เนื้อหาของคอร์ส
พระพุทธศาสนา
โบสถ์ พัทธสีมาโดยทั่วๆ ไป จะมีซุ้มครอบไว้ให้เห็นชัด แต่บางวัด ก็ทำสีมาติดไว้ที่ตัวผนังด้านนอกของโบสถ์ อย่างที่วัดมหาธาตุ กรุงเทพมหานคร เป็นต้น บางวัดก็ฝังพัทธสีมาลงไปที่พื้นดินแล้วไม่ได้สร้างซุ้มครอบ เพียงแต่ทำเครื่องหมายบอกไว้ เช่น ที่วัดเบญจมบพิตร เป็นต้น นอกจากสิ่งที่กล่าวแล้ว ก็มักจะมี พระเจดีย์ หรือ พระปรางค์ สำหรับบรรจุพระบรมธาตุ หรือพระธาตุอย่างอื่นๆ ถ้าเป็นเจดีย์ ก็จะมีลักษณะเป็นสถูป ที่มียอดแหลม อย่างเจดีย์ที่วัดโพธิ์ ถ้าเป็นปรางค์ ก็จะเป็นสถูปที่มียอดสูงขึ้นไป ปลายยอดมน รูปคล้ายต้นกระบองเพชร มีฝักเพกาแยกเป็นกิ่งๆ อยู่ข้างบน อย่างพระปรางค์วัดอรุณราชวราราม เป็นต้น บางวัดก็อาจมี ศาลาการเปรียญ สำหรับเป็นที่ประกอบการกุศลอื่นๆ และเป็นที่สำหรับพระสงฆ์มาเทศนาสั่งสอนประชาชน ตามวาระที่จะกำหนดขึ้น อาจเป็นประจำ หรือชั่วคราวก็ได้ ตามปกติมักจะเป็นในวันพระ บางวัดอาจมี หอระฆัง และ โรงเรียนพระปริยัติธรรม สำหรับเป็นที่ที่ภิกษุสามเณรจะศึกษาธรรมวินัยด้วย แต่ทั้งนี้ก็มิได้ถือว่าจำเป็นจะต้องมี ที่นับว่าจำเป็นจริงๆ ก็คือ กุฏิ กับโบสถ์ การที่จะได้ชื่อว่าเป็นวัดที่สมบูรณ์ได้นั้น มิใช่เพียงมีกุฏิ โบสถ์ วิหาร และศาลาการเปรียญเท่านั้น เพราะถ้ามีเพียงแค่นั้น ก็จะไม่มีความหมายอะไร ดังนั้นจึงจำเป็นต้องมีองค์ประกอบทางด้านบุคคลด้วย นั่นคือจะต้องมีภิกษุ สามเณร ซึ่งเป็นองค์ประกอบที่สำคัญซึ่งจะขาดเสียมิได้ พัดยศพระราชาคณะ และพระครูสัญญาบัตร พัดยศพระราชาคณะ และพระครูสัญญาบัตร ภิกษุ หมายถึง กุลบุตรที่มีอายุครบ ๒๐ ปีบริบูรณ์แล้ว หวังจะเข้ามาประพฤติปฏิบัติ ตามธรรมวินัยของพระพุทธศาสนา และเข้าไปขอบวชกับคณะสงฆ์ และปฏิญาณว่าจะ ประพฤติปฏิบัติตามศีล ๒๒๗ ข้อที่มีมาในพระปาติโมกข์ ในประเทศไทยเราถือเป็นประเพณีว่า ผู้ชายไทยทุกคนที่มีอายุครบ ๒๐ ปีแล้ว ควรจะเข้าไปบวชเป็นภิกษุ เพื่อศึกษาธรรมวินัยอย่างน้อยก็ ๓ เดือนในฤดูฝน ซึ่งเราเรียกว่า "พรรษา" เมื่อเข้าไปบวชแล้ว อาจบวชอยู่นานแค่ไหนเพียงใดก็ได้ แล้วแต่ศรัทธาและความจำเป็น แต่ถ้าหากผู้ใดมีอายุ ยังไม่ครบ ๒๐ ปี แต่ประสงค์จะเข้าไปบวช ก็อาจบวชเป็น สามเณร ได้ สามเณรไม่ต้อง ถือศีลมากอย่างพระ เพียงรับไตรสรณาคมน์ และศีล ๑๐ เท่านั้น นอกจากภิกษุและ สามเณรแล้วก็จะต้องมี ศิษย์วัด ซึ่งเป็นเด็กผู้ชาย ซึ่งตามปกติเข้ามาศึกษาเล่าเรียนวิชาการ ทางโลก และมาอาศัยอยู่กับพระหรือสามเณรที่วัด สถิติ พ.ศ. ๒๕๑๘ ปรากฏว่ามีภิกษุทั้ง ประเทศรวม ๒๑๓,๑๗๒ รูป สามเณร ๑๒๑,๗๐๘ รูป และศิษย์วัดรวม ๑๑๘,๑๖๙ คน นอกจากนั้น ในบางวัดอาจมีสำนักชี คือ ผู้หญิงที่นุ่งขาวห่มขาวสมาทานศีล ๕ และศีล ๘ อยู่เป็นเอกเทศหนึ่งอีกด้วย สถิติ พ.