วิชาคริสตศาสนา ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 (ส30205) ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564

หมวดหมู่: ม.6, มัธยมศึกษา
คอร์สที่สนใจ แชร์
แชร์คอร์ส
ลิงก์หน้า
แชร์บนโซเชียล

เกี่ยวกับคอร์ส

คำอธิบายรายวิชา

บอกประวัติพระศาสนจักรในประเทศไทยในระยะแรกเริ่มและในปัจจุบัน และการสถาปนาพระฐานานุกรมเป็นสังฆมณฑลได้ วิเคราะห์ประวัติพระศาสนจักรคาทอลิกไทย เพี่อนำไปเป็นแนวทางในการดำเนินชีวิตในสังคมได้ ตระหนักถึงคุณค่าของประวัติพระศาสนจักรคาทอลิกไทย บอกประวัติของผู้นิพนธ์พระวรสารทั้ง ๔ ท่านคือนักบุญมัทธิว นักบุญมาระโก นักบุญลูกา และนักบุญยอห์น วิเคราะห์ และเห็นคุณค่าประวัติผู้นิพนธ์พระวรสารแต่ละท่าน เพื่อเป็นแนวทางดำเนินชีวิตในสังคมได้ บอกความหมายของบางบทความในจดหมายของนักบุญเปาโล วิเคราะห์ความสำคัญของข้อความในจดหมายนักบุญเปาโลเพื่อเป็นแนวทางดำเนินชีวิต ตระหนักถึงคุณค่าของบทสอนในจดหมายนักบุญเปาโล อธิบายความหมายของกิจเมตตาฝ่ายกาย และฝ่ายจิต วิเคราะห์ความสำคัญ ตระหนักถึงคุณค่าของกิจเมตตาฝ่ายกายและฝ่ายจิตได้ นำมาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้

โดยใช้ กระบวนการสร้างความตระหนัก และกระบวนการคิดวิเคราะห์

เพื่อให้เกิดคุณธรรมตามคุณค่าพระวรสารในเรื่อง ความเชื่อศรัทธา ความเป็นหนึ่งเดียว ความรักเมตตา การรับใช้ ความสุภาพถ่อมตน อิสรภาพ ความหวัง ความจริง

 

เนื้อหาของคอร์ส

การทำวัตรสรรเสริญพระ

  • การทำวัตรสรรเสริญพระ
  • การทำวัตรสรรเสริญพระ
    00:00

ประวัติวัดแม่พระลูกประคำกาลหว่าร์
วัดแม่พระลูกประคำกาลหว่าร์ เป็นสถานท่ีของชุมชนความเชื่อแห่งนี้ ปัจจุบันมีพิธีกรรมสวดภาวนา ซึ่งเป็นวิถีทางหนึ่งในการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับพระเจ้า หรือเรียนกว่า ชีวิตจิต หรือชีวิตสนิทสัมพันธ์กับพระเจ้า ตลอดระยะเวลากว่า 125 ปี โบสถ์หลังนี้จะถูกสร้างให้แข็งแรงมั่นคง สวยงาม เหมาะสมกับพระวิหารของพระเจ้าได้เป็นสถานที่สวยงาม สง่างาม และเหมาะสมสำหรับการประทับอยู่ของพระเจ้า และสำหรับผู้ที่เข้ามาในโบสถ์นี้จะสามารถยกจิตใจขึ้นหาพระเจ้าได้ง่ายขึ้น ผ่านทางการสวดภาวนา พิธีบูชามิสซา

