เนื้อหาของคอร์ส
พื้นฐานHTML
HTML คือ ภาษาหลักที่ใช้ในการเขียนเว็บเพจ โดยใช้ Tag ในการกำหนดการแสดงผล HTML ย่อมาจากคำว่า Hypertext Markup Languageโดย Hypertext หมายถึงข้อความที่เชื่อมต่อกันผ่านลิงค์(Hyperlink) Markup languageหมายถึงภาษาที่ใช้ Tag ในการกำหนดการแสดงผลสิ่งต่างๆที่แสดงอยู่บนเว็บเพจ ดังนั้น HTML จึงหมายถึง ภาษาที่ใช้ Tag ในการกำหนดการแสดงผลเว็บเพจที่ต่างก็เชื่อมถึงกันใน Hyperspace ผ่าน Hyperlink นั่นเองปัจจุบันมีการพัฒนาและกำหนดมาตรฐานโดยองค์กร World Wide Web Consortium (W3C)
0/4
HTML เบื้องต้น
ภาษา HTML HTML ย่อมาจาก Hyper Text Markup Language เป็นโปรแกรมภาษาประเภทหนึ่งสำหรับแสดงข้อความต่าง ๆ ในรูปแบบข้อความ รูปภาพ หรือภาพเคลื่อนไหว ฯลฯ และสามารถเชื่อมโยงข้อมูลไปยังเอกสารอื่นได้ที่มีความสามารถสูงเหนือกว่าเอกสารทั่วไปเพราะสามารถเปิดดูข้อมูลภายในได้ ทำได้โดยการใส่คำสั่งลงไปในเอกสาร ซึ่งเรียกว่า แท็ก (TAG) และการนำเอกสารมาแสดงบนหน้าจอภาพในระบบอินเทอร์เน็ตได้ เรียกดูผลได้บนโปรแกรมเบราเซอร์ได้เลย โครงสร้างของภาษา HTML โครงสร้างของไฟล์ภาษา HTML มี 2 ส่วน คือ 1) ส่วนที่เป็นข้อมูลที่ต้องการแสดง เช่น ข้อความ ภาพ เสียง ภาพเคลื่อนไหว เป็นต้น 2) ส่วนที่เป็นคำสั่งแท็ก (TAG) เพื่อใช้กำหนดลักษณะของข้อมูล โดยกำหนดเป็นแท็กเปิดและแท็กปิด เช่น การวางตำแหน่งของข้อมูล ขนาดของขอความ การกำหนดสีข้อความ ส่วนหัว (HEAD) ประกอบด้วยการกำหนดชื่อของเว็บเพจที่เรียกว่า Title บอกให้ทราบว่าเอกสารนั้นเกี่ยวกับอะไร โดยคำสั่ง เป็นการเริ่มต้นชื่อเรื่องเอกสาร ภายในคำสั่งประกอบด้วยคำสั่ง <TITLE> อีกที่เพื่อแสดงชื่อของเอกสารนั้น ส่วนเนื้อหาของเอกสาร (BODY) ประกอบด้วยส่วนที่เป็นเนื้อหาของเว็บเพจ เช่น ข้อความ ตาราง รูปภาพ พื้นหลังสีตัวอักษร และแบบฟอร์มต่าง ๆ โดยใช้คำสั่ง
0/9
วิชาคอมพิวเตอร์เพื่ออาชีพ 3-4 (ม.5/2 สหศิลป์) ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564
เกี่ยวกับบทเรียน

การสร้างตาราง

               

 

ในการสร้าตารางนั้นจะมีคำสั่งหรือป้ายระบุ(Tag) ต่างๆ ที่ใช้สำหรับสร้างตารางในภาษาHTML ดังนี้

 Tag   คำอธิบาย 
 <table> … </table  คำสั่งในการสร้างตาราง 
 <caption> … </caption>   คำสั่งในการกำหนดข้อความกำกับตาราง 
 <tr> … </tr>   คำสั่งในการกำหนดแถวของตาราง 1 แถว (แนวนอน
 <th> … </th>   คำสั่งในการกำหนดส่วนหัวของตารางแถวแรก 
 <td> … </td>   คำสั่งในการกำหนดส่วนของคอลัมน์ (แนวตั้ง

