เนื้อหาของคอร์ส
หน่วยที่ 3 งานเกษตร
1. การปลูกผักสวนครัว 2. ประเภทของผักสวนครัว 3. หลักการปลูกผักสวนครัวในภาชนะ 4. วัสดุ อุปกรณ์ และเครื่องมือทึ่ใช้ปลูกผักสวนครัวในภาชนะ
วิชาการงานอาชีพ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 (ง13101) ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2564
เกี่ยวกับบทเรียน

           1.  การเลือกใช้เสื้อผ้า

                1.1 การเลือกใช้เสื้อผ้าให้หมาะสมกับสภาพอากาศ

                      การเลือกใช้เสื้อผ้าให้เหมาะสมกับสภาพอากาศ เพื่อให้ผู้สวมใส่สบายตัวและร่างกายอบอุ่นอยู่เสมอ จะได้มีสุขภาพแข็งแรง ไม่เจ็บป่วย

                      อากาศร้อน

ควรสวมใส่เสื้อผ้าเนื้อบางที่ทำจากผ้าฝ้ายซึ่งซับเหงื่อ และระบายอากาศได้ดี สีของเสื้อผ้าที่ใช้ควรเป็นสีอ่อน เพราะจะดูดความร้อนได้น้อย ผู้สวมใส่จึงรู้สึกเย็นสบาย

                       ฝนตก

ควรสวมใส่เสื้อกันฝนหรือกางร่มเพื่อป้องกันร่างกายไม่ให้เปียกน้ำฝน เมื่อกลับถึงบ้านควรรีบถอดเปลี่ยนเสื้อผ้าที่เราสวมใส่อยู่ทันที เพราะการสวมใส่เสื้อผ้าที่เปียกชื้นจะทำให้เป็นโรคหวัด หรือโรคปอดบวมได้

                       อากาศเย็น

ควรสวมใส่เสื้อผ้าที่มีเนื้อหนานุ่มและสวมเสื้อกันหนาวทบอีกชั้นหนึ่ง ถ้าอากาศเย็นมากอาจสวมหมวก

และถุงมือเพื่อให้ร่างกายอบอุ่นยิ่งขึ้น สีของเสื้อผ้าที่ใช้ควรเป็นสีเข้ม เพราะจะช่วยดูดความร้อนได้ดี ผู้สวมใส่จึงรู้สึกอบอุ่น

                1.2 การเลือกใช้เสื้อผ้าให้เหมาะสมกับโอกาส

                       คนเราไม่ได้ดำเนินชีวิตอยู่ในบ้านตลอดเวลา บางครั้งต้องออกไปทำกิจกรรมต่างๆ นอกบ้าน เช่น ไปโรงเรียน ไปสวนสตว์ ไปออกกำลังกาย ไปเยี่ยมผู้ใหญ่ ไปร่วมงานเลี้ยงรื่นเริง หรือไปร่วมงานศพ เสื้อผ้าที่สวมใส่เพื่อทำกิจกรรมแต่ละประเภทจะแตกต่างกันตามกฎระเบียบ กติกา มารยาท วัฒนธรรม และประเพณีของแต่ละสถานที่ที่เราไป ดังนั้น การเลือกใช้เสื้อผ้าให้เหมาะสมโอกาสจึงหมายถึง การเลือกใช้เสื้อผ้าให้เหมาะสมกัับกิจกรรมที่เราทำ และสถานที่ที่เราไป

           1) เสื้อผ้าสำหรับใส่อยู่บ้าน

ควรเป็นแบบเรียบง่าย สวมใส่สบายสะดวกต่อการลุก นั่ง เดิน หรือทำกิจกรรมต่างๅ และควรมีเนื้อผ้าที่ทนทานต่อการซักรีด

           2) เสื้อผ้าสำหรับใส่เล่นกีฬาหรืออกกำลังกาย ควรเป็นเสื้อผ้าขนาดพอดีตัวและมีความยืดหยุ่นไม่คับหรือหลวมจนเกินไป เพื่อให้สะดวกต่อการเคลื่อนไหว นอกจากนี้เนื้อผ้าควรซับเหงื่อ และระบายความร้อนได้ดี

