เนื้อหาของคอร์ส
ปัจจัยส่งเสริมความเจริญรุ่งเรื่อง
ปัจจัยที่ส่งเสริมความเจริญรุ่งเรืองในด้านการเมืองการปกครองและเศรษฐกิจในสมัยรัตนโกสินทร์มีดังนี้ - ประเทศไทยมีที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ที่เหมาะสมมีสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์ - ประเทศไทยมีสถาบันพระมหากษัตริย์ที่เป็นศูนย์รวมจิตใจของคนไทยทั้งชาติ - คนไทยมีรอยยิ้มที่เป็นมิตรทำให้ชาวต่างชาติเกิดความประทับใจและเข้ามาท่องเที่ยวในประเทศไทยมากขึ้น - คนไทยเป็นคนที่มีคุณธรรมมีน้ำใจซื่อสัตย์กตัญญูมีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ช่วยเหลือผู้อื่น ปัจจัยต่างๆดังกล่าวเป็นปัจจัยที่ส่งเสริมความเจริญให้แก่ประเทศไทยจนถึงปัจจุบัน
0/2
พัฒนาการอาณาจักรรัตนโกสินทร์และการเมืองการปกครองไทย
พัฒนาการทางประวัติศาสตร์สมัยรัตนโกสินทร์อาจแบ่งได้เป็น 3 ยุคคือ - ยุครัตนโกสินทร์ตอนต้น ระหว่างรัชกาลพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชถึงรัชกาลพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งเป็นช่วงเวลาแห่งการป้องกันและฟื้นฟูบ้านเมือง - ยุคปฏิรูปประเทศให้เป็นแบบสมัยใหม่ ระหว่างรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเก้าเจ้าอยู่หัวถึงรัชกาลพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นช่วงเวลาที่ต้องทำให้บ้านเมืองรอดพ้นจากการคุกคามจากชาติตะวันตก - ยุคปฏิรูปการปกครองเป็นระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ระหว่างรัชกาลพระบาทสมเด็จพระปกเก้าเจ้าอยู่หัวถึงรัชกาลปัจจุบัน
0/1
การสถาปนาอาณาจักรรัตนโกสินทร์
อาณาจักรรัตนโกสินทร์ เป็นราชอาณาจักรที่สี่ในยุคประวัติศาสตร์ของไทย เริ่มตั้งแต่การย้ายเมืองหลวงจากฝั่งกรุงธนบุรี มายังกรุงเทพมหานคร ซึ่งตั้งอยู่ทางตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรี เสด็จขึ้นครองราชสมบัติ เมื่อวันที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2325.
0/2
วิชาประวัติศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 (ส16102) ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564
เกี่ยวกับบทเรียน

ย้อนประวัติศาสตร์ไทยได้มีการจัดงานสมโภชพระนครหรือเฉลิมฉลองกรุงรัตนโกสินทร์ครั้งใหญ่ขึ้นมาแล้วถึง 4 ครั้ง ได้แก่ ครั้งแรกจัดขึ้นเมื่อสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์ ครั้งที่ 2 จัดขึ้นในวาระครบรอบ 100 ปี ครั้งนั้นมีมหรสพทั้งในกรุงเทพฯ และหัวเมืองทั่วพระราชอาณาจักร   7 วัน 7 คืน ครั้งที่ 3 งานสมโภชกรุงรัตนโกสินทร์ 150 ปี งานฉลองพระนครเป็นเพียงงานรื่นเริงชั่วคราว พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชดำริไม่มีสิ่งใดดีกว่าสร้างพระบรมราชานุสาวรีย์เป็นที่ระลึกถึงพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ผู้ทรงสร้างกรุงเทพมหานคร ถือเป็นสิริมงคลแก่ชาวกรุงเทพฯ ทั้งสร้างสะพานพระพุทธยอดฟ้าที่ทันสมัยที่สุดในยุคนั้น

และครั้งที่ 4 งานสมโภชกรุงรัตนโกสินทร์ 200 ปี ในสมัย พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร การฉลองพระนครทุกครั้ง พระมหากษัตริย์พร้อมด้วยพสกนิกร ได้ร่วมกันบูรณปฏิสังขรณ์ทั่วพระอาราม ครั้งนี้ มีการบำเพ็ญพระราชกุศลฉลองวัดพระแก้ว คู่กรุงรัตนโกสินทร์ แล้วยังมีพระราชพิธี ตามโบราณราชประเพณี เช่น พระราชพิธีบวงสรวงพระสยามเทวาธิราช  พระราชพิธีสมโภชหลักเมือง และเป็นครั้งแรกที่มีตราสัญลักษณ์เป็นภาพเทวดาสององค์พนมมือไหว้ หันหน้าเข้าหากัน สื่อความหมายว่า กรุงเทพฯ เป็นเมืองแห่งชาวเทวดา ที่ได้ร่วมกันเฉลิมฉลองกรุงรัตนโกสินทร์ 200 ปี เหนือภาพเทวดา เป็นภาพซุ้มวิมาน สื่อสิ่งก่อสร้างงดงามของกรุงเทพฯ ขณะที่ท้องสนามหลวงครึกครื้นด้วยมหกรรมดนตรีไทย ดนตรีสากล มหรสพพื้นเมือง ประกวดรถบุปผชาติ นอกจากนี้ ชุมชนใต้ร่มพระบารมี จัดงานทั่วบริเวณ

ไฟล์ตัวอย่าง
การสถาปนาอาณาจักรรัตนโกสินทร์.pdf
ขนาด: 2.54 MB
ใบงานความรู้ เรื่อง การสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์เป็นราชธานี.pdf
ขนาด: 109.70 KB