รูปแบบโครงสร้างของตาราง

 โครงสร้างของตาราง

 การแสดงผล

 <table>
<caption> ชื่อตาราง </ caption >
<tr>
                <th> ข้อมูลส่วนหัว </th><th> ข้อมูลส่วนหัว </th>
</tr> 
<tr>
                <td> ข้อมูล1 </td><td> ข้อมูล2 </td>
</tr>
<tr>
                <td> ข้อมูล3 </td><td> ข้อมูล4 </td>
</tr>
</table> 
    ชื่อตาราง
ข้อมูลส่วนหัว      ข้อมูลส่วนหัว
 ข้อมูล1                ข้อมูล2
  ข้อมูล3                ข้อมูล4

การกำหนดเส้นขอบของตาราง      

                การสร้างตารางสามารถกำหนดเส้นของและสีเส้นของให้กับตาราง โดยใช้คำสั่ง border และ  bordercolor
               รูปแบบการใช้งาน  <table border=n  bordercolor=ชื่อสี หรือ รหัสสี> …</table>
                      n หมายถึง ค่าตัวเลขที่ใช้กำหนดขนาดของเส้นขอบของตาราง ค่าตัวเลขยิ่งมากส้นขอบตารางจะมีขนาดใหญ่เพิ่มขึ้น

      ตัวอย่างการใช้งาน    <table  width=”60%”  height=”20%”>
                            หรือ    <table  width=”60″     height=”20″>

การกำหนดสีของตาราง   
             การกำหนดสีพื้นหลังของตาราง เป็นการตกแต่งตารางให้มีสีตามความต้องการของผู้สร้างเว็บเพจ โดยใช้คำสั่ง bgcolor
                   รูปแบบ <table bgcolor=”ชื่อสี หรือ รหัสสี“>….</table>
                   ตัวอย่างการใช้งาน <table bgcolor=”yellow”>….</table>

                                           หรือ   <table bgcolor=”#ffffcc”>….</table>

การกำหนดระยะเว้นขอบภายในเซลข้อมูล
             การกำหนดระยะเว้นขอบภายใน(padding) ของซลล์ข้อมูลในตารางนั้น จะมีผลต่อการแสดงผลทำให้เกิดเพื้นที่ว่างในระยะเซลล์ในแต่ละสดมภ์(Column) โดยใช้คำสั่ง cellpadding
             รูปแบบ : <table cellpadding=”ระยะห่างจากขอบภายในเซลล์“>….</table>
           ตัวอย่างการใช้งาน :  <table cellpadding=”10″>….</table>

 

การกำหนดตำแหน่งของตาราง
                การกำหนดตำแหน่งของตาราง ให้อยู่ในตำแหน่งที่ต้องการสามารถทำได้โดยใช้คำสั่งแอตทริบิวต์ align
                รูปแบบ : <table align=”ตำแหน่งของตาราง“>….</table>
                                 ในส่วนของการกำหนดตำแหน่งของตารางนั้นสามารถกำหนดได้ดังนี้
                                  align=”left”    คือ แสดงผลตารางให้ชิดด้านซ้ายของหน้าจอเว็บบราวเซอร์
                                  align=”right”   คือ แสดงผลตารางให้ชิดด้านขวาของหน้าจอเว็บบราวเซอร์
                                  align=”center” คือ แสดงผลตารางให้กึ่งกลางของหน้าจอเว็บบราวเซอร์

               ตัวอย่างการใช้งาน <table align=”center”>….</table>

การกำหนดคุณลักษณะพิเศษภายในแถว
       1. การกำหนดตำแหน่งข้อความภายในเซลล์   ใช้คำสั่งแอตทริบิวต์ align ในการกำหนดตำแหน่งภายในแท็ก<tr> หรือ<td> ให้ข้อความอยู่ในตำแหน่งที่ต้องการ

