1. ความหมายของการทำงานเพื่อช่วยเหลือตนเอง ครอบครัว และส่วนรวม
การทำงานเพื่อช่วยเหลือตนเอง ครอบครัว และส่วนรวม หมายถึงการทำงานเป็นกิจกรรมที่ทำแล้วมีประโยชน์ งานบางอย่างมีประโยชน์ต่อตนเอง บางอย่างมีประโยชน์ต่อครอบครัว และบางอย่างมีประโยชน์ต่อส่วนรวม การทำงานควรทำด้วยความเอาใจใส่ และทำอย่างถูกวิธีเพื่อให้ได้ผลงานที่ดี และมีคุณภาพ การทำงานเพื่อช่วยเหลือตนเอง ครอบครัว และส่วนรวมให้มีประสิทธิภาพ
2. กระบวนการทำงานเพื่อช่วยเหลือตนเอง ครอบครัว และส่วนรวม
1.การวางแผนการทำงาน เป็นการกำหนดเป้าหมายของการทำงาน กำหนด
วิธีการหรือขั้นตอนการทำงาน การเลือกวัสดุ อุปกรณ์ และเครื่องมือให้ตรงกับลักษณะงาน
2.การงานทำงานตามแผน เป็นการทำงานให้สำเร็จตามเป้าหมาย โดยใช้
วิธีการหรือขั้นตอนการทำงานที่กำหนดไว้ ใช้วัสดุ อุปกรณ์ และเครื่องมือให้ตรงกับลักษณะ
งานด้วยความรอบคอบ เพื่อความปลอดภัยในการทำงาน ดูแลรักษาอุปกรณ์ในการทำงาน
อย่างถูกวิธี เพื่อยืดอายุการใช้งาน ให้ยาวนานและประหยัดค่าใช้จ่ายในการซื้อใหม่
3.การประเมินผลงานเป็นการทำงาน เป็นการตรวจดูว่าผลงานหรือการทำงาน
สำเร็จตรงตามเป้าหมายที่กำหนดไว้หรือไม่ ถ้ามีข้อบกพร่องจะได้ปรับปรุงแก้ไขให้ดีขึ้น เช่นลดเวลาในการทำงาน เลือกใช้วัสดุในท้องถิ่นเข้ามาพัฒนางานเพื่อให้ผลงานดีขึ้น
3. การทำงานเพื่อช่วยเหลือตนเอง
การทำงานเพื่อช่วยเหลือตนเอง คือ การทำงานเเกี่ยวกับกิจวัตรประจำวันเพื่อช่วยเหลือแบ่งเบาภาระของผู้ปกครอง ได้แก่ การเลือกเสื้อผ้า เครื่องแต่งการ การจัดกระเป๋าอุปกรณ์การเรียน และการทำความสะอาดรองเท้าและกระเป๋านักเรียน
3.1 การจัดเตรียมอุปกรณ์การเรียน
อุปกรณ์การเรียน เป็นสิ่งที่สำคัญสำหรับนักเรียนทุกคน หากเราไม่จัดเตรียมให้พร้อมในแต่วันจะเกิดความไม่สะดวกในการเรียน และอาจจะทำให้ถูกตำหนิ
ขั้นตอนการจัดเตรียม
1. วางแผนการจัดเตรียมอุปกรณ์ล่วงหน้า โดยตรวจสอบกับตารางเรียนในแต่ละวัน จะได้จัดเตรียมอุปกรณ์ตามตาราง
2. จัดสมุด หนังสือ และแฟ้มงานต่างๆ ใส่กระเป๋านักเรียน
3. อุปกรณ์ประเภทเครื่องเขียนต่างๆ จัดใส่กล่องเครื่องเขียนและใส่กระเป๋านักเรียน
4. ไม่ควรนำสมุด หนังสือใส่กระเป๋านักเรียนมากเกินไป เพราะจะทำให้กระเป๋าชำรุดง่าย และทำให้เราหิ้วหรือแบกกระเป๋านักเรียนหนักเกินความจำเป็นจะทำให้สุขภาพเสียได้
อุปกรณ์ เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ กระเป๋านักเรียน กล่องเครื่องเขียน
3.2 การทำความสะอาดกระเป๋านักเรียน