           3) เสื้อผ้าสำหรับใส่นอน

ควรเป็นเสื้อผ้าที่สวมใส่สบายตัวไม่รัดแน่นจนเกินไป และถ้าอากาศหนาวควรสวมใส่เสื้อผ้าเนื้อหนา อากาศร้อนควรสวมใส่เสื้อผ้าเนื้อบาง

           4) ชุดนักเรียน ควรเป็นชุดนักเรียนที่ถูกต้องตามกฎระเบียบของแต่ละโรงเรียน และมีเนื้อผ้าที่ทนทานต่อการซักรีด

           5) เสื้อผ้าสำหรับใส่ไปเที่ยว

ควรเป็นเสื้อผ้าที่เหมาะสมกับสถานที่และคล่องตัวในการเดินทาง

           6) เสื้อผ้าสำหรับใส่ไปทำบุญที่วัดและไปเยี่ยมผู็ใหญ่

ควรเป็นเสื้อผ้าที่มีรูปแบบสุภาพเรียบร้อย สีไม่ฉูดฉาด

           7) เสื้อผ้าสำหรับใส่ไปร่วมงานเลี้ยงรื่นเริงและงานมงคล

เช่น งานแต่งงานควรเป็นเสื้อผ้าที่มีสีสดใส มีรูปแบบและลวดลายสวยงามตามความชอบของผู้สวมใส่

          8) เสื้อผ้าสำหรับใส่ไปร่วมงานศพ ควรเป็นเสื้อผ้าสีดำ สีขาว หรือสีขาวดำ เพื่อเป็นการให้เกียรติกับเจ้าภาพและผู้เสียชีวิต

                1.3 ประโยชน์ของการเลือกใช้เสื้อผ้าและเครื่องแต่งกายให้เหมาะสมกับสภาพอากาศและโอกาส

                (1) ร่างกายอบอุ่น สุขภาพแข็งแรง เมื่อสวมใส่เสื้อผ้าได้เหมาะสมกับสภาพอากาศ

                (2) ผู้สวมใส่มีความมั่นใจในการเคลื่อนไหวร่างกาย เมื่อทำกิจกรรมต่างๆ และช่วยส่งเสริมให้มีบุคลิกภาพดี

                (3) แสดงถึงมารยาทที่ดีในการเข้าสังคม เพราะเลือกใช้ผ้าได้เหมาะสมกับโอกาสและสถานที่

           2.  การซ่อมแซมเสื้อผ้าอย่างง่าย

                 2.1 ความหมายของการซ่อมแซมเสื้อผ้า

การซ่อมแซมเสื้อผ้าหมายถึงเป็นวิธีการที่ทำให้เสื้อผ้าที่ชำรุดนำกลับมาใช้ได้อีกครั้ง ทำให้เสื้อผ้าสามารถอยู่กับเราได้นาน นอกจากนี้ยังช่วยประหยัดค่าใช่จ่ายในครอบครัวได้อีกด้วย ในการซ่อมแซมเสื้อผ้ามีหลายวิธีการที่หลากหลาย สามารถเลือกใช้ให้เหมาะสมกับการชำรุดของเสื้อผ้านั้นๆ  ดังนี้          (1)  การชุน             (5) การปะ                           

    (2)  การด้น             (6) การติดกระดุม

    (3) การสอย            (7) การติดซิป    

    (4) การเนา             (8) การติดตะขอ

                 2.2 วัสดุ อุปกรณ์ที่ใช้ในการซ่อมแซมเสื้อผ้า

                         1) เข็ม ใช้สำหรับเย็บผ้า มีรูเล็กๆ ที่ก้นเข็มสำหรับร้อยด้าย เวลาใช้ควรระมัดระวังไม่ให้ปลายเข็มแทงนิ้วหรือส่วนต่างๆ ของร่างกาย เมื่อใช้เสร็จแล้วปักเข็มไว้บนหมอนเข็มหรือเก็บไว้ในกล่องที่มีฝาปิด

