วิชาการงานอาชีพ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 (ง12101) ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564

หมวดหมู่: ป.2, ประถมศึกษา
คอร์สที่สนใจ แชร์
แชร์คอร์ส
ลิงก์หน้า
แชร์บนโซเชียล

เกี่ยวกับคอร์ส

คำอธิบายรายวิชา

ศึกษา  วิธีการและประโยชน์การทำงานเพื่อช่วยเหลือตนเองและครอบครัว  การใช้วัสดุ  อุปกรณ์  เครื่องมือในการทำงาน  อย่างประหยัด  ปลอดภัย  และเหมาะสมกับงาน  การทำของเล่นของใช้  (การประดิษฐ์ของเล่นของใช้จากขวดน้ำพลาสติก)  ในชีวิตประจำวันอย่างเป็นขั้นตอน  ประโยชน์ของสิ่งของเครื่องใช้ในชีวิตประจำวัน  มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ในการทำงาน

โดยใช้ กระบวนการปฏิบัติและทักษะการทำงานร่วมกัน

เพื่อให้เกิดการใฝ่เรียนรู้  มีความมุ่งมั่นในการทำงาน ตรงต่อเวลา และมีกิจนิสัยในการทำงานด้วยความปลอดภัย  ประหยัด

คุณจะได้เรียนรู้อะไร?

  • 1.สามารถอธิบายการใช้วัสดุ  อุปกรณ์  เครื่องมือในการทำงาน  อย่างประหยัด  ปลอดภัย  และเหมาะสมกับงาน 
  • 2.สามารถเลือกใช้การทำของเล่นของใช้  (การประดิษฐ์ของเล่นของใช้จากขวดน้ำพลาสติก)  ในชีวิตประจำวันอย่างเป็นขั้นตอน  ประโยชน์ของสิ่งของเครื่องใช้ในชีวิตประจำวัน  มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ในการทำงาน