         รูปแบบ <tr align=”ตำแหน่งของตาราง“></tr>
         รูปแบบ : <td align=”ตำแหน่งของตาราง“>…</td>

            สามารถกำหนดให้ข้อมูลอยู่ในตำแหน่งต่างๆ ดังนี้
                        align=”left”        คือ การจัดตำแหน่งให้ข้อความชิดทางด้านซ้ายของแถวหรือเซลล์
                        align=”right”       คือ การจัดตำแหน่งให้ข้อความชิดทางด้านขวาของแถวหรือเซลล์
                       align=”center”   คือ การจัดตำแหน่งให้อยู่กึ่งกลางของแถวหรือเซลล์
        ตัวอย่างการใช้งาน : <tr align=”ตำแหน่งของตาราง“>…</tr> หรือ <td align=”ตำแหน่งของตาราง“>…</td>

2. การกำหนดสีพื้นให้กับแถวและในเซลล์  โดยใช้คำสั่ง bgcolor
           รูปแบบ : <tr bgcolor=”ชื่อสี หรือ รหัสสี“>…</tr>
                         <td bgcolor=”ชื่อสี หรือ รหัสสี“>…</td>
        ตัวอย่างการใช้งาน : <tr bgcolor=”pink”>…</tr>      
                                         <td bgcolor=” pink”>…</td>

3. การกำหนดตำแหน่งของข้อมูลในแนวตั้งของตาราง โดยใช้คำสั่งแอตทริบิวต์ valign ในการกำหนดตำแหน่งต่างๆ ดังนี้ valign=”top”         คือ จัดข้อมูลให้อยู่ในตำแหน่งชิดขอบบนของช่องตาราง

                     valign=”middle”    คือ จัดข้อมูลให้อยู่ในตำแหน่งกึ่งกลางของช่องตาราง

                     valign=”bottom”   คือ จัดข้อมูลให้อยู่ในตำแหน่งชิดขอบล่างของช่องตาราง

                   รูปแบบ : <td valign =” ตำแหน่งของข้อมูล“>…</td>

 

                   ตัวอย่างการใช้งาน : <td valign =”middle”>…</td>

 

     

การผนวกแถวและคอลัมน์ในตาราง

    การรวมพื้นที่ของช่องภายในตารางเข้าด้วยกันสามารถทำได้เป็น ลักษณะคือ
    1. การรวมแถว คือ การกำหนดลักษณะพิเศษด้วยคำสั่งแอตทริบิวต์ rowspan ในการรวมแถวเข้าด้วยกัน
       รูปแบบ: <td  rowspan =” จำนวนแถวที่รวมเซลล์“>…</td>
       ตัวอย่างการใช้งาน 

    2. การรวมคอลัมน์ คือ กำหนดลักษณะพิเศษด้วยคำสั่งแอตทริบิวต์ colspan ในการรวมคอลัมน์เข้าด้วยกัน
         รูปแบบ : <td  colspan =” จำนวนแถวที่รวมเซลล์“>…</td>
        ตัวอย่างการใช้งาน 

การใส่รูปภาพลงในตาราง

         การแทรกรูปภาพภายในช่องของตารางโดยใช้คำสั่ง <img  src>ในการแทรกรูปให้อยู่ระหว่างแท็ก <td>…</td>
        รูปแบบ : <td  <img src=”ชื่อแฟ้มรูปภาพ /ชื่อไฟล์รูปภาพ“>…</td>
       ตัวอย่างการใช้งาน : <td  <img src=”images/flower.gif”></td>

 

การเปลี่ยนสีพื้นหลังของตารางเป็นรูปภาพ
     ในกรณีที่ต้องการให้ตารางมีพื้นหลังเป็นรูปภาพ สามารถใช้คำสั่งแอตทริบิวต์ background ในแท็กเปิดของคำสั่งสร้างตารางคือ <table> เพื่อเปลี่ยนพื้นหลังให้เป็นรูปภาพ
        รูปแบบ : <table background=”ชื่อไฟล์รูปภาพ“>…</ table >
      ตัวอย่างการใช้งาน : <table  background=”bgo181.gif”>…</table>