การภาวนาด้วยพระวาจา
1. เรื่อง การภาวนาตามคำสอนของพระเยซูเจ้า พระเยซูเจ้าแสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่า “ทรงมีชีวิตที่ผูกพันใกล้ชิดกับการภาวนา” ซึ่งก็หมายถึง “การมีชีวิตที่ผูกพันใกล้ชิดกับพระบิดา” นั่นเอง การภาวนา คือ หัวใจสำคัญของภารกิจในฐานะพระผู้ไถ่ของพระองค์ เพราะการปฏิบัติภารกิจในแต่ละวันของพระเยซูเจ้า “เริ่มต้น” และ “ต่อเนื่อง” ด้วยการภาวนาเสมอ ชีวิตของพระองค์จึงเป็นทั้ง “ตัวอย่าง” และ “แรงบันดาลใจ” แก่บรรดาอัครสาวก พระเยซูเจ้าต้องการสอน “จิตตารมณ์ใหม่” ในการภาวนาให้กับบรรดาอัครสาวกว่า “การภาวนาไม่ได้เป็นเพียงการวอนขอ แต่เป็นการน้อมรับแผนการของพระบิดา” และท่าทีของการน้อมรับนี้ นำพาให้การภาวนาวอนขอกลายเป็น “การสรรเสริญ” (praise) และ “การสำนึกรู้” (recognition) ถึงพระประสงค์ของพระเจ้า การภาวนาจึงเป็นการนำตัวเราเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของแผนการไถ่กู้ของพระเจ้า ถือเป็นรูปแบบที่พระเยซูเจ้าเป็นผู้นำเสนอ เป็นคุณลักษณะสำคัญของการภาวนาของคริสตชน และต่อมาได้ถือเป็นจิตตารมณ์สำคัญของพิธีกรรมทำวัตร พระเยซูเจ้าทรงให้คำแนะนำหรือท่าทีของการภาวนาไว้ ดังนี้ 1. ภาวนาในนามของพระองค์: “ท่านจะขอสิ่งใดจากพระบิดา พระองค์จะประทานให้กับท่าน ในนามของเรา” (ยน. 15:7) 2. ภาวนาเพียงลำพัง: ไม่จำเป็นต้องประกาศให้ใครรู้ “...ส่วนท่าน เมื่ออธิษฐานภาวนา จงเข้าไปในห้องส่วนตัว ปิดประตู อธิษฐานต่อพระบิดาของท่านผู้สถิตอยู่ทั่วทุกแห่ง...” (มธ. 6:5-8) 3. ภาวนาร่วมกัน (อย่างน้อยสองคน): “เพราะว่าที่ใดมีสองสามคนชุมนุมกันในนามของเรา เราอยู่ที่นั่นในหมู่พวกเขา” (มธ. 18:19) 4. ภาวนาด้วยความเชื่อ มุ่งมั่น และเพียรทน: “ทุกสิ่งที่ท่านวอนขอในการอธิษฐานภาวนา จงเชื่อว่าท่านจะได้รับ” (มก. 11:24) 5. ภาวนาสม่ำเสมอ ไม่ท้อถอย: “ท่านทั้่งหลายจงตื่นเฝ้าอธิฐานภาวนาอยู่ตลอดเวลาเถิด” (ลก. 18:1-7) (จาก http://boyzeeyoohstudio.blogspot.com/2012/10/241.html) 2.เรื่อง วิธีการภาวนาด้วยพระวาจาแบบ 7 ขั้นตอน การอ่านพระคัมภีร์นอกจากอ่านด้วยตนเองตามลำพังแล้ว อาจเป็นกลุ่มก็ได้ โดยเมื่ออ่านแล้วก็ให้นำพระวาจาที่ประทับใจมาทำการแบ่งปันให้คนอื่นๆ ในกลุ่มได้รับทราบด้วย ซึ่งอาจจะทำวิธีการอ่านพระคัมภีร์ 7 ขั้นตอนมาใช้ก็ได้ โดยมีวิธีการสังเขปดังนี้ 1. เชิญพระมาประทับอยู่กับเรา โดยเชิญคนหนึ่งในกลุ่มหรือสองคนทำการอธิษฐาน เชิญพระเยซูเจ้ามาประทับกับเรา ด้วยการสวดอธิฐานแบบง่ายๆ และสั้นๆ 2. เชิญอ่านข้อความจากพระคัมภีร์ 2.1 เชิญให้ทำการเปิดพระวรสารของนักบุญที่เราจะอ่านก่อน โดยการบอกว่าเป็นบทที่เท่าไร และข้อที่เท่าไร โดยพูดช้าๆ 2.2 เมื่อเห็นว่าทุกคนหาพบหมดแล้ว ก็ให้เชิญคนหนึ่งอ่านพระวรสารนั้นอย่างช้าๆ แต่ถ้าเห็นสมควรจะเชิญอีกคนหนึ่งอ่านซ้ำอีกครั้งหนึ่งก็ได้ เพื่อให้มั่นใจว่าทุกคนได้รับฟังพระวาจาและจดจำพระวาจาตอนนั้นได้ 3. เลือกหาคำประทับใจและรำพึง ให้ทุกคนอยู่ในความเงียบสักครู่หนึ่ง และให้แต่ละคนเลือกคำหรือข้อความที่ประทับใจ แล้วอ่านด้วยความสำรวมอย่างช้าๆ 3 ครั้ง เว้นช่วงระหว่างที่แต่ละคนอ่านให้ห่างพอสมควร จนกว่าจะอ่านครบหมดทุกคน 4. ปล่อยให้พระตรัสกับเราในความเงียบ ให้ทุกคนอยู่ในความเงียบประมาณ 2-3 นาที เพื่อให้พระได้ตรัสกับเราในถ้อยคำที่เรามีความประทับใจ 5. แบ่งปันสิ่งที่พระตรัสกับเราในใจ ให้แต่ละคนพิจารณาว่าพระวาจาที่ประทับใจนั้นได้สะกิดใจเราอย่างไร และพระองค์ทรงบอกให้เราเจริญชีวิตตามพระวาจานั้นอย่างไร แล้วแบ่งปันให้คนอื่นได้รับทราบ รวมทั้งอาจเล่าประสบการณ์ของตนที่ผ่านมาด้วยก็ได้ (แต่ต้องไม่ใช่เป็นการสอนคนอื่น) ในขั้นตอนการแบ่งปันนี้ให้ทุกคนเงียบและรับฟัง โดยไม่ออกความคิดเห็น ซักถาม หรือโต้แย้งใดๆ 6. พิจารณาถึงงานที่เราทำหรือประชุม หลังจากที่ได้แบ่งปันกันแล้ว หากมีกิจกรรมที่ต้องทำหรือประชุมก็ให้ทำการพิจารณาถึงเรื่องที่จะทำหรือจะประชุมก็สามารถดำเนินการต่อไปได้ทันที