เนื้อหาของคอร์ส
พระพุทธศาสนา
โบสถ์ พัทธสีมาโดยทั่วๆ ไป จะมีซุ้มครอบไว้ให้เห็นชัด แต่บางวัด ก็ทำสีมาติดไว้ที่ตัวผนังด้านนอกของโบสถ์ อย่างที่วัดมหาธาตุ กรุงเทพมหานคร เป็นต้น บางวัดก็ฝังพัทธสีมาลงไปที่พื้นดินแล้วไม่ได้สร้างซุ้มครอบ เพียงแต่ทำเครื่องหมายบอกไว้ เช่น ที่วัดเบญจมบพิตร เป็นต้น นอกจากสิ่งที่กล่าวแล้ว ก็มักจะมี พระเจดีย์ หรือ พระปรางค์ สำหรับบรรจุพระบรมธาตุ หรือพระธาตุอย่างอื่นๆ ถ้าเป็นเจดีย์ ก็จะมีลักษณะเป็นสถูป ที่มียอดแหลม อย่างเจดีย์ที่วัดโพธิ์ ถ้าเป็นปรางค์ ก็จะเป็นสถูปที่มียอดสูงขึ้นไป ปลายยอดมน รูปคล้ายต้นกระบองเพชร มีฝักเพกาแยกเป็นกิ่งๆ อยู่ข้างบน อย่างพระปรางค์วัดอรุณราชวราราม เป็นต้น บางวัดก็อาจมี ศาลาการเปรียญ สำหรับเป็นที่ประกอบการกุศลอื่นๆ และเป็นที่สำหรับพระสงฆ์มาเทศนาสั่งสอนประชาชน ตามวาระที่จะกำหนดขึ้น อาจเป็นประจำ หรือชั่วคราวก็ได้ ตามปกติมักจะเป็นในวันพระ บางวัดอาจมี หอระฆัง และ โรงเรียนพระปริยัติธรรม สำหรับเป็นที่ที่ภิกษุสามเณรจะศึกษาธรรมวินัยด้วย แต่ทั้งนี้ก็มิได้ถือว่าจำเป็นจะต้องมี ที่นับว่าจำเป็นจริงๆ ก็คือ กุฏิ กับโบสถ์ การที่จะได้ชื่อว่าเป็นวัดที่สมบูรณ์ได้นั้น มิใช่เพียงมีกุฏิ โบสถ์ วิหาร และศาลาการเปรียญเท่านั้น เพราะถ้ามีเพียงแค่นั้น ก็จะไม่มีความหมายอะไร ดังนั้นจึงจำเป็นต้องมีองค์ประกอบทางด้านบุคคลด้วย นั่นคือจะต้องมีภิกษุ สามเณร ซึ่งเป็นองค์ประกอบที่สำคัญซึ่งจะขาดเสียมิได้ พัดยศพระราชาคณะ และพระครูสัญญาบัตร พัดยศพระราชาคณะ และพระครูสัญญาบัตร ภิกษุ หมายถึง กุลบุตรที่มีอายุครบ ๒๐ ปีบริบูรณ์แล้ว หวังจะเข้ามาประพฤติปฏิบัติ ตามธรรมวินัยของพระพุทธศาสนา และเข้าไปขอบวชกับคณะสงฆ์ และปฏิญาณว่าจะ ประพฤติปฏิบัติตามศีล ๒๒๗ ข้อที่มีมาในพระปาติโมกข์ ในประเทศไทยเราถือเป็นประเพณีว่า ผู้ชายไทยทุกคนที่มีอายุครบ ๒๐ ปีแล้ว ควรจะเข้าไปบวชเป็นภิกษุ เพื่อศึกษาธรรมวินัยอย่างน้อยก็ ๓ เดือนในฤดูฝน ซึ่งเราเรียกว่า "พรรษา" เมื่อเข้าไปบวชแล้ว อาจบวชอยู่นานแค่ไหนเพียงใดก็ได้ แล้วแต่ศรัทธาและความจำเป็น แต่ถ้าหากผู้ใดมีอายุ ยังไม่ครบ ๒๐ ปี แต่ประสงค์จะเข้าไปบวช ก็อาจบวชเป็น สามเณร ได้ สามเณรไม่ต้อง ถือศีลมากอย่างพระ เพียงรับไตรสรณาคมน์ และศีล ๑๐ เท่านั้น นอกจากภิกษุและ สามเณรแล้วก็จะต้องมี ศิษย์วัด ซึ่งเป็นเด็กผู้ชาย ซึ่งตามปกติเข้ามาศึกษาเล่าเรียนวิชาการ ทางโลก และมาอาศัยอยู่กับพระหรือสามเณรที่วัด สถิติ พ.ศ. ๒๕๑๘ ปรากฏว่ามีภิกษุทั้ง ประเทศรวม ๒๑๓,๑๗๒ รูป สามเณร ๑๒๑,๗๐๘ รูป และศิษย์วัดรวม ๑๑๘,๑๖๙ คน นอกจากนั้น ในบางวัดอาจมีสำนักชี คือ ผู้หญิงที่นุ่งขาวห่มขาวสมาทานศีล ๕ และศีล ๘ อยู่เป็นเอกเทศหนึ่งอีกด้วย สถิติ พ.ศ. ๒๕๑๘ มีวัดอยู่ ๒๖,๔๖๓ วัด และมีชี ๑๐,๔๔๗ คน การบริหารกิจการพระพุทธศาสนา เมื่อว่าโดยตำแหน่ง มีดังนี้ ๑. สมเด็จพระสังฆราช ๑ พระองค์ ๒. สมเด็จพระราชาคณะ ๖ รูป ๓. พระราชาคณะเจ้าคณะรอง ๗ รูป ๔. พระราชาคณะเทียบเจ้าคณะรอง ๒ รูป ๕. พระราชาคณะชั้นธรรม ๒๕ รูป ๖. พระราชาคณะชั้นเทพ ๔๕ รูป ๗. พระราชาคณะชั้นราช ๑๐๘ รูป ๘. พระราชาคณะชั้นสามัญ ๓๒๔ รูป ๙. พระครูสัญญาบัตร ๓,๐๐๒ รูป ๑๐. เจ้าอาวาส ๒๖,๔๖๓ รูป ๑๑. ครูสอนพระปริยัติธรรม ๒๐,๐๘๙ รูป สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราชสกลมหาสังฆปรินายก (วาสนมหาเถระ) สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราชสกลมหาสังฆปรินายก (วาสนมหาเถระ) การศึกษาของคณะสงฆ์ก็มีการศึกษา แผนกนักธรรม หลักสูตร ๓ ปี แผนกบาลี หลักสูตร ๙ ปี ผู้ที่สอบบาลีตั้งแต่ประโยค ๓ ขึ้นไป เรียกว่า เป็นเปรียญหรือ "มหา" การศึกษาแบบมหาวิทยาลัย หลักสูตร ๘ ปี เวลานี้คณะสงฆ์มีสถาบันการศึกษา ในระดับมหาวิทยาลัยอยู่ ๒ แห่ง คือ ที่สภาการศึกษามหามกุฎราชวิทยาลัย วัดบวรนิเวศแห่งหนึ่งกับที่มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วัดมหาธาตุอีกแห่งหนึ่ง ผู้เรียนจบชั้นอุดมศึกษาที่ สภาการศึกษามหามกุฎราชวิทยาลัยชื่อว่าเป็น ศาสนศาสตร์บัณฑิต ผู้ที่เรียนจบชั้นอุดมศึกษาที่มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เรียกว่า พุทธศาสตร์บัณฑิต