วิชา สังคมศึกษาศาสนาและวัฒนธรรม ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 (ส11101) ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา2564
เกี่ยวกับบทเรียน

ผังมโนทัศน์สาระการเรียนรู้ เรื่อง การปฏิบัติตนเป็นชาวพุทธที่ดี

1. หน้าที่ชาวพุทธ      

บำเพ็ญประโยชน์และการบำรุงรักษาวัด ปฏิบัติดังนี้

– รักษาความสะอาด

– ดูแลทรัพย์สินในวัด

– รักษาวัดให้เป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์

– บริจาคทรัพย์สิน

– ร่วมกิจกรรมทางพระพุทธศาสนา

ปฏิบัติตนที่เหมาะสมต่อเพื่อนตามหลักพระพุทธศาสนา 

เราต้องเกี่ยวข้องสัมพันธ์กัน จึงต้องพิจารณาการคบเพื่อน พระพุทธศาสนาได้ระบุลักษณะของเพื่อนที่จะเป็นเพื่อนแท้และเพื่อนเทียม ดังนี้

– เพื่อนแท้ เป็นมิตรที่มีน้ำใจ

– เพื่อนเทียม เป็นเพื่อนที่เหมือนศัตรูแฝงมาในร่างมิตร จึงควรหลีกเลี่ยง ไม่คบหาสมาคม 

การปฏิบัติตนที่เหมาะสมต่อศาสนิกชนของศาสนาต่าง ๆ

ศาสนาอิสลาม

– เรียกศาสนิกชนว่า อิสลามิกชน หรือ มุสลิม

– ผู้ทำหน้าที่เหมือนนักบวชเรียกว่า อิหม่าม

คริสต์ศาสนา

– เรียกศาสนิกชนว่า คริสต์ศาสนิกชน หรือคริสตัง และคริสเตียน

– นักบวชคริสต์ศาสนานิกายโรมันคาทอลิกเรียกว่า บาทหลวง

ศาสนาพราหมณ์–ฮินดู

– เรียกศาสนิกชนว่า พราหมณ์

เพื่อจะอยู่ร่วมกันในสังคมกับศาสนิกชนศาสนาอื่นอย่างสันติสุข ปฏิบัติดังนี้

– ให้เกียรติและเคารพกัน

– สุภาพ

– รู้จักกาลเทศะ

– เข้าใจกัน

บุคคลที่เป็นแบบอย่างในการปฏิบัติตนด้านนี้   เช่น

– พระธรรมโกศาจารย์ องค์การศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ หรือยูเนสโก ยกย่องให้เป็น

บุคคลสำคัญของโลกด้านส่งเสริมขันติธรรม สันติธรรม วัฒนธรรม ความสัมพันธ์และความเข้าใจอันดีของมวลมนุษย์

2. มารยาทชาวพุทธ  ได้แก่

การเรียนรู้วิถีชีวิตของพระสงฆ์ มี 2 ประเภท คือ

– อริยสงฆ์ คือ พระภิกษุที่บรรลุธรรมเป็นพระอริยบุคคล

– สมมติสงฆ์ คือ พระภิกษุที่บวชถูกต้องตามพระธรรมวินัย 

 มารยาทชาวพุทธ

การเรียนรู้บทบาทของพระสงฆ์ในการเผยแผ่พระพุทธศาสนา

– การแสดงธรรม

– การปาฐกถาธรรม

– การปฏิบัติเป็นแบบอย่าง

เพื่อให้ชาวบ้านเกิดประโยชน์  6 ประการ   ได้แก่

– ให้เห็นโทษความชั่ว

– ให้เห็นคุณความดี

– ไม่หวังผลตอบแทน

– ให้ได้ยินได้ฟังเรื่องที่ศึกษามา

– อธิบายให้กระจ่าง

– แนะนำให้ดำเนินชีวิตดีและเกิดประโยชน์

การปฏิบัติตนที่เหมาะสม  ได้แก่

– การเข้าพบพระสงฆ์ 

ขณะสนทนากับพระ 

– การแสดงความเคารพ 

การไหว้พระสงฆ์

– มารยาทในการฟัง 

มารยาทในการฟัง 

3. ศาสนพิธี เป็นพิธีกรรมทางศาสนา ที่แสดงวัฒนธรรมและขนบธรรมเนียมประเพณีของชาติ ซึ่งประกอบด้วย

– การจัดโต๊ะหมู่บูชาและเครื่องประกอบโต๊ะหมู่บูชา  

โต๊ะหมู่บูชา

– การจุดธูปเทียน   

การจุดธูปเทียน

– การอาราธนาต่าง ๆ  

การอาราธนาศิล

4. วันสำคัญทางพระพุทธศาสนา  

ประวัติและความสำคัญของวันธรรมสวนะและเทศกาลสำคัญ

– วันธรรมสวนะ หรือ วันพระ  หนึ่งเดือนมี 4 วัน คือ วันขึ้น 8 ค่ำ วันขึ้น 15 ค่ำ วันแรม 8 ค่ำ และวันแรม 15 ค่ำ เป็นวันที่ชาวพุทธทำความดี ละเว้นความชั่ว และทำจิตใจให้บริสุทธิ์

 

– วันเข้าพรรษา เป็นวันที่พระสงฆ์ประจำที่ใดที่หนึ่ง 3 เดือน   

 วันเข้าพรรษา 

– วันออกพรรษา พระสงฆ์ที่จำพรรษาครบ 3 เดือน จะทำพิธีออกพรรษา

 วันออกพรรษา

– วันเทโวโรหนะ เป็นการตักบาตรใหญ่    

การตักเทโว

ประวัติและการปฏิบัติตนในวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา

วันมาฆบูชา  คล้ายวันที่พระพุทธเจ้าแสดงโอวาทปาฏิโมกข์ เป็นการประชุมครั้งแรก มีองค์ประกอบ ๔ ประการ เรียกว่า จาตุรงคสันนิบาต คือ

– เป็นวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 3

– พระสงฆ์สาวก 1,250 รูปประชุมโดยมิได้นัดหมาย

– พระสงฆ์ที่ประชุมล้วนเป็นพระอรหันต์

– พระสงฆ์ที่ประชุมได้รับการอุปสมบทจากพระพุทธเจ้า

วันวิสาขบูชา  เป็นวันคล้ายวันประสูติ ก่อนพุทธศักราช 80 ปี วันตรัสรู้ ก่อนพุทธศักราช 45 ปี แล้ววันปรินิพพาน ก่อนพุทธศักราช 1 ปี ซึ่งเหตุการณ์ทั้งสามเกิดวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 ซึ่งเป็นเรื่องมหัศจรรย์ จึงเรียกว่า วันพระพุทธเจ้า

วันวิสาขบูชา

วันอัฏฐมีบูชา  เป็นวันคล้ายวันถวายพระเพลิงสรีระพระพุทธเจ้า

วันอาสาฬหบูชา มีเหตุการณ์สำคัญ ได้แก่

– เป็นวันคล้ายวันที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงปฐมเทศนา

– มีพระสงฆ์องค์แรก

– มีพระรัตนตรัยครบ องค์ 3   

พระพุทธเจ้าทรงแสดงธรรมโปรดปัญจวัคคีย์

การปฏิบัติตนในวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา ชาวพุทธปฏิบัติดังนี้

– ทำบุญ ตักบาตร กรวดน้ำ

– ฟังธรรม

– รักษาศีล ฝึกสมาธิ ทำจิตใจให้บริสุทธิ์

– งดใช้แรงงาน

– ช่วยเพื่อนมนุษย์ และสัตว์

– แผ่เมตตา

– เวียนเทียน

ระเบียบพิธีเวียนเทียนในวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา ปฏิบัติดังนี้

– เตรียมดอกไม้ ธูป เทียน

– ทางวัดจะตีระฆังเมื่อถึงเวลา

– ตั้งแถวเตรียม เวียนเทียน

– หันหน้าเข้าพระอุโบสถ

– แถวเวียนไปทางขวาของสถานที่

– สำรวม ครบ 3 รอบ นำดอกไม้ ธูป เทียน ไปปักที่ทางวัดเตรียมไว้

– ประชุมพร้อมกันหน้าอุโบสถ

– ทำวัตรสวดมนต์ค่ำ รับศีล 5 ฟังธรรม

– กราบพระรัตนตรัย  

5. การบริหารจิตและการเจริญปัญญา ทำให้จิตใจบริสุทธิ์ผ่องใส มีความรู้เข้าใจสิ่งต่างๆ ตามจริง มีหลายวิธี แต่วิธีที่นิยม คือ

การบริหารจิตและการเจริญปัญญาตามหลักสติปัฏฐานเน้นอานาปานสติ        

สติปัฏฐาน มี 4 ประการ คือ

– การตั้งสติกำหนดพิจารณากาย

– การตั้งสติกำหนดพิจารณาเวทนา

– การตั้งสติกำหนดพิจารณาจิต

– การตั้งสติกำหนดพิจารณาธรรม

อานาปานสติ  นิยม 3 วิธี คือ

– วิธีนับ

– วิธีบริกรรมแบบพุทโธ

– วิธีบริกรรมแบบพองหนอ–ยุบหนอ 

 อานาปานสติ 

การบริหารจิตตามหลักสติปัฏฐานเน้นอานาปานสติ

วิธีปฏิบัติการบริหารจิต มีดังนี้

– เลือกสถานที่

– กำหนดเวลา

– สมาทานศีล

– บูชาพระรัตนตรัย

– แผ่เมตตา

– ตัดความกังวล

– ฝึกปฏิบัติ

ขั้นฝึกปฏิบัติของการเจริญปัญญา เมื่อจิตฝึกฝนจนสงบและมีประสิทธิภาพ ปัญญาก็จะเกิด ซึ่งการเจริญหรือฝึกฝนอบรมตนให้เกิดปัญญามีหลายวิธีตามประเภทปัญญา ได้แก่

– สุตมยปัญญา

– จินตามยปัญญา

– ภาวนามยปัญญา  

ขั้นฝึกปฏิบัติของการเจริญปัญญา  

ประโยชน์ของการบริหารจิตและการเจริญปัญญา

– ด้านการดำรงชีวิตประจำวัน ได้แก่ จิตใจสบาย สุขภาพดี

– ด้านการพัฒนาบุคลิกภาพ ได้แก่ สงบ กระฉับกระเฉง

– ด้านที่เป็นเป้าหมายสูงสุด ได้แก่ เข้าถึงนิพพาน

การพัฒนาการเรียนรู้ด้วยวิธีคิดแบบโยนิโสมนสิการ การคิดพิจารณาเป็นระบบ ละเอียด รอบคอบ รอบด้าน และถูกต้อง เช่น

– วิธีคิดแบบคุณค่าแท้–คุณค่าเทียม เป็นวิธีคิดแบบบรรเทาตัณหา

– วิธีคิดแบบคุณ–โทษและทางออก เป็นการคิดข้อดี ข้อเสีย และทางแก้  

แหล่งที่มา :  สำนักพิมพ์วัฒนาพานิช www.wpp.co.th