เนื้อหาของคอร์ส
การแยกตัวประกอบของพหุนามดีกรีสอง
การเขียนพหุนามที่กำหนดให้ ให้อยู่ในรูปการคูณของพหุนามตั้งแต่สองพหุนามขึ้นไป โดยที่แต่ละพหุนามหารพหุนามที่กำหนดให้ได้ ลงตัว เป็นตัวอย่างของ การแยกตัวประกอบพหุนาม (factorization) 1) การแยกตัวประกอบพหุนามโดยใช้สมบัติการแจกแจง สมบัติการแจกแจงกล่าวว่า ถ้า a,b และ c แทนจำนวนเต็มใดๆแล้ว a(b+c) = ab+ac หรือ (b+c)a = ba+ca เราอาจเขียนสมบัติการแจกแจง ข้างต้นใหม่ ดังนี้ ab+ac = a(b+c) หรือ ba+ca = (b+c)a ถ้า a,b และ c เป็นพหุนาม เราก็สามารถใช้สมบัติการแจกแจงข้างต้นได้ด้วย และเรียก a ว่า ตัวประกอบร่วมของ ab และ ac หรือ ba และ ca 2) การแยกตัวประกอบพหุนามดีกรีสองตัวแปรเดียว พหุนามดีกรีสองตัวแปรเดียว คือ พหุนามที่เขียนในรูป ax2 + bx + c เมื่อ a , b , c เป็นค่าคงตัวที่ a ≠ 0 และ x เป็นตัวแปร การแยกตัวประกอบของพหุนามดีกรีสองตัวแปรเดียวในรูป ax2 + bx + c เมื่อ a , b เป็นจำนวนเต็ม และ c = 0 ในกรณีที่ c = 0 พหุนามดีกรีสองตัวแปรเดียวจะอยู่ในรูป ax2+ bx สามารถใช้สมบัติการแจกแจงแยกตัวประกอบได้ การแยกตัวประกอบของพหุนามดีกรีสองตัวแปรเดียวในรูป ax2 + bx + c เมื่อ a = 1 , b และ c เป็นจำนวนเต็ม และ c ≠ 0 ในกรณีที่ a = 1 และ c ≠ 0 พหุนามดีกรีสองตัวแปรเดียว จะอยู่ในรูป x2 + bx + c สามารถแยกตัวประกอบของพหุนามในรูปนี้ได้ โดยอาศัยแนวคิดจากการหาผลคูณของพหุนาม 3) การแยกตัวประกอบพหุนามดีกรีสองที่เป็นกำลังสองสมบูรณ์ ในกรณีทั่วไป ถ้าให้ A แทนพจน์หน้า และ B แทนพจน์หลัง จะแยกตัวประกอบของพหุนามดีกรีสองที่เป็นกำลังสองสมบูรณ์ได้ตามสูตร ดังนี้ A2 + 2AB + B2 = (A + B)2 A2 − 2AB + B2 = (A − B)2 4) การแยกตัวประกอบพหุนามดีกรีสองที่เป็นผลต่างกำลังสอง ในกรณีทั่วไป ถ้าให้ A แทน พจน์หน้า และ B แทน พจน์หลัง จะแยกตัวประกอบของพหุนามดีกรีสองที่เป็นผลต่างของกำลังสองได้ตามสูตร ดังนี้ A2 – B2 = (A + B)(A – B)
0/4
วิชาคณิตศาสตร์พื้นฐาน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 (ค22102) ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564
เกี่ยวกับบทเรียน

พิจารณาผลคูณต่อไปนี้
………. (x+y)(x-y)= x^2-xy + yx -y^2
………………………….. .=x^2-y^2

นิพจน์  x2 – y2  มีเพียง 2 พจน์ ซึ่งแต่ละพจน์อยู่ในรูปกำลังสอง เราเรียกนิพจน์ที่มัลักษณะเช่นนี้ว่า ผลต่างของกำลังสอง (The Difference of  Two Squares)  ซึ่งตัวอย่างของนิพจ์ที่สามารถเขียนอยู่ในรูปผลต่างของกำลังสอง เช่น
……….  x2 – 9 ,    y2 – 16 ,    4x2 – 25 ,    x2 – 4y2,    121 – 36x2

ดังนั้น ถ้าให้  A  แทน พจน์หน้า  และ  B  แทนพจน์หลัง จะแยกตัวประกอบของพหุนามดีกรีสองที่เป็นผลต่างของกำลังสอง ได้เป็น
………. A^2 - B^2 = (A+B)(A-B)
เพื่อให้ง่ายต่อการจดจำในการนำไปใช้ ให้จำย่อ ๆ ดังนี้

………. (หน้า)2 – (หลัง)2   =   (หน้า + หลัง)(หน้า – หลัง)

ตัวอย่างที่ 1 จงแยกตัวประกอบ x2 – 9
วิธีทำ            x2 – 9   =   x2 – 32
……………………=  (x + 3)(x – 3)

ตัวอย่างที่ 2 จงแยกตัวประกอบ 49x2 – 25
วิธีทำ            49x2 – 25   =   (7x)2 – 32
……………………..=  (7x + 5)(7x – 5)

ตัวอย่างที่ 3 จงแยกตัวประกอบ (3x-2)2 – (x+5)2
วิธีทำ             (3x-2)2 – (x+5)2   =   [(3x – 2)+(x+5)][(3x-2) – (x+5)]
……………………………=  (4x + 3)(2x – 7)

ตัวอย่างที่ 4 จงแยกตัวประกอบ 169x2 – (x2 – 16x + 64)
วิธีทำ            169x2 – (x2 – 16x + 64)   =   (13x)2 – (x – 8)2
……………………………=  [13x + (x – 8)][13x – (x – 8)]
…………………………..=  (14x – 8)(12x + 8)
…………………………. = 8(7x – 4)(3x + 2)

ตัวอย่างที่ 5  จงคำนวณหาค่าของ 20012 – 19992
วิธีทำ            20012 – 19992   =   (2001 + 1999)(2001 – 1999)
……………………………=  (4000)(2)
………………………….. =  8000

ไฟล์ตัวอย่าง
คาบที่ 7.pdf
ขนาด: 1.10 MB
ใบงานแบบฝึกหัดคณิตศาสตร์-ม.2-การแยกตัวประกอบพหุนามดีกรีสอง.pdf
ขนาด: 1.38 MB