ศ. ๒๕๑๘ มีวัดอยู่ ๒๖,๔๖๓ วัด และมีชี ๑๐,๔๔๗ คน การบริหารกิจการพระพุทธศาสนา เมื่อว่าโดยตำแหน่ง มีดังนี้ ๑. สมเด็จพระสังฆราช ๑ พระองค์ ๒. สมเด็จพระราชาคณะ ๖ รูป ๓. พระราชาคณะเจ้าคณะรอง ๗ รูป ๔. พระราชาคณะเทียบเจ้าคณะรอง ๒ รูป ๕. พระราชาคณะชั้นธรรม ๒๕ รูป ๖. พระราชาคณะชั้นเทพ ๔๕ รูป ๗. พระราชาคณะชั้นราช ๑๐๘ รูป ๘. พระราชาคณะชั้นสามัญ ๓๒๔ รูป ๙. พระครูสัญญาบัตร ๓,๐๐๒ รูป ๑๐. เจ้าอาวาส ๒๖,๔๖๓ รูป ๑๑. ครูสอนพระปริยัติธรรม ๒๐,๐๘๙ รูป สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราชสกลมหาสังฆปรินายก (วาสนมหาเถระ) สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราชสกลมหาสังฆปรินายก (วาสนมหาเถระ) การศึกษาของคณะสงฆ์ก็มีการศึกษา แผนกนักธรรม หลักสูตร ๓ ปี แผนกบาลี หลักสูตร ๙ ปี ผู้ที่สอบบาลีตั้งแต่ประโยค ๓ ขึ้นไป เรียกว่า เป็นเปรียญหรือ "มหา" การศึกษาแบบมหาวิทยาลัย หลักสูตร ๘ ปี เวลานี้คณะสงฆ์มีสถาบันการศึกษา ในระดับมหาวิทยาลัยอยู่ ๒ แห่ง คือ ที่สภาการศึกษามหามกุฎราชวิทยาลัย วัดบวรนิเวศแห่งหนึ่งกับที่มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วัดมหาธาตุอีกแห่งหนึ่ง ผู้เรียนจบชั้นอุดมศึกษาที่ สภาการศึกษามหามกุฎราชวิทยาลัยชื่อว่าเป็น ศาสนศาสตร์บัณฑิต ผู้ที่เรียนจบชั้นอุดมศึกษาที่มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เรียกว่า พุทธศาสตร์บัณฑิต ในปัจจุบันมีโรงเรียน พระปริยัติธรรม ๕,๙๘๕ โรง โรงเรียนที่อาศัยวัด ๙,๑๗๑ โรง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงจุดเครื่องนมัสการในพิธีกงเต็ก พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงจุดเครื่องนมัสการในพิธีกงเต็ก นอกจากคณะสงฆ์ไทยซึ่งเป็นฝ่ายเถรวาท หรือ หีนยาน แล้ว ก็มีคณะสงฆ์จีน และคณะสงฆ์ญวน ในฝ่ายมหายานอีกด้วย คณะสงฆ์จีนนิกาย ใน พ.ศ. ๒๕๑๘ มีภิกษุ ๙๔ รูป สามเณร ๒๕ รูป ศิษย์และผู้อาศัยอยู่ในวัดรวม ๘๔ คน มีวัดอยู่ ๙ วัด สำนักสงฆ์ ๙ แห่ง และโรงเจ ๑๔๕ โรง ส่วนคณะสงฆ์ญวน หรืออนัมนิกาย ใน พ.ศ. ๒๕๑๘ มีพระภิกษุ ๑๒๘ รูป สามเณร ๑๑ รูป ศิษย์และผู้อาศัย ๙๖ รูป มีวัดอยู่ ๑๓ วัด ทั้งคณะสงฆ์จีนนิกาย และอนัมนิกาย ต่างก็มีเจ้าคณะใหญ่ของตนเป็นผู้ปกครอง ระเบียบวิธีการบวช ผู้ที่ปรารถนาจะอุปสมบทเป็นภิกษุในพระพุทธศาสนาจะต้อง เป็นชาย มีอายุครบ ๒๐ ปีบริบูรณ์แล้ว และมีสติสมบูรณ์ ไม่เป็นโรค ที่สังคมรังเกียจ เช่น โรคเรื้อน โรคลมบ้าหมู เป็นต้น ทั้งจะต้องได้รับอนุญาตจากบิดามารดาก่อน ถ้าเป็นข้าราชการ ก็จะต้องได้รับอนุญาตเป็นทางการก่อน แล้วจึงเข้าไปหาพระอุปัชาฌาย์ เพื่อขอบวช ทั้งนี้ เพื่อจะได้กำหนดวันที่จะสะดวกด้วยกันทั้งสองฝ่าย ในการบวชนี้จะต้องได้ รับความเห็นชอบเป็นเอกฉันท์จากคณะสงฆ์เสียก่อน เพราะฉะนั้นในการบวชเป็น ภิกษุ จะต้องมีคณะสงฆ์อย่างน้อย ๑๐ รูป ร่วมในสังฆกรรมนั้น นอกจากในที่ทุรกันดาร หาภิกษุสงฆ์ได้ยากจริงๆ ก็อาจใช้คณะสงฆ์เพียง ๕ รูป ได้ สิ่งที่จำเป็นในการบวชพระก็คือ จะต้องมีบาตร และไตรจีวร พร้อมทั้งบริขารที่จำเป็นอื่นๆ คือ ประคตเอว มีด เข็ม และที่กรองน้ำ ในบริขาร ๘ อย่างซึ่งเรียกว่า อัฐบริขารนี้ จะขาดอย่างใดอย่างหนึ่งไม่ได้ การบวชก็ต้องบวชในโบสถ์ และคณะสงฆ์ในที่ประชุมนั้นจะต้องเห็นชอบด้วยเป็นเอกฉันท์ ถ้าหากมีภิกษุในที่นั้นแม้เพียงรูปเดียวคัดค้าน การบวชนั้นก็ใช้ไม่ได้ ส่วนการบรรพชา หรือบวชเป็นสามเณรนั้น แม้อายุไม่ครบ ๒๐ ปี ก็บวชได้ตามปกติจะต้องอ่านออกเขียน ได้เสียก่อน ดังที่ได้กล่าวมาแล้ว ภิกษุสามเณรออกบิณฑบาต ภิกษุสามเณรออกบิณฑบาต เมื่อได้อุปสมบทเป็นภิกษุแล้วก็จะต้องดำรงชีวิตแบบพระ จะดำเนินชีวิตอย่างฆราวาสหาได้ไม่ หน้าที่ของพระก็คือจะต้องออกบิณฑบาตในตอนเช้า ซึ่งเราเรียกว่าออกโปรดสัตว์ ต้องทำตนให้เป็นคนเลี้ยงง่าย ได้อย่างใดต้องฉันอย่างนั้น เมื่อบวชแล้วต้องศึกษาเล่าเรียนพระธรรมวินัยจึงจะเรียกว่า "บวชเรียน" ไม่ใช่ถือเอาการบวชเป็นการเข้าไปพักผ่อน นอกจากนี้ กิจวัตรประจำวันอีกอย่างหนึ่งก็คือ ลงโบสถ์ ทำวัตรเช้า ทำวัตรเย็น เพื่อเป็นการแสดงความสามัคคีทางกาย ทางวาจา และทางใจ และเพื่อทบทวนคำสอนของพระพุทธเจ้าที่ท่องแล้วให้แม่นยำยิ่งขึ้น เมื่ออยู่จำพรรษาครบ ๓ เดือนในฤดูฝนแล้ว ก็จะทำพิธีออกพรรษา ซึ่งเรียกว่า "ปวารณา" ในการปวารณานั้น ภิกษุทุกรูปตั้งแต่เจ้าอาวาสลงมา จนถึงพระลูกวัด จะต้องกล่าวเปิดโอกาสให้ภิกษุรูปอื่นๆ ว่ากล่าวแนะนำตักเตือนได้ ถ้าหากการประพฤติของตนเป็นที่รังเกียจของผู้อื่น และเมื่อปวารณาเสร็จแล้ว ต่อไปก็ถึงเทศกาลทอดกฐิน ภิกษุที่อยู่จำพรรษาครบ ๓ เดือนเท่านั้น จึงจะมีสิทธิรับกฐิน และได้อานิสงส์กฐิน การทอดกฐิน คือ การถวายผ้าไตรจีวรและเครื่องบริขารแก่พระสงฆ์หลังจากเข้า พรรษาแล้ว สำหรับวัดหลวง ก็เป็นกฐินหลวง ซึ่งพระเจ้าแผ่นดินอาจเสด็จไปทรงทอด เอง หรือทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระบรมวงศานุวงศ์หรือส่วนราชการไปทอดแทน พระองค์ก็ได้ ส่วนวัดราษฎร์ ประชาชนอาจทอดเอง เป็นการเฉพาะรายๆ ไป หรือจะรวม กันทอดเป็นกฐินสามัคคีก็ได้ สำหรับกฐินราษฎร์ มักจะมีการทอดผ้าป่าควบคู่ไปด้วย
0/6
ทวีปอเมริกาและภัยพิบัติ
ทวีปอเมริกาใต้เป็นพื้นที่ที่ได้รับภัยพิบัติจากธรรมชาติบ่อยครั้ง จากแผ่นดินไหว อุทกภัย และภูเขาไฟปะทุ นอกจากนี้ยังมีปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมจากการกระทำของมนุษย์เช่นเดียวกัน
0/4
วิชาสังคมศึกษา ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 (ส23101) ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564
เกี่ยวกับบทเรียน
พิธีแสดงตนเป็นพุทธมามกะ

