วิชาดนตรี-นาฏศิลป์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 (ศ11101) ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564

หมวดหมู่: ป.1, ประถมศึกษา
คอร์สที่สนใจ แชร์
แชร์คอร์ส
ลิงก์หน้า
แชร์บนโซเชียล

เกี่ยวกับคอร์ส

คำอธิบายรายวิชาดนตรี-นาฏศิลป์

ศึกษาการกำเนิดของเสียง ระดับเสียงดัง เบา ความช้า เร็วของจังหวะ บทกลอนและร้องเพลงง่ายๆ การเข้าร่วมในกิจกรรมของดนตรี  บทเพลงที่ใช้ในชีวิตประจำวัน เพลงในภาคกลาง เพลงเกี่ยวข้าว

ศึกษาการเลียนแบบการเคลื่อนไหว การแสดงท่าทางง่ายๆ การดูหรือร่วมการแสดง การละเล่นของเด็กไทย

โดยกระบวนการคิดวิเคราะห์  กระบวนการคิดสร้างสรรค์  กระบวนการสื่อสาร  กระบวนการเรียนรู้ความเข้าใจ และกระบวนการปฏิบัติทางทัศนศิลป์  ดนตรีและนาฏศิลป์

เพื่อพัฒนาผู้เรียนเห็นคุณค่างานศิลปะทั้งด้านทัศนศิลป์ ดนตรีและนาฏศิลป์ มีวินัย ใฝ่เรียนรู้ อยู่อย่างพอเพียและรักความเป็นไทย

คุณจะได้เรียนรู้อะไร?

  • บอกแหล่งกำเนิดเสียง วิธีการเกิดเสียง
  • จำแนกแหล่งกำเนิดเสียงและวิธีการเกิดเสียงต่าง ๆ ได้
  • ชื่นชมและเห็นคุณค่าของเสียงที่อยู่รอบ ๆ ตัว
  • อธิบายคุณสมบัติของเสียง
  • บอกลักษณะของเสียงเครื่องดนตรีได้
  • ชื่นชมลักษณะของเสียงเครื่องดนตรี
  • อธิบายหลักการปฏิบัติตนในกิจกรรมดนตรี
  • ปฏิบัติตนในกิจกรรมดนตรีได้อย่างถูกต้อง
  • มีส่วนร่วมในกิจกรรมดนตรีอย่างสนุกสนาน
  • อธิบายวิธีการละเล่นของเด็กไทย
  • ระบุและเล่นการละเล่นของเด็กไทยได้
  • ชื่นชมและอนุรักษ์การละเล่นของเด็ก
  • บอกสิ่งที่ตนเองชอบจากการดูหรือร่วมการแสดง
  • อธิบายหลักการชมนาฏศิลป์
  • บอกสิ่งที่ชอบจากการชมนาฏศิลป์
  • บอกสิ่งที่ตนเองชอบในการแสดงนาฏศิลป์
  • อธิบายพร้อมยกตัวอย่างการแสดงนาฏศิลป์
  • ยกตัวอย่างเพลงที่ใช้ในชีวิตประจำวัน
  • บอกความเกี่ยวข้องของเพลงที่ใช้ในชีวิตประจำวันได้
  • เห็นประโยชน์ของบทเพลงที่ใช้ในชีวิตประจำวัน

เนื้อหาของคอร์ส

ตำนานดนตรี
ดนตรีเกิดขึ้นเมื่อไรไม่มีใครทราบแต่มีการค้นคว้าหาหลักฐานว่า ดนตรีนั้นน่าจะเกิดขึ้นมาพร้อมกับเราคนเรา เมื่อเราได้ยินเสียงต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ เช่น เสียงลมพัด เสียงน้ำตก เสียงนกร้องเป็นต้น เราจึงได้นำเสียงที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติมาปรับปรุง จัดระบบ และเรียบเรียงให้ผสมผสานกลืนกันจนเกิดความไพเราะและเกิดเป็น “เสียงดนตรี” เราได้มีการเลียนเสียงธรรมชาติด้วยวิธีการต่าง ๆ คือ การดีด การสี การตีและการเป่า และได้นำหลักการนี้มาสร้างเป็น “เครื่องดนตรี” เครื่องดนตรีไทยมีมาแต่ครั้งสมัยโบราณ เดิมใช้สิ่งที่มีอยู่ตามธรรมชาติมาประยุกต์ใช้ เช่น ไม้ไผ่ กิ่งไม้ มาตีเป็นเครื่องดนตรีจนกระทั่งพัฒนามาเป็นเครื่องดนตรีไทยในปัจจุบัน เครื่องดนตรีพื้นเมืองเป็นเครื่องดนตรีที่กำเนิดขึ้นโดยภูมิปัญญาชาวบ้าน ซึ่งแสดงให้เห็นถึงเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรม ชีวิตความเป็นอยู่ และลักษณะนิสัยของคนในท้องถิ่นนั้น ๆ

  • วิวัฒนาการของเครื่องดนตรี
    00:00
  • ลักษณะของเครื่องดนตรี
    00:00
  • ตำนานดนตรี

การแสดงนาฏศิลป์
การมีมารยาทที่ดีในการชมการแสดงจะส่งผลให้ผู้แสดงมีสมาธิในการแสดงและผู้ชมการแสดงคนอื่นได้รับความสุข และความสนุกสนานอย่างเต็มที่ ระบำเป็นการแสดงนาฏศิลป์ไทยที่ใช้ท่าฟ้อนรำ มีผู้แสดงตั้งแต่ ๒ คนขึ้นไป ไม่เน้นแสดงเป็นเรื่องราว แต่เน้นความสวยงาม ความพร้อมเพรียงของผู้รำ และดนตรีที่ไพเราะ เป็นมรดกทางนาฏศิลป์ไทยที่ควรค่าแก่การอนุรักษ์ให้คงอยู่ตลอด ไป รำเป็นการแสดงนาฏศิลป์ไทยที่มีลีลาท่าทางเข้ากับจังหวะเพลงหรือดนตรี และเป็นการแสดงที่เป็นเรื่องราว ชาวไทยทุกคนควรร่วมกันอนุรักษ์และสืบสานให้คงอยู่คู่สังคมไทยตลอดไป ฟ้อนเป็นการแสดงนาฏศิลป์ไทยที่เน้นความสวยงามของท่ารำ เป็นศิลปะทางภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ดนตรีที่ใช้ประกอบการแสดงมีจังหวะและทำนองค่อนข้างช้า ทำให้ผู้ชมเกิดความรู้สึกอ่อนหวาน นุ่มนวลและประทับใจเมื่อได้ชม

เพลงในชีวิตประจำวัน
บทเพลงต่างๆ มีความหมายและให้อารมณ์ ความรู้สึกแก่ผู้ฟังแตกต่างกัน ซึ่งเนื้อหาของบทเพลงอาจสอดแทรกข้อคิดเรื่องราวต่างๆ ไว้ในบทเพลงเพื่อให้ผู้ฟังได้ซาบซึ้งและเข้าใจบทเพลงมากขึ้น

การละเล่นเด็กไทย
การละเล่นของเด็กไทยมีความสนุกสนานและมีประโยชน์ ดังนั้นควรร่วมมือกันอนุรักษ์การละเล่นของเด็กไทยให้คงอยู่สืบไป

การจัดอันดับและรีวิวของผู้เรียน

ยังไม่มีรีวิว
ยังไม่มีรีวิว