้นคืนชีพ คือการปฏิบัติการกดนวดหัวใจ 30 ครั้ง และช่วยหายใจจำนวน 2 ครั้ง และทำอย่างต่อเนื่องกันทั้งหมด 5 รอบ (ใช้เวลาประมาณ 2 นาที) ทำสลับกันไปจนกว่าจะพบว่าผู้ป่วยมีการไอ/ขยับตัว/มีการหายใจ หรือทีมช่วยเหลือมาถึงเราจึงหยุดได้ 3. การฟื้นคืนชีพขั้นพื้นฐานนั้น จะได้ผลดีต้องกระทำภายใน 4 นาที หลังผู้ป่วยหยุดหายใจ Credit:https://www.phyathai-sriracha.com/pytsweb/index.php?page=modules/knowledgepage&knowid=453

การจัดอันดับและรีวิวของผู้เรียน

ยังไม่มีรีวิว
ยังไม่มีรีวิว