คอมพิวเตอร์พื้นฐาน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 (ว๓๓๑๔๑ ) ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564

หมวดหมู่: ม.6, มัธยมศึกษา
คอร์สที่สนใจ แชร์
แชร์คอร์ส
ลิงก์หน้า
แชร์บนโซเชียล

เกี่ยวกับคอร์ส

เทคโนโลยี : การทำโครงงาน การนำเสนอและแบ่งปันข้อมูล จริยธรรมในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ นวัตกรรมหรือเทคโนโลยีด้านต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวัน อาชีพเกี่ยวกับสารสนเทศ และผลกระทบของเทคโนโลยีสารสนเทศต่อการดำเนินชีวิต

เพื่อให้เกิดความรู้ ความคิด ความเข้าใจ มีความสามารถในการตัดสินใจ สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้และนำความรู้ไปใช้ในชีวิตของตนเอง ดูแลรักษาสิ่งมีชีวิตอื่น เฝ้าระวังและพัฒนาสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน มีจิตวิทยาศาสตร์ จริยธรรม คุณธรรม และค่านิยม

 

 

คุณจะได้เรียนรู้อะไร?

  • ประโยชน์ด้านการศึกษา ใช้เพื่องานด้านการเรียนการสอนในหลายรูปแบบ เช่นการ ...
  • ด้านความบันเทิง เป็นการใช้คอมพิวเตอร์เพื่อความสนุกสนานบันเทิง เช่น เล่นเกม ...
  • ด้านการเงิน การธนาคาร ใช้ในการประยุกต์การใช้ Application ในการพัฒนาโปรแกรม..
  • ด้านการสื่อสารและคมนาคม ใช้ในการติดต่อสื่อสารผ่านอินเตอร์เน็ต สื่อสาร

