วิชาดนตรี-นาฏศิลป์ ชั้น ประถมศึกษาปีที่ 3 (ศ13101) ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2564

หมวดหมู่: ป.3, ประถมศึกษา
คอร์สที่สนใจ แชร์
แชร์คอร์ส
ลิงก์หน้า
แชร์บนโซเชียล

เกี่ยวกับคอร์ส

คำอธิบายรายวิชาดนตรี-นาฏศิลป์
ศึกษารูปร่างลักษณะของเครื่องดนตรี เสียงของเครื่องดนตรี สัญลักษณ์แทนคุณสมบัติของเสียงและรูปแบบจังหวะ บทบาทหน้าที่ของเพลงสำคัญ การขับร้องเดี่ยวและหมู่ การบรรเลงเครื่องดนตรีประกอบเพลง การเคลื่อนไหวตามอารมณ์ของบทเพลง การแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับเสียงร้องและเสียงดนตรีของตนเองและผู้อื่น การใช้ดนตรีในชีวิตประจำวันและโอกาสพิเศษ เอกลักษณ์และความสำคัญของดนตรีในท้องถิ่น เพลงเกี่ยวข้าว เพลงฉ่อย

ศึกษาการเคลื่อนไหวในรูปแบบต่างๆในสถานการณ์สั้นๆ หลักและวิธีการปฏิบัตินาฏศิลป์ หลักในการชมการแสดง  การแสดงนาฏศิลป์พื้นบ้านหรือการแสดงนาฏศิลป์ 4 ภาค ลักษณะการแสดงนาฏศิลป์และที่มา

โดยกระบวนการคิดวิเคราะห์  กระบวนการคิดสร้างสรรค์  กระบวนการสื่อสาร  กระบวนการเรียนรู้ความเข้าใจ  และกระบวนการปฏิบัติทางทัศนศิลป์  ดนตรีและนาฏศิลป์

เพื่อพัฒนาผู้เรียนเห็นคุณค่างานศิลปะทั้งด้านทัศนศิลป์ ดนตรีและนาฏศิลป์ มีวินัย ใฝ่เรียนรู้ อยู่อย่างพอเพียงและรักความเป็นไทย

คุณจะได้เรียนรู้อะไร?

  • ระบุรูปร่างลักษณะของเครื่องดนตรีที่เห็นและได้ยินในชีวิตประจำวัน
  • อธิบายลักษณะของเครื่องดนตรี
  • บอกรูปร่างและเสียงของเครื่องดนตรีได้
  • ใช้รูปภาพหรือสัญลักษณ์แทนเสียงและจังหวะเคาะ
  • บอกคุณสมบัติของเสียง
  • แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับเสียงดนตรีและเสียงขับร้องได้
  • อธิบายการเคลื่อนไหวร่างกายในรูปแบบต่าง ๆ
  • สร้างสรรค์การเคลื่อนไหวในรูปแบบต่าง ๆ ในสถานการณ์สั้น ๆ
  • เห็นประโยชน์ในการเคลื่อนไหวร่างกาย
  • บอกบทบาทหน้าที่ของเพลงที่ได้ยิน
  • อธิบายบทบาทหน้าที่ของเพลง
  • บอกบทบาทหน้าที่ของเพลงได้
  • เห็นประโยชน์ของเพลงที่ได้ยิน
  • ขับร้องและบรรเลงดนตรีง่าย ๆ
  • อธิบายหลักการขับร้อง
  • ปฏิบัติขับร้องเพลงง่าย ๆ ได้
  • เห็นประโยชน์ของการขับร้อง
  • เคลื่อนไหวท่าทางสอดคล้องกับอารมณ์ของเพลงที่ฟัง
  • ยกตัวอย่างการเคลื่อนไหวร่างกายประกอบเพลง
  • ปฏิบัติการเคลื่อนไหวร่างกายสอดคล้องกับอารมณ์เพลงที่ฟัง
  • เห็นคุณค่าของการเคลื่อนไหวร่างกาย
  • ยกตัวอย่างนาฏศิลป์เบื้องต้นและภาษาท่านาฏศิลป์
  • ปฏิบัติท่าทางประกอบเพลงโดยใช้นาฏศิลป์เบื้องต้นและภาษาท่าได้

เนื้อหาของคอร์ส

สำเนียงเสียงเสนาะ
เครื่องดนตรีไทย คือ เครื่องดนตรีที่มีต้นกำเนิดจากประเทศไทยเกิดจากความคิดและสติปัญญาของคนไทยในการนำวัสดุจากธรรมชาติมาทำให้เกิดเสียง แบ่งออกเป็น เครื่องดีด เครื่องสี เครื่องตี และเครื่องเป่า เครื่องดนตรีสากล คือ เครื่องดนตรีสากลเป็นเครื่องดนตรีของชาติตะวันตกแบ่งออกเป็น ๕ ประเภท คือ เครื่องสาย เครื่องเป่าลมไม้ เครื่องเป่าลมทองเหลือง เครื่องตี เครื่องดนตรีประเภทลิ่มนิ้ว ตัวโน้ต หมายถึง เครื่องหมายหรือสัญลักษณ์ที่ใช้สำหรับบันทึกระดับเสียงดนตรีและความสั้นยาวของบทเพลง ตัวโน้ตจึงเป็นสิ่งสำคัญอย่างหนึ่งในบทเพลง

  • เครื่องดนตรีไทย – สากล
    00:01
  • สำเนียงเสียงเสนาะ

สร้างสรรค์การเคลื่อนไหว
จินตนาการสร้างสรรค์สามารถแสดงให้ผู้อื่นรับรู้ได้โดยใช้ประสาทสัมผัสทั้ง ๕ ได้แก่ ตา หู จมูก ลิ้น และกายสัมผัส ดังนั้นการรับรู้จากการแสดงท่าทางประกอบการใช้จินตนาการจึงมีความสำคัญในการดำรงชีวิตประจำวันของเราเป็นอย่างมาก

ไพเราะขับขาน
การร้องเพลงเป็นการแสดงออกทางอารมณ์ด้วยเสียงเพลง ส่วนประกอบของเพลง ได้แก่ เครื่องดนตรี ทำนอง จังหวะและคำร้อง ความไพเราะของเพลงเกิดจากความสัมพันธ์ระหว่างเครื่องดนตรี ทำนอง จังหวะและเนื้อร้อง

หลักและวิธีการปฏิบัตินาฏศิลป์
นาฏศิลป์ไทยมีลักษณะการเคลื่อนไหวผ่านการใช้ประสาทสัมผัสทั้ง ๕ โดยมีองค์ประกอบสำคัญคือ ลักษณะการเลียนแบบ ลักษณะการร่ายรำเบื้องต้นและภาษาท่านาฏศิลป์

การจัดอันดับและรีวิวของผู้เรียน

ยังไม่มีรีวิว
ยังไม่มีรีวิว