ความหมาย

คำว่า  พุทธมามกะ  แปลว่า  ผู้รับเอาพระพุทธเจ้าเป็นของตน  การแสดงตนเป็นพุทธมามกะ  หมายถึง  การประกาศตนของผู้แสดงว่าเป็นผู้รับนับถือพระพุทธเจ้าเป็นของตน

การปฏิญาณตนเป็นผู้นับถือพระพุทธศาสนาไม่จำเป็นต้องทำเฉพาะคราวเดี่ยว  ทำซ้ำๆตามกำลังแห่งศรัทธาและความเลื่อมใสก็ได้  เช่น  พระสาวกบางรูป  ภายหลังแต่ได้รับการอุปสมบทแล้วก็ลั่นวาจาว่า  “พระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นพระศาสดาของข้าพระองค์  ข้าพระองค์เป็นสาวก”  ดังนี้  เป็นต้น

ความเป็นมา

เมื่อความนิยมในการบวชสามเณรลดลง  พร้อมกับการส่งเด็กไปเรียนในต่างประเทศมากขึ้น  พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว  (รัชกาลที่  ๕)  ทรงพระราชปริวิตกว่า เด็กๆจักไม่มีความรู้สึกที่ดีต่อพระพุทธศาสนา จึงโปรดให้พระโอรสของพระองค์ทรงปฏิญาณพระองค์เป็นผู้นับถือพระพุทธศาสนาก่อน  และพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว  (รัชกาลที่  ๖)  ได้เป็นพระ องค์แรกที่ปฏิญาณพระองค์ตามธรรมเนียมที่ทรงตั้งขึ้นใหม่นั้น  และใช้เป็นราชประเพณีต่อมาอีกหลายพระองค์  เช่น  พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้า จุมพฎพงศ์บริพัตร  พระโอรสสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ  เจ้าฟ้ากรมหลวงนครสวรรค์วรพินิตกับหม่อมเจ้าองค์อื่นๆก่อนจะไปศึกษาในยุโรปก็ได้แสดงพระองค์เป็นพุทธมามกะก่อน  เป็นต้น

