เนื้อหาของคอร์ส
การแยกตัวประกอบของพหุนามดีกรีสอง
การเขียนพหุนามที่กำหนดให้ ให้อยู่ในรูปการคูณของพหุนามตั้งแต่สองพหุนามขึ้นไป โดยที่แต่ละพหุนามหารพหุนามที่กำหนดให้ได้ ลงตัว เป็นตัวอย่างของ การแยกตัวประกอบพหุนาม (factorization) 1) การแยกตัวประกอบพหุนามโดยใช้สมบัติการแจกแจง สมบัติการแจกแจงกล่าวว่า ถ้า a,b และ c แทนจำนวนเต็มใดๆแล้ว a(b+c) = ab+ac หรือ (b+c)a = ba+ca เราอาจเขียนสมบัติการแจกแจง ข้างต้นใหม่ ดังนี้ ab+ac = a(b+c) หรือ ba+ca = (b+c)a ถ้า a,b และ c เป็นพหุนาม เราก็สามารถใช้สมบัติการแจกแจงข้างต้นได้ด้วย และเรียก a ว่า ตัวประกอบร่วมของ ab และ ac หรือ ba และ ca 2) การแยกตัวประกอบพหุนามดีกรีสองตัวแปรเดียว พหุนามดีกรีสองตัวแปรเดียว คือ พหุนามที่เขียนในรูป ax2 + bx + c เมื่อ a , b , c เป็นค่าคงตัวที่ a ≠ 0 และ x เป็นตัวแปร การแยกตัวประกอบของพหุนามดีกรีสองตัวแปรเดียวในรูป ax2 + bx + c เมื่อ a , b เป็นจำนวนเต็ม และ c = 0 ในกรณีที่ c = 0 พหุนามดีกรีสองตัวแปรเดียวจะอยู่ในรูป ax2+ bx สามารถใช้สมบัติการแจกแจงแยกตัวประกอบได้ การแยกตัวประกอบของพหุนามดีกรีสองตัวแปรเดียวในรูป ax2 + bx + c เมื่อ a = 1 , b และ c เป็นจำนวนเต็ม และ c ≠ 0 ในกรณีที่ a = 1 และ c ≠ 0 พหุนามดีกรีสองตัวแปรเดียว จะอยู่ในรูป x2 + bx + c สามารถแยกตัวประกอบของพหุนามในรูปนี้ได้ โดยอาศัยแนวคิดจากการหาผลคูณของพหุนาม 3) การแยกตัวประกอบพหุนามดีกรีสองที่เป็นกำลังสองสมบูรณ์ ในกรณีทั่วไป ถ้าให้ A แทนพจน์หน้า และ B แทนพจน์หลัง จะแยกตัวประกอบของพหุนามดีกรีสองที่เป็นกำลังสองสมบูรณ์ได้ตามสูตร ดังนี้ A2 + 2AB + B2 = (A + B)2 A2 − 2AB + B2 = (A − B)2 4) การแยกตัวประกอบพหุนามดีกรีสองที่เป็นผลต่างกำลังสอง ในกรณีทั่วไป ถ้าให้ A แทน พจน์หน้า และ B แทน พจน์หลัง จะแยกตัวประกอบของพหุนามดีกรีสองที่เป็นผลต่างของกำลังสองได้ตามสูตร ดังนี้ A2 – B2 = (A + B)(A – B)
0/4
วิชาคณิตศาสตร์พื้นฐาน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 (ค22102) ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564
เกี่ยวกับบทเรียน

 แผนภาพต้น-ใบ (Stem-and-Leaf Diagram) ใช้เพื่อจัดข้อมูลเป็นกลุ่มๆ และข้อมูลทุกตัวจะถูกแสดงในแผนภาพ ไม่เพียงแค่นับรวมว่าเป็นความถี่ในอันตรภาคชั้นเดียวกันเหมือนกับฮิสโตแกรม สมมติเรามีข้อมูลส่วนสูง(ซม.)ของนักเรียนชั้นป.6 จำนวน 20 คน ดังนี้

             150  131  166  136  136  134  144  145  149  140  
             145  158  157  160  160  143  161  163  147  139

จะสามารถนำมาทำแผนภาพต้น-ใบ ได้ดังนี้
             1. เลือกเอาตัวเลขหลักที่ซ้ำมาทำเป็น “ต้น” ในตัวอย่างนี้จะได้สองหลักซ้ายมือ
             2. นำเลขที่เหลือ ของข้อมูลแต่ละตัว มาเขียนลงไปในช่อง “ใบ” (เช่น 150 ก็แยก 15 เป็น “ต้น” และ 0 เป็น “ใบ”)
             3. ควรเรียงลำดับจากน้อยไปมาก เพื่อให้สะดวกต่อการวิเคราะห์

             จากแผนภาพต้น-ใบนี้ จะบอกได้คร่าวๆว่าข้อมูลที่มีค่าต่ำที่สุดคือ 131 และสูงสุดคือ 166 ช่วงที่มีความถี่สูงสุดคือ 140 – 149

เขียนเป็นแผนภาพต้น-ใบได้ดังนี้

ไฟล์ตัวอย่าง
คาบ 11 แผนภาพต้น-ใบ.pdf
ขนาด: 823.57 KB
คาบ 12 สถิติ (แผนภาพต้น-ใบ) ต่อ.pdf
ขนาด: 1.72 MB