วิชาวิทยาศาสตร์พื้นฐาน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่1 (ว21102) ภาคเรียนที่2 ปีการศึกษา 2564

หมวดหมู่: ม.1, มัธยมศึกษา
คอร์สที่สนใจ แชร์
แชร์คอร์ส
ลิงก์หน้า
แชร์บนโซเชียล

เกี่ยวกับคอร์ส

วิทยาศาสตร์โลกและอวกาศ : ชั้นบรรยากาศ ปัจจัยที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงองค์ประกอบของลมฟ้าอากาศ

กระบวนการเกิดพายุฝนฟ้าคะนองและพายุหมุนเขตร้อน การพยากรณ์อากาศ ภูมิอากาศโลก ผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศโลก

เทคโนโลยี : แนวคิดหลักของเทคโนโลยี การใช้เทคโนโลยีในการแก้ปัญหา การใช้วัสดุ อุปกรณ์เครื่องมือ กลไก ไฟฟ้าหรืออิเล็กทรอนิกส์ การออกแบบอัลกอริทึ่ม การออกแบบและเขียนโปรแกรมที่มีการใช้ตัวแปรเงื่อนไข วนซ้ำ การใช้ซอฟต์แวร์หรือบริการบนอินเทอร์เน็ต การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ

ทั้งนี้โดยใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ การสืบเสาะหาความรู้ การสำรวจตรวจสอบ การสืบค้นข้อมูลและการอภิปราย

เพื่อให้เกิดความรู้ ความคิด ความเข้าใจ สามารถสื่อสารสิ่งที่เรียนรู้ มีความสามารถในการตัดสินใจ

นำความรู้ไปใช้ในชีวิตประจำวัน มีจิตวิทยาศาสตร์ จริยธรรม คุณธรรม และค่านิยมที่เหมาะสม

คุณจะได้เรียนรู้อะไร?

  • 1.อธิบายและเปรียบเทียบการจัดเรียงอนุภาค แรงยึดเหนี่ยวระหว่างอนุภาค และการเคลื่อนที่ของอนุภาคของสสารชนิดเดียวกันในสถานะของแข็ง ของเหลว และแก๊ส โดยใช้แบบจำลอง
  • 2.อธิบายความสัมพันธ์ระหว่างพลังงานความร้อนกับการเปลี่ยนสถานะของสสาร โดยใช้หลักฐานเชิงประจักษ์และแบบจำลอง
  • 3.สร้างแบบจำลองที่อธิบายความสัมพันธ์ระหว่างความดันอากาศกับความสูงจากพื้นโลก
  • 4.วิเคราะห์ แปลความหมายข้อมูล และคำนวณปริมาณความร้อนที่ทำให้สสารเปลี่ยนอุณหภูมิและเปลี่ยนสถานะ โดยใช้สมการ Q = mc∆t และ Q = mL
  • 5.ใช้เทอร์มอมิเตอร์ในการวัดอุณหภูมิของสสาร
  • 6.สร้างแบบจำลองที่อธิบายการขยายตัว หรือหดตัวของสสารเนื่องจากได้รับหรือสูญเสียความร้อน
  • 7.ตระหนักถึงประโยชน์ของความรู้ของการหดและขยายตัวของสสารเนื่องจากความร้อน โดยวิเคราะห์สถานการณ์ปัญหา และเสนอแนะวิธีการนำความรู้มาแก้ปัญหาในชีวิตประจำวัน
  • 8.วิเคราะห์สถานการณ์การถ่ายโอนความร้อน และคำนวณปริมาณความร้อนที่ถ่ายโอนระหว่างสสารจนเกิดสมดุลความร้อนโดยใช้สมการ Qสูญเสีย = Qได้รับ
  • 9.สร้างแบบจำลองที่อธิบายการถ่ายโอนความร้อนโดยการนำความร้อน การพาความร้อน การแผ่รังสี ความร้อน
  • 10.ออกแบบ เลือกใช้ และสร้างอุปกรณ์เพื่อแก้ปัญหาในชีวิตประจำวันโดยใช้ความรู้เกี่ยวกับการถ่ายโอนความร้อน
  • 11.สร้างแบบจำลองที่อธิบายการแบ่งชั้นบรรยากาศ และเปรียบเทียบประโยชน์ของบรรยากาศแต่ละชั้น
  • 12.อธิบายปัจจัยที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงองค์ประกอบของลมฟ้าอากาศ จากข้อมูลที่รวบรวมได้
  • 13.เปรียบเทียบกระบวนการเกิดพายุฝนฟ้าคะนองและพายุหมุนเขตร้อน และผลที่มีต่อสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อม รวมทั้งนำเสนอแนวทางการปฏิบัติตนให้เหมาะสมและปลอดภัย
  • 14.อธิบายการพยากรณ์อากาศ และพยากรณ์อากาศอย่างง่ายจากข้อมูลที่รวบรวมได้
  • 15.ตระหนักถึงคุณค่าของการพยากรณ์อากาศโดยนำเสนอแนวทางการปฏิบัติตน และการใช้ประโยชน์จากคำพยากรณ์อากาศ
  • 16.อธิบายสถานการณ์และผลกระทบการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศโลกจากข้อมูลที่รวบรวมได้
  • 17.ตระหนักถึงผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศโลกโดยนำเสนอแนวทางการปฏิบัติตนภายใต้การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศโลก

