ทวีปอเมริกาเหนือ
ทวีปอเมริกาเหนือ เป็นดินแดนที่มีลักษณะภูมิประเทศ เป็นที่ราบกว้างใหญ่ เหมาะแก่การตั้งถิ่นฐาน การประกอบอาชีพ เป็นแหล่งที่มีความอุดมสมบูรณ์ด้วยทรัพยากรธรรมชาติ ประชากรส่วนใหญ่เป็นชาวผิวขาวที่มีการศึกษาดี ทำให้ทวีปอเมริกาเหนือได้รับการพัฒนา เจริญก้าวหน้าในด้านต่างๆอย่างรวดเร็ว
คริสโตเฟอร์ โคลัมบัส นักเดินเรือชาวอิตาเลียน เดินทางมาพบหมู่เกาะอินดีสตะวันตก ในปี พ.ศ. 2035 และเข้าใจว่าดินแดนที่ค้นพบนั้นเป็นส่วนหนึ่งของ ทวีปเอเชีย
ในปี พ.ศ 2042 อเมริโก เวสปุชขี ชาวอิตาเลียน ได้เดินทางสำรวจดินแดนที่ โคลัมบัสเคยสำรวจมาแล้ว และทราบว่าดินแดนที่พบนั้นเป็นทวีปใหม่ ไม่ใช่ส่วนหนึ่งของทวีปเอเชียตามที่โคลัมบัสเข้าใจ ดินแดนนี้ จึงได้ชื่อว่า อเมริกา (America) เพื่อเป็นเกียรติแก่ อเมริโก เวสปุชชี (Amerigo Vespucci)
ที่ตั้งและอาณาเขต
ทวีปอเมริกาเหนือ ตั้งอยู่ทางซีกโลกเหนือ ระหว่างละติจูดที่ 7 – 83 องศาเหนือ และลองจิจูดที่ 55 องศาตะวันตก – 172 องศาตะวันออก
-
- ทิศเหนือ ติดต่อกับมหาสมุทรอาร์กติก ทะเลโบฟอร์ต อ่าวแบฟฟิน อ่าวฮัดสัน ช่องแคบเดวิส ทะเลแลบราดอร์ เกาะขนาดใหญ่ได้แก่ เกาะกรีนแลนด์ เกาะแบฟฟิน เกาะวิกตอเรีย
-
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับมหาสมุทรแอตแลนติก เกาะสำคัญด้านนี้ ได้แก่ เกาะนิวฟันด์แลนด์ เกาะเบอร์มิวดา หมูเกาะบาฮามาส
-
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับมหาสมุทรแปซิฟิก ตอนเหนือมีช่องแคบเบริง กั้นระหว่างทวีปเอเชียและทวีปอเมริกาเหนือ น่านน้ำสำคัญได้แก่ อ่าวแคลิฟอร์เนีย อ่าวอะแลสกา เกาะใหญ่ได้แก่ เกาะแวนคูเวอร์ หมู่เกาะอาลิวเชียน หมู่เกาะควีนชาร์ล็อต
-
- ทิศใต้ ติดต่อกับทวีปอเมริกาใต้ น่านน้ำสำคัญคือมหาสมุทรแปซิฟิก ทะเลแคริบเบียน อ่าวเม็กซิโกในมหาสมุทรแอตแลนติก เกาะสำคัญคือ หมู่เกาะอินดิสตะวันตก หมู่เกาะคิวบา ฮิสแปนิโอลา จาเมกา เปอร์โตริโก
ทวีปอเมริกาเหนือ มีขนาดใหญ่เป็นที่ 3 รองจากทวีปเอเชีย และแอฟริกา รูปร่างคล้ายสามเหลี่ยม มีฐานทางด้านเหนือ ความกว้างของทวีปตั้งแต่ช่องแคบเบริง ถึงเกาะนิวฟันด์แลนด์ ส่วนที่แคบที่สุด คือคอคอดปานามา
ลักษณะภูมิประเทศ |