แต่หากไม่มีกิจกรรมหรือการประชุม ก็งดขั้นตอนนี้ได้ 7. การภาวนาร่วมกัน ให้ทำการปิดประชุมกลุ่มด้วยการภาวนาหรือร้องเพลงร่วมกัน ข้อพึงระวัง 1. การอ่านพระคัมภีร์เป็นกลุ่มแบบ 7 ขั้นตอน ควรทำเฉพาะในกลุ่มเล็กๆ ประมาณ 5-6 คน หรืออย่างมากไม่ควรเกิน 7-8 คน หรือถ้าหากมีคนมามากกว่านี้ก็ให้แบ่งเป็นกลุ่มย่อยๆ กลุ่มละ 5-6 คน แล้วให้แยกทำเป็นกลุ่ม หากไม่สามารถแบ่งเป็นกลุ่มได้ ในขั้นตอนการเชิญให้แบ่งปันพระวาจาไม่ควรให้ทุกคนทำเพราะจะใช้เวลามากเกินไป 2. การอ่านพระคัมภีร์แบบ 7 ขั้นตอนนี้ เป็นการนำมาใช้ก่อนที่จะมีการประชุม (ซึ่งอยู่ในขั้นที่ 6 )หากมีเวลาไม่พออาจจะตัดขั้นตอนต่างๆให้มีจำนวนน้อยลงก็ได้ตามความเหมาะสมกับเวลา 3. ควรใช้พระวาจาตอนเดียวกันจากพระวรสารฉบับเดียวกัน เพราะการใช้พระวาจาตอนที่แตกต่างกันจะทำให้การแบ่งปันพระวาจาแตกกระจายไปอย่างกว้างขวาง และกินเวลาที่จะใช้ในการประชุมมากเกินควร ซึ่งไม่น่าจะตรงกับเจตนาเดิมของผู้ที่แนะนำให้ใช้การแบ่งปันพระวรสาร 7 ขั้นตอนในกลุ่ม 4. ควรใช้การแบ่งปันพระวาจาแบบ 7 ขั้นตอนนี้ในครอบครัว โดยทำให้กะทัดรัดมากขึ้นและให้ลดลงมาเหลือเพียง 3-4 ขั้นตอน เพื่อมิให้เกิดความหน้าเบื่อหน่ายแก่ผู้ที่ร่วมภาวนา (จาก http://www.kamsondeedee.com/main/bible-handbook/565-166) --------------------------------------------------------------------- 3. เรื่อง การภาวนาด้วยพระวาจา แบบนักบุญอิกญาซีโอ หนึ่งในวิธีอันลุ่มลึกที่สุดที่จะพบกับพระเยซูเจ้า คือการภาวนาในรูปแบบที่เรียกว่า “สมาธิจิตภาวนาแบบนักบุญอิกญาซีโอ” ตามแบบอย่างของนักบุญอิกญาซีโอ แห่งโลโยลา ผู้ก่อตั้งคณะเยสุอิต ในระยะ หลังนี้ วิธีเข้าไปอยู่ในเหตุการณ์ที่บันทึกไว้ในพระคัมภีร์เช่นนี้กลายเป็นที่นิยม ของประชาชนทุกกลุ่ม เพราะเป็นวิธีภาวนาที่รวดเร็ว มีพลัง และใช้ประสบการณ์ และไม่ได้เป็นเพียงการศึกษาพระคัมภีร์ด้วยสมอง แต่เป็นการพบปะกับพระคริสตเจ้าโดยใช้ทั้งตัวตนของผู้ภาวนา หลักการของการภาวนารูปแบบนี้ คือให้เรานำตนเองเข้าไปอยู่ในเหตุการณ์ในพระวรสาร พร้อมกับใช้ทุกประสาทสัมผัส คือการมองเห็น การดมกลิ่น การสัมผัส การได้ยิน และการลิ้มรส เราติดตามเหตุการณ์นั้นเหมือนเป็นผู้อยู่ร่วมในเหตุการณ์ เราได้กลิ่นลมทะเลที่เมืองคาเปอร์นาอุม รู้สึกร้อนจากแสงแดดที่ส่องลงมาบนศีรษะของเรา สัมผัสเสื้อผ้าเนื้อหยาบที่ประชาชนสวมใส่ และเห็นสีหน้าของพวกเขา ดังนั้น เราจึงเฝ้ามองเหตุการณ์จากภายในเรื่องราวนั้น ๆ มิใช่จากข้อความที่เราอ่านจากหนังสือ วิธีนี้ทำให้เราสามารถยืนต่อหน้าพระเยซูเจ้า และการสนทนากับพระองค์ อาจเป็นการพบปะอันมีค่าที่สุด และเป็นการภาวนาที่เป็นส่วนตัวมากที่สุด ไม่ใช่ทุกคนสามารถภาวนาเช่นนี้ได้ ตอนแรกเราอาจรู้สึกว่าเราใช้จินตนาการและจัดฉากมากเกินไป และการภาวนารูปแบบนี้อาจช่วยคุณไม่ได้ แต่ก็คุ้มค่าที่จะพยายามทำตามสักระยะหนึ่ง เมื่อเราเคยชิน จนไม่รู้สึกแปลก และผ่อนคลาย การภาวนาแบบนี้อาจกลายเป็นวิธีภาวนาที่ลึกซึ้ง และซาบซึ้งใจ และสามารถนำไปสู่การค้นพบต่างๆ เกี่ยวกับตัวเรา และพระเจ้า คำถาม คุณยังมีชีวิตอยู่หรือเปล่า!? เพราะถ้าคุณมีชีวิต ประสาทสัมผัสทุกส่วนของคุณย่อมกำลังทำงานโดยอัตโนมัติเพื่อช่วยให้คุณเข้าใจ สิ่งที่เกิดขึ้นรอบตัวคุณ และช่วยให้คุณมองเห็น และแยกแยะองค์ประกอบของสถานการณ์หนึ่งได้ นี่คือสิ่งที่คุณจำเป็นต้องใช้ในสมาธิจิตภาวนาแบบนักบุญอิกญาซีโอ และบางทีอาจต้องใช้มากกว่าปกติเล็กน้อย ลองทำดู นั่งในท่าที่สบายที่เหมาะสมกับสภาพร่างกายของคุณ เลือกเรื่องหนึ่งในพระคัมภีร์ และอ่านช้าๆ อย่างตั้งใจ จากนั้นให้วางพระคัมภีร์ลง ปิดตา และวาดภาพในใจถึงเหตุการณ์ที่คุณเพิ่งจะอ่าน แต่ครั้งนี้ ให้ใช้ประสาทสัมผัสทุกส่วนของคุณ และการตอบสนองทางอารมณ์เพื่อเข้าไปอยู่ในเหตุการณ์นั้น – คุณมองเห็นประชาชน คุณฟังสิ่งที่เขากำลังพูดกัน และสังเกตว่าเขาพูดด้วยน้ำเสียงอย่างไร คุณเฝ้าดูปฏิกิริยาของประชาชน สังเกตภาษากายของเขา