เนื้อหาของคอร์ส

หน่วยที่ 4 งานเกษตร
๑. ความหมาย ความสำคัญของการผลิตพืช ๑.๑ ความหมายของการผลิตพืช การผลิตพืช หมายถึง การปลูกหรือการเพิ่มจำนวนต้นพืชให้มีปริมาณมากขึ้น โดยนำพืชที่ผลิตได้ไปใช้ประโยชน์ตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ เช่น การผลิตกุหลาบเพื่อตัดดอกขาย การปลูกมะม่วง น้ำดอกไม้เพื่อการส่งออกไปจำหน่ายต่างประเทศ การปลูกมะขามหวานที่มีรสชาติหวาน การปลูกไม้ประดับให้มีรูปทรงสวยงาม นอกจากนี้การผลิตพืชยังรวมไปถึง การเพาะเมล็ดเพื่อให้ได้ต้นกล้าพันธุ์ไม้มากขึ้น การขยายพันธุ์พืชที่มีอยู่ให้มีจำนวนต้นมากขึ้นแต่ไม่รวมถึงการนำต้นพืชมา จากที่อื่น ๆ มาพักไว้รวมกัน เพื่อเพิ่มปริมาณของต้นพืช ๑.๒ ความสำคัญต่อการผลิตพืช การผลิตพืชในปัจจุบันมีความสำคัญต่อชีวิตประจำวันของมนุษย์และสัตว์เป็น จำนวนมากโดยเฉพาะพืชชั้นสูงหรือพืชสีเขียว ส่วนพืชชั้นต่ำบางชนิดก็มีประโยชน์ เช่น สาหร่ายชนิดต่าง ๆ บางชนิดก็มีโทษ เช่น เห็ดบางชนิด ราดำ ซึ่งโดยทั่วไปสามารถแบ่งความสำคัญของพืชออกได้ ดังนี้ ๑) เป็นแหล่งอาหารของมนุษย์ ทำให้มนุษย์ดำรงชีวิตอยู่ได้โดยมีอาหารรับประทานได้แก่ พืชชนิดต่าง ๆ เช่น ข้าว ผักสด ผลไม้ต่าง ๆ รวมไปถึงพืชที่ให้ผลผลิตน้ำมันต่างๆ เช่น ถั่วเหลือง ทานตะวัน มะพร้าว เป็นต้น ๒) เป็นที่อยู่อาศัยของมนุษย์ โดย ใช้ผลผลิตจากพืชที่เป็นไม้ยืนต้น เช่น สัก เต็ง รัง ประดู่ มะค่า เป็นต้น นำมาใช้สร้างอาคารบ้านเรือนที่อยู่อาศัย รวมถึงเครื่องมือเครื่องใช้ในชีวิตประจำวัน เช่น เครื่องเรือนชนิดต่าง ๆ เป็นต้น ๓) เป็นยารักษาโรคชนิดต่าง ๆ ตั้งแต่สมัยโบราณ โดยการนำส่วนต่าง ๆ ของพืช เช่น ราก ลำต้น ใบ ดอก ผล ของพืชหลายชนิดมาปรุงให้เข้ากัน ใช้รักษาและบรรเทาอาการเจ็บป่วยของมนุษย์และสัตว์เลี้ยง ซึ่งเราเรียกพืชที่นำมาใช้ทำยารักษาโรคต่างๆ ว่า “พืชสมุนไพร” เช่น ต้นฟ้าทะลายโจรช่วยรักษาและบรรเทาอาการเจ็บคอ อันเนื่องมาจากการเป็นโรคหวัด ดอกและใบ ของต้นขี้เหล็กช่วยรักษาอาการนอนไม่หลับ ขิงช่วยลดอาการท้องอืด ขับลมในกระเพาะอาหาร กระเทียมช่วยลดระดับคอเรสเตอรอลหรือไขมันในเส้นเลือด เป็นต้น ๔. ใช้ทำเครื่องนุ่งห่ม โดยนำผลผลิตของพืชเส้นใยชนิดต่าง ๆ ฝ้าย ป่าน ปอ นุ่น มาปั่นเป็นเส้นด้าย แล้วนำเส้นด้ายมาทอเป็นผ้า ตัดเย็บเป็นเสื้อ กางเกง ที่นอน หมอน มุ้ง เครื่องในชีวิตประจำวันได้อีกมากมาย ๕. ใช้เป็นอาหารของสัตว์เลี้ยง โดย เฉพาะสัตว์กินพืช เช่น โค กระบือ ช้าง ม้า แพะ แกะ ซึ่งใช้หญ้าเป็นอาหารหลักในการดำรงชีวิต แม้กระทั่งสัตว์ปีก เช่น เป็น ไก่ ห่าน นกชนิดต่างๆ ก็ใช้รำ ปลายข้าว ข้าวโพดป่น มันสัมปะหลังบดละเอียด ใบกระถินป่น มาเป็นส่วนประกอบหลักของอาหารสัตว์ทุกประเภท เป็นต้น ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ งานเกษตรน่ารู้ ๖. มีความสำคัญต่อเศรษฐกิจของประเทศ เพราะมีการนำเอาพืชและผลผลิตของพืชส่งเป็นสินค้าออกไปขายยังต่างประเทศ เพื่อนำเงินตราจากต่างประเทศมาเป็นรายได้ของแผ่นดิน ทำให้ประเทศไทยได้รับการยอมรับจากทุกประเทศทั่วโลกว่า เป็นประเทศที่เป็นแหล่งผลิตอาหารรายใหญ่แห่งหนึ่งของโลก พืชที่ส่งออกเป็นสินค้ามากที่สุด คือ พืชไร่ เช่น ข้าว ข้าวโพด มันสำปะหลัง ยาสูบ อ้อย สับประรด เป็นต้น รองลงมา ได้แก่ พืชส่วน เช่น มะม่วง ทุเรียน มังคุด ลำใย มะพร้าวน้ำหอม กล้วยหอมทอง ส้มโอ นอกจากนี้ยังมีพืชประเภทไม้ดอก ไม้ประดับ เช่น กล้วยไม้ ดอกหน้าวัว ปาล์มประดับ หมากต่าง ๆ เป็นต้น ส่งออกไปขายยังต่างประเทศทั้งในรูปของต้นและดอก นับเป็นการสร้าง รายได้ให้กับประเทศเป็นจำนวนมาก ๗) ก่อให้เกิดอาชีพหลักสำคัญคนไทย เช่น ชาวนา ชาวไร่ ชาวสวน ซึ่งเราเรียกบุคคลที่ประกอบอาชีพเกษตรกรรมเหล่านี้ว่า “เกษตรกร” อาชีพ เกษตรกรรมทำให้ประชากรในประเทศมีงานทำ มีรายได้จากการผลิตพืชตลอดทั้งปี ไม่สร้างปัญหาให้กับสังคม และยังก่อให้เกิดธุรกิจต่อเนื่องที่เกี่ยวข้องกับการเกษตรอีกมากมาย เช่น ธุรกิจการขายวัสดุอุปกรณ์ทางการเกษตร ปุ๋ยสารเคมีทางการเกษตร เครื่องจักรวาลการเกษตรชนิดต่าง ๆ นอกจากนี้ การผลิตพืชยังก่อให้เกิดโรงงานอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับการเกษตร เช่น อุตสาหกรรมการแปรรูปอาหาร อุตสาหกรรมแช่แข็ง อุตสาหกรรมห้องเย็น โรงงานอุตสาหกรรมผลิตน้ำมันปาล์ม โรงงานผลิตอาหารกระป๋อง โรงงานผลิตซอสมะเขือเทศและโรงงานผลิตน้ำนมถั่วเหลือง เป็นต้น ๘)เป็นแหล่งสันทนาการและการท่องเที่ยวทางธรรมชาติ ก่อให้เกิดอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว นำรายได้เข้าประเทศไทยได้เป็นอย่างมาก และชุมชนมีรายได้จากการส่งเสริมไทยเที่ยวไทยอีกด้วย เช่น วนอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ ภูกระดึง ทุ่งแสลงหลวง เขาค้อ ดอยอินทนนท์ เป็นต้น ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ งานเกษตรน่ารู้ ๙) ช่วยรักษาสภาพแวดล้อมและสภาพสมดุลของธรรมชาติ เพราะ การผลิตพืช มีส่วนช่วยทำให้อากาศบริสุทธิ์ สภาพแวดล้อมร่มรื่น สวยงาม ถ้าผู้ปลูกรู้จักหลักในการจัดภูมิทัศน์ นอกจากนี้ยังช่วยป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยต่าง ๆ ที่เป็นภัยธรรมชาติ เช่น น้ำท่วมฉับพลัน ช่วยลดความรุนแรงของกระแสน้ำ และยังช่วยทำให้ฝนตกต้องตามฤดูกาล รวมทั้งลดปัญหาภาวการณ์แห้งแล้งได้เป็นอย่างดี ๒. ลักษณะการประกอบอาชีพเกี่ยวกับการปลูกพืชในประเทศไทย