วิชาประวัติศาสตร์ 4 ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 (ส14102) ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564
เกี่ยวกับบทเรียน

   

ผังมโนทัศน์สาระการเรียนรู้

 

 ภูมิปัญญาไทยสมัยสุโขทัย

 

1. ศิลปกรรม
สถาปัตยกรรม ในสมัยสุโขทัยได้พัฒนาสถาปัตยกรรมที่เป็นแบบเฉพาะของตนเอง เช่น เจดีย์ทรงดอกบัวตูมหรือทรงพุ่มข้าวบิณฑ์

 

เจดีย์ทรงกลมแบบลังกา วัดสระศรี อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย เจดีย์ทรงพุ่มข้าวบิณฑ์ วัดมหาธาตุ อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย

 

ประติมากรรม ส่วนใหญ่เป็นการสร้างพระพุทธรูป มีเอกลักษณ์ คือ ความอ่อนช้อย งดงาม จนได้รับการยกย่องว่าเป็นพระพุทธรูปที่สวยงามที่สุดของไทย

 

พระพุทธชินราช พระอจนะ วัดศรีชุม อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย

 

ภาพลายเส้น มีภาพที่สำคัญ คือ ภาพจำหลักลายเส้นชุดพระเจ้าห้าร้อยชาติลงบนแผ่นหินชนวน พบที่เพดานมณฑปวัดศรีชุม จ.สุโขทัย

 

ภาพลายเส้นบนแผ่นหินชนวน วัดศรีชุม จ.สุโขทัย

 

2. ขนบธรรมเนียมประเพณี
ส่วนใหญ่มักเกี่ยวข้องกับพระพุทธศาสนา เช่น ประเพณีการบวช การทำบุญเข้าพรรษา ออกพรรษา และประเพณีทอดกฐิน

 

ประเพณีการบวช

 

3. อักษรไทย
เป็นมรดกทางวัฒนธรรมที่พ่อขุนรามคำแหงมหาราชทรงประดิษฐ์ขึ้นโดยดัดแปลงมาจากอักษรขอมและอักษรมอญให้มีลักษณะเฉพาะ คือ เขียนสระและพยัญชนะอยู่ในบรรทัดเดียวกันและมีรูปวรรณยุกต์ตามระดับเสียงพูด และยูเนสโก ได้ประกาศขึ้นทะเบียนศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหงเป็นเอกสารมรดกความทรงจำของโลก

 

ลายสือไทย

 

4. เครื่องสังคโลก
มีลักษณะเป็นเครื่องปั้นดินเผาเคลือบเนื้อละเอียด เครื่องสังคโลกสุโขทัยส่วนใหญ่จะเคลือบสีเขียว ขูดขีดลวดลายตกแต่งไว้ใต้เคลือบ ต่อมาจึงเขียนสีดำใต้เคลือบ อาจได้รับอิทธิพลมาจากเครื่องถ้วยจีน

 

จานสังคโลกสมัยสุโขทัย

 

5. การชลประทาน
พระมหากษัตริย์และชาวสุโขทัยนำระบบชลประทานมาใช้แก้ปัญหาทางธรรมชาติ โดยระบบชลประทานที่สุโขทัยนำมาใช้มีหลายลักษณะ ดังนี้
1. เหมืองฝาย ฝาย คือ เขื่อนที่ทำขวางลำน้ำ เพื่อทดน้ำให้ไหลไปสู่คลองส่งน้ำซึ่งจะส่งต่อไปยังที่เพาะปลูก
2. ทำนบ (สรีดภงส์) คือ คันดินที่ทำขึ้นเป็นแนวสำหรับกั้นหรือบังคับน้ำในฤดูฝนให้ไหลไปตามทิศทางที่ต้องการ

 

สรีดภงส์ จังหวัดสุโขทัย

 

3. สระน้ำและบ่อน้ำ (ตระพัง) ตระพังจะขุดเป็นรูปสี่เหลี่ยมขนาดใหญ่สำหรับเก็บน้ำไว้ใช้ในฤดูแล้ง ส่วนบ่อน้ำเป็นบ่อกลมสำหรับอุปโภคบริโภคทั่วไป

 

แหล่งที่มาของเนื้อหา : สำนักพิมพ์วัฒนาพานิช