เนื้อหาของคอร์ส

ความรู้เบื้องต้นภาษา JAVA
Java คืออะไร Java หรือ Java programming language คือภาษาโปรแกรมเชิงวัตถุ พัฒนาโดย เจมส์ กอสลิง และวิศวกรคนอื่นๆ ที่บริษัท ซัน ไมโครซิสเต็มส์ ภาษานี้มีจุดประสงค์เพื่อใช้แทนภาษาซีพลัสพลัส C++ โดยรูปแบบที่เพิ่มเติมขึ้นคล้ายกับภาษาอ็อบเจกต์ทีฟซี (Objective-C) แต่เดิมภาษานี้เรียกว่า ภาษาโอ๊ก (Oak) ซึ่งตั้งชื่อตามต้นโอ๊กใกล้ที่ทำงานของ เจมส์ กอสลิง แล้วภายหลังจึงเปลี่ยนไปใช้ชื่อ “จาวา” ซึ่งเป็นชื่อกาแฟแทน จุดเด่นของภาษา Java อยู่ที่ผู้เขียนโปรแกรมสามารถใช้หลักการของ Object-Oriented Programming มาพัฒนาโปรแกรมของตนด้วย Java ได้ ภาษา Java เป็นภาษาสำหรับเขียนโปรแกรมที่สนับสนุนการเขียนโปรแกรมเชิงวัตถุ ( OOP : Object-Oriented Programming) โปรแกรมที่เขียนขึ้นถูกสร้างภายในคลาส ดังนั้นคลาสคือที่เก็บเมทอด (Method) หรือพฤติกรรม (Behavior) ซึ่งมีสถานะ (State) และรูปพรรณ (Identity) ประจำพฤติกรรม (Behavior) java_logo Java คืออะไร จาวา คือภาษาคอมพิวเตอร์ สำหรับเขียนโปรแกรมเชิงวัตถุ ข้อดีของ ภาษา Java – ภาษา Java เป็นภาษาที่สนับสนุนการเขียนโปรแกรมเชิงวัตถุแบบสมบูรณ์ ซึ่งเหมาะสำหรับพัฒนาระบบที่มีความซับซ้อน การพัฒนาโปรแกรมแบบวัตถุจะช่วยให้เราสามารถใช้คำหรือชื่อ ต่าง ๆ ที่มีอยู่ในระบบงานนั้นมาใช้ในการออกแบบโปรแกรมได้ ทำให้เข้าใจได้ง่ายขึ้น – โปรแกรมที่เขียนขึ้นโดยใช้ภาษา Java จะมีความสามารถทำงานได้ในระบบปฏิบัติการที่แตกต่างกัน ไม่จําเป็นต้องดัดแปลงแก้ไขโปรแกรม เช่น หากเขียนโปรแกรมบนเครื่อง Sun โปรแกรมนั้นก็สามารถถูก compile และ run บนเครื่องพีซีธรรมดาได้ -ภาษาจาวามีการตรวจสอบข้อผิดพลาดทั้งตอน compile time และ runtime ทำให้ลดข้อผิดพลาดที่อาจเกิดขึ้นในโปรแกรม และช่วยให้ debug โปรแกรมได้ง่าย – ภาษาจาวามีความซับซ้อนน้อยกว่าภาษา C++ เมื่อเปรียบเทียบ code ของโปรแกรมที่เขียนขึ้นโดยภาษา Java กับ C++ พบว่า โปรแกรมที่เขียนโดยภาษา Java จะมีจํานวน code น้อยกว่าโปรแกรมที่เขียนโดยภาษา C++ ทำให้ใช้งานได้ง่ายกว่าและลดความผิดพลาดได้มากขึ้น – ภาษาจาวาถูกออกแบบมาให้มีความปลอดภัยสูงตั้งแต่แรก ทำให้โปรแกรมที่เขียนขึ้นด้วยจาวามีความปลอดภัยมากกว่าโปรแกรมที่เขียนขึ้น ด้วยภาษาอื่น เพราะ Java มี security ทั้ง low level และ high level ได้แก่ electronic signature, public andprivate key management, access control และ certificatesของ -มี IDE, application server, และ library ต่าง ๆ มากมายสำหรับจาวาที่เราสามารถใช้งานได้โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย ทำให้เราสามารถลดค่าใช้จ่ายที่ต้องเสียไปกับการซื้อ tool และ s/w ต่าง ๆ ข้อเสียของ ภาษา Java -ทำงานได้ช้ากว่า native code (โปรแกรมที่ compile ให้อยู่ในรูปของภาษาเครื่อง) หรือโปรแกรมที่เขียนขึ้นด้วยภาษาอื่น อย่างเช่น C หรือ C++ ทั้งนี้ก็เพราะว่าโปรแกรมที่เขียนขึ้นด้วยภาษาจาวาจะถูกแปลงเป็นภาษากลาง ก่อน แล้วเมื่อโปรแกรมทำงานคำสั่งของภาษากลางนี้จะถูกเปลี่ยนเป็นภาษาเครื่องอีก ทีหนึ่ง ทีล่ะคำสั่ง (หรือกลุ่มของคำสั่ง) ณ runtime ทำให้ทำงานช้ากว่า native code ซึ่งอยู่ในรูปของภาษาเครื่องแล้วตั้งแต่ compile โปรแกรมที่ต้องการความเร็วในการทำงานจึงไม่นิยมเขียนด้วยจาวา -tool ที่มีในการใช้พัฒนาโปรแกรมจาวามักไม่ค่อยเก่ง ทำให้หลายอย่างโปรแกรมเมอร์จะต้องเป็นคนทำเอง ทำให้ต้องเสียเวลาทำงานในส่วนที่ tool ทำไม่ได้ ถ้าเราดู tool ของ MS จะใช้งานได้ง่ายกว่า และพัฒนาได้เร็วกว่า (แต่เราต้องซื้อ tool ของ MS และก็ต้องรันบน platform ของ MS) ประวัติภาษา JAVA ภาษาจาวา เป็นภาษาโปรแกรมเชิงวัตถุที่พัฒนาขึ้นโดย “เจมส์ กอสลิง” และทีมวิศวกรของเขา ซึ่งบริษัทซันไมโครซิสเต็ม ต้องการนำภาษาจาวามาใช้แทนภาษา C++ ชื่อของ “จาวา” มาจากชื่อกาแฟที่ทีมวิศวกรของซันดื่มตอนที่ร่วมกันพัฒนาภาษาจาวาขึ้นมา Java ถูกคิดค้นและสร้างโดย บริษัท Sun Microsystems ซึ่งเป็นบริษัทผู้ขายระบบ Unix ที่มีชื่อว่า Solaris ซึ่งจุดเด่นของภาษา Java อยู่ที่ผู้เขียนโปรแกรมสามารถใช้หลักการของ Object-Oriented Programming มาพัฒนาโปรแกรมของตนด้วย Java ได้ พัฒนาขึ้นโดยทีมวิจัยของ บริษัท ซันไมโครซิสเต็ม (Sun Microsystems)พัฒนามาจากโครงการที่ต้องการพัฒนาระบบซอฟต์แวร์เพื่อควบคุมเครื่องใช้ไฟฟ้าขนาดเล็กภายในบ้านชื่อเดิมคือภาษา Oak ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็นภาษาจาวาภาษาจาวาเริ่มเป็นที่นิยมแพร่หลายในปี ค.