                           2) ด้ายเย็บผ้า ใช้สำหรับยึดผ้าให้ติดกันมีหลายสี ควรเลือกใช้ด้ายที่มีสีใกล้เคียงกับสีของเสื้อผ้าที่จะซ่อมแซม เพื่อความกลมกลืนสวยงาม เมื่อใช้เสร็จแล้วให้ม้วนเก็บด้าย โดยพันเข้ากับหลอดด้ายเพื่อป้องกันเส้นด้ายพันกัน จากนั้นเก็บใส่กล่องให้เรียบร้อย

                           3) กรรไกร ใช้สำหรับตัดผ้าและด้าย กรรไกรมีหลายขนาด ควรเลือกใช้ขนาดที่กระชับมือ เมื่อใช้เสร็จแล้วให้เช็ดทำความสะอาด จากนั้นเก็บไว้ในซองหรือกล่องเครื่องมือทุกครั้ง

                 2.3 การซ่อมแซมเสื้อผ้าด้วยวิธีการเนา

                         การเนาเป็นวิธีการซ่อมแซมเสื้อผ้าอย่างง่ายที่ใช้สำหรับเย็บผ้าตั้งแต่ 2 ชิ้นขึ้นไปให้ติดกันชั่วคราว หรือเนาเป็นแนวเย็บเพื่อจะได้ด้นหรือสอยให้แน่นต่อไป โดยแทงเข็มขึ้นลงอย่างห่างๆ เมื่อเนาเสร็จแล้วจะมองเห็นเส้นด้ายเป็นช่วงๆ ทั้งด้านบนและด้านล่างของผ้า

การเนาที่พบเห็นทั่วไปมี 4 แบบ ดังนี้

 (1) การเนาเท่ากัน            (3) การเนาเฉลียง

 (2) การเนาไม่เท่ากัน       (4) การเนาเทเลอร์

วิธีการเนาเท่ากันมีขั้นตอน ดังนี้

ขั้นตอนที่ 1   ร้อยด้ายใส่รูเข็ม (สนเข็ม) แล้วขมวดปมด้าย จากนั้นพับทบริมผ้าที่ต้องการเนาให้มีความกว้าง 1.5 เซนติเมตร

ขั้นตอนที่ 2   แทงเข็มทะลุผ้าจากด้านล่างขึ้นมาด้านบน

ขั้นตอนที่ 3   แทงเข็มลงบนผ้าให้ด้ายมีความกว้างประมาณ 0.5 เซนติเมตร แล้วทำซ้ำขั้นตอนที่ 2 และ 3 จนสิ้นสุดผ้าที่ต้องการเย็บ

ขั้นตอนที่ 4 ผูกปมด้ายเพื่อเก็บปลายด้ายไม่ให้หลุด

                 2.4 ประโยชน์ของการซ่อมแซมเสื้อผ้า

                         การซ่อมแซมเสื้อผ้ามีประโยชน์ ดังนี้

                         1) เสื้อผ้าที่ชำรุดนำกลับมาใช้ได้อีกครั้ง

                         2) ประหยัดค่าใช้จ่ายในการจ้างช่างซ่อมแซม และประหยัดค่าใช้จ่ายในการซื้อเสื้อผ้าใหม่

                         3) เกิดความภาคภูมิใจที่สามารถซ่อมแซมเสื้อผ้าได้ด้วยตนเอง

                         4) เป็นการใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์

ไฟล์ตัวอย่าง
ใบงานที่ 3 ป.3 เสื้อผ้าและเครื่องแต่งกาย.docx
ขนาด: 82.70 KB
สื่อประกอบการสอน_เรื่อง_สวมใส่เครื่องแต่งกายให้เหมาะสม-05191235.pdf
ขนาด: 2.45 MB
การนำเสนอ การงานอาชีพและเทคโนโลยีป.3 เสื้อผ้าและเครื่องแต่งกาย..pptx
ขนาด: 6.21 MB