เนื้อหาของคอร์ส
การแยกตัวประกอบของพหุนามดีกรีสอง
การเขียนพหุนามที่กำหนดให้ ให้อยู่ในรูปการคูณของพหุนามตั้งแต่สองพหุนามขึ้นไป โดยที่แต่ละพหุนามหารพหุนามที่กำหนดให้ได้ ลงตัว เป็นตัวอย่างของ การแยกตัวประกอบพหุนาม (factorization) 1) การแยกตัวประกอบพหุนามโดยใช้สมบัติการแจกแจง สมบัติการแจกแจงกล่าวว่า ถ้า a,b และ c แทนจำนวนเต็มใดๆแล้ว a(b+c) = ab+ac หรือ (b+c)a = ba+ca เราอาจเขียนสมบัติการแจกแจง ข้างต้นใหม่ ดังนี้ ab+ac = a(b+c) หรือ ba+ca = (b+c)a ถ้า a,b และ c เป็นพหุนาม เราก็สามารถใช้สมบัติการแจกแจงข้างต้นได้ด้วย และเรียก a ว่า ตัวประกอบร่วมของ ab และ ac หรือ ba และ ca 2) การแยกตัวประกอบพหุนามดีกรีสองตัวแปรเดียว พหุนามดีกรีสองตัวแปรเดียว คือ พหุนามที่เขียนในรูป ax2 + bx + c เมื่อ a , b , c เป็นค่าคงตัวที่ a ≠ 0 และ x เป็นตัวแปร การแยกตัวประกอบของพหุนามดีกรีสองตัวแปรเดียวในรูป ax2 + bx + c เมื่อ a , b เป็นจำนวนเต็ม และ c = 0 ในกรณีที่ c = 0 พหุนามดีกรีสองตัวแปรเดียวจะอยู่ในรูป ax2+ bx สามารถใช้สมบัติการแจกแจงแยกตัวประกอบได้ การแยกตัวประกอบของพหุนามดีกรีสองตัวแปรเดียวในรูป ax2 + bx + c เมื่อ a = 1 , b และ c เป็นจำนวนเต็ม และ c ≠ 0 ในกรณีที่ a = 1 และ c ≠ 0 พหุนามดีกรีสองตัวแปรเดียว จะอยู่ในรูป x2 + bx + c สามารถแยกตัวประกอบของพหุนามในรูปนี้ได้ โดยอาศัยแนวคิดจากการหาผลคูณของพหุนาม 3) การแยกตัวประกอบพหุนามดีกรีสองที่เป็นกำลังสองสมบูรณ์ ในกรณีทั่วไป ถ้าให้ A แทนพจน์หน้า และ B แทนพจน์หลัง จะแยกตัวประกอบของพหุนามดีกรีสองที่เป็นกำลังสองสมบูรณ์ได้ตามสูตร ดังนี้ A2 + 2AB + B2 = (A + B)2 A2 − 2AB + B2 = (A − B)2 4) การแยกตัวประกอบพหุนามดีกรีสองที่เป็นผลต่างกำลังสอง ในกรณีทั่วไป ถ้าให้ A แทน พจน์หน้า และ B แทน พจน์หลัง จะแยกตัวประกอบของพหุนามดีกรีสองที่เป็นผลต่างของกำลังสองได้ตามสูตร ดังนี้ A2 – B2 = (A + B)(A – B)
0/4
วิชาคณิตศาสตร์พื้นฐาน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 (ค22102) ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564
เกี่ยวกับบทเรียน

พหุนามดีกรีสองเมื่อทำการแยกตัวประกอบแล้วได้ตัวประกอบเป็นพหุนามดีกรีหนึ่งที่ซ้ำกัน  เช่น x2 + 4x + 4 = (x + 2)(x + 2)  = (x + 2)2  เรียกพหุนามที่มีลักษณะเช่นนี้ว่า กำลังสองสมบูรณ์ (Perfect Square) 

…….พหุนามที่อยู่ในรูป กำลังสองสมบูรณ์ ถ้าให้ น = พจน์หน้า,  ล = พจน์หลัง จะเขียนในรูป
………………………….น2 + 2นล + ล2
………………………….น2 – 2นล + ล2
…….ซึ่งสามารถแยกตัวประกอบได้ดังนี้
………………………….(หน้า)2 + 2หน้าหลัง + (หลัง)2  =  (หน้า + หลัง)2
………………………….(หน้า)2 – 2หน้าหลัง + (หลัง)2  =  (หน้า – หลัง)2

ตัวอย่างที่ 1 จงแยกตัวประกอบของ  a2 – 8a + 16
วิธีทำ……….a2 – 8a + 16  =   a2 – (2)(a)(4) + 42
…………………””””…….=  (a – 4)2

ตัวอย่างที่ 2 จงแยกตัวประกอบของ  121x2 + 154x + 49
วิธีทำ……….121x2 + 154x + 49  =   (11x)2 + (2)(11x)(7) + 72
………………………………….=  (11x + 7)2

ตัวอย่างที่ 3 จงแยกตัวประกอบของพหุนาม (x + 2)2 – 18(x2 + 2x) + 81x2
วิธีทำ……….  (x + 2)2 – 18(x2 + 2x) + 81x2  =  (x + 2)2 – 18x(x + 2) + 81x2
……………………………………………=  (x + 2)2 – 2(x + 2)(9x) + (9x)2
………………………………………….. =  [ (x + 2) – 9x ]2
………………………………………….. =  (2 – 8x)2

ตัวอย่างที่ 4 จงแยกตัวประกอบของพหุนาม (x+1)^2+14(x+1)+49
วิธีทำ…….(x+1)^2+14(x+1)+49 = (x+1)^2+2(x+1)(7)+7^2
………………………………………= [(x+1)+7]^2
…………..ดังนั้น…(x+1)^2+14(x+1)+49 = (x+8)^2

ตัวอย่างที่ 5 จงแยกตัวประกอบของพหุนาม 4x^2-4(x^2-3x)+(x-3)^2
วิธีทำ…….4x^2-4(x^2-3x)+(x-3)^2 = (2x)^2-4x(x-3)+(x-3)^2
………………………………..= (2x)^2-2(2x)(x-3)+(x-3)^2
………………………………..= [2x-(x-3)]^2
………………………………..= (2x-x+3)^2
…………..ดังนั้น…4x^2-4(x^2-3x)+(x-3)^2 = (x+3)^2

ไฟล์ตัวอย่าง
คาบที่ 8.pdf
ขนาด: 1,016.46 KB
คาบที่ 9.pdf
ขนาด: 1,004.76 KB