สังเกตว่าตัวคุณเองรู้สึกอย่างไร เป็นต้น เมื่อใกล้จะจบเรื่อง คุณอาจขยับเข้าไปใกล้พระเยซูเจ้าให้มากขึ้น (ถ้าเป็นเรื่องที่พระองค์ทรงอยู่ในเหตุการณ์ด้วย) และให้เริ่มสนทนากับพระองค์เกี่ยวกับเหตุการณ์ที่เพิ่งจะเกิดขึ้น และบอกว่ามันมีผลกระทบต่อคุณอย่างไร ปล่อยให้การสนทนา (การภาวนา) นั้นดำเนินไปจนกว่าจะหยุดไปเอง ก่อนที่คุณจะจากพระเยซูเจ้า และค่อยๆ ถอยออกมาจากสถานการณ์นั้น จากนั้น ให้ไตร่ตรองว่าคุณได้เรียนรู้ และเข้าใจอะไรบ้าง และขอบพระคุณพระเจ้า ตัวอย่าง : พระเยซูเจ้าทรงรักษาคนอัมพาต (มก. 2:1-12) คุณกำลังนั่งอยู่ในบ้านหลังนั้น ซึ่งเต็มไปด้วยผู้คน... ให้มองไปรอบๆ ฝูงชนขณะที่คนอื่นๆ ยังพยายามเบียดเสียดเข้ามาภายใน... สังเกตเสื้อผ้าของเขา... ผ้าเนื้อหยาบของบุคคลที่อยู่ข้างตัวคุณ... สีหน้าของพวกเขา... ในห้องอากาศร้อน และมืด เพราะเต็มไปด้วยประชาชน... ทุกคนมองไปในทิศทางเดียวกัน... จงมองตามสายตาของเขาไป... มองที่บุคคลที่ทุกคนกำลังมองเป็นตาเดียวกัน... คุณสังเกตเห็นอะไรในตัวเขา... สังเกตให้ดี... เขาทำให้คุณรู้สึกอย่างไร บัดนี้ ฟังคำพูดของชายคนนี้ว่าเขากำลังพูดอะไร... เขาพูดอย่างไร... พูดดัง หรือเบา... พูดอย่างผ่อนคลาย หรือเร่งรัด... เขายิ้ม หรือหัวเราะ หรือหน้านิ่ว... มองไปที่ฝูงชนอีกครั้งหนึ่ง... พวกเขาแสดงปฏิกิริยาอย่างไร... มีเสียงดังขึ้น... ดังมาจากข้างบนหรือ กำลังเกิดอะไรขึ้นข้างบนนั้น... คุณเห็นอะไรเมื่อคุณเงยหน้าขึ้นมอง... บรรยากาศในห้องเป็นอย่างไร เมื่อคนในห้องเห็นว่ากำลังเกิดอะไรขึ้น... เฝ้าดูวิธีการที่เขา ค่อยๆ หย่อนแคร่ที่คนอัมพาตนอนอยู่ลงมา... คนที่นั่งอยู่ข้างใต้ทำ อะไร... แล้วหันกลับไปมองที่พระอาจารย์ พระเยซูเจ้า... พระองค์แสดงท่าทีอย่างไรเมื่อทรงมองเหตุการณ์นี้... พระองค์ทรงขบขัน ครุ่นคิด ยินดีที่เห็นเช่นนี้ หรืออะไร บัดนี้ คนอัมพาตลงมาถึงพื้นห้องแล้ว... จงมองเขาอย่างตั้งใจ มองสีหน้าของเขา ความพิการของเขา... คุณสังเกตเห็นอะไร... และพวกคนที่หย่อนแคร่ลงมา... เขาอยู่ที่ไหนในเวลานี้ เขากำลังทำอะไร... พระเยซูเจ้ากำลังตรัสกับชายคนนั้นอย่างเคร่งขรึม... พระองค์ตรัสอะไร... คำพูดของพระองค์ฟังดูแปลกหรือไม่ หรือเป็นธรรมชาติมาก บัดนี้ ให้รับรู้ว่าเกิดความวุ่นวายขึ้นในกลุ่มคนที่นั่งอยู่ที่มุมห้อง... พวกเขาเป็นใคร... คุณสังเกตเห็นเขาก่อนหน้านี้หรือไม่... ดูเหมือนเขาจะไม่พอใจ... ทำไม... สังเกตภาษากายของเขา... และดูสีหน้าของพระเยซูเจ้าด้วย... พระองค์ตรัสกับเขาอีกครั้งหนึ่งอย่างหนักแน่น... ฟังการโต้ตอบอย่างฉุนเฉียว... รับรู้บรรยากาศในห้อง... บัดนี้ พระเยซูเจ้าหันมาตรัสกับชายที่นอนอยู่บนแคร่ ฟังน้ำเสียงของพระองค์... เฝ้าดูเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น... ดูชายคนนั้นลุกขึ้นแบกแคร่ และเดินออกไปอย่างไม่ค่อยมั่นคงนัก เกิดเสียงอึกทึกขึ้นทั่วห้อง... ประชาชนพูดกันอย่างตื่นเต้น แปลกใจกับสิ่งที่เขาเห็น... คุณค่อยๆ เดินเบียดฝูงชนเข้าไปหาพระ เยซูเจ้า... ดูเหมือนว่าพระองค์กำลังรอคุณอยู่... พระองค์มองมาที่คุณ... คุณเห็นอะไรในพระพักตร์ของพระองค์... คุณรู้สึกอย่างไร... คุณอยากพูดอะไรกับพระองค์... พูดเรื่องการอภัยบาป หรือการรักษาโรค หรือพูดเรื่องอะไร... พระองค์ทรงตอบคุณว่าอะไร... และทรงตอบอย่างไร... คุณตอบพระองค์อย่างไร... อย่ารีบร้อนกับการสนทนานี้ เวลาหยุดนิ่ง... เพียงแต่พูดคุยกันให้นานเท่าที่จำเป็น ถึงเวลาต้องถอยออกมาแล้ว ... เวลาเริ่มเดินหน้าไปอีกครั้งหนึ่ง... คุณค่อยๆ เบียดฝูงชนออกมาจากห้องที่แออัดนั้น... ออกมาสัมผัสกับอากาศสดชื่นในเวลากลางคืน... ยืนอยู่ที่นั่น หรือจะเดินทอดน่องออกมาก็ได้... แต่ไม่ว่าจะทำอะไร จงจำไว้ว่าคุณเพิ่งได้เห็นอะไร และได้ยินอะไร... จงจำไว้ และคิด... นั่นคือจุดสำคัญ... คุณจะทำอะไรกับสิ่งที่คุณเห็น และได้ยิน บัดนี้ ให้อยู่เงียบๆ สักครู่หนึ่ง และพักผ่อนในการประทับอยู่ของพระเจ้า (จาก www.kamsonbkk.com/prayer/2012-03-29-03-40-58/6323-12)