ลักษณะภูมิประเทศของทวีปอเมริกาเหนือลักษณะภูมิประเทศของทวีปอเมริกาเหนือ สามารถแบ่งได้เป็น 4 เขต คือ
-
- 1. เขตเทือกเขาสูงทางด้านตะวันตก ได้แก่บริเวณชายฝั่งมหาสมุทรแปซิฟิก ประกอบด้วยเทือกเขาสูงสลับซับซ้อนกันหลายแนว ซึ่งเกิดจากการโก่งตัวของหินเปลือกโลกที่มีอายุน้อยเป็นแนวต่อเนื่อง ตั้งแต่บริเวณช่องแคบเบริงลงมาจนถึง ประเทศปานามา และมีแนวต่อเนื่องไปจนถึงทวีปอเมริกาใต้ เทือกเขาสำคัญในเขตนี้ ได้แก่ เทือกเขาอะแลสกา มียอดเขาแมกคินเลย์ สูงที่สุดในทวีปอเมริกาเหนือ เทือกเขารอกกี เทือกเขาแคสเกด เทือกเขาเซียราเนวาดา เทือกเขาเซียรามาเดร เทือกเขาชายฝั่ง
-
- 2. เขตที่ราบภาคกลาง เป็นเขตที่ราบใหญ่มี 6 เขต ดังนี้
-
- 2.1 ที่ราบลุ่มแมกเคนซี เป็นที่ราบแคบๆ บริเวณลุ่มแม่น้ำ เขตหินเก่า อากาศหนาวเย็น มีประชากรอาศัยอยู่เบาบาง
-
-
-
- 2.2 ที่ราบแพรรีในแคนาดา บริเวณมณฑลมานิโตบา ซาสเคตเชวันและ แอลเบอร์ตา เป็นแหล่งปลูกข้าวสาลีที่สำคัญของโลก
-
-
-
- 2.3 ที่ราบลุ่มทะเลสาบทั้ง 5 และลุ่มแม่น้ำเซนต์ลอเรนซ์ ทะเลสาบทั้ง 5 ได้แก่ ทะเลสาบสุพีเรีย ซึ่งเป็นทะเลสาบน้ำจืดที่ใหญ่ที่สุดในโลก ทะเลสาบมิชิแกน ฮูรอน อีรี ออนตาริโอ เป็นพื้นที่ที่เหมาะแก่การเพาะปลูก มีการขนส่งทางน้ำที่สำคัญที่สุดในโลก มีประชากรหนาแน่น
-
-
-
- 2.4ที่ราบลุ่มแม่น้ำมิสซิสซิปปี และมิสซูรี เป็นที่ราบดินตะกอน มีประชากรอาศัยอยู่อย่างหนาแน่น แม่น้ำมิสซิสซิปปี เป็นแม่น้ำสายที่ยาวที่สุดของอเมริกาเหนือ มีสาขาสำคัญหลายสาย ได้แก่มิสซูรี โอไฮโอ เทนเนสซี อาร์คันซอส์
-
-
-
-
- 2.5ที่ราบชายฝั่งอ่าวเม็กซิโกและมหาสมุทรแอตแลนติก ได้แก่ บริเวณทางด้านตะวันออก ของเทือกเขาแอปปาเลเชียน ลงไปทางใต้จนถึงชายฝั่งอ่าวเม็กซิโก เหมาะแก่การปลูกพืชเมืองร้อน
-
- 2.6ที่ราบบนที่สูงได้แก่บริเวณด้านตะวันออกของเทือกเขารอกกี เป็นเขต เงาฝน ไม่เหมาะที่จะประกอบอาชีพเกษตรกรรมประเภทที่ใช้น้ำมาก แต่เหมาะอย่างยิ่งที่จะปลูกข้าวสาลี
3.เขตหินเก่าแคนาดา ได้แก่บริเวณรอบอ่าวฮัดสันลงมาจนถึงทะเลสาบทั้ง 5 ประกอบด้วยหินเปลือกโลกเก่าแก่ มีอากาศหนาวเย็น ประชากรอาศัยอยู่เบาบาง
-
-
- 4. เขตภูเขาด้านตะวันออก เป็นภูเขาหินเก่า คือเทือกเขาแอปปาเลเชียน มียอดเขาสูงสุด ชื่อ มิตเชล