ในปัจจุบันมีโรงเรียน พระปริยัติธรรม ๕,๙๘๕ โรง โรงเรียนที่อาศัยวัด ๙,๑๗๑ โรง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงจุดเครื่องนมัสการในพิธีกงเต็ก พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงจุดเครื่องนมัสการในพิธีกงเต็ก นอกจากคณะสงฆ์ไทยซึ่งเป็นฝ่ายเถรวาท หรือ หีนยาน แล้ว ก็มีคณะสงฆ์จีน และคณะสงฆ์ญวน ในฝ่ายมหายานอีกด้วย คณะสงฆ์จีนนิกาย ใน พ.ศ. ๒๕๑๘ มีภิกษุ ๙๔ รูป สามเณร ๒๕ รูป ศิษย์และผู้อาศัยอยู่ในวัดรวม ๘๔ คน มีวัดอยู่ ๙ วัด สำนักสงฆ์ ๙ แห่ง และโรงเจ ๑๔๕ โรง ส่วนคณะสงฆ์ญวน หรืออนัมนิกาย ใน พ.ศ. ๒๕๑๘ มีพระภิกษุ ๑๒๘ รูป สามเณร ๑๑ รูป ศิษย์และผู้อาศัย ๙๖ รูป มีวัดอยู่ ๑๓ วัด ทั้งคณะสงฆ์จีนนิกาย และอนัมนิกาย ต่างก็มีเจ้าคณะใหญ่ของตนเป็นผู้ปกครอง ระเบียบวิธีการบวช ผู้ที่ปรารถนาจะอุปสมบทเป็นภิกษุในพระพุทธศาสนาจะต้อง เป็นชาย มีอายุครบ ๒๐ ปีบริบูรณ์แล้ว และมีสติสมบูรณ์ ไม่เป็นโรค ที่สังคมรังเกียจ เช่น โรคเรื้อน โรคลมบ้าหมู เป็นต้น ทั้งจะต้องได้รับอนุญาตจากบิดามารดาก่อน ถ้าเป็นข้าราชการ ก็จะต้องได้รับอนุญาตเป็นทางการก่อน แล้วจึงเข้าไปหาพระอุปัชาฌาย์ เพื่อขอบวช ทั้งนี้ เพื่อจะได้กำหนดวันที่จะสะดวกด้วยกันทั้งสองฝ่าย ในการบวชนี้จะต้องได้ รับความเห็นชอบเป็นเอกฉันท์จากคณะสงฆ์เสียก่อน เพราะฉะนั้นในการบวชเป็น ภิกษุ จะต้องมีคณะสงฆ์อย่างน้อย ๑๐ รูป ร่วมในสังฆกรรมนั้น นอกจากในที่ทุรกันดาร หาภิกษุสงฆ์ได้ยากจริงๆ ก็อาจใช้คณะสงฆ์เพียง ๕ รูป ได้ สิ่งที่จำเป็นในการบวชพระก็คือ จะต้องมีบาตร และไตรจีวร พร้อมทั้งบริขารที่จำเป็นอื่นๆ คือ ประคตเอว มีด เข็ม และที่กรองน้ำ ในบริขาร ๘ อย่างซึ่งเรียกว่า อัฐบริขารนี้ จะขาดอย่างใดอย่างหนึ่งไม่ได้ การบวชก็ต้องบวชในโบสถ์ และคณะสงฆ์ในที่ประชุมนั้นจะต้องเห็นชอบด้วยเป็นเอกฉันท์ ถ้าหากมีภิกษุในที่นั้นแม้เพียงรูปเดียวคัดค้าน การบวชนั้นก็ใช้ไม่ได้ ส่วนการบรรพชา หรือบวชเป็นสามเณรนั้น แม้อายุไม่ครบ ๒๐ ปี ก็บวชได้ตามปกติจะต้องอ่านออกเขียน ได้เสียก่อน