เนื้อหาของคอร์ส
เริ่มต้นก่อนเรียนรู้
รู้ความหมายของวิทยาศาสตร์
0/2
แบบทดสอบก่อนเรียน (Pre-test)
0/1
หน่วยที่ 1 เรียนรู้วิทยาศาสตร์
วิธีการทางวิทยาศาสตร์ ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ และจิตวิทยาศาสตร์
0/4
หน่วยที่ 3 วัสดุน่ารู้
1. การประกอบวัตถุชิ้นใหม่และการเปลี่ยนแปลงของวัสดุ 2. การเปลี่ยนแปลงของวัสดุ
0/3
หน่วยที่ 4 แรงและการเปลี่ยนแปลงการเคลื่อนที่ของวัตถุ
1. แรงกับการเคลื่อนที่ของวัตถุ 2. แรงแม่เหล็ก
0/3
แบบทดสอบหลังเรียน (Post-test)
0/1
วิชาวิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 (ว13101) ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2564
เกี่ยวกับบทเรียน

แรง หมายถึง สิ่งที่กระทำต่อวัตถุแล้วทำให้วัตถุเปลี่ยนแปลงสภาพไป แรงมีหน่วยเป็นนิวตัน ใช้สัญลักษณ์ N

แรงดึง คือ การออกแรงกระทำต่อวัตถุแล้วทำให้วัตถุเคลื่อนที่เข้าหาตัว เช่น การเล่นชักเย่อ การลากรถเข็น

แรงผลัก คือ การออกแรงกระทำต่อวัตถุแล้วทำให้วัตถุเคลื่อนที่ออกจากตัว เช่น การเล่นแบดมินตัน การเข็นรถ

  1. ผลของแรงที่กระทำต่อวัตถุ

วัตถุต่าง ๆ สามารถเปลี่ยนแปลงการเคลื่อนที่ได้ เมื่อมีแรงมากระทำต่อวัตถุ เช่น ออกแรงเตะลูกฟุตบอล จะทำให้ลูกฟุตบอลเคลื่อนที่ไปในทิศทางเดียวกับแรงที่มากระทำต่อลูกฟุตบอล

แรงที่ทำให้วัตถุเคลื่อนที่มีหลายลักษณะขึ้นอยู่กับแรงที่มากระทำต่อวัตถุ ดังนี้

  1. วัตถุเปลี่ยนทิศทาง เมื่อออกแรงกระทำต่อวัตถุที่กำลังเคลื่อนที่ในทิศทางอื่นที่ไม่ใช่ทิศทางการเคลื่อนที่เดิมของวัตถุ เช่น การเลี้ยงลูกฟุตบอลหลบคู่แข่ง
  2. วัตถุเคลื่อนที่เร็วขึ้น เมื่อออกแรงกระทำต่อวัตถุในทิศทางเดียวกับการเคลื่อนที่เดิมของวัตถุ เช่น การไกวชิงช้า
  3. วัตถุเคลื่อนที่ช้าลงหรือหยุดนิ่ง เมื่ออกแรงกระทำต่อวัตถุในทิศทางตรงข้ามกับการเคลื่อนที่ของวัตถุ เช่น การดึงเชือกลูกโป่งที่กำลังลอยขึ้น
  4. วัตถุที่หยุดนิ่งมีการเคลื่อนที่ เมื่อออกแรงกระทำต่อวัตถุที่หยุดนิ่ง จะทำให้วัตถุเกิดการเคลื่อนที่ เช่น การใช้นิ้วมือหมุนกังหันลม

  1. ผลของแรงสัมผัสและแรงไม่สัมผัส

วัตถุที่หยุดนิ่งจะเกิดการเคลื่อนที่ และวัตถุที่กำลังเคลื่อนที่จะเคลื่อนที่เร็วขึ้นหรือช้าลง หรือเปลี่ยนทิศทางการเคลื่อนที่ ล้วนเป็นผลมาจากแรงกระทำต่อวัตถุ ซึ่งแรงที่มากระทำต่อวัตถุอาจเป็นแรงสัมผัสหรือแรงไม่สัมผัส

2.1 แรงสัมผัส เป็นการออกแรงต่อวัตถุทั้ง 2 ชนิด ต้องสัมผัสกัน เช่น การผลักเปิดประตู การหยิบดินสอ การเล่นบาสเกตบอล

2.2 แรงไม่สัมผัส เป็นการออกแรงต่อวัตถุทั้ง 2 ชนิด ไม่ต้องสัมผัสกัน เช่น แรงระหว่างแม่เหล็ก แรงไฟฟ้าสถิต และแรงโน้มถ่วงของโลก

แรงระหว่างแม่เหล็ก เกิดจากแท่งแม่เหล็ก แบ่งเป็น 2 กรณี คือ

แรงไฟฟ้าสถิต เกิดจากประจุไฟฟ้า ซึ่งมี 2 ชนิด คือ ประจุบวก และประจุลบ สามารถเกิดทั้งแรงผลักและแรงดึงดูด  ดังนี้

แรงโน้มถ่วงของโลก เกิดจากโลกมีแรงดึงดูดวัตถุบนโลกและวัตถุที่อยู่ใกล้หรือโคจรรอบโลกให้เข้าสู่จุดศูนย์กลางของโลก