วิชาดนตรีไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 (ศ32101) ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2564

หมวดหมู่: ม.5, มัธยมศึกษา
คอร์สที่สนใจ แชร์
แชร์คอร์ส
ลิงก์หน้า
แชร์บนโซเชียล

เกี่ยวกับคอร์ส

คำอธิบายรายวิชาดนตรีไทย
ศึกษาปัจจัยในการสร้างสรรค์ผลงานดนตรีในแต่ละวัฒนธรรม เครื่องหมายและสัญลักษณ์ทางดนตรี โน้ตบทเพลงไทยอัตราจังหวะ ๒ ชั้นและ ๓ ชั้น เทคนิคและการถ่ายทอดอารมณ์เพลงด้วยการร้องบรรเลงเครื่องดนตรีเดี่ยวและรวมวง การถ่ายทอดอารมณ์ ความรู้สึกของงานดนตรีจากแต่ละวัฒนธรรม

โดยกระบวนการคิดวิเคราะห์ กระบวนการคิดสร้างสรรค์  กระบวนการสื่อสาร กระบวนการสร้างความตระหนัก กระบวนการสร้างเจตคติและกระบวนการปฏิบัติทางทัศนศิลป์  ดนตรีและนาฏศิลป์เพื่อพัฒนาผู้เรียน เห็นคุณค่างานศิลปะทั้งด้านทัศนศิลป์ ดนตรีและนาฏศิลป์ มีวินัย ใฝ่เรียนรู้ อยู่อย่างพอเพียงและรักความเป็นไทย

คุณจะได้เรียนรู้อะไร?

  • บทเพลงไทยและวงดนตรีแต่ละประเภท
  • เปรียบเทียบรูปแบบของบทเพลงและวงดนตรีแต่ละประเภทได้
  • ลักษณะเด่นของดนตรีในวัฒนธรรมต่าง ๆ
  • เปรียบเทียบลักษณะเด่นของดนตรีในวัฒนธรรมต่าง ๆ ได้
  • บทบาทของดนตรีต่อสังคม
  • อธิบายบทบาทของดนตรี การสะท้อนแนวความคิดและค่านิยมที่เปลี่ยนไปของคนในสังคม

เนื้อหาของคอร์ส

การสร้างสรรค์ผลงานดนตรี
การแสดงของไทย ไม่ว่าจะมีการรำหรือไม่มีก็ตาม มักจะต้องใช้ดนตรีบรรเลงประกอบแทบทั้งสิ้น การแสดงที่เรียกว่า ละคร” นั้นสามารถแยกเป็นลักษณะกว้าง ๆ ได้ ๒ แบบ คือ ละครที่ใช้ท่าร่ายรำประกอบและละครที่ไม่มีท่าร่ายรำประกอบ แต่ไม่ว่าจะเป็นละครชนิดใดหรือแบบใดก็ตาม จะต้องมีดนตรีบรรเลงประกอบทั้งนั้น เพียงแต่ว่าดนตรีที่ใช้บรรเลงประกอบนั้นจะเป็นไปในลักษณะที่แตกต่างกันทั้งในรูปลักษณะของวงบรรเลง วิธีการบรรเลงตามแบบและลักษณะโดยเฉพาะของละครชนิดนั้น

  • ศาสนากับงานดนตรีไทย
    00:01
  • การสร้างสรรค์ผลงานดนตรีไทย

ลักษณะเด่นของดนตรีในวัฒนธรรม
ดนตรีเป็นวัฒนธรรมประจำชาติที่สำคัญอย่างยิ่ง ชาติที่เจริญย่อมมีดนตรีประจำชาติของตนทั้งนั้น ดนตรีเหล่านี้แตกต่างกันด้วยรูปร่าง น้ำเสียง ระดับเสียง วัสดุที่ใช้ทำเครื่องดนตรี และวิธีการบรรเลง

การอนุรักษ์และวิเคราะห์รูปแบบดนตรีไทย

การจัดอันดับและรีวิวของผู้เรียน

ยังไม่มีรีวิว
ยังไม่มีรีวิว