ดังที่ได้กล่าวมาแล้ว ภิกษุสามเณรออกบิณฑบาต ภิกษุสามเณรออกบิณฑบาต เมื่อได้อุปสมบทเป็นภิกษุแล้วก็จะต้องดำรงชีวิตแบบพระ จะดำเนินชีวิตอย่างฆราวาสหาได้ไม่ หน้าที่ของพระก็คือจะต้องออกบิณฑบาตในตอนเช้า ซึ่งเราเรียกว่าออกโปรดสัตว์ ต้องทำตนให้เป็นคนเลี้ยงง่าย ได้อย่างใดต้องฉันอย่างนั้น เมื่อบวชแล้วต้องศึกษาเล่าเรียนพระธรรมวินัยจึงจะเรียกว่า "บวชเรียน" ไม่ใช่ถือเอาการบวชเป็นการเข้าไปพักผ่อน นอกจากนี้ กิจวัตรประจำวันอีกอย่างหนึ่งก็คือ ลงโบสถ์ ทำวัตรเช้า ทำวัตรเย็น เพื่อเป็นการแสดงความสามัคคีทางกาย ทางวาจา และทางใจ และเพื่อทบทวนคำสอนของพระพุทธเจ้าที่ท่องแล้วให้แม่นยำยิ่งขึ้น เมื่ออยู่จำพรรษาครบ ๓ เดือนในฤดูฝนแล้ว ก็จะทำพิธีออกพรรษา ซึ่งเรียกว่า "ปวารณา" ในการปวารณานั้น ภิกษุทุกรูปตั้งแต่เจ้าอาวาสลงมา จนถึงพระลูกวัด จะต้องกล่าวเปิดโอกาสให้ภิกษุรูปอื่นๆ ว่ากล่าวแนะนำตักเตือนได้ ถ้าหากการประพฤติของตนเป็นที่รังเกียจของผู้อื่น และเมื่อปวารณาเสร็จแล้ว ต่อไปก็ถึงเทศกาลทอดกฐิน ภิกษุที่อยู่จำพรรษาครบ ๓ เดือนเท่านั้น จึงจะมีสิทธิรับกฐิน และได้อานิสงส์กฐิน การทอดกฐิน คือ การถวายผ้าไตรจีวรและเครื่องบริขารแก่พระสงฆ์หลังจากเข้า พรรษาแล้ว สำหรับวัดหลวง ก็เป็นกฐินหลวง ซึ่งพระเจ้าแผ่นดินอาจเสด็จไปทรงทอด เอง หรือทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระบรมวงศานุวงศ์หรือส่วนราชการไปทอดแทน พระองค์ก็ได้ ส่วนวัดราษฎร์ ประชาชนอาจทอดเอง เป็นการเฉพาะรายๆ ไป หรือจะรวม กันทอดเป็นกฐินสามัคคีก็ได้ สำหรับกฐินราษฎร์ มักจะมีการทอดผ้าป่าควบคู่ไปด้วย
0/6
ทวีปอเมริกาและภัยพิบัติ
ทวีปอเมริกาใต้เป็นพื้นที่ที่ได้รับภัยพิบัติจากธรรมชาติบ่อยครั้ง จากแผ่นดินไหว อุทกภัย และภูเขาไฟปะทุ นอกจากนี้ยังมีปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมจากการกระทำของมนุษย์เช่นเดียวกัน
0/4
วิชาสังคมศึกษา ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 (ส23101) ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564
เกี่ยวกับบทเรียน

