เนื้อหาของคอร์ส
บทที่ 9 การวัดความยาว
เครื่องวัดความยาวที่เป็นมาตรฐานจะบอกรายละเอียดและระยะทางของความยาวที่แน่นอน วัดได้ตรงกับความจริง หน่วยการวัดเป็นคำที่บอกให้ทราบว่าสิ่งที่วัดความยาวนั้นมีความยาวกี่หน่วย การเปรียบเทียบความยาวของสิ่งของตั้งแต่ 2 สิ่งขึ้นไปวัดสิ่งของแต่ละอย่างและนำมาเปรียบเทียบกัน การคาดคะเนความยาวเป็นการใช้สายตากะความยาว การแก้โจทย์ปัญหาการบวกหรือการลบต้องคำนวณจากหน่วยย่อยไปหาหน่วยใหญ่ สาระการเรียนรู้ ความรู้ 1. การวัดความยาวเป็นเซนติเมตรและมิลลิเมตร เมตรและเซนติเมตร กิโลเมตรและเมตร 2. การเลือกเครื่องวัดความยาวที่เหมาะสม 3. การคาดคะเนความยาวเป็นเมตรและเป็นเซนติเมตร 4. ควมสัมพันธ์ระหว่างหน่วยวัดความยาว 5. การเปรียบเทียบความยาว 6. การบวกและการลบเกี่ยวกับความยาว 7. การบวกและการลบเกี่ยวกับความยาว 8. โจทย์ปัญหาเกี่ยวกับความยาว
0/2
บทที่ 10 การวัดน้ำหนัก
การวัดน้ำหนักโดยใช้หน่วยมาตรฐานจะบอกน้ำหนักเป็นขีด กรัม กิโลกรัม ซึ่งสามารถนำน้ำหนักของสิ่งต่าง ๆ มาเปรียบเทียบกันได้โดยใช้ความสัมพันธ์ระหว่างกิโลกรัมกับกรัม เมตริกตันกับกิโลกรัม สามารถหาค่าของน้ำหนักได้จากการเลือกใช้เครื่องชั่งที่เหมาะสม วิธีชั่งและใช้หน่วยการชั่งที่ถูกต้อง การเปรียบเทียบน้ำหนักสิ่งของสองสิ่ง ถ้ามีหน่วยการชั่งเหมือนกันให้นำตัวเลขแสดงค่าน้ำหนักมาเปรียบเทียบกันได้เลย ถ้าสิ่งของที่จะเปรียบเทียบกันมีหน่วยต่างกัน ต้องเปลี่ยนให้เป็นหน่วยเดียวกันก่อนแล้วจึงเปรียบเทียบ การคาดคะเนน้ำ เป็นการบอกน้ำหนักให้ใกล้เคียงกัน โจทย์ปัญหาเกี่ยวกับการชั่งน้ำหนักมีวิธีการแก้โจทย์เหมือนกันกับโจทย์ปัญหาจำนวนนับ ต้องอ่านโจทย์ให้เข้าใจ วิเคราะห์โจทย์ว่าโจทย์กำหนดอะไรมาให้ โจทย์ถามอะไร เราควรใช้วิธีใดคำนวณหาคำตอบ สาระการเรียนรู้ ความรู้ 1. การวัดน้ำหนักเป็นกิโลกรัมและขีด กิโลกรัมและกรัม 2. การเลือกเครื่องชั่งที่เหมาะสม 3. การคาดคะเนน้ำหนักเป็นกิโลกรัมและเป็นขีด 4. ความสัมพันธ์ระหว่างหน่วยน้ำหนัก 5. การเปรียบเทียบน้ำหนัก 6. การบวกและการลบเกี่ยวกับน้ำหนัก 7. การคูณและการหารเกี่ยวกับน้ำหนัก 8. โจทย์ปัญหาเกี่ยวกับน้ำหนัก
0/2
บทที่ 8 การหาร
การหารที่มีตัวตั้งไม่เกิน 4 หลัก และตัวหาร 1 หลัก มีวิธีที่หลากหลายและใช้ทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์ในการหาคำตอบและตรวจสอบสมเหตุสมผลของคำตอบ การหาผลหารทำได้โดยการหารยาวหรือการหารสั้น การเลือกหา ผลหารที่เหมาะสม จะทำให้หาผลหารได้รวดเร็วขึ้น การหาตัวไม่ทราบค่าในประโยคสัญลักษณ์แสดงการคูณและการหารสามารถใช้ความสัมพันธ์ของการคูณและการหาร มาช่วยในการหาคำตอบ การแก้โจทย์ปัญหาการหารต้องวิเคราะห์โจทย์ และแสดงวิธีทำเพื่อหาคำตอบ รวมทั้งตรวจสอบความสมเหตุสมผลของคำตอบ เราสามารถนำการแก้โจทย์ปัญหาการหารไปใช้แก้ปัญหาเกี่ยวกับจำนวนต่าง ๆ ในชีวิตประจำวันได้ ความรู้ 1. การหารที่ตัวตั้งไม่เกิน 4 หลัก ตัวหาร 1 หลักโดยการหารยาว 2. การหารที่ตัวตั้งไม่เกิน 4 หลัก ตัวหาร 1 หลักโดยการหารสั้น 3. การหาค่าของตัวไม่ทราบค่าในประโยคสัญลักษณ์แสดงการหาร 4. โจทย์ปัญหาการหารและการสร้างโจทย์ปัญหาการหาร
0/2
วิชาคณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 (ค13101) ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564
เกี่ยวกับบทเรียน

