วิชาภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 (ท12102) ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2564

หมวดหมู่: ป.2, ประถมศึกษา
คอร์สที่สนใจ แชร์
แชร์คอร์ส
ลิงก์หน้า
แชร์บนโซเชียล

เกี่ยวกับคอร์ส

คำอธิบายรายวิชาภาษาไทย

ฝึกทักษะการอ่านด้วยการอ่านออกเสียง  คำที่มีรูปและไม่มีรูปวรรณยุกต์ คำที่มีตัวสะกดตรงและไม่ตรงตามมาตรา คำที่มีพยัญชนะควบกล้ำ คำที่มีอักษรนำ คำที่มีตัวการันต์ คำที่มี รร คำที่มีพยัญชนะและสระที่ไม่ออกเสียงความหมายของคำ คำคล้องจอง ข้อความและบทร้อยกรองง่ายๆ  การอ่านจับใจความ   อ่านหนังสือตามความสนใจ  การอ่านข้อเขียนเชิงอธิบาย  คำสั่งหรือข้อแนะนำ

ฝึกทักษะการเขียนด้วยการคัดลายมือตัวบรรจงเต็มบรรทัด  การเขียนเรื่องสั้นๆ เกี่ยวกับประสบการณ์ การเขียนเรื่องสั้น ๆ ตามจินตนาการ

ฝึกทักษะการฟัง การดูและการพูดด้วย คำแนะนำ  คำสั่งที่ซับซ้อน การพูดจับใจความและแสดงความคิดเห็น ความรู้สึกจากเรื่องที่ฟังและดูทั้งที่เป็นความรู้และความบันเทิง  การพูดสื่อสารเพื่อขอความช่วยเหลือ กล่าวคำขอบคุณ คำขอโทษ เล่าประสบการณ์ในชีวิตประจำวัน

ศึกษาหลักและการใช้ภาษาไทยเรื่องพยัญชนะ  สระ  วรรณยุกต์และเลขไทย  การเขียนสะกดคำและความหมายของคำ  การเรียบเรียงคำเป็นประโยค  คำคล้องจอง  ภาษาไทยมาตรฐานและภาษาท้องถิ่น (ภาษาจีน)

ศึกษาวรรณคดีและวรรณกรรมจากข้อคิดที่ได้จากการอ่านหรือการฟังวรรณกรรมสำหรับเด็ก ร้องบทร้องเล่นสำหรับเด็กในชุมชนตลาดน้อยการดำเนินชีวิตประจำวัน  การท่องจำบทอาขยานตามที่กำหนดและบทร้อยกรองที่  มีคุณค่าตามความสนใจ

โดยใช้กระบวนการอ่าน  กระบวนการเขียน  กระบวนการปฏิบัติ กระบวนการสร้างความคิดรวบยอด และทักษะทางภาษา เพื่อให้เกิดความรู้ ความเข้าใจ  สามารถสื่อสารได้ถูกต้อง  เห็นคุณค่าของการอนุรักษ์ภาษาไทยและตัวเลขไทย มีนิสัยรักการอ่าน  รักความเป็นไทย ใฝ่เรียนรู้  มุ่งมั่นในการทำงาน  อยู่อย่างพอเพียง  มีมารยาทในการอ่าน  การฟัง การดู  การพูดและการเขียน

คุณจะได้เรียนรู้อะไร?