กิจเมตตาฝ่ายกายและฝ่ายจิต
เรื่องที่ 1 กิจเมตตาฝ่ายกาย เราจะแสดงความเมตตาของพระเจ้าต่อผู้อื่นได้อย่างไร เราพูดว่าพระเจ้าทรงเป็นผู้ที่มีความเมตตากรุณา ทรงเห็นอกเห็นใจต่อเรา แต่เรากลับเมินเฉยต่อคนยากไร้ เราพูดว่าพระเจ้ารักเราและมีเมตตาต่อเรา แต่บางครั้งเรากลับไม่สนใจความทุกข์ยากของเพื่อนพี่น้อง เราจึงจำเป็นต้องทบทวนกิจการพระเมตตาของพระเจ้า ซึ่งเราสามารถเรียนรู้และนำไปปฏิบัติได้ในหลากหลายรูปแบบ เพื่อแสดงความรักต่อผู้อื่น กิจเมตตาฝ่ายกาย เราพบกิจเมตตาธรรมฝ่ายกายได้จากคำสอนของพระเยซูเจ้าที่พระองค์ทรงกระทำเป็นแบบอย่างว่าเราควรที่จะปฏิบัติตนอย่างไรกับผู้อื่น ให้เราคิดว่า “การปฏิบัติกับผู้ที่ต่ำต้อยก็เท่ากับปฏิบัติต่อพระองค์เอง” การปฏิบัติกิจเมตตาแห่งความรักนี้เป็นการช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ในเรื่องความต้องการฝ่ายร่างกาย เป็นการตอบสนองหรือการช่วยเหลือต่อความจำเป็นสำหรับการดำรงชีวิต กิจเมตตาธรรมฝ่ายกายมีทั้งหมด 7 ประการ แต่ละประการมีข้อแนะนำในการนำไปปฏิบัติในชีวิตประจำวันซึ่งแต่ละคนอาจจะกระทำเพิ่มเติมในรูปแบบกิจกรรมอื่นๆได้ตามความเหมาะสม 1. ให้อาหารแก่ผู้หิวโหย ในสังคมของเรายังมีคนอีกเป็นจำนวนมากที่ไม่มีอาหารจะรับประทาน ขณะที่หลายคนมีอย่างเหลือเฟือ และบางครั้งก็กินทิ้งกินขว้าง เราควรคิดหาวิธีที่จะทำอย่างไรให้การรับประทานอาหารของเราได้เป็นประโยชน์แก่ผู้อื่นบ้าง - ในงานเลี้ยงฉลอง เรามีอาหารที่อร่อยมากมายเหลือเฟือ เราจะบริจาคหรือนำไปให่คนที่ไม่มีอะไรจะรับประทานบ้างได้หรือไม่ - เราจะบริจาคเงินเพื่อช่วยเหลือองค์กรหรือหน่วยงานที่ช่วยเหลือคนยากจนบ้างได้ไหม - เมื่อมีของกินที่สามารถนำมาเก็บไว้ในช่องแช่แข็ง ให้เก็บไว้แล้วนำไปให้คนที่ไม่มีได้ไหม - พยายามที่จะไม่ตักอาหารเกินความต้องการ ถ้าท่านเห็นว่าของที่เหลือจะต้องถูกนำไปทิ้ง ให้ท่านขอจากเจ้าภาพเพื่อนำไปให้คนยากจนได้หรือไม่ - บางร้านค้าที่ขายของไม่หมด จะนำของเหล่านั้นไปให้คนยากจนแทนที่จะนำไปทิ้งได้หรือไม่ - เก็บเงินที่จะซื้อขนมหรืออาหารแล้วสะสมไว้นำไปถวายในวัดเพื่อช่วยเหลือคนยากจน - หาองค์กรการกุศลเพื่อช่วยระดมทุนหรืออาสาสมัครในการช่วยเหลือคนยากจน หรือสมัครเข้าเป็นสมาชิกองค์กรการกุศลที่มีอยู่แล้ว 2. ให้น้ำแก่ผู้กระหาย พี่น้องของเราจำนวนมากไม่มีน้ำดื่มที่สะอาดและต้องทุกข์ทรมานจากการขาดปัจจัยพื้นฐานในการดำเนินชีวิต เราควรช่วยเหลืออย่างเต็มความสามารถของเราเพื่อให้พวกเขาได้เข้าถึงปัจจัยที่จำเป็นต่างๆเหล่านั้น - ช่วยบริจาคเพื่อขุดบ่อน้ำเพื่อให้พวกเขาได้มีน้ำใช้ที่สะอาด - จัดตั้งกลุ่มเด็กๆอาจจะเป็นทีมฟุตบอลหรือกีฬาอย่างอื่น หลังเล่นแล้วให้ช่วยกันรณรงค์นำขวดน้ำ ใส่น้ำสะอาดไปแจกจ่ายให้บ้านที่ไม่มีน้ำสะอาดใช้ - ทำเช่นเดียวกันกับเยาวชนและผู้ใหญ่ในหมู่บ้าน - พยายามใช้น้ำอย่างประหยัด จงปิดน้ำทุกคนที่ใช้เสร็จแล้วไม่ว่าจะแปรงฟันหรือล้างถ้วยชาม โดยเฉพาะในพื้นที่ที่ขาดน้ำ 3. ให้เสื้อผ้าแก่ผู้ไม่มีนุ่งห่ม เสื้อผ้าเครื่องนุ่งห่มมีความจำเป็นต่อมนุษย์ทุกคน บางคน ไม่ว่าเด็กหรือผู้ใหญ่มีเสื้อผ้าเพียงไม่กี่ตัว ในขณะที่บางคนมีอย่างเหลือเฟือ ถ้าสำรวจดูแต่ละคนจะเห็นได้ว่ามีเสื้อผ้าที่เกินความต้องการ ดังนั้นการแบ่งปันเสื้อผ้าจึงเป็นเรื่องที่เราสามารถกระทำได้ไม่ยากเลย - สำรวจในตู้เสื้อผ้าเพื่อนำเสื้อผ้าไปบริจาคให้กับคนที่ต้องการ - ตั้งกล่องที่วัดแล้วเชิญชวนให้คนนำเสื้อผ้ามาบริจาค - รวบรวมเงินเพื่อซื้อชุดผู้เรียนให้กับเด็กๆ ในท้องที่ยากจน - รวบรวมเสื้อผ้าเด็ก เครื่องใช้ ของเล่นสำหรับเด็กๆไปมอบให้กับเด็กๆในครอบครัวยากจน 