เนื้อหาของคอร์ส
บทที่ 6 เศษส่วน
0/2
บทที่ 7 ทศนิยม
0/2
บทที่ 8 มุม
0/2
วิชาคณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 (ค14101) ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564
เกี่ยวกับบทเรียน

      เส้นตรง มีความยาวไม่จำกัด เมื่อลากเส้นตรงบนระนาบ จึงต้องเขียนหัวลูกศรที่ปลายทั้งสองข้าง เพื่อแสดงว่าสามารถลากเส้นในแนวตรงต่อออกไปในทิศทางตามหัวลูกศรได้ไม่สิ้นสุด

      รังสี เป็นส่วนหนึ่งของเส้นตรงที่มีจุดปลาย 1 จุด  รังสีทุกเส้นสามารถลากเส้นในแนวตรงต่อออกไปในทิศทางตามหัวลูกศรได้ไม่สิ้นสุด

      ส่วนของเส้นตรงเป็นส่วนหนึ่งของเส้นตรงที่มีจุดปลาย 2 จุด จึงมีความยาวจำกัด ทำให้สามารถวัดความยาวได้

      มุม คือ รังสี 2 เส้นที่มีจุดปลายเป็นจุดเดียวกัน รังสี 2 เส้นนี้ เรียกว่า แขนของมุม และจุดปลายที่เป็นจุดเดียวกันนี้ เรียกว่า จุดยอดมุม ใช้ Ð หรือ Ù เป็นสัญลักษณ์แสดงมุม

      การวัดขนาดของมุมโดใช้โพรแทรกเตอร์ ทำได้โดยวางโพรแทรกเตอร์ให้จุดกึ่งกลางของโพรแทรกเตอร์ทับจุดยอดมุมของมุมที่ต้องการวัดและให้แนวศูนย์องศาของโพรแทรกเตอร์ทาบไปบนแขนข้างหนึ่งของมุม จากนั้นอ่านขนาดของมุม โดยนับจาก 0 องศาที่ตรงกับแขนของมุมอีกข้างหนึ่ง ไปจนถึงรอยขีดบอกองศาที่ตรงกับแขนของมุมอีกข้างหนึ่ง รอยขีดนั้นจะบอกขนาดของมุมที่ต้องการวัด

      มุมต่าง ๆ จำแนกตามขนาดได้ดังนี้ มุมศูนย์ มีขนาด 0°มุมแหลม มีขนามากกว่า 0° แต่น้อยกว่า 90°มุมฉาก มีขนาด 90° มุมป้าน มีขนาดมากกว่า 90° แต่น้อยกว่า 180° มุมตรง มีขนาด 180° มุมกลับ มีขนาดมากกว่า 180° แต่น้อยกว่า 360°

      การสร้างมุมมีขนาดตามที่ต้องการ มีขั้นตอนดังนี้ ขั้นที่ 1 ลากรังสี 1 เส้นเป็นแขนของมุมพร้อมทั้งกำหนดจุดปลาย ขั้นที่ 2 วางโพรแทรกเตอร์ให้จุดกึ่งกลางทับจุดปลายและแนวศูนย์องศาทาบไปบนรังสี ขั้นที่ 3 นับจำนวนองศาจาก 0° ไปจนถึงขนาดของมุมที่ต้องการ โดยเขียนจุดกำกับไว้ แล้วลากรังสีจากจุดปลายให้ผ่านจุดที่เขียนกำกับไว้ จะได้มุมมีขนาดตามต้องการ

     ความรู้

      1. จุด เส้นตรง รังสี และส่วนของเส้นตรง   

      2. มุม ส่วนประกอบของมุมและการเรียกชื่อมุม     

      3. มุมฉาก มุมตรง มุมแหลม มุมป้าน               

      4. การวัดขนาดของมุมและการจำแนกชนิดของมุม   

      5. การสร้างมุมโดยใช้โพรแทรกเตอร์

ไฟล์ตัวอย่าง
ใบงาน มุม.pdf
ขนาด: 591.30 KB
เกมกะหล่ำปลีมรณะ2.pdf
ขนาด: 358.33 KB
มุมติดไซเรน.pdf
ขนาด: 341.68 KB