เนื้อหาของคอร์ส

พลังงานความร้อน
อุณหภูมิ คือ ระดับความร้อนของสาร ซึ่งเครื่องมือที่ใช้วัดอุณหภูมิ คือ เทอร์มอมิเตอร์ และหน่วยวัดอุณหภูมิ ได้แก่ องศาเซลเซียส องศาฟาเรนไฮต์ เคลวิน และองศาโรเมอร์ โดยแต่ละหน่วยมีความสัมพันธ์กัน สารจะเกิดการขยายตัวเมื่อได้รับความร้อน และหดตัวเมื่อสูญเสียความร้อน โดยแก๊สจะขยายตัวได้มากที่สุด รองลงมา คือ ของเหลวและของแข็ง ตามลำดับ โดยนำไปประยุกต์ใช้งาน เช่น การวางรางรถไฟ การเว้นช่องว่างระหว่างรอยต่อของสะพาน การขึงสายไฟ การสร้างตัวควบคุมอุณหภูมิ เครื่องใช้ไฟฟ้า ห่วงรัดสิ่งของ ถังเก็บน้ำสำรองในรถยนต์ เป็นต้น เมื่อสารได้รับความร้อนอุณหภูมิจะสูงขึ้น และเมื่อสูญเสียความร้อนอุณหภูมิจะต่ำลง โดยปริมาณความร้อนที่ทำให้สารเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิจะขึ้นอยู่กับมวล ความร้อนจำเพาะ และอุณหภูมิที่เปลี่ยนแปลงไปของสารนั้น เมื่อสารได้รับความร้อนจะเกิดการหลอมเหลว การระเหย หรือ การระเหิด และเมื่อสารสูญเสียความร้อนจะเกิดการควบแน่น การแข็งตัว หรือการระเหิดกลับ ความร้อนที่ทำให้สารเปลี่ยนสถานะจะขึ้นอยู่กับมวลและความร้อนแฝงจำเพาะของสารนั้น การถ่ายโอนความร้อน มี 3 ประเภท คือ การนำความร้อน การพาความร้อน และการแผ่รังสีความร้อน ประโยชน์ของการดูดกลืนและคายความร้อน เช่น ถังเก็บเชื้อเพลิงสีขาว วัตถุสีดำช่วยระบายความร้อน ตู้อบพลังงานแสงอาทิตย์ สมดุลความร้อน คือ สภาวะที่สารเกิดการถ่ายโอนความร้อนจากสารที่มีอุณหภูมิสูงกว่าไปยังสารที่มีอุณหภูมิต่ำกว่า จนกระทั่งระดับอุณหภูมิของสารทั้งสองเท่ากันและคงที่ โดยสูตรคำนวณ คือ Qสูญเสีย = Qได้รับ

  • แบบจำลองอนุภาคของสสารในแต่ละสถานะ
    00:01
  • ความร้อนกับการเปลี่ยนอุณหภูมิของสสาร
    00:01
  • ความร้อนกับการขยายหรือหดตัวของสสาร
    00:01
  • ความร้อนกับการเปลี่ยนสถานะ
    00:01
  • การถ่ายโอนความร้อน
    00:01
  • สมดุลความร้อน
    00:01
  • แบบทดสอบ พลังงานความร้อน

กระบวนการเปลี่ยนแปลงลมฟ้าอากาศ

การจัดอันดับและรีวิวของผู้เรียน

ยังไม่มีรีวิว
ยังไม่มีรีวิว