อาชีพกสิกรรมหรือการเพาะปลูก พืชเป็นสาขาอาชีพหนึ่งของการเกษตรกรรมถือเป็นอาชีพหลักของประชาชนในประเทศ ไทย อีกทั้งคุณลักษณะของรูปร่าง ทรงพุ่ม อัตราการเจริญเติบโต วิธีการปลูก การปฺฏิบัติดูแลรักษา รวมถึง การนำไปใช้ประโยชน์ก็ต่างกันไป ลักษณะการประกอบอาชีพเกี่ยวกับการปลูกพืชในประเทศไทยมีหลายอย่าง เช่น อาชีพทำนาปลูกข้าว ซึ่งเราเรียกผู้ประกอบอาชีพนี้ว่า “ชาวนา” อาชีพทำสวนผัก ปลุกผัก ชนิดต่างๆ เช่น ผักกาด ผักคะน้า ผักบุ้ง กวางตุ้ง เราเรียกว่า “ชาวสวนผัก” ส่วนอาชีพทำไร่ซึ่งเป็นอาชีพเกี่ยวกับการปลูกพืชไร่ชนิดต่าง ๆ เช่น ข้าวโพด มันสำปะหลัง อ้อย เราจะเรียกว่า “ชาวไร่” และผู้ที่ประกอบอาชีพทำสวนผลไม้ เช่น ส้ม เงาะ ทุเรียน ลำใย เราเรียกว่า “ชาวสวน” ฉะนั้น เพื่อความสะดวกในการศึกษา จึงเรียกผู้มีอาชีพกสิกรรมหรือการเพาะปลูกว่า “เกษตรกร” ซึ่งมีความหมายรวมถึงผู้ประกอบอาชีพทั้งการปลูกพืชและเลี้ยงสัตว์ต่างๆ รวมทั้งการทำประมงด้วย ๓. การจำแนกประเภทของการผลิตพืชทางการเกษตรในประเทศไทย การจำแนกประเภทของการผลิตพืชทางการเกษตรในระดับสากลมีหลักการแตกต่าง และหลากหลาย สำหรับประเทศไทย นักวิทยาศาสตร์การเกษตรได้จัดการจำแนกพืชออกเป็นประเภทต่างๆ ตามลักษณะการปลุก การปฏิบัติดูแลรักษา รวมไปถึงการใช้ประโยชน์ ซึ่งสามารถแบ่งพืชออกเป็นสาขาใหญ่ๆ ดังนี้ ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ป่าไม้ ๓.๑ ป่าไม้ (Forest) ป่าไม่ คือ อาณาบริเวณที่ต้นไม้ขึ้นหนาแน่น มีพื้นที่กว้างขวาง พอที่จะมีผลต่อสภาพแวดล้อมต่าง ๆ โดยทั่วไป เช่น ลมฟ้า อากาศ ในบริเวณท้องถิ่นนั้น ๆ ป่าไม้เป็นทรัพยากรที่สิ้นเปลืองอาจหมดสิ้นได้ ถ้าไม่มีการควบคุมดูแลรักษาที่ดี พันธุ์ไม้บางชนิดอาจสูญพันธุ์ แต่สามารถรักษาให้คงไว้ได้หรือปรับปรุงให้ดีขึ้น โดยวิธีการปลูกสร้างสวนป่าทดแทนในบริเวณที่ป่าถูกทำลายไปทั้งโดยธรรมชาติ เช่น ไฟป่าหรือโดยฝีมือมนุษย์ที่ลักลอบตัดไม้ทำลายป่า รวมทั้งการทำไม้โดยถูกต้องตามกฎหมายในระบบสัมปทานตัดไม้ แต่ในปัจจุบันระบบสัมปทานตัดไม้ได้ถูกยกเลิกโดยเด็ดขาดแล้ว ๑) ประโยชน์และความสำคัญของป่าไม้ ป่าไม้มีประโยชน์และมีความสำคัญต่อความเป็นอยู่และการดำรงชีพของมนุษย์เราเป็นอันมาก ซึ่งพอสรุปได้ดังนี้ ๑.๑) ช่วยควบคุมสภาวะสมดุลทางธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เพราะป่าไม้ช่วยสร้างสภาพอากาศให้มีความบริสุทธิ์มากยิ่งขึ้น และช่วยป้องกันความแห้งแล้ง เพราะรากของต้นไม้จะช่วยดูดซับน้ำฝนที่ตกตามธรรมชาติไว้ และช่วยให้เกิดความชุ่มชื้น ร่มเย็น ๑.๒) เป็นต้นกำเนิดของแหล่งน้ำ เช่น แม่น้ำ ลำธาร เราเรียกป่าที่เป็นต้นกำเนิดแหล่งน้ำนี้ว่า “ป่าดิบน้ำ” ซึ่งจะช่วยเก็บกักและชลออัตราการไหลของน้ำ ไม่ให้น้ำไหลป่าท่วมพื้นที่ราบเบื้องล่าง ทำให้มีการใช้น้ำตลอดปี นอกจากนี้ยังช่วยป้องกัน และลดอัตรากัดเซาะ การพังทลายของผิวดิน เพราะราก ของสัตว์ต้นไม้จะเป็นตัวยึดไม่ให้ดินเกิดการพังทลาย ๑.๓ เป็นคลังสมุนไพรของคนในชุมชน และก่อให้เกิดอาชีพของชาวบ้าน เช่น อาชีพการเก็บหาสมุนไพร หวาย น้ำผึ้ง ไปขายทำให้สามารถมีวิธีชีวิตแบบเศรษฐกิจพอเพียง พออยู่พอกินได้ อันเนื่องมาจากผลผลิตจากป่า ๒. สาเหตุที่ทรัพยากรป่าไม้ถูกทำลาย ในปัจจุบันป่าไม้ได้ถูกทำลายลงไปอย่างมาก จนก่อให้เกิดปัญหาต่าง ๆ มากมาย ซึ่งพอสรุปสาเหตุสำคัญที่ป่าไม้ถูกทำลาย ดังนี้ ๒.๑) เกิดจากการตัดไม้ทำลายป่า เพื่อนำไม้มาใช้ประโยชน์ในด้านต่างๆ เช่น นำไปก่อสร้างอาคารบ้านเรือนที่อยู่อาศัย ทำอุปกรณ์เครื่องมือเครื่องใช่ในชีวิตประจำวัน ทำฟืน เผาถ่าน แล้วถางป่าเพื่อใช้เป็นที่อยู่อาศัย ตลอดจนการบุกรุกป่าเพื่อทำไร่เลื่อนลอย ของชาวเขาเผ่าต่างๆ ๒.๒) เกิดจากไฟป่า ซึ่งเกิดจากหลายสาเหตุ เช่น เกิดจากสภาวะแวดล้อมที่แห้งแล้ง ฟ้าผ่า การเผ่าป่าเพื่อล่าสัตว์ การเผ่าป่าเพื่อกำจัดพืช หรือเกิดจากการประเมินเลินเล่อของนักท่องเที่ยว เป็นต้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งมักจะเกิดขึ้นเมื่อสภาวะอากาศแห้งแล้ง ๒.๓) เกิดจากสาเหตุอื่นๆ เช่น การทำลายของโรคและแมลงศัตรูพืช การชะล้าง การพังทลายของหน้าดิน เป็นต้น ๓. วิธีการป้องกันและอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ การป้องก้นและอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้สามารถทำได้ ดังนี้ ๓.๑) ลดการตัดไม้ทำลายป่า โดยใช้วัสดุอื่นทดแทนการใช้ไม้ เช่น เหล็ก พลาสติก โลหะอื่นๆ แทนไม้ และใช้ประโยชน์จากไม้ให้คุ้มค่ามากที่สุด โดยการปลูกจิตสำนึกของประชาชนให้เล็งเห็นความสำคัญและคุณค่าของป่าไม้อย่าง แท้จริง ๓.๒ การป้องกันและควบคุมไฟป่า ไม่ให้เกิดขึ้นในเขตอนุรักษ์สัตว์ และป่าต้นน้ำ ๓.๓ การปลูกป่าทดแทน ต้นไม้ ที่ถูกทำลายไป ซึ่งเป็นการเพิ่มจำนวนต้นไม้ให้มีปริมาณมากขึ้นในเขตป่าอนุรักษ์ และการปลูกป่าแบ่งออกตามลักษณะการใช้ประโยชน์ ดังนี้ ๑) การปลูกป่าไม้เพื่อทดแทนป่าธรรมชาติ หมายถึง การนำพันธุ์ไม้ชนิดต่าง ๆ ไปปลูกในพื้นที่ป่าเสื่อมโทรม เพื่อให้มีต้นไม้ขึ้นปกคลุมพื้นที่ เพื่อสร้างความสมดุลทางธรรมชาติ สร้างสภาพแวดล้อมให้กลับคืน มาดังเดิม เช่น โครงการปลูกป่าตามแนวพระราชดำริ ของปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย จำนวน ๕ ล้านไร่ เพื่อทดแทนป่าธรรมชาติ เป็นต้น ๒) การปลูกป่าเศรษฐกิจ คือ การปลูกไม้ที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจและนำมาใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวัน ทดแทนต้นไม้ที่ถูกตัดไปใช้ ซึ่งเราเรียกว่า “การทำสวนป่า” ประชากรที่มีอาชีพการทำสวนป่านี้ คือ เกษตรกรสาขาการปลูกสร้างสวนป่า เช่น ส่วนป่าไม้สัก สวนป่ายูคาลิปตัส สวนป่าไม้สนประดิพัทธ์ ส่วนป่าไม้โตเร็วอื่น ๆ เป็นต้น ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ พืชไร่ ๓.