โดยเหตุนี้  จึงเกิดเป็นประเพณีนิยมแสดงตนเป็นพุทธมามกะขึ้นสืบต่อกันมา   ในปัจจุบัน  ความนิยมแสดงตนเป็นพุทธมามกะของชาวพุทธไทย  สามารถสรุปได้  ดังนี้

๑.เมื่อบุตรหลานของตนรู้เดียงสาเจริญวัยอยู่ในระหว่าง  ๑๒ – ๑๕  ปี  ก็ประกอบพิธีให้บุตรหลานได้แสดงตนเป็นพุทธมามกะ  เพื่อให้เด็กสืบความเป็นชาวพุทธตามตระกูลต่อไป
๒.เมื่อจะส่งบุตรหลานไปเรียนยังต่างประเทศที่มิใช่ดินแดนของพระพุทธศาสนา
๓.เมื่อจะปลูกฝังนิสัยของเยาวชนให้มั่นคงในพระพุทธศาสนาส่วนมากทางโรงเรียนจะเป็นผู้จัดทำพิธีกรรม  อาจจะเป็นปีละครั้ง
๔.เมื่อมีบุคคลต่างศาสนาเกิดความเลื่อมใสในพระพุทธศาสนาต้องการจะประกาศตน เป็นชาวพุทธ

ระเบียบพิธี

นิมนต์พระสงฆ์อย่างน้อย  ๕  รูป  เข้าพระอุโบสถ  หรือศาลาหรือสถานที่ที่เหมาะสมแล้วคณะผู้ปฏิญาณตนนั่งพร้อมกันหน้าพระสงฆ์ผู้แทนจุดธูปเทียนบูชาพระรัตนตรัย  (ถ้านั่งกับพื้นพึงนั่งคุกเข่า  ถ้านั่งบนเก้าอี้  ให้ยืน  ประนมมือ)  แล้วกล่าวคำบูชาตามผู้นำ  ดังนี้

อิมินา  สักกาเรนะ  พุทธัง  ปูเชมะ
ข้าพเจ้าทั้งหลายบูชาพระพุทธเจ้าด้วยเครื่องสักการะนี้

อิมินา  สักกาเรนะ  ธัมมัง  ปูเชมะ
ข้าพเจ้าทั้งหลายบูชาพระธรรมด้วยเครื่องสักการะนี้

อิมินา  สักกาเรนะ  สังฆัง  ปูเชมะ
ข้าพเจ้าทั้งหลายบูชาพระสงฆ์ด้วยเครื่องสักการะนี้

จากนั้น  ผู้ปฏิญาณตนหันหน้าไปทางพระสงฆ์  แล้วว่า  นะโม  ตามผู้กล่าวนำ  ดังนี้

นะโม  ตัสสะ  ภะคะวะโต  อะระหะโต  สัมมาสัมพุทธัสสะ
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น  (ว่า  ๓  จบ)

ต่อด้วยว่า  คำปฏิญาณตนเป็นพุทธมามกะ  ดังนี้
เอเต  มะยัง  ภันเต,  สุจิระปะรินิพพุตัมปิ,  ตัง  ภะคะวันตัง  สะระณัง  คัจฉามะ,  ธัมมัญจะ  สังฆัญจะ,  พุทธะมามะกาติ  โน,สังโฆ  ธาเรตุ.

ข้าแต่พระสงฆ์ผู้เจริญ  ข้าพเจ้าทั้งหลาย  ขอถึงผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น  แม้เสด็จปรินิพพานแล้ว  ทั้งพระธรรม  และพระสงฆ์เป็นสรณะที่ระลึกนับถือ  ขอพระสงฆ์จงจำข้าพเจ้าทั้งหลายไว้ว่าเป็นพุทธมามกะ  เป็นผู้รับเอาพระพุทธเจ้าเป็นของตน  คือผู้นับถือพระพุทธเจ้า

(หมายเหตุ : ถ้าปฏิญาณคนเดียว  ให้เปลี่ยนคำปฏิญาณ  ดังนี้  เอเต  มะยัง  เป็น  เอสาหัง,  คัจฉามะ  เป็น  คัจฉามิ,  พุทธะมามะกาติ  ชายเปลี่ยนเป็น  พุทธะมามะโกติ  หญิงเปลี่ยนเป็น  พุทธะมามิกาติ,  โน  เป็น  มัง,  แปลว่า  ข้าพเจ้าทั้งหลายเป็นพุทธมามกะ)