พุทธศาสนพิธี

ความสำคัญของศาสนพิธี

การกระทำบุญกุศลในทางพระพุทธศาสนาของเรานั้นมีมากมายหลายอย่างต่างกันไป ตามแต่ละวิธีการที่จะเกิดขึ้นนั้น ๆ และแต่ละอย่างล้วนเป็นเอกลักษณ์ที่สำคัญ แสดงให้เห็นถึงความเจริญรุ่งเรืองของประเพณีและวัฒนธรรมประจำชาติ – ศาสนา – องค์พระมหากษัตริย์ และประจำจิตใจของพุทธศาสนิกชนคนไทยของเรามาเป็นเวลานับเป็นพัน ๆ ร้อย ๆ ปีผ่านมา และจะมีความเจริญรุ่งเรืองสืบต่อไปตลอดกาลนาน

เมื่อกล่าวโดยจำเพาะเจาะจงแล้ว มูลเหตุแห่งการทำบุญมี ๓ ประการด้วยกัน คือ

๑. บุญในวันสำคัญของชาติ ศาสนา องค์พระมหากษัตริย์
๒. บุญประจำประเพณีในเทศกาลต่าง  ๆ เช่น ตรุษสงกรานต์ สารท เข้าพรรษา ออกพรรษาเป็นต้น
๓. บุญที่มีความเกี่ยวข้องเฉพาะตัวบุคคล

บุญตามข้อ ๑ – ๒ นั้น เป็นหน้าที่ของคนไทยชาวพุทธทั้งหลายจะพึงกระทำบำเพ็ญเป็นสามัคคีธรรมร่วมกันตามแต่ละสถานที่ และท้องถิ่นนั้น ๆ

ส่วนบุญตามข้อ ๓  นั้น  เป็นหน้าที่ของผู้เป็นเจ้าภาพ  และญาติมิตรจะพึงกระทำกันเป็นการเฉพาะ และยังแบ่งบุญนี้ออกเป็น  ๒  ประเภทด้วยกัน  ดังนี้  คือ
๑. บุญในพิธีกรรมมงคลต่างๆ  เช่น  ทำบุญอายุ  บวชนาค  โกนจุก  แต่งงาน  ขึ้นบ้านใหม่  เป็นต้น  หรือที่เรียกว่าบุญที่ปรารภเหตุที่เป็นมงคล  นั่นเอง
๒. บุญอวมงคล  ในพิธีทักษิณานุปทาน  อุทิศส่วนกุศลให่ท่านผู้ล่วงลับดับขันธ์ไปแล้ว  นับตั้งแต่ทำบุญอุทิศหน้าศพ  ๗  วัน  ๕๐  วัน  ๑๐๐  วัน  และครบรอบปี  เป็นต้น  หรือที่เรียกว่า  บุญปรารภ -เหตุอวมงคล  นั่นเอง

งานบุญทั้งหมดนี้  ล้วนมีศาสนพิธี  คือการกระทำตามหลักเกณฑ์ของศาสนาที่วางไว้นั้นเหมือนกันหมด ซึ่งนอกเหนือไปจากผู้เป็นเจ้าภาพ  จะดำเนินการกำหนดวัน – เวลา  ทำบุญนิมนต์พระ  เชิญญาติมิตร  หรือแขกเหรื่อ  จัดสถานที่  และการตระเตรียมสิ่งของ  และเครื่องใช้ต่างๆไว้ก่อนงานอย่างพร้อมเพรียงแล้ว  ศาสนพิธี  ได้แก่  การกล่าวคำบูชาพระและอาราธนาศีลเป็นต้น  จนกว่าพิธีการจะเสร็จเรียบร้อยนั้น  นับเป็นพิธีการระดับหัวใจของงานทีเดียวที่จะต้องทำให้ถูกต้อง  เพื่อให้สำเร็จประโยชน์ต่างๆ  ดังนี้  คือ
๑. ได้บุญกุศลอย่างถูกต้อง  และครบถ้วนตามพิธีการที่ต้องการเจ้าภาพ
๒. ชื่อว่ายกย่องเชิดชูพิธีการทำบุญนี้ให้มีความเจริญรุ่งเรืองในทางที่ถูกต้องตามประเพณี วัฒนธรรมต่อไป
๓. เป็นเกียรติคุณแก่ผู้เป็นเจ้าภาพ  และผู้ร่วมกุศลทั้งหลายให้เกิดเพิ่มพูนกุศล  จิตศรัทธามากยิ่งๆ  ขึ้นไป