        การวัดน้ำหนักโดยใช้หน่วยมาตรฐานจะบอกน้ำหนักเป็นขีด กรัม กิโลกรัม ซึ่งสามารถนำน้ำหนักของสิ่งต่าง ๆ มาเปรียบเทียบกันได้โดยใช้ความสัมพันธ์ระหว่างกิโลกรัมกับกรัม เมตริกตันกับกิโลกรัม สามารถหาค่าของน้ำหนักได้จากการเลือกใช้เครื่องชั่งที่เหมาะสม วิธีชั่งและใช้หน่วยการชั่งที่ถูกต้อง          การเปรียบเทียบน้ำหนักสิ่งของสองสิ่ง  ถ้ามีหน่วยการชั่งเหมือนกันให้นำตัวเลขแสดงค่าน้ำหนักมาเปรียบเทียบกันได้เลย  ถ้าสิ่งของที่จะเปรียบเทียบกันมีหน่วยต่างกัน  ต้องเปลี่ยนให้เป็นหน่วยเดียวกันก่อนแล้วจึงเปรียบเทียบ                                                                                                                        การคาดคะเนน้ำ เป็นการบอกน้ำหนักให้ใกล้เคียงกัน                                                                                โจทย์ปัญหาเกี่ยวกับการชั่งน้ำหนักมีวิธีการแก้โจทย์เหมือนกันกับโจทย์ปัญหาจำนวนนับ ต้องอ่านโจทย์ให้เข้าใจ วิเคราะห์โจทย์ว่าโจทย์กำหนดอะไรมาให้ โจทย์ถามอะไร  เราควรใช้วิธีใดคำนวณหาคำตอบ

          ความรู้

  1.  การวัดน้ำหนักเป็นกิโลกรัมและขีด กิโลกรัมและกรัม
  2.  การเลือกเครื่องชั่งที่เหมาะสม
  3.  การคาดคะเนน้ำหนักเป็นกิโลกรัมและเป็นขีด
  4.  ความสัมพันธ์ระหว่างหน่วยน้ำหนัก
  5.  การเปรียบเทียบน้ำหนัก
  6.  การบวกและการลบเกี่ยวกับน้ำหนัก
  7.  การคูณและการหารเกี่ยวกับน้ำหนัก
  8.  โจทย์ปัญหาเกี่ยวกับน้ำหนัก
ไฟล์ตัวอย่าง
การชั่ง.pdf
ขนาด: 771.83 KB
ใบงาน การวัดน้ำหนัก.pdf
ขนาด: 235.54 KB