พระสงฆ์ทั้งนั้นประนมมือรับ  “สาธุ”  พร้อมกัน  จากนั้นผู้ปฏิญาณตนนั่งประนมมือฟังโอวาทจากพระสงฆ์  หลังจากจบโอวาทแล้วผู้แทนนำกล่าวคำอาราธนาศีล  ดังนั้น

มะยัง  ภันเต,  วิสุง  วิสุง  รักขะณัตถายะ,  ติสะระเณนะ  สะหะ,ปัญจะ  สีลานิ  ยาจามะ .
ทุติยัมปิ  มะยัง  ภันเต,  วิสุง  วิสุง  รักขะณัตถายะ,  ติสะระเณนะสะหะ,  ปัญจะ  สีลานิ  ยาจามะ.
ตะติยัมปิ  มะยัง  ภันเต,  วิสุง  วิสุง  รักขะณัตถายะ,ติสะระเณนะสะหะ,  ปัญจะ  สีลานิ  ยาจามะ.

จากนั้นประธานสงฆ์จะเป็นผู้ให้ศีล  ผู้ปฏิญาณว่าตาม  ดังนี้
นะโม  ตัสสะ  ภะคะวะโต  อะระหะโต  สัมมาสัมพุทธัสสะ.
นะโม  ตัสสะ  ภะคะวะโต  อะระหะโต  สัมมาสัมพุทธัสสะ.
นะโม  ตัสสะ  ภะคะวะโต  อะระหะโต  สัมมาสัมพุทธัสสะ.

ประธานสงฆ์ว่า  “ยะมะหัง  วะทามิ,  ตัง  วะเทหิ”  ผู้ปฏิญาณรับว่า  “อามะ  ภันเต”
พุทธัง  สะระณัง  คัจฉามิ.
ธังมัง  สะระณัง  คัจฉามิ.
สังฆัง  สะระณัง  คัจฉามิ.
ทุติยัมปิ  พุทธัง  สะระณัง  คัจฉามิ.
ทุติยัมปิ  ธังมัง  สะระณัง  คัจฉามิ.
ทุติยัมปิ  สังฆัง  สะระณัง  คัจฉามิ.
ตะติยัมปิ  พุทธัง  สะระณัง  คัจฉามิ.
ตะติยัมปิ  ธัมมัง  สะระณัง  คัจฉามิ.
ตะติยัมปิ  สังฆัง  สะระณัง  คัจฉามิ.

ประธานสงฆ์ว่า  “ติสะระณะคะมะนัง  นิฏฐตัง”  ผูปฏิญาณรับว่า  “อามะ  ภันเต”
ปาณาติปาตา  เวระมะณีสิกขาปะทัง  สะมาทิยามิ
อะทินนาทานา  เวระมะณีสิกขาปะทัง  สะมาทิยามิ
กาเมสุ  มิจฉาจารา  เวระมะณีสิกขาปะทัง  สะมาทิยามิ
มุสาวาทา  เวระมะณีสิกขาปะทัง  สะมาทิยามิ
สุราเมระยะมัชชะปะมาทัฏฐานา  เวระมะณีสิกขาปะทังสะมาทิยามิ
อิมานิ  ปัญจะ  สิกขาปะทานิ  สะมาทิยามิ  (๓  หน)

และประธานสงฆ์จะบอกอานิสงส์ของศีลต่อไปว่า
สีเลนะ  สุคะติง  ยันติ  สีเลนะ  โภคะสัมปะทา
สีเลนะ  นิพพุติง  ยันติ  ตัสมา  สีลัง  วิโสธะเยฯ

(บทนี้  ผู้ปฏิญาณไม่ต้องว่าตาม,  พอท่านว่าจบแล้วให้กราบ  ๓  ครั้ง)

ลำดับจากนี้  ถ้ามีเครื่องไทยธรรม  พึงนำเครื่องไทยธรรมมาถวายพระสงฆ์  เสร็จแล้วพระสงฆ์อนุโมทนา  ผู้ปฏิญาณกรวดน้ำรับพรเสร็จแล้วกราบพระสงฆ์  ๓  ครั้ง  เป็นอันเสร็จพิธี

ไฟล์ตัวอย่าง
พระพุทธศาสนา การแสดงตนเป็นพุทธมามกะ.pdf
ขนาด: 257.86 KB