วิชานาฏศิลป์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 (ศ 22101)ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2564

หมวดหมู่: ม.2, มัธยมศึกษา
คอร์สที่สนใจ แชร์
แชร์คอร์ส
ลิงก์หน้า
แชร์บนโซเชียล

เกี่ยวกับคอร์ส

คำอธิบายรายวิชานาฏศิลป์

ศึกษาการอ่าน เขียนร้องโน้ตไทยและโน้ตสากล  เสียงร้องและเสียงของเครื่องดนตรีที่มาจากวัฒนธรรมที่ต่างกัน  การร้องและการบรรเลงเครื่องดนตรีประกอบการร้อง  ประเภทของวงดนตรีไทยและวงดนตรีที่มาจากวัฒนธรรมต่างๆ  การถ่ายทอดอารมณ์ของบทเพลง การประเมินคุณภาพของบทเพลง  การใช้และบำรุงรักษาเครื่องดนตรี  บทบาทและอิทธิพลของดนตรี   องค์ประกอบของดนตรีในแต่ละวัฒนธรรม

โดยกระบวนการคิดวิเคราะห์  กระบวนการคิดสร้างสรรค์  กระบวนการสื่อสาร  กระบวนการเรียนรู้ความเข้าใจ  กระบวนการสร้างความตระหนัก  กระบวนการสร้างเจตคติและกระบวนการปฏิบัติทางทัศนศิลป์  ดนตรีและนาฏศิลป์

เพื่อพัฒนาผู้เรียนเห็นคุณค่างานศิลปะทั้งด้านทัศนศิลป์ ดนตรีและนาฏศิลป์ มีวินัย ใฝ่เรียนรู้ อยู่อย่างพอเพียงและรักความเป็นไทย

คุณจะได้เรียนรู้อะไร?

  • อธิบายการบูรณาการศิลปะแขนงอื่น ๆ กับการแสดง
  • สร้างสรรค์การแสดงโดยใช้องค์ประกอบนาฏศิลป์และการละคร
  • วิเคราะห์การแสดงของตนเองและผู้อื่น โดยใช้นาฏยศัพท์หรือศัพท์ทางการละครที่เหมาะสม
  • เสนอข้อคิดเห็นในการปรับปรุงการแสดง
  • ระบุหรือแสดงนาฏศิลป์ นาฏศิลป์พื้นบ้าน ละครไทย ละครพื้นบ้าน หรือมหรสพอื่นที่เคยนิยมกันในอดีต
  • เปรียบเทียบลักษณะเฉพาะของการแสดงนาฏศิลป์จากวัฒนธรรมต่าง ๆ

เนื้อหาของคอร์ส

ความรู้พื้นฐานด้านนาฏศิลป์ไทย
1. นาฏศิลป์ไทยเป็นศิลปะการแสดงที่มีความอ่อนช้อยงดงาม เป็นศิลปะที่แสดงถึงความเป็นชาติไทย ซึ่งในการจัดการแสดงนาฏศิลป์ไทยจะต้องมีศิลปะด้านต่าง ๆ มาเกี่ยวข้องและมีหลักในการสร้างสรรค์ การแสดงเพื่อให้การแสดงสวยงาม และประทับใจต่อผู้ชม 2. ในการวิเคราะห์ วิจารณ์การแสดง ผู้วิเคราะห์และวิจารณ์จะต้องมีความรู้เกี่ยวกับการแสดง จะทำให้วิเคราะห์และวิจารณ์ได้ถูกต้องและต้องไม่มีอคติต่อการแสดง ใช้ความคิด เหตุผลในการวิเคราะห์ วิจารณ์ เพื่อให้การแสดงมีการพัฒนาต่อไป

  • ความรู้พื้นฐานด้านนาฏศิลป์ไทย
    00:00

นาฏศิลป์พื้นเมือง
วัฒนธรรมไทย 4 ภาค มีลักษณะแตกต่างกันไปตามแต่ละท้องถิ่น ขึ้นอยู่กับสภาพภูมิประเทศ ภูมิอากาศ ประเพณี วิถีชีวิต อาชีพ และสิ่งต่าง ๆ ในท้องถิ่น ทำให้การแสดงนาฏศิลป์พื้นเมืองของแต่ละภาคแตกต่างกันไปด้วย ซึ่งการแสดงนาฏศิลป์พื้นเมืองของแต่ละภาคสะท้อนถึงวัฒนธรรม ประเพณี วิถีชีวิตของคนในท้องถิ่น สร้างความสุข สนุกสนาน ผ่อนคลายให้กับคนในท้องถิ่น เป็นมรดกท้องถิ่นที่ควรอนุรักษ์และสืบทอดต่อไป

หลักและวิธีการแสดงละคร
การแสดงละครไทยให้มีความสวยงามได้นั้นจะต้องอาศัยองค์ประกอบของละคร และศิลปะแขนงต่างๆมาใช้ในการแสดง จะทำให้การแสดงมีความสมบูรณ์ สวยงาม เป็นที่ชื่นชอบ ประทับใจ ต่อผู้ชม

ละครไทยและละครพื้นบ้าน
ละครไทยและละครพื้นบ้าน เป็นการแสดงของไทยที่มีรูปแบบการแสดงแตกต่างกัน ละครไทยจะมีความงดงาม แสดงเรื่องราวที่เป็นวรรณกรรมที่งดงาม ส่วนละครพื้นบ้านเป็นการแสดงแบบชาวบ้าน เรื่องราวที่แสดง จะมาจากนิทานพื้นบ้านต่าง ๆ แต่ทั้งละครไทยและละครพื้นบ้าน เป็นมรดกทางวัฒนธรรมของชาติที่สะท้อนเรื่องราวในชาติ วิถีชีวิตของคนในสังคม และสอดแทรกข้อคิดให้กับผู้ชม ทำให้ผู้ชมได้รับความสนุกสนาน เพลิดเพลิน และนำข้อคิดที่ได้ไปปรับใช้ในชีวิต จึงเป็นสิ่งที่คนไทยควรให้ความร่วมมือในการอนุรักษ์ สืบทอดให้ละครไทยและละครพื้นบ้านคงอยู่ต่อไป

การจัดอันดับและรีวิวของผู้เรียน

ยังไม่มีรีวิว
ยังไม่มีรีวิว