ดังนั้น  จึงใคร่เชิญผู้เป็นเจ้าภาพดำเนินการตามหลักศาสนพิธีอย่างถูกต้องตามลำดับดังต่อไปนี้

เหตุเกิดศาสนพิธี

ระเบียบวิธีการปฏิบัติของชาวพุทธเพื่อเข้าถึงพระรัตนตรัยเรียกว่า  ศาสนพิธี  ซึ่งหมายถึง  แบบอย่างหรือแบบแผนต่างๆ  เป็นสื่อในการทำความดีในพระพุทธศาสนา กล่าวอีกนัยหนึ่งคือ  การทำกิจกรรมเพื่อเข้าถึง   พระรัตนตรัยนั่นเอง  ดังนั้น  ศาสนพิธีจึงมีความสำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าส่วนอื่นๆ  เลย

เหตุเกิดศาสนพิธี  จัดว่าเป็นสื่อกลางที่นำคนเข้าถึงสาระ  หรือแก่นพระศาสนาโดยการเข้าถึงสาระแก่นแท้ของพระพุทธศาสนานั้นสามารถเข้าถึงทั้งด้วยการทำบุญให้ทาน  การรักษาศีล  และการเจริญ  ภาวนาตามลำดับ  และที่สำคัญคือ  การปฏิบัติตามหลักการของพระพุทธศาสนาที่พระพุทธเจ้าได้ตรัสไว้อันเรียกว่า  “โอวาทปาติโมกข์”  พระโอวาทที่เป็นหลักของพระพุทธศาสนา

ในโอวาทปาติโมกข์นั้นมีหลักการสำคัญที่ทรงวางไว้เป็นหลักทั่วๆไป  ๓  ประการ  คือ
๑. สอนไม่ให้ทำความชั่วทั้งปวง  (ละเว้นชั่ว)
๒. สอนให้อบรมกุศลให้ถึงพร้อม  (ประกอบควมดี)
๓. สอนให้ทำจิตใจของตนให้ผ่องใส  (ทำจิตผ่องใส)

การพยายามทำตามคำสอนในหลักการนี้เป็นการพยายามทำความดีที่เรียกว่า  ทำบุญ  และการทำบุญนี้  พระพุทธเจ้าทรงแสดงวัตถุคือที่ตั้งแห่งการทำบุญไว้โดยย่อ  เรียกว่า  “บุญกิริยาวัตถุ”  มี  ๓  ประการ  คือ
๑. ทาน      การบริจาคสิ่งของตนให้เป็นประโยชน์แก่ผู้อื่น
๒. ศีล        การรักษากายวาจาให้สงบเรียบร้อย  ไม่ล่วงบัญญัติที่ทรงห้าม
๓. ภาวนา   การอบรมจิตใจให้ผ่องใสในการกุศล

บุญกิริยาวัตถุนี้  เป็นแนวทางให้พุทธบริษัทประพฤติตามหลักการที่กล่าวข้างต้นและเป็นเหตุให้เกิด   ศาสนพิธีต่างๆขึ้น  โดยนิยม

ประโยชน์ของศาสนพิธี

๑. เป็นวิธีการดึงคนเข้าสู่หลักธรรมทางพระศาสนา
๒. เป็นรูปแบบวิธีการที่มีแบบแผน  งดงาม  สอดคล้องกับวัฒนธรรมไทย
๓. เป็นกระบวนการที่ทำให้คนในสังคมมีความรักสามัคคีปราถนาดีต่อกัน
๔. ผู้ที่ศึกษาศาสนพิธีดีแล้ว  ย่อมเป็นผู้ฉลาดในพีธีกรรมที่ต้องปฏิบัติในการบำเพ็ญกุศล
๕. สามารถจรรโลงให้พระพุทธศาสนามีความเจริญยั่งยืนสืบไป

ไฟล์ตัวอย่าง
พระพุทธศาสนา เรื่อง การปฏิบัติตนในศาสนพิธี.pdf
ขนาด: 302.78 KB