๒ พืชไร่ (Agronomy) พืชไร่ คือ พืชที่ปลูกในพื้นที่ขนาดใหญ่ ปฏิบัติดูแลรักษาง่าย ๆ อายุการเก็บเกี่ยวสั้น ส่วนใหญ่เป็นพืชล้มลุก เมื่อให้ผลผลิตแล้วก็ตายไป เป็นพืชที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจ และชีวิตประจำวันของมนุษย์ พืชไร่สามารถจำแนกออกเป็นประเภทต่าง ๆ ได้ ดังนี้ ๑) จำแนกตามลักษณะการใช้ที่ดิน โดยอาศัยความสูงต่ำของพื้นที่ และความต้องการใช้น้ำของพืช ซึ่งแบ่งออกได้ดังนี้ ๑.๑ พืชที่ปลูกบริเวณที่ดอน เป็นพืชที่เจริญเติบโตและให้ผลผลิตดีในสภาพพื้นที่ที่ไม่มีน้ำท่วมขัง มีความต้องการใช้น้ำของพืชในปริมาณปานกลาง ได้แก่ ข้าวโพด มันสำปะหลัง อ้อย ข้าวฟ่าง ถั่วต่างๆ เป็นต้น ๑.๒ พืชที่ปลูกบริเวณที่ลุ่ม เป็นพืชที่เจริญงอกงามและให้ผลผลิตได้ดี ในสภาพพื้นที่ๆ มีน้ำขัง เป็นพืชที่ต้องการใช้น้ำเพื่อสร้างความเจริญเติบโตในปริมาณมาก เช่น ข้าว แห้ว บัว กระจับ เป็นต้น ๒) จำแนกตามลักษณะทางพฤกษศาสตร์ ซึ่งแบ่งได้ ดังนี้ ๒.๑ พืชใบเลี้ยงเดียว คือ พืชที่มีใบเลี้ยง ๑ ใบ ลักษณะเส้นใบขนาดตามความยาวของใบ เช่น พืชตระหญ้า ซึ่งมีความสำคัญทางเศรษฐกิจ และชีวิตประจำวันของมนุษย์และสัตว์ นอกจากนี้ยังมีพืชอื่นๆ เช่น พืชตระกูลปาล์ม เป็นต้น ๒.๒ พืชใบเลี้ยงคู่ คือ พืชที่มีใบเลี้ยงเป็นคู่ ๆ ลักษณะเส้นใบเป็นร่างแห ได้แก่ พืชตระกูลถั่วต่างๆ และพืชอื่นๆ ที่มีลักษณะดังกล่าว พืชใบเลี้ยงคู่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจ และชีวิตประจำวันรองลงมาจากพืชใบเลี้ยงเดี่ยว ๓) จำแนกตามหลักการใช้ประโยชน์ ซึ่งสามารถแบ่งได้ ดังนี้ ๓.๑ ธัญญพืชหมายถึง พืชตระกูลหญ้าที่เมล็ดสามารถปลูก เจริญเติบโตได้ มนุษย์และสัตว์ใช้ทั้งต้นและเมล็ดเป็นอาหาร ธัญญาพืชที่สำคัญของโลก ได้แก่ ข้าว ข้าวสาลี ข้าวไรย์ ข้าวบาเลย์ ข้าวโอ๊ต และข้าวโพด เป็นต้น ๓.๒ พืชตระกูลถั่ว หมายถึง พวกถั่วต่าง ๆ ที่เป็นพืชล้มลุก เช่น ถั่วเขียว ถั่วลิสง ถั่วเหลือง ถั่วแดง ถั่วดำ ส่วนพืชตระกูลถั่วที่เป็นไม้ยืนต้น ได้แก่ ต้นแค ต้นจามจุรี เป็นต้น ซึ่งพืชดังกล่าวสามารถนำมาใช้ประกอบอาหารของมนุษย์และสัตว์ที่มีโปรตีน จากพืชสูง ราคาถูกกว่าโปรตีน ที่ได้จากเนื้อสัตว์ ๓.๓ พืชอาหารสัตว์ หมายถึง พืชจำพวกหญ้า ผัก หรือถั่ว ที่นำมาใช้เลี้ยงสัตว์ ไม่ว่าจะอยู่ในรูปลักษณะแห้ง เช่น ฟางอัดแห้งเป็นฟ่อนหรือที่ยังสดอยู่ก็ตาม เช่น ถั่ว ข้าวฟาง หญ้า พันธุ์ต่าง ๆ ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ เป็นต้น ๓.๔ พืชที่ใช้รากและหัวเป็นประโยชน์ หมายถึง พืชที่นำรากและหัวมาใช้ประโยชน์ในด้านอาหารของมนุษย์ และสัตว์ เช่น มันสำปะหลัง เป็นต้น ๓.๕ พืชเส้นใย ได้แก่ ฝ้าย ป่าน ปอ งิ้ว หรือนุ่น พืชพวกนี้เกิดขึ้นเพื่อนำเส้นใยไปใช้ในทางอุตสาหกรรม เช่น ทำด้าย ทำเชือก กระสอบ เสื้อผ้า เป็นต้น ๓.๖ พืชที่ให้น้ำตาล เป็นพืชที่นำเอาส่วนใดส่วนหนึ่งมาผลิตน้ำตาลได้ เช่น อ้อย หัวบีท เป็นต้น ๓.๗ พืชชวนเสพย์ คือ พืชที่มีสารออกฤทธิ์กระตุ้นประสาท ถ้าใช้มาก ๆ ติดต่อกันนาน ๆ อาจทำให้ติดได้ เช่น ยาสูบ ชา กาแฟ ฝิ่น เป็นต้น ๓.๘ พืชที่ให้น้ำมัน เป็นพืชที่นำผลผลิตไปแปรรูปเป็นน้ำมัน แล้วจึงนำน้ำมันมาใช้ประโยชน์ในการประกอบอาหาร หรือนำไปใช้เป็นเชื้อเพลิงสำหรับเครื่องยนต์ดีเซลการเกษตร เช่น ถั่วเหลือง ถั่วลิสง มะพร้าว ปาล์ม ละหุ่ง งา ฝ้าย ข้าวโพด ทานตะวัน มะกอก เป็นต้น ๓.๔ พืชที่ให้น้ำยาง เป็นพืชที่ให้น้ำยาง สามารถนำมาใช้ประโยชน์ด้านต่าง ๆ เช่น ต้นยางพารา ยางสน ยางนา เป็นต้น ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ พืชสวน พืชสวน (Horticulture) พืชสวน สามารถจำแนกออกได้ ตามลักษณะการใช้ประโยชน์ของพืชนั้น ๆ ดังนี้ ๑) ไม้ผล หมายถึง ไม้ยืนต้นที่มีอายุยืนนานหลายปี จึงจะให้ผลผลิตที่เรียกว่า “ผลไม้” ประเทศไทยเป็นประเทศหนึ่งที่มีสภาพภูมิอากาศ ปัจจัยแวดล้อมเหมาะแก่การปลูกไม้ผลได้หลากหลาย ชนิด แม้กระทั่งไม้ผลเมืองหนาว เช่น ท้อ ลิ้นจี่ สตรอเบอรี ก็สามารถปลูกได้ดีในภาคเหนือของไทยประเทศไทยของเรามีผลไม้ทยอยออกตามฤดูกาล ต่าง ๆ ตลอดทั้งปี อาชีพการทำสวนผลไม้จึงเป็นอาชีพสำคัญของคนไทยอีกอาชีพหนึ่ง เกษตรกรที่ทำสวนจะต้องศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับพืชที่ตนเองปลูกและมีความขยัน หมั่นเพียร ปฏิบัติบำรุงดูแลรักษาสม่ำเสมอ การทำสวนผลไม้ต้องอาศัยระยะ เวลานานกว่าจะให้ผลผลิต จึงต้องมีเงินลงทุนสูงแต่ให้ผลตอบแทนที่คุ้มค่าพืชที่จัดเป็นผลไม้ เช่น ส้มต่างๆ เงาะ ทุเรียน มังคุด สละ ลำใย มะม่วง มะเฟือง ขนุน ชมพู่ เป็นต้น ๒) พืชผัก หมายถึง พืชพวกที่ใช้ราก ลำต้น ใบ ดอก ผล เป็นอาหาร หรือเครื่องปรุงแต่ง กลิ่นอาหารต่าง ๆ พืชผักส่วนใหญ่เป็นพืชล้มลุก อายุสั้นเพียงฤดูเดียว เช่น ผักกาดขาว กวางตุ้ง คะน้า กะหล่ำปลี กะหล่ำดอก ผักกาดหัว พืชผักบางชนิดอาจจะมีอายุมากกว่า ๑ ปี เช่น ผักกะเฉด ขิง ข่า ตะไคร้ เป็นต้น โดยทั่วไปสามารถจำแนกพืชผักได้ตามหลักการใช้ประโยชน์ ได้ ๕ ประเภท ดังนี้ ๒.