กระเป๋านักเรียนเป็นอุปกรณ์สำหรับใส่สมุด หนังสือ และอุปกรณ์การเรียนที่ใช้เป็นประจำทุกวัน บางครั้งกระเป๋านักเรียนอาจเปื้อนฝุ่นหรือคราบสกปรกหรือเปียกน้ำ เราจึงควรหมั่นทำความสะอาดกระเป๋านักเรียน เพื่อที่จะได้ยืดอายุการใช้งานและทำให้กระเป๋านักเรียนดูสะอาดนำมาใช้
กระบวนการทำความสะอาดกระเป๋านักเรียน
- การวางแผนการทำงาน
(1) กำหนดเป้าหมายในการทำความสะอาดกระเป๋านักเรียน
- เพื่อให้กระเป๋าสะอาด ดูใหม่อยู่เมสอ
- เพื่อให้กระเป๋าไม่ชำรุด
(2) กำหนดวิธีการทำความสะอาดกระเป๋านักเรียน
1) เก็บสิ่งของทุกอย่างออกจากกระเป๋า
2) คว่ำกระเป๋าและเคาะเอาฝุ่นออกเบา ๆ
3) ใช้ผ้าขนหนูผืนเล็กชุบน้ำบิดหมาดๆ เช็ดภายในและภายนอกกระเป๋า 4) ใช้ผ้าขนหนูแห้งเช็ดกระเป๋า แล้วผึ่งลมให้แห้ง จึงนำกลับมาใช้ใหม่
2. การทำงานตามแผน
ทำความสะอาดกระเป๋านักเรียนตามที่วางแผนไว้
3. ประเมินผลการทำงาน
ตรวจดูผลงานว่าสำเร็จตรงเป้าหมายหรือไม่ มีข้อบกพร่องอย่างไร จะได้ปรับปรุงแก้ไขให้ดีขึ้น
3.3 การทำความสะอาดรองเท้านักเรียน (รองเท้าหนัง)
การทำความสะอาดรองเท้านักเรียน (รองเท้าหนัง) ควรมีกระบวนการ ดังนี้
1. วางแผนการทำงาน
1. กำหนดเป้าหมายในการทำความสะอาดรองเท้า
- เพื่อให้รองเท้าสะอาด และใช้งานได้นาน
2. กำหนดวิธีการทำความสะอาดรองเท้า
1) การเตรียมวัสดุ อุปกรณ์ในการทำความสะอาด
2) เคาะฝุ่นออกจากรองเท้า ใช้แปรงขนอ่อนปัดฝุ่นที่เกาะติดรองเท้าออกให้หมด
3) ขัดรองเท้าให้เงางาม
2. การทำงานตามแผน
ทำความสะอาดรองเท้าตามที่วางแผนไว้
3.4 ประโยชน์ของการทำงานเพื่อช่วยเหลือตนเอง
การทำงานเพื่อช่วยเหลือตนเองมีประโยชน์ ดังนี้
(1) รู้จักการพึ่งพาตนเอง
(2) ฝึกความรับผิดชอบและมุ่งมั่นในการทำงานให้สำเร็จตามเป้าหมาย
(3) เป็นการใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์
(4) เกิดความรู้สึกภาคภูมิใจที่สามารถพึ่งพาตนเองได้ ทำงานได้สำเร็จตามเป้าหมาย ช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายของครอบครัว
(5) รู้จักใช้สิ่งของเครื่องใช้อย่างรู้คุณค่าและประหยัดค่าใช้จ่าย เพราะดูแลรักษาสิ่งของเครื่องใช้ได้ดี
(6) แบ่งเบาภาระของผู้ปกครอง
4. การทำงานเพื่อช่วยเหลือครอบครัว
งานบ้าน หมายถึง งานหรือกิจกรรมที่สมาชิกในครอบครัวมีหน้าที่ความรับผิดชอบร่วมกันปฏิบัติ เพื่อให้บ้านสะอาดน่าอยู่ เพื่อทุกคนในครอบครัวมีพัฒนาการเป็นบุคคลที่มีสุขภาพที่สมบูรณ์ทั้งร่างกายและจิตใจ
การทำความสะอาดบ้าน บ้านเป็นสถานที่ที่อาศัยพักผ่อน ให้ความปลอดภัย ความสบายกายและสบายใจแก่สมาชิกทุกคนในครอบครัว สมาชิกในบ้านสามารถทำให้บ้านน่าอยู่อาศัยได้ ด้วยการดูแลเอาใจใส่รักษาทำความสะอาดบ้านอย่างสม่ำเสมอ