ศ. 1995ภาษาจาวาเป็นภาษาที่ไม่ขึ้นกับแพลตฟอร์ม (platform independent)JDK 1.0 ประกาศใช้เมื่อปี1996JDK เวอร์ชันปัจจุบันคือ Java 2 วิวัฒนาการของภาษาจาวาจากรุ่นแรกถึงจาวา1.5 1. (ค.ศ. 1996) — ออกครั้งแรกสุด 2. (ค.ศ. 1997) — ปรับปรุงครั้งใหญ่ โดยเพิ่ม Inner Class 3. (4 ธันวาคม ค.ศ. 1998) — รหัส Playground ด้านจาวาแพลตฟอร์มได้รับการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ใน API และ JVM (API สำคัญที่เพิ่มมาคือ Java Collections Framework และ Swing; ส่วนใน JVM เพิ่ม JIT Compiler) แต่ตัวภาษาจาวานั้น เปลี่ยนแปลงเพียงเล็กน้อย (เพิ่มคีย์เวิร์ด strictfp) และทั้งหมดถูกเรียกชื่อใหม่ว่า “จาวา 2″ แต่ระบบเลขรุ่นยังไม่เปลี่ยนแปลง 4. (8 พฤษภาคม ค.ศ. 2000) — รหัส Kestrel แก้ไขเล็กน้อย 5. (13 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2002) — รหัส Merlin เป็นรุ่นที่ถูกใช้งานมากที่สุดในปัจจุบัน (ขณะที่เขียน ค.ศ. 2005) 6. (29 กันยายน ค.ศ. 2004) — รหัส Tiger (เดิมทีนับเป็น 1.5) เพิ่มคุณสมบัติใหม่ในภาษาจาวา เช่น Annotations ซึ่งเป็นที่ถกเถียงกันว่านำมาจากภาษาซีชาร์ป ของบริษัทไมโครซอฟท์, Enumerations, Varargs, Enhanced for loop, Autoboxing, และที่สำคัญคือ Generics การพัฒนาการในช่วงเวลาต่าง ๆ ถูกพัฒนาตั้งแต่ปี 1991 โดยบริษัท Sun Microsystems ซึ่งเป็น ส่วนหนึ่งของ Green Project Write Once Run Anywhere ค.ศ.1991 บริษัท ซันไมโครซิสเต็ม (Sun Microsystems) ได้ทำการวิจัยเพื่อพัฒนาซอฟต์แวร์ที่ใช้ควบคุมอุปกรณ์เล็กทรอนิคส์ขนาดเล็ก ซึ่งได้ผลลัพธ์ที่สำคัญคือ ภาษาโอ๊ค (Oak) ค.ศ.1993 ภาษาโอ๊คได้ถูกปรับปรุงใหม่เพื่อใช้ในการสร้างเว็บแอพพลิเคชั่น (Web Application) พร้อมกับสร้างเว็บเบราว์เซอร์ (Web Browser) ที่รองรับ ชื่อว่าเว็บรันเนอร์ (Web Runner) ค.ศ.1995 บริษัทซันได้เปิดตัวภาษาจาวา (Java) (ภาษาโอ๊คเดิม) พร้อมกับเว็บเบราว์เซอร์ ที่รองรับภาษานี้ ชื่อว่า ฮอตจาวา (HotJava) (WebRunner เดิม) ได้รับการสนับสนุนจากบริษัทใหญ่ทั้งเน็ตสเคบ (Netscape), ไมโครซอฟต์ (Microsoft), และ ไอบีเอ็ม (IBM) บริษัทซัน ได้เริ่มแจกจ่าย Java development Kit (JDK) ซึ่งเป็นชุดพัฒนาโปรแกรมภาษาจาวาในอินเทอร์เน็ต ความหมาย ภาษาจาวา (Java Language) คือ ภาษาคอมพิวเตอร์ที่ถูกพัฒนาขึ้นโดยบริษัท ซันไมโครซิสเต็มส์ เป็นภาษาสำหรับเขียนโปรแกรมที่สนับสนุนการเขียนโปรแกรมเชิงวัตถุ (OOP : Object-Oriented Programming) โปรแกรมที่เขียนขึ้นถูกสร้างภายในคลาส ดังนั้นคลาสคือที่เก็บเมทอด (Method) หรือพฤติกรรม (Behavior) ซึ่งมีสถานะ (State) และรูปพรรณ (Identity) ประจำพฤติกรรม (Behavior) การโปรแกรมเชิงวัตถุ (OOP = Object-Oriented Programming) การเขียนโปรแกรมที่ประกอบด้วยกลุ่มของวัตถุ(Objects) แต่ละวัตถุจะจัดเป็นกลุ่มในรูปของคลาส ซึ่งแต่ละคลาสอาจมีคุณสมบัติ การปกป้อง (Encapsulation) การสืบทอด (Inheritance) การพ้องรูป (Polymorphism) แนวคิดของการโปรแกรมเชิงวัตถุ (OOP Concepts) 1. การปกป้อง (Encapsulation) – การรวมกลุ่มของข้อมูล และกลุ่มของโปรแกรม เพื่อการปกป้อง และเลือกตอบสนอง 2. การสืบทอด (Inheritance) – ยอมให้นำไปใช้ หรือเขียนขึ้นมาทดแทนของเดิม 3. การพ้องรูป (Polymorphism) = Many Shapes – Overloading มีชื่อโปรแกรมเดียวกัน แต่รายการตัวแปร (Parameter List) ต่างกัน – Overriding มีชื่อโปรแกรม และตัวแปรเหมือนกัน เพื่อเขียน behavior ขึ้นมาใหม่ คุณลักษณะเด่นของภาษา Java – ภาษา Java เป็นภาษาที่สนับสนุนการเขียนโปรแกรมเชิงวัตถุแบบสมบูรณ์ – โปรแกรมที่เขียนขึ้นโดยใช้ภาษา Java จะมีความสามารถทำงานได้ในระบบปฏิบัติการที่แตกต่างกัน ไม่จําเป็นต้องดัดแปลงแก้ไขโปรแกรม เช่น หากเขียนโปรแกรมบนเครื่อง Sun โปรแกรมนั้นก็สามารถถูก compile และ run บนเครื่องพีซีธรรมดาได้ – เมื่อเปรียบเทียบ code ของโปรแกรมที่เขียนขึ้นโดยภาษา Java กับ C++ พบว่า โปรแกรมที่เขียนโดยภาษา Java จะมีจํานวน code น้อยกว่าโปรแกรมที่เขียนโดยภาษา C++ ถึง 4 เท่า และใช้เวลาในการเขียนโปรแกรม น้อยกว่าประมาณ 2 เท่า – Java มี security ทั้ง low level และ high level ได้แก่ electronic signature, public andprivate key management, access control และ certificatesของภาษาจาวา