4. ให้ที่พักแก่ผู้ที่ไร้ที่อยู่ มีหลายๆสถานการณ์ที่ทำให้บางคนจำเป็นที่จะต้องไร้ที่อยู่อาศัย พระเยซูเจ้าทรงสนับสนุนเราให้ออกไปหาบุคคลเหล่านั้น ยืนยันถึงคุณค่าแห่งความเป็นมนุษย์ของพวกเขา หาทางช่วยเหลือพวกเขาให้พบทางออกที่กำลังท้าทายชีวิตของพวกเขา - ปรึกษากับสมาชิกของวัดหรือสังฆมณฑลเพื่อจะได้หาทางช่วยเหลือบุคคลที่ไม่มีบ้านอยู่อาศัย และอาสาสมัครออกไปช่วยเหลือ - บริจาคเงินให้กับองค์กรกุศลที่มีจุดประสงค์เพื่อช่วยสร้างบ้านให้กับคนที่ไร้บ้านอยู่อาศัย - คนที่ไร้บ้านจำนวนมากมีความต้องการผ้าห่มเพื่อความอบอุ่นในการพักผ่อนหลับนอน ท่านสามารถตัดเย็บหรือจัดหามาให้พวกเขาเพื่อบรรเทาทุกข์ได้ - มีเด็กเป็นจำนวนล้านๆ และครอบครัวจำนวนมาที่ต้องอพยพย้ายถิ่น หนีจากภัยสงคราม ความหิวกระหาย และกำลังแสวงหาความปลอดภัยและสันติสุขในชีวิต เราอาจจะระดมพลังของเด็กและเยาวชนในเขตวัดของเรา รวมทั้งบรรดาเยาวชนและผู้ใหญ่ในการสำรวจความจำเป็นและความต้องการ นำเสนอต่อหน่วยงานด้านสังคมของพระศาสนจักร หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น คณะกรรมการด้านสังคม คณะกรรมเพื่อความยุติธรรมและสันติ ทั้งในระดับชาติ และระดับนานาชาติเพื่อหาทางช่วยเหลืออย่างเป็นระบบและยั่งยืน 5. เยี่ยมผู้ป่วย บุคคลที่เจ็บไข้ได้ป่วยมักจะถูกหลงลืมหรือมองข้ามไป เราแต่ละคนจึงควรที่จะจัดเวลาเพื่อไปเยี่ยมและให้กำลังใจบุคคลเหล่านั้นบ่อยๆ เท่าที่สามารถ สิ่งที่เราสามารถทำได้ เช่น - การบริจาคโลหิต - การสละเวลาเพื่อเป็นอาสาสมัครพยาบาลคนเจ็บป่วยที่บ้าน – ใช้พระพรที่พระเจ้าประทานให้ให้เป็นประโยชน์ เช่น การอ่านหนังสือ การพูดคุย การร้องเพลง การวาดภาพ ฯลฯ - ออกไปเยี่ยมเพื่อนบ้านที่คนสูงอายุในวัดหยุด - อาสาช่วยคนที่ต้องพยาบาลคนเจ็บไข้หรือคนชราเป็นประจำทุกๆวัน ให้เขาได้พักผ่อนบ้าง - ถ้าท่านทำอาหาร ให้ทำเผื่อครอบครัวที่มีคนเจ็บป่วยที่สมาชิกในบ้านไม่มีเวลาในการทำอาหาร 6. เยี่ยมผู้ต้องขัง คนที่ต้องถูกจองจำในคุกยังคงเป็นบุคคลที่ต้องการกำลังใจ พวกเขายังคงเป็นพี่เป็นน้องกับพวกเรา เป็นฉายาลักษณ์ของพระเจ้าเช่นเดียวกับเรา ไม่ว่าพวกเขาจะได้กระทำอะไรลงไป พวกเขาก็ยังคงรอโอกาสหรือมีสิทธิที่จะได้รับฟังข่าวดีของพระเจ้า และแสวงหาแนวทางที่ถูกต้องจากพระวาจาของพระเจ้าในการดำเนินชีวิต - อาสาสมัครเข้าไปช่วยเหลือกลุ่มหรือองค์กรที่เกี่ยวกับการอภิบาลคนที่ถูกคุมขัง หรือจัดกลุ่มกันเพื่อทำงานอภิบาลในด้านนี้ - จัดกลุ่มออกไปเยี่ยมหรือหาสิ่งของเพื่อนำไปมอบให้ผู้ที่ถูกจองจำในโอกาสคริสต์มาสหรือปีใหม่ 7. ร่วมงานฝังศพ การไปฝังศพเป็นโอกาสที่เราสามารถแสดงออกถึงความเห็นอกเห็นใจเพื่อนในยามที่พวกเขาตกอยู่ในห้วงเวลาแห่งความทุกข์ยาก เราอาจจะภาวนาและการช่วยเหลืออย่างใดอย่างหนึ่งที่เราสามารถกระทำได้ เป็นการแสดงออกถึงการให้ความเคารพต่อชีวิต ซึ่งเป็นของขวัญที่พระเจ้าประทานให้ และยังเป็นการให้กำลังใจหรือการปลอบโยนแก่บุคคลที่กำลังโศกเศร้า - ส่งการ์ดหรือข้อความเพื่อแสดงความเสียใจให้กับบุคคลที่ต้องสูญเสียบุคคลที่เขารัก ท่านอาจจะทำการ์ดและเขียนคำภาวนาเพื่อผู้ล่วงลับ - การไปเยี่ยมที่ป่าช้าและภาวนาสำหรับดวงวิญญาณของผู้ล่วงลับ - ให้คำแนะนำในการจัดงานศพแบบคริสตชน - ศึกษาพิธีกรรมหรือคำสอนเรื่องความตายและการกลับคืนพระชนมชีพของพระเยซูเจ้า และความเชื่อเรื่องชีวิตหลังความตายของคาทอลิก - ขอมิสซาเพื่อผู้ล่วงลับ (ที่มา : http://www.kamsondeedee.com/main/love-letter/1662-love-letter-20) ------------------------------------------------------------------- เรื่องที่ 