ลักษณะภูมิอากาศ |
ลักษณะภูมิอากาศของทวีปอเมริกาเหนือ
ทวีปอเมริกาเหนือ มีลักษณะอากาศที่แตกต่างกัน เนื่องจากปัจจัยดังต่อไปนี้
-
- 1. ปัจจัยด้านที่ตั้ง อยู่ในเขตอากาศร้อนใกล้ศูนย์ศูตร จนถึงบริเวณใกล้ขั้วโลกเหนือ ทำให้มีลักษณะอากาศแทบทุกประเภท
- 2. ปัจจัยด้านลักษณะภูมิประเทศ มีแนวเทือกเขาสูงทางด้านตะวันตก ทอดตัวแนวเหนือใต้ เป็นกำแพงกั้นทางลมและความชื้นจากมหาสมุทรแปซิฟิก ทำให้ดินแดนด้านหลังของเทือกเขารอกกี (ด้านตะวันออกของเทือกเขา) มีอากาศค่อนข้างแห้งแล้ง เป็นทะเลทรายและทุ่งหญ้ากึ่งทะเลทราย
- 3. ปัจจัยด้านลมประจำ ลมประจำที่พัดผ่านทวีปอเมริกาเหนือแตกต่างกันตามช่วงละติจูดคือ ตั้งแต่ละติจูดที่ 40 องศาเหนือขึ้นไปทางทิศเหนือ จะได้รับลมประจำตะวันตกเฉียงใต้ ที่พัดมาจากมหาสมุทรแอตแลนติก ทำให้ฝนตกชุกบริเวณ ชายฝั่งตะวันตกของประเทศแคนาดา รัฐอะแลสกา ของสหรัฐอเมริกา สำหรับบริเวณ ใต้เส้นละติจูดที่ 40 องศาเหนือ จะได้รับลมตะวันออกเฉียงเหนือจากมหาสมุทรแอตแลนติก
- 4. ปัจจัยด้านกระแสน้ำ มีอิทธิพลต่อทวีปอเมริกาเหนือ ได้แก่
-
- 4.1 กระแสน้ำอุ่นกัลฟ์สตรีม ไหลเลียบชายฝั่งตะวันออกของสหรัฐอเมริกา จากทิศใต้ไปยังทิศตะวันออกเฉียงเหนือ
-
-
-
- 4.2 กระแสน้ำเย็นแลบราดอร์ ไหลเลียบชายฝั่งตะวันตกของเกาะกรีนแลนด์ มาพบกับกระแสน้ำอุ่นกัลฟ์สตรีม บริเวณนอกฝั่งตะวันออกของเกาะนิวฟันด์แลนด์
-
-
-
- 4.3 กระแสน้ำเย็นแคลิฟอร์เนีย ไหลเลียบชายฝั่งตะวันตกของสหรัฐอเมริกาลงมาจนถึงชายฝั่งมหาสมุทรแคลิฟอร์เนีย
-
-
-
- 4.4 กระแสน้ำอุ่นอะแลสกา ไหลเลียบชายฝั่งตะวันตกของรัฐอะแลสกา ขึ้นไปทางเหนือ จนถึงช่องแคบแบริง
- 5. ระยะห่างจากทะเล ตอนเหนือของทวีปมีพื้นที่กว้างขวางมาก ตอนในของทวีปได้รับอิทธิพลจากทะเลเพียงเล็กน้อย ทำให้ตอนกลางของสหรัฐอเมริกาและแคนาดามีอากาศแห้งแล้ง พืชพรรณธรรมชาติเป็นทุ่งหญ้า และทุ่งหญ้ากึ่งทะเลทราย
- 6. พายุเฮอริเคน เป็นพายุเมืองร้อน เกิดในทะเลแคริบเบียน เคลื่อนที่เข้าสู่เม็กซิโก และสหรัฐอเมริกา พายุทอร์นาโด เกิดในบริเวณที่ราบภาคกลางของสหรัฐอเมริกา มีกำลังแรงมาก มีลักษณะเป็นกรวยเมฆสีดำคล้ายงวง สร้างความเสียหายอย่างรุนแรงในบริเวณที่พัดผ่าน
-