  • สามารถอ่านออกเขียนได้ เข้าใจปฏิบัติและตอบคำถามได้

เนื้อหาของคอร์ส

หน่วยเรียนที่ 1 เรื่อง น้ำใส
คำประกอบไปด้วย พยัญชนะต้น สระ และวรรณยุกต์ บางคำอาจมีตัวสะกด แต่บางคำก็ไม่มีตัวสะกด ดังนั้น มาตราตัวสะกดจึงแบ่งออกเป็น 8 มาตรา ได้แก่ มาตรา กง , กม , เกย , เกอว , กก , กด , กน , กบ ส่วนตัวที่ไม่มีตัวสะกดเราเรียนว่า มาตรา ก กา ตัวสะกด คือ พยัญชะ ท้ายคำที่ออกเสียงตามหลังสระ ความรู้ มาตราตัวสะกด พยัญชนะแบ่งตามระดับเสียง เป็น 3 กลุ่ม คือ กลุ่มที่มีเสียงสูง กลาง ต่ำ เรียกว่า อักษรสูง อักษรกลาง อักษรต่ำ การผันเสียงวรรณยุกต์หมายถึง การเปลี่ยนเสียงคำต่าง ๆ ให้มีเสียงสูง เสียงต่ำ ตามรูปวรรณยุกต์ที่เป็นตัวกำหนดเสียง เพื่อให้ได้คำใหม่ ที่มีความหมายแตกต่างจากคำเดิม ความรู้ การผันเสียงวรรณยุกต์

  • มาตราตัวสะกด
    00:00
  • การผันวรรณยุกต์
    00:00
  • แบบทดสอบ เรื่อง มาตราตัวสะกด

หน่วยเรียนที่ 2 เรื่อง ใจหาย
การวิเคราะห์เรื่องเป็นการพิจารณาเรื่องราวต่าง ๆ อย่างละเอียดตั้งแต่ต้นจนจบ เพื่อแยกข้อเท็จจริง และข้อคิดเห็น โดยใช้เหตุผลในการแยกส่วนดี ส่วนบกพร่องของเรื่องนั้น ๆ ต้องเป็นคนที่ชอบอ่าน และต้องหมั่นฝึกฝนย่อความ และวิเคราะห์เป็นประจำด้วย ดังนั้นจะต้องเรียนรู้ และตอบคำถามให้ถูกต้อง จึงจะถือว่าประสบความสำเร็จในการเรียนภาษา

หน่วยเรียนที่ 3 เรื่อง ครัวป่า
-คำที่ประสมด้วยสระ เ-ือ -มาตราตัวสะกด แม่ เกย -มาตรา แม่ กก -มาตรา แม่ กบ

หน่วยเรียนที่ 4 เรื่อง กลัวทำไม
-คำที่ประสมด้วยสระ -ื -มาตราตัวสะกด แม่ กด -มาตราตัวสะกด แม่ เกอว

หน่วยเรียนที่ 5 เรื่อง ชีวิตใหม่
คำที่ประสมด้วยสระ -ะ

หน่วยเรียนที่ 6 เรื่อง มีน้ำใจ
คำที่ประสมด้วย สระ โ-ะ

คำควบกล้ำแท้ คำควบกล้ำไม่แท้
อักษรควบ หรือ คำควบกล้ำ คือ คำที่ออกเสียงครั้งละหนึ่งพยางค์ แต่อ่านออกเสียงเหมือนสองพยางค์ คำควบกล้ำจะมีสองชนิด คือ คำควบแท้ คือคำที่มีอักษร "ร ล ว" อยู่กลางคำ และอ่านพร้อมๆ กับอักษรนำ เช่น ขวาง เกรี้ยวกราด แหวน (คำนี้จะเป็นอักษรนำก็ได้) คำว่า "ควร" ไม่ใช่คำควบแท้ เนื่องจากตัว "ว" ออกเสียงสระ "อัว" มีตัวสะกด ซึ่งไม่ใช่ตัวควบกล้ำ คำควบไม่แท้ จะมีคำบางคำที่ไม่ออกเสียงควบและมีพยางค์เดียว (ส่วนใหญ่) เช่น จริง เศร้าโศก เรือ ส่วน "ทร" อ่านออกเสียงเป็น "ซ" เช่น ทราบ ทรุดโทรม พุทรา ฯลฯ *คำว่า "นิทรา" ไม่ใช่คำควบไม่แท้ เพราะอ่านว่า นิด-ทฺรา ไม่ใช่ นิด-ซา ที่มา:wikipedia

การจัดอันดับและรีวิวของผู้เรียน

ยังไม่มีรีวิว
ยังไม่มีรีวิว