  • ประวัติความเป็นมาภาษา JAVA
    50:00
  • ใบงานการพัฒนาภาษา JAVA
  • ใบงานการพัฒนาภาษา JAVA
  • แบบทดสอบเรื่องการเขียนภาษา JAVA

โปรแกรมเชิงวัตถุ OOP (OBJECT ORIENTED PROGRAMMING)
OOP หรือชื่อเต็มๆก็คือ Object Oriented Programming อ่านแปลคร่าวๆก็คือการเขียนโปรแกรมเชิงวัตถุ ซึ่งเป็นแนวคิดในการพัฒนาซอฟแวร์ที่และเป็นที่ยอมรับ เนื่องจากซอฟแวร์ที่ถูกพัฒนาและใช้กันอยู่นั้น นับวันมีแต่จะซับซ้อนมากยิ่งขึ้น ถ้าหากไม่จัดการกับโค้ดให้ดีพอก็อาจจะทำให้การพัฒนาล่าช้าหรือไม่สำเร็จได้ OOP จึงออกแบบมาให้โค้ดที่เราเขียนมีแบบแผนที่เหมาะสมพร้อมใช้ในการพัฒนาที่ซับซ้อนได้ อย่างที่บอกไปด้านบนว่า OOP นั้นเเป็นการเขียนโปรแกรมเชิงวัตถุ เราก็ต้องลองเทียบกับวัตถุในชีวิตจริงของเราดูอย่างเช่น นก ในที่นี้เราจะให้นกเป็นวัตถุ โดยสิ่งที่นกต้องมีก็คือ “คุณสมบัติ” เช่น สีเขียว, ปากยาว เป็นต้น และก็ต้องมี “พฤติกรรม” เช่น บิน, กินอาหาร เป็นต้น การเขียนโปรแกรมก็ต้องทำให้โค้ดของเรามีคุณสมบัติและพฤติกรรมเช่นเดียวกันกับนก แต่ว่าเพียงแค่นี้ก็ยังไม่นับว่าเป็น OOP เพราะว่า OOP ที่แท้จริงยังต้องมี 4 เสาหลักของ OOP อยู่ด้วยได้แก่ Encapsulation Abstraction Inheritance Polymorphism

