เนื้อหาของคอร์ส
การแยกตัวประกอบของพหุนามดีกรีสอง
การเขียนพหุนามที่กำหนดให้ ให้อยู่ในรูปการคูณของพหุนามตั้งแต่สองพหุนามขึ้นไป โดยที่แต่ละพหุนามหารพหุนามที่กำหนดให้ได้ ลงตัว เป็นตัวอย่างของ การแยกตัวประกอบพหุนาม (factorization) 1) การแยกตัวประกอบพหุนามโดยใช้สมบัติการแจกแจง สมบัติการแจกแจงกล่าวว่า ถ้า a,b และ c แทนจำนวนเต็มใดๆแล้ว a(b+c) = ab+ac หรือ (b+c)a = ba+ca เราอาจเขียนสมบัติการแจกแจง ข้างต้นใหม่ ดังนี้ ab+ac = a(b+c) หรือ ba+ca = (b+c)a ถ้า a,b และ c เป็นพหุนาม เราก็สามารถใช้สมบัติการแจกแจงข้างต้นได้ด้วย และเรียก a ว่า ตัวประกอบร่วมของ ab และ ac หรือ ba และ ca 2) การแยกตัวประกอบพหุนามดีกรีสองตัวแปรเดียว พหุนามดีกรีสองตัวแปรเดียว คือ พหุนามที่เขียนในรูป ax2 + bx + c เมื่อ a , b , c เป็นค่าคงตัวที่ a ≠ 0 และ x เป็นตัวแปร การแยกตัวประกอบของพหุนามดีกรีสองตัวแปรเดียวในรูป ax2 + bx + c เมื่อ a , b เป็นจำนวนเต็ม และ c = 0 ในกรณีที่ c = 0 พหุนามดีกรีสองตัวแปรเดียวจะอยู่ในรูป ax2+ bx สามารถใช้สมบัติการแจกแจงแยกตัวประกอบได้ การแยกตัวประกอบของพหุนามดีกรีสองตัวแปรเดียวในรูป ax2 + bx + c เมื่อ a = 1 , b และ c เป็นจำนวนเต็ม และ c ≠ 0 ในกรณีที่ a = 1 และ c ≠ 0 พหุนามดีกรีสองตัวแปรเดียว จะอยู่ในรูป x2 + bx + c สามารถแยกตัวประกอบของพหุนามในรูปนี้ได้ โดยอาศัยแนวคิดจากการหาผลคูณของพหุนาม 3) การแยกตัวประกอบพหุนามดีกรีสองที่เป็นกำลังสองสมบูรณ์ ในกรณีทั่วไป ถ้าให้ A แทนพจน์หน้า และ B แทนพจน์หลัง จะแยกตัวประกอบของพหุนามดีกรีสองที่เป็นกำลังสองสมบูรณ์ได้ตามสูตร ดังนี้ A2 + 2AB + B2 = (A + B)2 A2 − 2AB + B2 = (A − B)2 4) การแยกตัวประกอบพหุนามดีกรีสองที่เป็นผลต่างกำลังสอง ในกรณีทั่วไป ถ้าให้ A แทน พจน์หน้า และ B แทน พจน์หลัง จะแยกตัวประกอบของพหุนามดีกรีสองที่เป็นผลต่างของกำลังสองได้ตามสูตร ดังนี้ A2 – B2 = (A + B)(A – B)
0/4
วิชาคณิตศาสตร์พื้นฐาน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 (ค22102) ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564
เกี่ยวกับบทเรียน

นิยาม คือ ข้อตกลงหรือกฎกติกาที่เราตกลงร่วมกันและถ้าพูดถึงคำๆนี้แล้วจะเข้าใจตรงกันหมดว่ามันหมายถึงสิ่งนี้

ทฤษฎีบท คือ สิ่งที่ได้รับการพิสูจน์ไว้แล้วว่าจริงและสามารถนำไปใช้ในการอ้างอิงใช้เป็นเหตุผลในการพิจสูจน์ข้อความอื่นๆได้

สัจพจน์ คือ ข้อความหรือสิ่งที่เห็นได้ชัดเจนว่าเป็นจริงโดยไม่ต้องมีการพิสูจน์ เช่น ดวงอาทิตย์ขึ้นทางทิศตะวันออก ตกทางทิศตะวันตก อันนี้เป็นสัจพจน์เป็นสิ่งที่เป็นจริงเห็นได้ชัดเจนโดยไม่ต้องมีการพิสูจน์

ซี่งในการพิสูจน์ข้อความต่างๆในบทนี้ จำเป็นต้องเข้าใจทฤษฎีบทต่างๆที่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่เราจะพิสูจน์

ทฤษฎีบท 1 ถ้า เส้นตรงสองเส้นตัดกัน แล้ว มุมที่อยู่ตรงข้ามกันจะมีขนาดเท่ากัน

หลัง คำว่า “ถ้า” เขาเรียกว่า เหตุ ส่วนหลังคำว่า “แล้ว” เขาเรียกว่า ผล คือถ้ามีเหตุการณ์เส้นตรงสองเส้นตัดกัน แล้วผลสรุปที่ตามมาก็คือ มุมตรงข้ามที่เกิดขี้นจะมีขนาดเท่ากัน 

ทฤษฎีบท2 เส้นตรงเส้นหนึ่่งตัดเส้นตรงคู่หนึ่ง เส้นตรงคู่นั้นขนานกัน ก็ต่อเมื่อ ขนาดของมุมภายในที่อยู่บนข้างเดียวกันของเส้นตัดรวมกันเท่ากับ 180 องศา

ทฤษฎีบท3 เส้นตรงเส้นหนึ่งตัดเส้นตรงคู่หนึ่ง เส้นตรงคู่นั้นขนานกัน  ก็ต่อเมื่อ มุมแย้งมีขนาดเท่ากัน

ไฟล์ตัวอย่าง
การให้เหตุผลทางเรขาคณิต.pdf
ขนาด: 11.31 MB
ใบงานแบบฝึกหัดคณิตศาสตร์-ม.2-การให้เหตุผลทางเรขาคณิต.pdf
ขนาด: 531.37 KB