๑ ประเภทใช้ใบเป็นอาหาร มีดังนี้ ๑. ใช้ใบเป็นอาหารโดยตรง เช่น ผักคะน้า ผักกาดขาว กวางตุ้ง กะหล่ำปลี เป็นต้น ๒. ใช้ใบเป็นเครื่องปรุงแต่งกลิ่นอาหาร หรือเครื่องชูรส เช่น สะระแหน่ กระเพรา โหระพา แมงลัก ยี่หร่า เป็นต้น ๒.๒ ประเภทใช้ลำต้นเป็นอาหาร มีดังนี้ ๑. ผักที่ใช้ลำต้นเป็นอาหารโดยตรง เช่น มันฝรั่ง เป็นต้น ๒. ผักที่ใช้ลำต้นเป็นเครื่องปรุงหรือเครื่องชูรส เช่น ขิง ข่า ตะไคร้ เป็นต้น ๒.๓ ประเภทใช้รากเป็นอาหาร มีดังนี้ ๑. ผักที่ใช้รากเป็นอาหารโดยตรง เช่น ผักกาดหัว แครอท เป็นต้น ๒. ผักที่ใช้รากเป็นเครื่องปรุงรส หรือเครื่องชูรส เช่น รากผักชี เป็นต้น ๒.๔ ประเภทที่ใช้ผลเป็นอาหาร มีดังนี้ ๑. ใช้ผลเป็นอาหารโดยตรง เช่น มะเขือต่างๆ ฟักทอง ถั่วฝักยาว เป็นต้น ๒. ใช้ผลเป็นเครื่องปรุงรส เช่น พริกขี้หนู พริกชี้ฟ้า เป็นต้น ๒.๕ ประเภทที่ใช้ดอกเป็นอาหาร เช่น กะหล่ำดอก ดอกหอม ดอกกุ่ยฉ่าย เป็นต้น ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ไม้ดอก ไม้ประดับ ๓) ไม้ดอกไม้ประดับ ซึ่งแบ่งออกได้ดังนี้ ๓.๑) ไม้ดอก หมายถึง พืชที่ปลูกขึ้นเพื่อนำดอกไปใช้ประโยชน์ เป็นพืชที่มีลักษณะดอกสวยงาม บางชนิดดอกมีกลิ่นหอม ไม้ดอก สามารถแบ่งตามลักษณะการใช้ประโยชน์ ได้ดังนี้ ๑. ไม้ตัดดอก คือ ไม้ดอกที่ปลูกเพื่อตัดดอกมาใช้ประโยชน์ โดยตรง ใช้ประดับแจกัน หรือประดับตกแต่งในงานพิธีต่าง ๆ จัดบริเวณงานให้เกิดความสวยงาม สามารถปลูกไม้ตัดออกเพื่อการค้าเป็นอาชีพได้ เช่น กล้วยไม้ กุหลาบ เยอบีร่า หน้าวัว เบญจมาศ ดาหลา ลิลลี่ คาร์เนชั่น ซ่อนกลิ่นฝรั่งหรือแกลดิโอรัส เป็นต้น ๒. ไม้ดอกประดับ หรือไม้ดอกติดกับต้น เป็นพันธุ์ไม้ดอกสวยงาม ไม่นิยมตัดดอกเพราะดอกไม่คงทน เหี่ยวเฉาง่าย นิยมปลูกเป็นกลุ่ม หรือเป็นแปลง ประดับตกแต่งอาคารสถานที่ มีทั้งไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ ไม้พุ่ม ไม้ล้มลุก เช่น พุทธรักษา ชบา ทองอุไร ผกากรอง ประทัดจีน ดาวเรือง ดาวกระจาย สร้อยไก่หรือหงอนไก่ บานชื่น รักเร่ เป็นต้น ๓.๒) ไม้ประดับ เป็นพันธุ์ไม้ที่ปลูกประดับตกแต่งอาคารสถานที่ มีรูปทรง ลำต้น ใบ สวยงาม ไม่คำนึงถึงการใช้ประโยชน์จากดอก สามารถแบ่งได้ดังนี้ ๑. ไม้ใบ คือ พันธุ์ไม้ที่มีรูปร่างลักษณะของใบมีสีสันสวยงาม เช่น เฟร์น บอนสี ปริก โปร่งฟ้า โกสน ไทรยอดทอง เทียนทอง ปาล์มต่าง ๆ ข่อย ฤาษีผสม พลับพลึง สาวน้อยประแป้ง วาสนา เป็นต้น ๒. ไม้กระถาง เป็นพันธุ์ไม้ประดับที่สามารถนำมาปลูกให้เจริญเติบโตได้ดีในกระถาง เช่น แอหนัง ตะบองเพชร สาวน้อยประแป้ง ไม้ตระกูลปาล์ม ไม้เลื่อยต่าง ๆ เป็นต้น ๓. ไม้ตัดและไม้แคระ เป็นไม้ประดับที่มีความงามของทรงพุ่ม ลำต้น กิ่ง ใบ ดอก หรือผล โดยผู้ปลูกคอนตัดแต่งดูแลเอาใจใส่เป็นพิเศษ และต้องมีศิลปะในการตกแต่งมาก ใช้เวลามากสามารถเลี้ยงเป็นงานอดิเรกหรือทำเป็นอาชีพได้ พันธุ์ไม้ที่นิยมใช้ทำไม้ตัด ไม้แคระ ได้แก่ ชาดัด ข่อย ตะโก โมก มะสัง ชวนชม เป็นต้น ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ไม้ดอก ไม้ประดับ ๔. การศึกษาข้อมูลและวางแผนปลูกพืช ในการปลูกพืช ผู้ปลูกควรมีการวางแผนการปลูกพืชก่อนทุกครั้งว่าจะปลูกพืชอะไร พืชประเภทไหนที่จะปลูก มีวิธีการปลูก ปฏิบัติบำรุงรักษาอย่างไร เมื่อปลูกได้ผลผลิตแล้ว มีวิธีการจัดการผลผลิตที่ได้อย่างไรจึงจะคุ้มค่าต่อการลงทุน และบรรลุวัตถุประสงค์ที่วางไว้ ผู้ปลูกจะต้องศึกษาหาข้อมูลในด้านต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องให้เข้าใจอย่างแท้จริง เพื่อนำข้อมูลที่ได้มาวางแผนและดำเนินการผลิตพืชได้อย่างถูกต้องเหมาะสมกับ สภาพท้องถิ่นของตนเอง ๔.๑ แนวทางศึกษาค้นคว้าข้อมูลในการผลิตพืช เมื่อตัดสินใจที่จะปลูกพืชชนิดใดแล้ว ผู้ปลูกต้องศึกษาข้อมูลการปลูกพืชที่มีความเหมาะสมกับปัจจัยการผลิตที่ตนมี อยู่ ประเด็นที่เป็นแนวทางศึกษาค้นคว้าข้อมูลการผลิตพืช ได้แก่ ชนิดของพืชที่จะปลูก วิธีการปลูก การปฏิบัติบำรุงรักษา ความต้องการของตลาดในท้องถิ่น งบประมาณที่ใช้ในการลงทุน การจัดการผลผลิต การแปรรูปผลผลิต และการจัดจำหน่าย ปัจจุบันมีแหล่งค้นคว้า ข้อมูลการผลิตพืช ที่ผู้ปลูกสามารถปฏิบัติได้หลายวิธีขึ้นอยู่กับความสะดวกในการหาข้อมูลแต่ละ ท้องถิ่น ดังนี้ ๑) สังเกตและสำรวจสภาวะความต้องการของตลาดในท้องถิ่น ปฏิบัติได้โดยการออกสำรวจหาข้อมูล ความต้องการของตลาดในท้องถิ่นเกี่ยวกับการผลิตพืช ว่าช่วงไหนต้องการพืชชนิดใด พืชชนิดใดมีช่วงราคาสูงในเดือนอะไร ตลาดต้องการพืชชนิดใดประมาณวันละกี่กิโลกรัม ในตลาดมีผู้ผลิตรายอื่นอยู่หรือไม่ มีผู้ผลิตพืชชนิดนี้ในท้องถิ่นจำนวนกี่ราย สภาพปัญหาของผู้ผลิตรายอื่นๆ มีอย่างไร เป็นต้น นอกจากสำรวจสภาวะการทางตลาดแล้ว ผู้เริ่มลงมือผลิตรายใหม่ควรสำรวจและสังเกตสภาพสิ่งแวดล้อมที่เป็นปัจจัย และผลกระทบต่อการปลูกพืชชนิดนั้น ๆ ด้วย เช่น สภาพดิน อุณหภูมิ แสงสว่าง แหล่งน้ำที่ใช้ปลูกพืช เมื่อสำรวจได้ข้อมูลมาแล้วจึงวางแผนการผลิตพืชให้เหมาะสมกับปัจจัยต่าง ๆ ที่มีอยู่ต่อไป ๒) ศึกษาค้นคว้าข้อมูลจากหน่วยงานของรัฐ หน่วยราชการที่มีบทบาทและหน้าที่ ในการให้ความรู้ด้านการส่งเสริมเผยแพร่ความรู้ด้านวิชาการเกษตรมีหลายแห่งใน ท้องถิ่นใกล้บ้าน หรือโรงเรียนในชุมชน เช่น ศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยี ทางการเกษตรประจำตำบล หรือประจำหมู่บ้านที่เราอยู่ โดยมีเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรคอยให้คำแนะนำแก่เกษตรกรและบุคคลทั่วไปที่ มาใช้บริการ ซึ่งเราเรียกว่า เกษตรตำบล ในระดับอำเภอก็มีเจ้าหน้าที่สำนักงานเกษตรอำเภอถ้าต้องการทราบข้อมูลเกี่ยว กับดินและปุ๋ย สามารถปรึกษาได้ที่สถานีพัฒนาที่ดิน ประจำจังหวัด หรือถ้าต้องการทราบผลการวิจัยการผลิตพืชในท้องถิ่น สามารถขอข้อมูลจากเจ้าหน้าที่ สถานวิจัยพืชสวนที่ตั้งอยู่ในจังหวัด ที่เราอยู่หรือในจังหวัดใกล้เคียง สถานีวิจัยพืชสวนนี้มีหน้าที่ ทำการทดลอง วิจัยเกี่ยวกับพืชในท้องถิ่น ที่เป็นพืชหลักในท้องถิ่นอยู่แล้วนอกจากนี้ ยังมีหน่วยงานด้านการศึกษาเกษตรที่สามารถหาข้อมูลการผลิตพืชได้อีก เช่น วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยี คณะเกษตรศาสตร์ ของสถาบันราชภัฏต่างๆ หรือ มหาวิทยาลัยทุกมหาวิทยาลัยในภูมิภาคซึ่งจะมีคณะเกษตรอยู่ สำหรับหน่วยงานราชการส่วนกลางที่สามารถขอข้อมูลและเอกสารเผยแพร่ทางการเกษตร ได้ฟรี เช่น ที่กองเกษตรสัมพันธ์ กรมส่งเสริมการเกษตร เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร และที่สำคัญนักฝึกอบรมมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์บางเขน กรุงเทพมหานคร เป็นต้น ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ธุรกิจ ๓) ศึกษาค้นคว้าข้อมูลจากหน่วยงานภาคเอกชน ปัจจุบัน องค์การภาคเอกชนหลายแห่งได้ดำเนินธุรกิจการเกษตร เช่น จำหน่ายปุ๋ย เมล็ดพันธุ์ เคมีภัณฑ์การเกษตร อุปกรณ์การเกษตร หรือ รับซื้อผลผลิตทางการเกษตรเพื่อนำไปแปรรูป ตลอดจนเอกชนรายย่อยต่างๆ ได้เข้ามามีส่วนร่วมในกิจกรรมทางเกษตรมากขึ้น ตัวอย่างเช่น บริษัทเครือเจริญโภคภัณฑ์หรือซีพี บริษัทเจียไต๋ ส่งเสริมการเกษตร บริษัทซิลลิค บริษัทไบเออร์ไทยกำจัด ซึ่งบริษัทเหล่านี้เป็นบริษัทส่งเสริมการขายเคมีเกษตรและเครื่องมือเกษตร ต่างๆ และดำเนินการวิจัยการใช้ผลิตภัณฑ์ในประเทศไทยด้วย ทำให้มีข้อมูลการปลูกพืชต่าง ๆ ในทุกภูมิภาค สามารถติดต่อขอข้อมูลได้ เช่น แผ่นพับ จุลสาร วารสาร บทความทางการวิจัย แผ่นปลิว เป็นต้น แต่ข้อมูลจากหน่วยงานภาคเอกชนอาจมีข้อจำกัดอยู่บ้าง เพราะส่วนใหญ่เป็นข้อมูลเพื่อส่งเสริมการขายผลิตภัณฑ์ของบริษัท ดังนั้น ก่อนนำข้อมูลมาใช้ ควรปรึกษาผู้รู้เสียก่อนและพิจารณาอย่างรอบคอบ ๔) ข้อมูลจากสื่อสารมวลชนและสื่อสิ่งพิมพ์ เนื่องจากประชากรประมาณ ๖๐ เปอร์เซนต์ ของประเทศประกอบอาชีพเกษตรกรรมทั้งปลูกพืชและเลี้ยงสัตว์ สื่อสารมวลชนประเภทต่าง ๆ ทั้งวิทยุ โทรทัศน์ หนังสือพิมพ์รายวัน วารสาร นิตยสาร จึงมีรายการหรือคอลัมน์เกี่ยวกับการเกษตรประชาสัมพันธ์ให้เราทราบเป็นประจำ ทุกวัน เช่น ข่าวเกษตรกร ทางช่อง ๗ ทุกเช้าจะมีรายการรา สินค้าเกษตรด้านพืชผัก ผลไม้ พืชไร่ ข้าว และเนื้อสัตว์ทำให้เราได้รู้ความเคลื่อนไหวด้านราคาทุกวัน นอกจากนี้รายการโทรทัศน์ เช่น ช่อง ๕ จะมีรายการเกษตรศาสตร์นำไทย คลินิกเกษตร ทำกินบนถิ่นไทย ช่อง ๙ รายการลุงยุ้ยลุยสวนผู้ใหญ่บ้านดำดี เกษตรติดดาวเบิกฟ้าเกษตรกรไทย ปศุสัตว์พัฒนา ช่อง ๑๑ รายการพลิกฟื้นคืนชีวิตเกษตรกรไทย เมืองไทยเมืองเกษตร เกษตรก้าวหน้า ศาลาริมสวน กลับสู่ธรรมชาติ มิตรชาวกุ้ง และทางสถานีโทรทัศน์ ITV จะมีรายการเพื่อเกษตรไทย เกษตรลูกทุ่ง มรดกดิน เป็นต้น ส่วนสื่อทางวิทยุต่างๆ เช่น สถานีวิทยุมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ซึ่งเป็นสถานีวิทยุการเกษตรที่เผยแพร่ความรู้ทางการเกษตรทุกสาขา มีเครือข่ายถ่ายทอดสัญญาณไปทั่วทุกภูมิภาค ได้แก่จังหวัดเชียงใหม่ ขอนแก่น และสงขลา รายการที่น่าสนใจ เช่น รายการตอบปัญหาการเกษตร ห้องสมุดเกษตร เพื่อนเกษตร ส่วนสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย ของกรมประชาสัมพันธ์มีรายการเพื่อนเกษตรกร และราคาสินค้าเกษตร เพื่อเป็นข้อมูลข่าวสารให้เกษตรกรทั่วประเทศได้รู้ภาวะราคาพืชผลเกษตรทุกวัน ด้านสื่อสิ่งพิมพ์ต่าง ๆ ที่ให้ข้อมูลความรู้ทางการเกษตร เช่น จากหนังสือพิมพ์เดลินิวส์ ซึ่งมีคอลัมน์เหลือกินเหลือใช้ แวดวงเกษตร รู้ไว้ได้ประโยชน์ และคอลัมน์ประจำของชมรมถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร หนังสือพิมพ์ไทยรัฐซึ่งมีคอลัมน์หลังสู้ฟ้าหน้าสู้ดิน ทันโลก เกษตรบนแผ่นกระดาษ รู้ไว้ใช่ว่า เป็นต้น นอกจากนี้ยังมืสื่อสิ่งพิมพ์ประเภทหนังสือด้านวิชาการเกษตร เช่น วารสารรายสัปดาห์ รายปักษ์อีกหลายฉบับ ออกวางจำหน่ายตามแผงหนังสือทั่วไปในชุมชน ซึ่งนำเสนอความรู้ด้านเทคโนโลยี การผลิตพืชทางเกษตรสมัยใหม่ ตลอดจนจุลสาร แผ่นพับ เอกสารเผยแพร่ของกรมส่งเสริมการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ซึ่งพิมพ์เผยแพร่ฟรีโดยไม่คิดมูลค่า ๕) ข้อมูลจากผู้รู้และภูมิปัญญาท้องถิ่น ได้แก่ ผู้ที่มีความรู้ ความชำนาญ มีประสบการณ์ในการปลูกพืช เช่น เจ้าของไร่ เจ้าของสวนผู้ที่ประกอบอาชีพธุรกิจการเกษตรตลอดจนครูเกษตรและเจ้าหน้าที่ของ รัฐที่มีหน้าที่ส่งเสริมอาชีพเกษตรในท้องถิ่น ซึ่งบุคคลเหล่านี้มีความสำคัญที่สามารถให้ข้อมูลการปลูกพืชในท้องถิ่นได้ เป็นอย่างดี เพราะคลุกคลีและสัมผัสอาชีพการเกษตรมาตลอดชีวิต ย่อมมีความรู้ความชำนาญเข้าใจปัญหาและสามารถแนะนำ ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ด้านการปลูกพืชได้ ๖) ข้อมูลเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการเกษตร เป็นข้อมูลที่สามารถค้นคว้าได้จากเครือข่ายระบบสารสนเทศ หรืออินเทอร์เน็ต จากเว็บไซด์ต่าง ๆ ภายในประเทศและต่างประเทศ ซึ่งปัจจุบันมีทั้งเว็บไซด์ส่วนบุคคล องค์กรภาครัฐ ภาคเอกชน นำข้อมูลเกี่ยวกับการปลูกพืชเผยแพร่ทางอินเตอร์เน็ตความเร็วสูงจำนวนมาก ช่วยให้ประหยัดเวลาค่าใช้จ่าย รวมทั้งได้ข้อมูลที่ทันสมัยเพราะมีการปรับปรุงข้อมูลให้เป็นปัจจุบันตลอด เวลา ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ เทคโนโลยีการเกษตร เว็บไซด์ทางเกษตรที่น่าสนใจ มีดังนี้ www.thai.net/wannawath เป็นเว็บไซด์ข้อมูลเกี่ยวกับดินและชีวอินทรีย์ พร้อมเกร็ดความรู้เกี่ยวกับดิน พืช สัตว์ และวิถีชีวิตเกษตรไทยแบบยั่งยืน นอกจากนี้ยังสามารถเชื่อมต่อ (Link) ไปยังฐานข้อมูลเกษตรได้ทั่วประเทศ www.ipmthailand.org เป็นเว็บไซด์โครงการป้องกันและกำจัดศัตรูพืช โดยใช้วิธีผสมผสาน ของกรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ สามารถสอบถามข้อมูลได้ที่โทรศัพท์ ๐-๒๕๗๙-๙๖๕๔-๕๕ ในเวลาราชการ http://thaifarmer.oae.go.th เป็นเว็บไซต์เครือข่ายเกษตรกรไทย มีข้อมูลข่าวสารการเกษตรของเกษตรกรทั่วประเทศไทยที่ประสบความสำเร็จในอาชีพ http://medplant.mahidol.ac.th เป็นเว็บไซด์ของหน่วยบริการข้อมูลสมุนไพร ซึ่งจัดทำโดยสำนักงานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ๔.๒ การวางแผนผลิตพืช การวางแผนจัดการปลูกพืช เป็นการกำหนดวัตถุประสงค์ เป้าหมาย ขั้นตอน วิธีการดำเนินงานตั้งแต่เริ่มต้นปลูกพืชจนถึงการใช้ประโยชน์ของพืชที่ผลิต ได้ โดยมีความมุ่งหวังให้การปลูกพืชได้รับผลสำเร็จ คุ้มค่าต่อการลงทุนแนวทางในการวางแผนจัดการผลิตพืช มีขั้นตอนดังนี้ ๑) กำหนชนิดพืชและแนวทางการใช้ประโยชน์ หลังการทำการสำรวจสภาวะความต้องการของตลาดในท้องถิ่นและค้นคว้าหาข้อมูลพืช ที่จะผลิตแล้ว จึงถึงขั้นตอนการตัดสินใจกำหนดชนิดพืชที่จะปลูก ซึ่งควรคำนึงถึงฤดูกาลและสภาพพื้นที่ว่าเหมาะสมกับลักษณะนิสัยของพืชหรือ ไม่ มีสภาพปัจจัยต่าง ๆ เหมาะแก่การเจริญเติบโต มีปัญหาจากแมลงศัตรูพืชน้อยจะช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายในการปฏิบัติบำรุงรักษา เพื่อลดต้นทุนการผลิต ส่วนการใช้ประโยชน์ของผลผลิตพืช ผู้ปลูกควรกำหนดวัตถุประสงค์การผลิตก่อน ว่าเมื่อผลิตแล้วนำไปบริโภคในครัวเรือนหรือผลิตเพื่อการจำหน่ายและมีช่องทาง การตลาดมากน้อยเพียงใด ผู้ผลิตควรตอบคำถามเหล่านี้ให้ได้ เช่น ผลิตพืชชนิดนี้แล้วจะขายให้ใคร ขายที่ไหน ขายเมื่อไหร่ ผลิตที่ขายมีจำนวนเท่าใด ถ้าเรากำหนดแนวทางการใช้ประโยชน์ผลผลิตพืชที่ปลูกชัดเจนแล้ว ทำให้ผลิตสามารถวางแผนเตรียมการผลิตไว้ล่วงหน้า ลดความเสี่ยงต่อภาวะขาดทุนได้เป็นอย่างมาก ๒) กำหนดพื้นที่เพาะปลูกพืช โดย ผู้ผลิตควรพิจารณาพื้นที่ที่ใช้ปลูกให้เหมาะสมกับพืชที่ปลูก เช่น จะปลูกพืชชนิดใด จำนวนพื้นที่กี่ไร่ ปรับสภาพพื้นที่ เก็บซากวัชพืช หิน กรวดขนาดใหญ่ ออกจากพื้นที่ เพื่อความสะดวกในการใช้เครื่องมือ อุปกรณ์การเกษตร ถ้าในพื้นที่เดียวกันมีการปลูกพืชหลายชนิดควรจัดระบบการปลูกพืช ให้หมุนเวียนตามหลักการใช้ประโยชน์จากที่ดินให้มีประสิทธิภาพมากที่สุดและ ยังช่วยป้องกันกำจัดศัตรูพืชด้วย ๓) การจัดทำตารางการปฏิบัติงาน เป็น การกำหนดปฏิทินการปฏิบัติงานผลิตพืชไว้ในแผนดำเนินการว่าแต่ละวันจะทำอะไร บ้าง กำหนดรายการปฏิบัติ ผู้รับผิดชอบงานในตารางปฏิบัติงานควรระบุเวลาขั้นตอนการปฺฏิบัติงานตั้งแต่ การเตรียมดิน การเตรียมพันธุ์พืช การเพาะเมล็ด การย้ายปลูก การให้ปุ๋ย การเก็บเกี่ยวและจัดจำหน่าย ๔) การเตรียมทุนและแรงงานที่ใช้ในการผลิตพืช ปัญหาหนึ่งที่ผู้ผลิตพืชมักประสบอยู่ คือ ปัญหาเรื่องเงินทุน และแรงงานไม่เพียงพอ เพื่อป้องกันปัญหาและไม่ให้มีอุปสรรคระหว่างลงมือผลิตพืช ทำให้การดำเนินงานไม่ประสบผลสำเร็จ ดังนั้นควรมีแผนการใช้เงินทุนและแรงงานอย่างละเอียดถี่ถ้วน ว่าจะหาเงินทุนมาจากไหน ใช้แรงงานเท่าไหร่ จึงจะเหมาะสมกับสภาพงาน หรือใช้แรงงานภายในครัวเรือน เป็นต้น ๕) การเตรียมพันธุ์พืช วัสดุ อุปกรณ์การผลิตพืช ผู้ผลิตพืชควรจัดเตรียมพันธุ์พืชที่จะปลูกให้มีปริมาณเหมาะสมกับพื้นที่ ปลูก และควรเป็นพันธุ์พืชที่มีคุณภาพ ถูกต้องตามสายพันธุ์ มีความต้านทานโรคและแมลงศัตรูพืช ส่วนวัสดุอุปกรณ์การผลิตพืช เช่น ปุ๋ย สารเคมีเกษตร เครื่องมือที่ใช้เตรียมดินปลูกพืช เครื่องมือปฏิบัติบำรุงรักษาพืชและเครื่องมือที่ใช้เก็บเกี่ยวผลผลิต เครื่องมือแปรรูปผลผลิต ซึ่งผู้ผลิตควรมีการจัดเตรียมไว้ให้เพียงพอกับขนาดของกิจการและแผนดำเนินการ ที่จัดวางไว้ ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ เทคโนโลยีการเกษตร ๕. สรุป การผลิตพืช คือ การ เพิ่มปริมาณจำนวนต้นพืชให้มาก ขึ้น แล้วนำผลิต เช่น ราก ลำต้น ใบ ดอก ผลหรือเมล็ดไปใช้ประโยชน์ประโยชน์ตามวัตถุประสงค์ที่ผู้ผลิตวางไว้ โดยทั่วไปลักษณะการประกอบอาชีพปลูกพืชในประเทศไทยแบ่งออกได้ ๓ ประเภทใหญ่ๆ คือ การผลิตป่าไม้ในรูปการปลูกป่าเศรษฐกิจ ทดแทนป่าไม้ธรรมชาติที่ถูกตัดไป การผลิตพืชไร่ พืชสวน ซึ่งเป็นพืชที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจของประเทศไทย และในการผลิตพืชให้ประสบความสำเร็จ ผู้ผลิตจำเป็นจะต้องศึกษาค้นคว้าข้อมูลจากแหล่งต่าง ๆ รวมทั้งวางแผนจัดการอย่างเป็นระบบเพื่อป้องกันปัญหาและอุปสรรคต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้นจากการทำงาน และได้ผลงานที่คุ้มค่ากับเวลาและทุนทรัพย์ที่ลงทุนไป