ความสะอาดบ้านเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้บ้านน่าอยู่ การทำความสะอาด ปัดกวาด เช็ดถูเป็นประจำ ทำให้เครื่องเรือนเครื่องใช้ปราศจากความสกปรกแม้แต่บริเวณบ้าน รั้ว สนาม ทางเดินเข้าบ้านสะอาด ร่มรื่น ปราศจากขยะมูลฝอยต่างๆ
4.1 การปัด กวาด เช็ด ถู บ้านเรือน
การปัด กวาด เช็ด ถูบ้านเรือน เป็นงานช่วยเหลือครอบครัวที่ทำให้บ้านสะอาด ไม่มีฝุ่นละออง และน่าอยู่อาศัย การปัดกวาด เช็ดถูบ้านเรือนตามกระบวนการทำงาน มีดังนี้
1. วางแผนการทำงาน
1. กำหนดเป้าหมายในการทำงาน
- เพื่อให้เพดาน ผนัง พื้นบ้าน และเครื่องเรือนในบ้านสะอาด ไม่มีฝุ่นละออง 2. กำหนดวิธีการและอุปกรณ์การปัด กวาด เช็ดถูบ้านเรือน
- วิธีปัด กวาด เช็ดถูบ้านเรือน
(1) จัดเก็บของที่วางเกะกะ คลุมตู้ โต๊ะ เก้าอี้ โซฟาด้วยผ้าหรือพลาสติกผืนใหญ่
(2) ใช้ไม้กวาดหยากไย่กว่ดหยากไย่บนเพดานและผนังห้อง
(3) ถ้าไม่ได้ใช้ผ้าคลุมเครื่องเรือนไว้ ให้ใช้ไม้กว่ดขนไก่ปัดฝุ่น แล้วใช้ผ้าชุบน้ำบิดหมาดๆ เช็ดให้สะอาด
(4) ใช้ไม้กวาดดอกหญ้ากวาดฝุ่นผงที่อยู่บนพื้นห้องมากองรวมกัน เพื่อกวาดฝุ่นผง
ใส่ในที่ตักผง แล้วนำไปทิ้งลงถงขยะ
(5) ถูพื้นห้องโดยใช้ไม้ถูพื้นหรือผ้าขี้ริ้ว
2. การทำงานตามแผน
นับเป็นขั้นตอนที่สำคัญ งานจะสำเร็จหรือไม่ ขึ้นอยู่กับการลงมือทำงานตามขั้นตอนที่วางแผนไว้
3. การประเมินผลการทำงาน
ตรวจดูว่าเพดาน ผนังเครื่องเรือน และพื้นบ้านสะอาดหรือไม่ ยังมีหยากไย่ ฝุ่นละออง หรือคราบสกปรกหรือไม่ ถ้ายังมีหยากไย่ ฝุ่นละออง หรือคราบสกปรกหลงเหลืออยู่ให้เช็ดถู
หรือทำความสะอาดใหม่
4.2 การกรอกน้ำใสขวด มีกระบวนการทำงาน ดังนี้
1. วางแผนการทำงาน
1. กำหนดเป้าหมายในการกรอกน้ำใส่ขวด
- เพื่อให้มีน้ำสะอาดไว้ดื่มตลอดเวลา
- เพื่อให้ดื่มน้ำได้สะดวก
2. กำหนดวิธีการและอุปกรณ์ที่ใช้กรอกน้ำใส่ขวด
- วิธีการกรอกน้ำใส่ขวด
1) วางขวดหรือภาชนะที่ใส่น้ำในกะละมัง แล้วเสียบกรวยลงในขวด
2) เทน้ำผ่านกรวยลงในขวด หรือภาชนะจนเกือบเต็ม
3) ปิดฝาขวดภาชนะให้แน่น แล้วนำไปใส่ในตู้เย็น หรือตั้งเรียงไว้ให้เป็นระเบียบ
ภาชนะใส่น้ำ เมื่อใช้ไปนาน ๆ จะเกิดตะไคร่น้ำหรือคราบสกปรกเกาะ จึงต้องทำความสะอาดอยู่เสมอ โดยการใช้แปรงล้างขวดจุ่มน้ำยาล้างจานที่ผสมกับน้ำแล้วถูภายในให้ทั่ว หรือใส่ทรายลงในขวด ปิดฝาขวดแล้วเขย่า จากนั้นล้างด้วยน้ำเปล่าจนสะอาด วางผึ่งให้แห้ง
4.3 ประโยชน์ของการทำงานเพื่อช่วยเหลือครอบครัว
(1) บ้านสะอาดน่าอยู่อาศัย
(2) สมาชิกทุกคนในครอบครัวเกิดความรักและสามัคคีกัน
