วิชาดนตรี-นาฏศิลป์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 (ศ13101) ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564

หมวดหมู่: ป.3, ประถมศึกษา
คอร์สที่สนใจ แชร์
แชร์คอร์ส
ลิงก์หน้า
แชร์บนโซเชียล

เกี่ยวกับคอร์ส

คำอธิบายรายวิชาดนตรี-นาฏศิลป์

ศึกษารูปร่างลักษณะของเครื่องดนตรี เสียงของเครื่องดนตรี สัญลักษณ์แทนคุณสมบัติของเสียงและรูปแบบจังหวะ บทบาทหน้าที่ของเพลงสำคัญ การขับร้องเดี่ยวและหมู่ การบรรเลงเครื่องดนตรีประกอบเพลง การเคลื่อนไหวตามอารมณ์ของบทเพลง การแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับเสียงร้องและเสียงดนตรีของตนเองและผู้อื่น การใช้ดนตรีในชีวิตประจำวันและโอกาสพิเศษ เอกลักษณ์และความสำคัญของดนตรีในท้องถิ่น เพลงเกี่ยวข้าว เพลงฉ่อย

ศึกษาการเคลื่อนไหวในรปแบบต่างๆในสถานการณ์สั้นๆ หลักและวิธีการปฏิบัตินาฏศิลป์ หลักในการชมการแสดง  การแสดงนาฏศิลป์พื้นบ้านหรือการแสดงนาฏศิลป์ 4 ภาค ลักษณะการแสดงนาฏศิลป์และที่มา

โดยกระบวนการคิดวิเคราะห์  กระบวนการคิดสร้างสรรค์  กระบวนการสื่อสาร  กระบวนการเรียนรู้ความเข้าใจ  และกระบวนการปฏิบัติทางทัศนศิลป์  ดนตรีและนาฏศิลป์

เพื่อพัฒนาผู้เรียนเห็นคุณค่างานศิลปะทั้งด้านทัศนศิลป์ ดนตรีและนาฏศิลป์ มีวินัย ใฝ่เรียนรู้ อยู่อย่างพอเพียงและรักความเป็นไทย

คุณจะได้เรียนรู้อะไร?

  • บอกบทบาทหน้าที่ของเพลงที่ได้ยิน
  • อธิบายบทบาทหน้าที่ของเพลงที่ได้ยิน
  • สามารถบอกบทบาทหน้าที่ของเพลงที่ได้ยินอย่างถูกต้อง
  • รู้คุณค่าและเห็นความสำคัญของบทเพลง
  • นำดนตรีไปใช้ในชีวิตประจำวันหรือโอกาสต่างๆ ได้อย่างเหมาะสม
  • ยกตัวอย่างดนตรีที่ใช้ในชีวิตประจำวันหรือโอกาสสำคัญต่าง ๆ
  • เห็นความสำคัญของบทเพลง
  • เล่าถึงการแสดงนาฏศิลป์ที่เห็นในท้องถิ่นได้
  • ระบุลักษณะเด่นและเอกลักษณ์ของดนตรีในท้องถิ่น
  • ชื่นชมและรักความเป็นไทย
  • ระบุความสำคัญและประโยชน์ของดนตรีต่อการดำเนินชีวิตของคนในท้องถิ่น
  • บอกความสำคัญและประโยชน์ของดนตรีต่อการดำรงชีวิตของคนในท้องถิ่นได้
  • เปรียบเทียบบทบาทหน้าที่ของผู้แสดงและผู้ชม
  • หลักการเป็นผู้ชมที่ดี
  • เห็นคุณค่าและประโยชน์ของหลักการเป็นผู้ชมที่ดี
  • มีส่วนร่วมในกิจกรรมการแสดงที่เหมาะสมกับวัย
  • ระบุสิ่งที่เป็นลักษณะเด่นและเอกลักษณ์ของการแสดงนาฏศิลป์
  • เอกลักษณ์ของการแสดงนาฏศิลป์ไทย
  • อธิบายความสำคัญของการแสดงนาฏศิลป์
  • เห็นคุณค่าของนาฏศิลป์

เนื้อหาของคอร์ส

ดนตรีในชีวิตประจำวัน
ดนตรีในชีวิตประจำวัน สามารถแบ่งได้หลายรูปแบบ ดังนี้ 1. ดนตรีในงานรื่นเริง เป็นงานที่มีความสนุกสนาน ทำให้ผู้ร่วมงานมีความสุข ดังนั้น จึงมีการนำดนตรีมาบรรเลงเพื่อให้งานนั้น ๆ ดูมีสีสันและสนุกสนาน งานรื่นเริงที่มีการนำดนตรีมาร่วมบรรเลง เช่น งานเลี้ยงในโรงเรียน งานเต้นรำ งานฉลองวันคล้ายวันเกิด 2. ดนตรีในการฉลองวันสำคัญของชาติ จะมีการจัดพิธีการสำคัญต่าง ๆ และมีดนตรีเข้าไปเกี่ยวข้อง เช่น วันจักรี วันพืชมงคล วันปิยมหาราช วันรัฐธรรมนูญ เป็นต้น

  • ดนตรีในชีวิตประจำวัน
    00:00
  • ดนตรีในชีวิตประจำวัน

นาฏศิลป์พื้นเมือง
นาฏศิลป์พื้นเมือง คือ ศิลปะการแสดงระบำ รำ ฟ้อน ประกอบดนตรีที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะในท้องถิ่นนั้น ซึ่งเป็นการแสดงที่แสดงถึงวิถีชีวิตของคนในแต่ละภาค นาฏศิลป์พื้นเมืองเป็นการแสดงที่เน้นความสนุกสนาน รื่นเริงและสร้างความสามัคคีในหมู่คณะ ซึ่งแบ่งตามลักษณะภูมิประเทศ วัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณีและวิถีชีวิต 4 ภาค

ดนตรีในท้องถิ่น
ดนตรีมีความสัมพันธ์กับคนในท้องถิ่นมาช้านาน และเป็นสิ่งที่สืบทอดต่อๆ กันมา ซึ่งในแต่ละท้องถิ่นก็จะนำดนตรีมาใช้ในการประกอบกิจกรรมที่แตกต่างกันไปตามประเพณี วัฒนธรรมของท้องถิ่นนั้น ดนตรีเป็นสิ่งที่สำคัญและผูกพันกับมนุษย์ จะเห็นได้จากการนำดนตรีมาใช้ร่วมบรรเลงในงานประเพณี กิจกรรมต่าง ๆ หรือพิธีกรรมทางศาสนา ดนตรีจึงมีบทบาทสำคัญมากในการทำให้เกิดความเพลิดเพลิน ครึกครื้นหรือเศร้า ดนตรีเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมและเกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวันของมนุษย์และมนุษย์คุ้นเคยกับดนตรีมาตั้งแต่เกิด จากเสียงเพลงกล่อมเด็กให้หลับ ซึ่งเป็นทำนองและเสียงดนตรีจากแม่ เติบโตขึ้นในการดำรงชีวิตของมนุษย์ก็ยังมีดนตรีเข้ามาเกี่ยวข้อง

การแสดงนาฏศิลป์
นาฏศิลป์ไทยเป็นศิลปะแห่งการละคร ฟ้อน รำและดนตรี เป็นศิลปวัฒนธรรมอย่างหนึ่งที่แสดงถึงความเป็นชาติที่เจริญรุ่งเรืองด้านวัฒนธรรม อีกทั้งนาฏศิลป์ยังเป็นสิ่งที่ช่วยให้ผู้ชมได้ชื่นชมและสนุกสนานกับการแสดง เป็นมรดกทางวัฒนธรรมที่ควรค่าแก่การสืบทอดและรักษาไว้ให้เป็นสมบัติของชาติสืบไป

การจัดอันดับและรีวิวของผู้เรียน

ยังไม่มีรีวิว
ยังไม่มีรีวิว