Java oop หรือ การเขียน Program เชิงวัตถุ
Java oop หรือ การเขียน Program เชิงวัตถุ การเขียน Program เชิงวัตถุ (OOP) ความคิดหลักที่สำคัญของการเขียนโปรแกรมเชิงวัตถุคือ คลาส (Class) และ ออบเจ็กต์ (Object) Class คือตัวที่กำหนดโครงสร้างและพฤติกรรมของวัตถุ เมื่อต้องการนำไปใช้จริง เราต้องสร้าง instance ของ Class นั้นขึ้นมา instance ที่สร้างขึ้นมานั้นก็คือ Object นั่นเอง ถ้าเปรียบ Class คือ โครงสร้างและ พฤติกรรมของวัตถุประเภทหนึ่ง instance หรือ Object ในภาษาเชิงวัตถุก็เปรียบเสมือนตัวแปร ในภาษาทั่วๆ ไป และ Class ก็คือชนิดข้อมูลนั่นเอง Class เปรียบเสมือน พิมพ์เขียว ที่ กำหนดโครงสร้าง และแบบแปลน ต่าง ๆ ว่า Object ที่สร้างจาก Class ควรจะมีอะไรบ้าง Object คือ instance ที่สร้างขึ้นมาจาก Class ใด Class หนึ่ง ** Class ไม่สามารถนำไปใช้ต่อได้ จะใช้ได้ก็ต่อเมื่อถูกสร้างเป็น Object แล้วเท่านั้ 1. สมาชิกของ Class (Class Member) สมาชิกของ Class มีสอง ประเภทคือ – สมาชิกที่เป็นข้อมูล (data members) อาจเป็น ค่าคงที่ ตัวแปรของข้อมูลชนิดพื้นฐาน , array , หรือ แม้แต่ instances ของ Class – สมาชิกที่เป็น Function (Method member) หรือเรียกสั้น ๆว่า method สมาชิกที่เป็น Function เรียกอีกอย่าง ว่า เป็น ส่วนของ พฤติกรรม ของ Class นั่น เอง Example Class ของบัตรรายการบัญชีรายชื่อหนังสือ Data member – ชื่อหนังสือ (Title) – ประเภท(type) – วันที่พิมพ์ (printed date) – ชื่อผู้แต่ง (author name) – สถานะ การยืม(status) Method member หรือ พฤติกรรม – getName(); – getStatus(); – getAuthorName(); – setStatus();2. ขอบเขตการเข้าถึง (Access Modifier ) คือ กฎในการกำหนดว่า Class member ต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น ตัวแปร หรือ method สามารถเรียกใช้งานได้แบบใดบ้าง ตัวแปร Modifier ของ class ,ตัวแปร ,และ method Modifier Class Method Variable abstract / / static / / public / / / protected / / / private / / final / / / synchronizable /

การเขียนโปรแกรมเชิงวัตถุ
การเขียนโปรแกรมเชิงวัตถุ (อังกฤษ: Object-oriented programming, OOP) คือหนึ่งในรูปแบบการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ที่ให้ความสำคัญกับ วัตถุ ซึ่งสามารถนำมาประกอบกันและนำมาทำงานรวมกันได้ โดยการแลกเปลี่ยนข่าวสารเพื่อนำมาประมวลผลและส่งข่าวสารที่ได้ไปให้ วัตถุ อื่นๆที่เกี่ยวข้องเพื่อให้ทำงานต่อไป

การจัดอันดับและรีวิวของผู้เรียน

ยังไม่มีรีวิว
ยังไม่มีรีวิว