วิชาดนตรีไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 (ศ33102) ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564

หมวดหมู่: ม.6, มัธยมศึกษา
คอร์สที่สนใจ แชร์
แชร์คอร์ส
ลิงก์หน้า
แชร์บนโซเชียล

เกี่ยวกับคอร์ส

คำอธิบายรายวิชาดนตรีไทย

ศึกษาการประเมินผลงานดนตรี ดนตรีกับการผ่อนคลาย ดนตรีกับการพัฒนามนุษย์ ดนตรีกับการประชาสัมพันธ์ ดนตรีกับการบำบัดรักษา ดนตรีกับธุรกิจ  ดนตรีกับการศึกษา

ศึกษาการประเมินคุณภาพของการแสดง การสร้างสรรค์ผลงาน

ศึกษาบทบาทของดนตรีในการสะท้อนสังคม แนวทางในการส่งเสริมอนุรักษ์ดนตรีไทย

โดยกระบวนการคิดวิเคราะห์ กระบวนการคิดสร้างสรรค์  กระบวนการสื่อสาร  กระบวนการสร้างความตระหนัก  กระบวนการสร้างเจตคติและกระบวนการปฏิบัติทางทัศนศิลป์  ดนตรีและนาฏศิลป์

เพื่อพัฒนาผู้เรียนเห็นคุณค่างานศิลปะทั้งด้านทัศนศิลป์ ดนตรีและนาฏศิลป์ มีวินัย ใฝ่เรียนรู้ อยู่อย่างพอเพียงและรักความเป็นไทย

คุณจะได้เรียนรู้อะไร?

  • อธิบายหลักการจัดการแสดงดนตรี
  • บอกประโยชน์ของการจัดกิจกรรมได้
  • จัดการแสดงในโรงเรียนอย่างง่าย ๆ ได้

เนื้อหาของคอร์ส

บทบาทของดนตรีไทยต่อบุคคลและสังคม
ความสำคัญของดนตรีไทย มีความหมายต่อบุคคลในการพัมนาคุณภาพจิตใจ เป็นสื่อกลางของกิจกรรมทางประเพณี ศาสนา ศิลปะการแสดง และเป็นสื่อทางสังคมที่ช่วยให้เกิดการรวมกลุ่มของคนในชาติ สร้างพลังทางสังคม ดนตรีมีความเกี่ยวข้องกับสถาบันของประเทศ เช่น สถาบันทางการเมือง การปกครอง การทหาร เป็นต้น มีผลต่อการพัฒนาทางด้านเศรษฐกิจโดยรวมทั้งทางด้านอาชีพดนตรี เพลงไทย ปรากฎในรูปของสื่อเทคโนโลยีที่หลากหลายเช่นเดียวกับสื่อเพลงลักษณะอื่น ได้แก่ เทป วีซีดี ดีวีดี เป็นต้น

  • บทบาทของดนตรีไทยต่อบุคคลและสังคม
  • แบบทดสอบบทบาทของดนตรีไทยต่อบุคคลและสังคม

เพลงเถา
เพลงเถา เป็นเพลงไทยประเภทหนึ่ง โดยลักษณะการบรรเลงนั้นจะเริ่มจากอัตราจังหวะสามชั้น สองชั้น จนถึงชั้นเดียวตามลำดับ เพลงเถากำเนิดในยุครัตนโกสินทร์ตอนต้น โดยมีวิวัฒนาการจากการเล่นเสภาและการเล่นสักวา

ศัพท์สังคีต
ศัพท์สังคีต คือ ภาษาเฉพาะที่ใช้พูดกันในวงการดนตรีไทยซึ่งเป็นที่รู้กันว่าหมายความถึงอะไร หรือให้ปฏิบัติอย่างไร เช่น ท่อน ถอน ขยี้ เดี่ยว กรอ เป็นต้น

การจัดอันดับและรีวิวของผู้เรียน

ยังไม่มีรีวิว
ยังไม่มีรีวิว