  • งานเกษตร

หน่วยที่ 5 งานประดิษฐ์
ความหมายงานประดิษฐ์ ประดิษฐ์ แปลว่า คิดทำขึ้น งานประดิษฐ์ จึงหมายถึง การนำเอาวัสดุต่างๆ มาทำเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่เพื่อประโยชน์ใช้สอยด้านต่างๆ เช่น เป็นของเล่น ของใช้ หรือเพื่อความสวยงาม ภาพเคลื่อนไหว ประโยชน์ของงานประดิษฐ์ 1. เป็นการใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ 2. มีความภูมิใจในผลงานของตน 3. มีรายได้จากผลงาน 4. มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ผลงานใหม่ๆ 5. เป็นการฝึกให้รู้จักสังเกตสิ่งรอบๆ ตัว และนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์

แบบฝึกหัด เรื่องการงานและงานประดิษฐ์
งานประดิษฐ์น่ารู้ 1. ความสำคัญและประโยชน์ของงานประดิษฐ์ 1. ฝึกให้เกิดความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ สร้างผลงานให้มีรูปร่างแปลกใหม่และพัฒนางานประดิษฐ์เดิมให้สามารถใช้ประโยชน์ขึ้น 2. งานประดิษฐ์ที่ใช้วัสดุต่าง ๆ ที่นำมาประกอบกันเป็นชิ้นงาน สามารถใช้วัสดุอื่นทดแทนกันได้ และสามารถนำวัสดุที่มีในท้องถิ่น มาใช้ให้เกิดประโยชน์ได้ 3. ฝึกให้รู้จักการวางแผนทำงานอย่างเป็นระบบ เป็นขั้นตอนการปฏิบัติเป็นการสร้างระเบียบวินัยให้ตนเอง และมีนิสัยรักในงานประดิษฐ์ 4. ให้นักเรียนรู้จักใช้และดูแลรักษาเครื่องมือในงานประดิษฐ์อย่างถูกต้องและเหมาะสมกับประเภทของงานประดิษฐ์ 5. ฝึกการใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ สามารถทำงานได้อย่างมีสมาธิและมีความสุข ในการสร้างสรรค์ชิ้นงานประดิษฐ์ของตนเอง 6. ฝึกให้นักเรียนรู้จักประหยัด สามารถนำสิ่งของที่เหลือใช้มาทำให้เกิดประโยชน์มากที่สุด โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการลงทุนมากนัก 7. เป็นการอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่น ให้มีการสืบทอดและพัฒนาต่อไปจากภูมิปัญญาเดิมสู่การเรียนรู้ที่มากขึ้นและเป็นผลงานของคนไทย 8. สามารถเพิ่มพูนรายได้ให้กับผู้ประดิษฐ์ โดยการนำออกไปจำหน่ายในโอกาสต่าง ๆและสร้างเป็นอาชีพได้ในอนาคต 9. เกิดความภาคภูมิใจในชิ้นงานของตนเอง ทำให้ผู้อื่นยอมในความสามารถของตนเองในระดับหนึ่ง

การจัดอันดับและรีวิวของผู้เรียน

ยังไม่มีรีวิว
ยังไม่มีรีวิว