(3) การทำงานช่วยเหลือครอบครัว เช่น การปัด กวาด เช็ดถูบ้านเป็นประจำ เป็นการออกกำลังกายอย่างหนึ่ง
5. การทำงานเพื่อช่วยเหลือส่วนรวม
โรงเรียนก็เปรียบเหมือนบ้านของเรา ห้องเรียนก็เปรียบเหมือนห้องที่บ้าน ต่างกันตรงที่ห้องเรียนเป็นที่อยู่เพื่อ เรียนหนังสือและทำกิจกรรมต่างๆ มากมาย หากไม่ทำความสะอาดห้องเรียนก็จะสกปรก มีฝุ่นละออง ทำให้ห้องเรียนสกปรกไม่น่าเรียนและเป็นที่อยู่ของเชื่้อโรค ดังนั้น เราก็ต้องช่วยกันดูแลรักษา ทำความสะอาดห้องเรียนอยู่เสมอ
5.1 การทำความสะอาดห้องเรียน มีกระบวนการทำงาน ดังนี้
1. วางแผนการทำงาน
1. กำหนดเป้าหมายในการทำความสะอาดห้องเรียน
- เพื่อให้ห้องเรียนสะอาด ไม่มีฝุ่นละออง
2. กำหนดวิธีการและอุปกรณ์ทำความสะอาดห้องเรียน
- การแบ่งงานกันทำ เพื่อให้ทุกคนมีส่วนร่วมในการทำความสะอาดห้องเรียนที่ใช้ร่วมกัน โดยกกำหนดผู้รับผิดชอบในงานแต่ละอย่าง เช่น เก็บหนังสือ ยกเก้าอี้พาดโต๊ะ กวาดหยากไย่ ปัดกวาด เช็ดถูหน้าต่าง พื้น ทำความสะอาดกระดาน และแปรงลบกระดาน นำขยะไปทิ้ง
- วิธีการทำความสะอาดห้องเรียน
(1) จัดเก็บหนังสือเรียน กระเป๋านักเรียนไว้ในโต๊ะเรียนหรือชั้นวางที่แต่ละห้องเรียนจัดไว้ แล้วยกเก้าอี้พาดไว้บนโต๊ะ
(2) ใช้ไม้กวาดหยากไย่กวาดหยากไย่บนเพดานและผนังห้องเรียน
(3) ใช้ไม้กวาดขนไก่ปัดฝุ่นบนหลังตู้ โต๊ะ และเก้าอี้
(4) ทำความสะอาดประตุ หน้าต่าง โดยใช้ผ้าขี้ริ้วชุบน้ำบิดหมาดๆ เช็ดตามซอกมุมต่างๆ
(5) ทำความสะอาดกระดานใช้แปรงลบกระดานลบข้อความและภาพออกให้หมด จากนั้นใช้ผ้าขี้ริ้วชุบน้ำบิดหมาดๆ เช็ดให้ทั่ว
(6) ทำความสะอาดแปรงลบกระดาน โดยเคาะฝุ่นชอล์กลงในถังขยะ เพื่อป้องกันฝุ่นฟุ้งกระจาย แล้วนำไปเก็บเข้าที่
(7) ใช้ไม้กวาดดอกหญ้ากวาดฝุ่นผงบนพื้นห้องเรียนมากองรวมกันไว้ แล้วกวาดใส่ที่ตักผงนำไปทิ้งถังขยะ
(8) ถูพื้นห้องเรียนโดยใช้ไม้ถูพื้นหรือผ้าขี้ริ้วชุบน้ำบิดหมาดๆ
- อุปกรณ์ที่ใช้ในการทำความสะอาดห้องเรียน ได้แก่ ไม้กวาดขนไก่ ไม้กวาดดอกหญ้า ไม้กวาดหยากไย่ ไม้ถูพื้น ผ้าขี้ริ้ว ถังน้ำ ถังขยะ ที่ตักผง และแปรงลบกระดาน
2. การทำงานตามแผน
นับเป็นขั้นตอนที่สำคัญ งานจะสำเร็จหรือไม่ ขึ้นอยู่กับการลงมือทำงานตามขั้นตอนที่วางแผนไว้
3. การประเมินผลการทำงาน
ตรวจดูว่าบริเวณต่างๆ ในห้องเรียนสะอาดแล้วหรือไม่ถ้าไม่สะอาด ให้ทำความสะอาดใหม่อีกครั้ง
5.2 ประโยชน์ของการทำงานเพื่อช่วยเหลือส่วนรวม
1. ฝึกนิสัยที่ดีในการรู้จักเสียสละเพื่อผู้อื่น
2. สร้างความรักและความสามัคคีกับผู้ที่ทำงานร่วมกัน
3. สังคมน่าอยู่เพราะผู้คนรู้จักช่วยเหลือและพึ่งพาอาศัยกัน
4. สิ่งแวดล้อมดี เพราะทุกคนช่วยกันดูแลรักษา