2 กิจเมตตาฝ่ายจิต กิจเมตตาฝ่ายจิตเป็นกิจการที่คริสตชนได้ปฏิบัติกันมาจนเป็นประเพณีปฏิบัติสืบต่อกันมาเป็นเวลานานแล้วดังปรากฏอยู่ในคำสอนของนักเทววิทยา ข้อเขียนของนักเขียนเรื่องชีวิตฝ่ายของพระศาสนจักร และบทเทศน์ต่างๆ กิจเมตตาฝ่ายจิตเป็นการช่วยเหลือเพื่อนพี่น้องที่มีความต้องการเรื่องที่เกี่ยวข้องกับจิตวิญญาณ กิจเมตตาฝ่ายจิตตามคำสอนของพระศาสนจักรคาทอลิกประกอบด้วยกิจการต่างๆจำนวน 7 ประการ ซึ่งแต่ละข้อจะมีข้อแนะนำเพื่อการปฏิบัติเป็นตัวอย่างเพื่อง่ายต่อความเข้าใจ เราสามารถประยุกต์เพิ่มเติมกิจกรรมต่างๆ ลงไปแล้วแต่สภาพแวดล้อมที่เราอาศัยอยู่ 1. ให้คำแนะนำแก่ผู้สงสัย เราทุกคนต่างมีช่วงเวลาที่เกิดความสงสัยในชีวิตแห่งความเชื่อของเรา อย่างไรก็ตาม เราควรที่จะจดจำไว้ว่าพระเยซูคริสต์ทรงเป็นหนทาง ความจริงและชีวิต ซึ่งเราจะต้องยึดมั่นพระองค์ตลอดไปในชีวิตของเรา การรับฟังคำแนะนำและคำสั่งสอนทำให้เรามีปรีชาฉลาด “จงฟังคำแนะนำและรับคำตักเตือน ท่านจะมีปรีชาในอนาคต” (สุภาษิต 19:20) เรื่องกางเขนของพระคริสตเจ้านั้นแม้ดูว่าเป็นเรื่องโง่เขลาในสายตาของคนทั่วไป แต่สำหรับพระเจ้าแล้วเป็นเรื่องที่ยิ่งใหญ่มาก “ความโง่เขลาของพระเจ้ายังฉลาดยิ่งกว่าปรีชาญาณของมนุษย์ และความอ่อนแอของพระเจ้าก็ยังเข้มแข็งยิ่งกว่าพละกำลังของมนุษย์” (1 โครินธ์ 1:25) - ถ้ามีคนมาขอคำแนะนำจากท่าน ให้ท่านตอบโดยมีหลักอยู่ในคำสอนของพระเยซูคริสตเจ้า ผู้ทรงเป็นหนทาง ความจริงและชีวิต - ดำเนินชีวิตที่เป็นแบบอย่างที่ดีแห่งการเป็นศิษย์ผู้ติดตามพระเยซูคริสต์ เพื่อในคนทั้งหลายจะได้เห็นความรักของพระเจ้าที่เผยแสดงให้เห็นโดยผ่านทางกิจการหรือการกระทำของท่าน - เป็นเพื่อนร่วมทางกับบุคคลที่มีอุปสรรคหรือปัญหาในเรื่องของความเชื่อ เชิญชวนเขาให้เข้าร่วมกลุ่มเพื่อจะได้รับศึกษาอบรมเพิ่มเติม หรือมีประสบการณ์แห่งความเชื่อ จัดหาหนังสือที่มีประโยชน์เพื่อบำรุงหรือทำความเข้าใจเรื่องความเชื่อ และการนมัสการพระเจ้าในพิธีกรรมต่างๆ 2. สอนคนที่ไม่รู้ เรียนรู้และทำความเข้าใจเรื่องความเชื่อ และเปิดตนเองเข้าไปพูดคุยหรือแบ่งปันความเชื่อของตนเองกับผู้อื่น ยิ่งเราแบ่งปันความเชื่อ เรายิ่งมีความเชื่อมากยิ่งขึ้น - อาสาไปร่วมงานสอนคำสอนในที่ที่ขาดแคลนครูคำสอน ถ้าไม่มีเวลาให้สนับสนุนงานสอนคำสอนด้วยการบริจาคเงินหรือช่วยเหลือค่าใช้จ่ายเพื่อการสอนคำสอน - อาสาสมัครไปงานสอนคำสอนหรือการสอนคริสตศาสนาที่วัดหรือโรงเรียน - เชิญชวนเพื่อนต่างความเชื่อไปร่วมมิสซาพร้อมกับท่านในวันอาทิตย์ - อ่านพระคัมภีร์และหนังสือคำสอนอย่างสม่ำเสมอ - เข้ารับการฝึกอบรมเรื่องของการสอนคำสอนที่วัดหรือสังฆมณฑลจัดขึ้น 3. ตักเตือนคนบาป จงอย่าตัดสินหรือตำหนิติเตียนใคร แต่จงให้การสนับสนุน ให้กำลังใจ ช่วยเหลือเขาให้พบหนทางเพื่อการแก้ไขปรับปรุงตนให้พ้นจากความผิดนั้น แล้วก้าวเดินไปด้วยกันในการดำเนินชีวิตใกล้ชิดพระเยซูเจ้า - ในสังคมปัจจุบัน เราจะต้องยืนหยัดในการสร้างวัฒนธรรมที่จะไม่ยอมรับบาปทุกชนิด และสำนึกว่าเราทุกคนล้วนแต่เป็นคนบาปและทำบาปอยู่เสมอ - จงอย่าพิพากษาหรือตัดสินใคร แต่จงแนะนำให้พวกเขาได้ประพฤติตน อยู่ในแนวทางแห่งความชอบธรรม หรือความรอด “อย่าตัดสินเขา และท่านจะไม่ถูกพระเจ้าตัดสิน ท่านตัดสินเขาอย่างไร พระเจ้าจะทรงตัดสินท่านอย่างนั้น” (มัทธิว 7:1-2) - เมื่อท่านจะตักเตือนใคร จงอย่ายกตนเองหรือแสดงว่าตนเองดีกว่าคนอื่น เพราะเราทุกคนต่างต้องการความรักของพระเจ้าเพื่อปรับปรุงตนเองด้วยกันทั้งนั้น - หนทางที่ถูกต้องคือการเป็นเพื่อนร่วมทางกับเขาเพื่อจะได้แบ่งปันความเชื่อให้แก่กันและกันได้อย่างลึกซึ้ง - จงระลึกถึงพระวาจาที่ว่า “ท่านคนหน้าซื่อใจคดเอ๋ย จงเอาท่อนซุงออกจากดวงตาของท่านก่อนเถิด แล้วจะได้เห็นชัดก่อนไปเขี่ยเศษฟางออกจากดวงตาของพี่น้อง” (มัทธิว 7:5) 4. บรรเทาใจผู้ทุกข์ยาก จงยินดีที่จะรับฟังและให้กำลังใจกับบุคคลที่กำลังมีความทุกข์ แม้ว่าท่านไม่รู้ว่าจะพูดปลอบโยนเขาได้อย่างไรให้เหมาะสม แต่การอยู่กับเขาย่อมก่อให้เกิดประโยชน์มหาศาล - อดทนที่จะรับฟังแม้ว่าเขาจะระบายความทุกข์ยากลำบากอะไรให้ท่านฟัง - ปรุงอาหารหรือซื้ออาหารไปให้เพื่อนที่กำลังอยู่ในความทุกข์ยากลำบาก - เขียนจดหมายหรือส่งการ์ดไปให้กำลังใจ - จัดเวลาไปเยี่ยมคนที่กำลังมีความทุกข์ 5. ให้อภัยผู้ทำความผิด การให้อภัยผู้อื่นเป็นเรื่องที่ยากทั้งนี้เพราะเรายังไม่มีความเมตตาอันไม่สิ้นสุดและความเห็นอกเห็นใจของพระเจ้าอยู่ในใจของเรา แต่พระเยซูเจ้าทรงสอนเราให้รู้จักให้อภัยแก่ผู้อื่นเหมือนกับที่พระองค์ทรงให้อภัยเรา การพึ่งพาพระองค์จะช่วยทำให้เราให้อภัยแก่คนอื่นได้ - จงเข้าหาบุคคลที่เราไม่ค่อยพอใจ - ให้กล่าวคำว่า “ขอโทษ” เหมือนที่เราฝึกตั้งแต่เด็ก แต่ต้องพูดออกมาจากใจจริง การยกโทษจะช่วยเปลี่ยนจิตใจและการดำเนินชีวิตของเรา - เข้าร่วมในพิธีศีลอภัยบาป - สวดบทภาวนาพระเมตตา 6. อดทนต่อความผิดของผู้อื่น จงอย่าเป็นทุกข์กับความผิดที่ผู้อื่นกระทำต่อท่าน จงมีความหวังและวางไว้ใจในพระเจ้าเพื่อท่านจะสามารถอดทนต่อความยากลำบากที่เกิดขึ้นมากมายในโลกนี้ และกล้าหาญที่จะเผชิญหน้ากับมันด้วยความเข้าใจและเห็นอกเห็นใจ - ท่านรู้สึกเก็บกดหรือเครียดกับใครคนใดคนหนึ่งอยู่หรือไม่ หนทางที่ดีคือการทำตนเองให้หลุดออกไปจากสถานการณ์นั้น ภาวนาบทข้าแต่พระบิดาเพื่อวอนขอความเพียรทน 7. ภาวนาสำหรับผู้เป็นและผู้ตาย การภาวนาเป็นหนึ่งในพลังที่ทรงอานุภาพที่ท่านสามารถสนับสนุนผู้อื่น จงร่วมใจกันภาวนาทั้งเพื่อผู้ที่ยังมีชีวิต รวมถึงผู้ที่ล่วงลับไปแล้วด้วย เพื่อให้ทุกคนอยู่ในความอารักขาขององค์พระผู้เป็นเจ้า - ขอมิสซาสุขสำราญให้เพื่อนหรือครอบครัวของเพื่อนที่กำลังอยู่ในความทุกข์ยาก - ขอมิสซาเพื่อดวงวิญญาณของเพื่อนหรือสมาชิกครอบครัวของเพื่อนที่ล่วงลับไปแล้ว - จัดให้มีหนังสือภาวนาและมีที่จดบันทึกเพื่อจะได้จะบันทึกชื่อของผู้ที่เราภาวนาให้หรือผู้ที่ต้องการคำภาวนาจากเรา - ขอให้เพื่อนหรือสมาชิกในครอบครัวช่วยกันภาวนาให้บุคคลที่กำลังต้องการคำภาวนา - จงมอบความไว้วางใจและความห่วงใยของท่านด้วยคำภาวนาให้กับบุคคลที่อยู่รอบๆตัวของท่าน คงมีอะไรหลายสิ่งหลายอย่างที่เราได้กระทำกันอยู่แล้ว และอีกหลายสิ่งหลายอย่างที่เราคิดว่าเราสามารถกระทำเพิ่มเติมได้ อย่าลืมคำสอนของพระเยซูเจ้าที่ว่า “พระอาณาจักรของพระเจ้าไม่อยู่ในคำพูด แต่อยู่ในการกระทำซึ่งแสดงพระอานุภาพของพระจิตเจ้า” (1โครินธ์ 4:20) “เพราะเราทุกคนจะต้องปรากฏเฉพาะพระบัลลังก์ของพระคริสตเจ้า เพื่อแต่ละคนจะได้รับสิ่งตอบแทนสมกับที่ได้กระทำเมื่อยังมีชีวิตอยู่ในร่างกาย ขึ้นอยู่กับการกระทำนั้นว่าจะดีหรือชั่ว” (2 โครินธ์ 5:10) “แต่ละคนจงพิจารณาการกระทำของตน แล้วจะภูมิใจในตนเอง โดยไม่ต้องเปรียบเทียบกับผู้อื่น” (กาลาเทีย 6:4) “พี่น้องทั้งหลาย จะมีประโยชน์ใดหากผู้หนึ่งอ้างว่ามีความเชื่อแต่ไม่มีการกระทำ ความเชื่อเช่นนี้จะช่วยให้เขารอดพ้นได้หรือ” (ยากอบ 2:14)

นักบุญฟรังซิส แห่งอัสซีซี
ชื่นชมและบอกแบบอย่างการดำเนินชีวิตและคุณธรรมของนักบุญฟรังซิสแห่งอัสซีซี และนำคุณธรรมของนักบุญฟรังซิส แห่งอัสซีซี ไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน

การจัดอันดับและรีวิวของผู้เรียน

ยังไม่มีรีวิว
ยังไม่มีรีวิว