เนื้อหาของคอร์ส
การแยกตัวประกอบของพหุนามดีกรีสอง
การเขียนพหุนามที่กำหนดให้ ให้อยู่ในรูปการคูณของพหุนามตั้งแต่สองพหุนามขึ้นไป โดยที่แต่ละพหุนามหารพหุนามที่กำหนดให้ได้ ลงตัว เป็นตัวอย่างของ การแยกตัวประกอบพหุนาม (factorization) 1) การแยกตัวประกอบพหุนามโดยใช้สมบัติการแจกแจง สมบัติการแจกแจงกล่าวว่า ถ้า a,b และ c แทนจำนวนเต็มใดๆแล้ว a(b+c) = ab+ac หรือ (b+c)a = ba+ca เราอาจเขียนสมบัติการแจกแจง ข้างต้นใหม่ ดังนี้ ab+ac = a(b+c) หรือ ba+ca = (b+c)a ถ้า a,b และ c เป็นพหุนาม เราก็สามารถใช้สมบัติการแจกแจงข้างต้นได้ด้วย และเรียก a ว่า ตัวประกอบร่วมของ ab และ ac หรือ ba และ ca 2) การแยกตัวประกอบพหุนามดีกรีสองตัวแปรเดียว พหุนามดีกรีสองตัวแปรเดียว คือ พหุนามที่เขียนในรูป ax2 + bx + c เมื่อ a , b , c เป็นค่าคงตัวที่ a ≠ 0 และ x เป็นตัวแปร การแยกตัวประกอบของพหุนามดีกรีสองตัวแปรเดียวในรูป ax2 + bx + c เมื่อ a , b เป็นจำนวนเต็ม และ c = 0 ในกรณีที่ c = 0 พหุนามดีกรีสองตัวแปรเดียวจะอยู่ในรูป ax2+ bx สามารถใช้สมบัติการแจกแจงแยกตัวประกอบได้ การแยกตัวประกอบของพหุนามดีกรีสองตัวแปรเดียวในรูป ax2 + bx + c เมื่อ a = 1 , b และ c เป็นจำนวนเต็ม และ c ≠ 0 ในกรณีที่ a = 1 และ c ≠ 0 พหุนามดีกรีสองตัวแปรเดียว จะอยู่ในรูป x2 + bx + c สามารถแยกตัวประกอบของพหุนามในรูปนี้ได้ โดยอาศัยแนวคิดจากการหาผลคูณของพหุนาม 3) การแยกตัวประกอบพหุนามดีกรีสองที่เป็นกำลังสองสมบูรณ์ ในกรณีทั่วไป ถ้าให้ A แทนพจน์หน้า และ B แทนพจน์หลัง จะแยกตัวประกอบของพหุนามดีกรีสองที่เป็นกำลังสองสมบูรณ์ได้ตามสูตร ดังนี้ A2 + 2AB + B2 = (A + B)2 A2 − 2AB + B2 = (A − B)2 4) การแยกตัวประกอบพหุนามดีกรีสองที่เป็นผลต่างกำลังสอง ในกรณีทั่วไป ถ้าให้ A แทน พจน์หน้า และ B แทน พจน์หลัง จะแยกตัวประกอบของพหุนามดีกรีสองที่เป็นผลต่างของกำลังสองได้ตามสูตร ดังนี้ A2 – B2 = (A + B)(A – B)
0/4
วิชาคณิตศาสตร์พื้นฐาน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 (ค22102) ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564
เกี่ยวกับบทเรียน

ข้อความคาดการณ์ (conjecture) คือ ข้อความทางคณิตศาสตร์ที่ถูกเสนอว่าเป็นจริง แต่ยังไม่มีใคร สามารถพิสูจน์หรือหักล้างได้เมื่อข้อความคาดการณ์ถูกพิสูจน์ได้ว่าเป็นจริง มันจะกลายเป็น ทฤษฎีบท (theorem) และถือว่าเป็นข้อเท็จจริงในคณิตศาสตร์ที่นำไปใช้อ้างอิงได้ แต่ถ้ามันยัง ไม่ได้รับการพิสูจน์ นักคณิตศาสตร์จะต้องมีความระมัดระวังในการใช้ข้อความคาดการณ์นั้น หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งได้ว่า กระบวนการที่ใช้ในการสังเกตหรือการทดลองหลายๆ ครั้ง แล้วรวบรวมข้อมูลเพื่อหาแบบรูปที่จะนำไปสู่ข้อสรุปที่มีความเป็นไปได้มากที่สุด แต่ยังไม่ได้พิสูจน์ว่าเป็นจริง เรียกว่า ข้อความคาดการณ์ 

…..ถ้าต้องการทราบว่าข้อความคาดการณ์นั้นเป็นจริง ก็ต้องสืบเสาะค้นหาข้อมูลมาสนับสนุน หรือแสดงเหตุผลที่ทำให้ยอมรับได้ว่าข้อความคาดการณ์นั้นเป็นจริง

ประโยคที่ประกอบด้วยข้อความ 2 ข้อความ ที่เชื่อมต่อกันด้วย ถ้า…แล้ว… เราะเรียกประโยคเหล่านั้นว่า ประโยคเงื่อนไข โดยประโยคหลังคำ “ถ้า” เป็นเหตุ และประโยคหลังคำ “แล้ว” เป็นผล
…….“ถ้าแดงอยู่จังหวัดยโสธร แล้วแดงอยู่ภาคอีสานของประเทศไทย”
…….แดงอยู่จังหวัดยโสธร เป็น เหตุ
…….แดงอยู่ภาคอีสานของประเทศไทย เป็น ผล

….ประโยคเงื่อนไขใด เมื่อยอมรับว่าเหตุเป็นจริง เหตุนั้นจะทำให้เกิดผลที่เป็นจริงเสมอ เรียกประโยคเงื่อนไขนี้ว่า “ประโยคที่เป็นจริง”
….ประโยคเงื่อนไขใด เมื่อยอมรับว่าเหตุเป็นจริง เหตุนั้นไม่ทำให้เกิดผลที่เป็นจริงเสมอไป เรียกประโยคเงื่อนไขนี้ว่า “ประโยคที่ไม่เป็นจริง”

ไฟล์ตัวอย่าง
การให้เหตุผลทางเรขาคณิต.pdf
ขนาด: 11.31 MB