เนื้อหาของคอร์ส
แนะนำบทเรียน
0/1
แบบทดสอบก่อนเรียน (Pre-test)
0/1
แบบทดสอบท้ายบทเรียน (Post-test)
0/1
วิชาวิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 (ว15101) ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2564
เกี่ยวกับบทเรียน

การปรับตัวของสิ่งมีชีวิต หมายถึง การเปลี่ยนแปลงหรือปรับเปลี่ยนลักษณะบางอย่างของสิ่งมีชีวิตให้เหมาะสมกับแหล่งที่อยู่อาศัยหรือสิ่งแวดล้อม เพื่อให้สามารถอยู่รอด สืบพันธุ์ และไม่สูญพันธุ์

โครงสร้างและลักษณะของพืชที่เหมาะสมกับแหล่งที่อยู่

เช่น

  1. ผักกะเฉด  เป็นพืชที่ขึ้นในน้ำ จะมีนวมหุ้มลำตันคล้ายฟองน้ำ ทำให้ลอยน้ำได้

    ผักกระเฉด
  2. ผักตบชวา เป็นพืชที่ขึ้นในน้ำ มีโคนก้านพองออก ภายในมีช่องอากาศอยู่จำนวนมาก จึงช่วยในการลอยน้ำ

    ผักตบชวา
  3. บัว เป็นพืชที่ขึ้นในดินเหนียวและมีน้ำขังตลอดเวลา บัวมีล้ำต้นเป็นโพรงอากาศ เพื่อทำให้เบาและลอยน้ำได้

    บัว
  4. เบาบับ เป็นพืชที่อยู่ตามทะเลทราย มีลำต้นอวบน้ำ เพราะเก็บน้ำไว้ภายใน และมีรากยาวทำให้ดูดน้ำได้มาก

    เบาบับ
  5. กระบองเพชร เป็นพืชที่ขึ้นได้ดีบริเวณแห้งแล้งหรือตามทะเลทราย มีลำต้นหนาเพื่อเก็บน้ำ และลดรูปใบเป็นหนาม เพื่อลดการสูญเสียน้ำ

    กระบองเพชร
  6. โกงกาง เป็นพืชที่ขึ้นตามป่าชายเลน มีรากค้ำจุน ช่วยพยุงลำต้นไม้ให้ล้มเมื่อมีน้ำทะเลขึ้น-ลง รากบางส่วนโผล่ขึ้นมาจากดิน เพื่อหายใจขณะที่น้ำท่วมดิน
    โกงกาง

โครงสร้างและลักษณะของสัตว์ที่เหมาะสมกับแหล่งที่อยู่

เช่น

  1. ปลาตีน อาศัยอยู่บริเวณป่าชายเลน ปลาตีนมีครีบอกที่แข็งแรงจึงใช้เคลื่อนที่บนดินเลน และใช้ว่ายน้ำได้คล่องแคล่ว

    ปลาตีน
  2. ปลา อาศัยอยู่ในน้ำ มีครีบ ช่วยในการเคลื่อนที่ในน้ำ
  3. กบ มีพังผืดที่เท้าลักษณะคล้ายในพาย ช่วยในการเคลื่อนที่ในน้ำ
  4. หมีขั้วโลกหรือหมีขาว อาศัยอยู่ในบริเวณขั้วโลกเหนือที่มีอากาศเย็น จึงมีขนหนาฟู และมีไขมันสะสมใต้ผิวหนังมาก ทำให้ทนต่อสภาพอากาศหนาวเย็นได้ดี
  5. อูฐ อาศัยอยู่ในทะเลทราย มีขนตายาวป้องกันฝุ่นทรายเข้าตา มีโหนกสะสมไขมันไว้เป็นอาหาร มีขายาวและกีบเท้าแบนเหมาะสำหรับเดินบนทราย
  6. ไก่ มีส้นเท้ายกสูงกว่าปกติ นิ้วเท้าใหญ่ ทำให้คุ้ยเขี่ยอาหารได้ดี

นอกจากนี้ สิ่งมีชีวิตในแหล่งที่อยู่ต่าง ๆ ยังมีการปรับตัวให้คล้ายคลึงกับสิ่งมีชีวิตชนิดอื่น หรือปรับตัวให้คล้ายคลึงกับสิ่งแวดล้อม เพื่อหลีกเลี่ยงการโจมตีของศัตรู มี 2 ลักษณะ ดังนี้

  1. การพรางตัว ทำตัวให้กลมกลืนกับสิ่งแวดล้อม ยากต่อการมองเห็น เพื่อหลีกเลี่ยงการโจมตีของศัตรูหรือบางครั้งอาจเป็นการล่อให้เหยื่อตายใจ เช่น ตั๊กแตนใบไม้ปรับรูปร่างให้เหมือนใบไม้ การเปลี่ยนสีของจิ้งจก เป็นต้น

    การพลางตัวของตั๊กแตนใบไม้
  2. การเลียนแบบ เป็นการปรับเปลี่ยนรูปร่างและสีให้เหมือนกับสิ่งมีชีวิตชนิดอื่น โดยต้องมีตัวต้นแบบและตัวเลียนแบบ

    ผีเสื้อเลียนแบบนกฮูก  (ตัวแบบคือนกฮูก  ตัวเลียนแบบคือผีเสื้อ)

การพรางตัวแตกต่างจากการเลียนแบบ คือ การพรางตัวเป็นการปรับลักษณะภายนอกให้คล้ายคลึงกับสภาพแวดล้อม แต่การเลียนแบบเป็นการปรับลักษณะรูปร่างหรือสีสันไปเหมือนกับสัตว์อีกชนิดหนึ่ง (ตัวแบบ – ตัวที่ไปเลียนแบบ)

(ภาพประกอบจาก Google)